คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำกัดสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้ถนนส่วนบุคคลของผู้เช่าและการจำกัดสิทธิเนื่องจากเหตุผลในการสงวนทรัพย์สิน
จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ถนนพิพาทและตึกแถวที่โจทก์เช่า จึงมีสิทธิที่จะให้ใครใช้ถนนพิพาทหรือไม่ก็ได้ ส่วนการที่โจทก์มีสิทธิใช้ถนนพิพาทก็เนื่องจากโจทก์เป็นผู้เช่าตึกแถวของจำเลยซึ่งปลูกอยู่ริมถนนพิพาท แต่ผู้เช่าจำต้องสงวนทรัพย์สินที่เช่าเสนอกับที่วิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง และต้องบำรุงรักษาทั้งการซ่อมแซมเล็กน้อยด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 553 โจทก์จึงต้องสงวนถนนพิพาท เมื่อการให้รถบรรทุก 6 ล้อ และ 10 ล้อ แล่นเข้ามาในถนนพิพาทเป็นเหตุให้ถนนพิพาทชำรุดเร็วยิ่งขึ้น ดังนี้ การที่จำเลยปิดกั้นถนนพิพาทและห้ามโจทก์ใช้รถบรรทุก 10 ล้อของโจทก์วิ่งผ่านจึงเป็นการสมควรแล้ว และแม้ในสัญญาเช่าจะระบุว่าให้เช่าตึกแถวเพื่อการค้าและอยู่อาศัยก็ตาม แต่เมื่อสัญญาเช่าไม่ได้ระบุให้ชัดแจ้งว่าเป็นการค้าขายประเภทใด ซึ่งหากเป็นการตั้งโรงงานใช้รถบรรทุก 10 ล้อ จำเลยอาจไม่ให้เช่าก็ได้ และจำเลยไม่ได้ห้ามเด็ดขาดมิให้รถยนต์แล่นเข้าออกถนนพิพาทเสียทีเดียวรถยนต์ 4 ล้อและรถปิกอัพก็สามารถแล่นเข้ามาได้ เพียงแต่โจทก์ไม่ได้รับความสะดวกเท่านั้นเอง จำเลยจึงไม่ได้ผิดสัญญาเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิอุทธรณ์และฎีกาในคดีเยาวชน กรณีศาลใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนเกิน 3 ปี
ในคดีที่ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวได้กำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 ที่มิใช่การพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชนไปเพื่อกักและอบรมมีกำหนดระยะเวลาเกินสามปีแล้ว ย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดวิธีสำหรับเด็กและเยาวชน และคู่ความจะอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ในข้อดังกล่าวได้เท่านั้น ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 121, 122
สำหรับการฎีกา พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 124 บัญญัติว่า คดีที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้พิพากษาหรือมีคำสั่งให้ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นไปยังศาลฎีกาได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความเหมือนคดีธรรมดา เว้นแต่กรณีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 121ซึ่งมีความหมายว่า คดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 121 นั้น ย่อมต้องห้ามฎีกาไปด้วยโดยไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาได้ดังเช่นกรณีอุทธรณ์
ศาลเยาวชนและครอบครัวพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3 จำคุก4 ปี และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกและอบรมมีกำหนด 3 ปี นับแต่วันพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน เมื่อจำเลยที่ 3 อุทธรณ์ขอให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กรอการลงโทษแก่จำเลยโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ได้และศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาดังกล่าวตามมาตรา 124 ทั้งคดีไม่อาจมีการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้ เพราะหากกฎหมายประสงค์จะให้มีการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้แล้ว ก็ชอบที่จะบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งเช่นเดียวกับการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามมาตรา122 และกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 221 โดยอาศัย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534มาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ การที่จำเลยที่ 3 ฎีกาขอให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กรอการลงโทษแก่จำเลยที่ 3 โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยที่ 3 มานั้น เป็นการไม่ชอบศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิอุทธรณ์และฎีกาในคดีเยาวชนที่ศาลสั่งการใช้วิธีการตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
ในคดีที่ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวได้กำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534มาตรา104ที่มิใช่การพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชนไปเพื่อกักและอบรมมีกำหนดระยะเวลาเกินสามปีแล้วย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดวิธีสำหรับเด็กและเยาวชนและคู่ความจะอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ในข้อดังกล่าวได้เท่านั้นทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534มาตรา121,122 สำหรับการฎีกาพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534มาตรา124บัญญัติว่าคดีที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้พิพากษาหรือมีคำสั่งให้ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นไปยังศาลฎีกาได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความเหมือนคดีธรรมดาเว้นแต่กรณีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา121ซึ่งมีความหมายว่าคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา121นั้นย่อมต้องห้ามฎีกาไปด้วยโดยไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาได้ดังเช่นกรณีอุทธรณ์ ศาลเยาวชนและครอบครัวพิพากษาลงโทษจำเลยที่3จำคุก4ปีและให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกและอบรมมีกำหนด3ปีนับแต่วันพิพากษาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534มาตรา104(2)คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนเมื่อจำเลยที่3อุทธรณ์ขอให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กรอการลงโทษแก่จำเลยโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ได้และศาลอุทธรณ์ภาค3แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืนคดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาดังกล่าวตามมาตรา124ทั้งคดีไม่อาจมีการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้เพราะหากกฎหมายประสงค์จะให้มีการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้แล้วก็ชอบที่จะบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งเช่นเดียวกับการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามมาตรา122และกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา221โดยอาศัยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534มาตรา6มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้การที่จำเลยที่3ฎีกาขอให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กรอการลงโทษแก่จำเลยที่3โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยที่3มานั้นเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาในคดีละเมิดเมื่อทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท แม้เป็นการขอให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิด
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 308,147.20 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ตัดฟันต้นไม้ที่ปลูกในป่าสงวนแห่งชาติเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ และให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 125,800 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้จ้างวานจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์ด้วย ฎีกาของโจทก์จึงเป็นกรณีที่ขอให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 อันเป็นหนี้ร่วมอันไม่อาจแบ่งแยกได้ หากจำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดก็ไม่เกินความเสียหายที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำ ถือว่าฎีกาของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 มีทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9684/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าห้าหมื่นบาท และประเด็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระต่อคดี
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาไม่เกินห้าหมื่นบาทต้องห้ามอุทธรณ์และฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยต้องฟังข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับฟังมาตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238ประกอบมาตรา 247 เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทตามโฉนดที่ดินในคดีนี้เป็นของโจทก์ จำเลยฎีกาว่าการออกโฉนดที่ดินของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งแม้จะวินิจฉัยให้ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9216/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจำคุกเป็นมาตรการอื่นและการจำกัดสิทธิในการฎีกาข้อเท็จจริงในคดีอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 288,80 ลดมาตราส่วนโทษแล้ว ลงโทษจำคุกจำเลย 6 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมแทน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 295 ให้มอบตัวจำเลยแก่บิดามารดาจำเลยไปอบรมดูแลฯ ดังนี้ เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะบทลงโทษจำเลย เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และการให้ส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมหรือมอบตัวจำเลยแก่บิดามารดาจำเลยไปอบรมดูแลฯถือได้ว่าเบากว่าโทษจำคุก จึงเป็นการให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534มาตรา 6 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6309/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์พิพาทเกินสองแสนบาท และประเด็นขาดนัดพิจารณา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายเป็นเงิน207,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 57,000 บาท แก่โจทก์จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกายกเหตุอ้างว่าไม่จงใจขาดนัดพิจารณา อันเป็นข้อเท็จจริงแม้ฎีกาของจำเลยทั้งสองเป็นปัญหาในชั้นดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นไม่ใช่ปัญหาในประเด็นที่พิพาทตามคำฟ้องและคำให้การก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดพิจารณา ก็ต้องถือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นเงิน 57,000 บาท ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5336/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็นเมื่อที่ดินแบ่งแยกและถูกปิดกั้นทางออก ศาลจำกัดสิทธิเฉพาะส่วนของจำเลย
ที่ดินโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินจำเลยเป็นเหตุให้ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะโจทก์ออกสู่ทางสาธารณะโดยผ่านทางพิพาทซึ่งเป็นที่ดินจำเลยจำเลยปิดกั้นที่ดินโจทก์ด้านที่ติดกับทางพิพาทโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องขอใช้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1350แม้จำเลยจะได้รับโอนที่ดินที่แบ่งแยกรวมทั้งส่วนที่เป็นทางพิพาทมาภายหลังก็ตามจะปฏิเสธสิทธิของโจทก์ในการขอใช้ทางจำเป็นหาได้ไม่และทางจำเป็นหาจำต้องเชื่อมต่อกับทางสาธารณะโดยตรงไม่แต่โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยเปิดทางจำเป็นบนที่ดินของบุคคลอื่นซึ่งมิใช่คู่ความในคดีด้วยหาได้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5113/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาจำเลยที่ 2 ถูกจำกัดสิทธิในการฎีกา เนื่องจากประเด็นใหม่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์ และไม่ใช่ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่1ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทไปจากโจทก์โดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและสัญญาเช่าซื้อไม่เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้เงินตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่2พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดต่อโจทก์จำเลยที่2เพียงแต่กล่าวมาในคำแก้อุทธรณ์ว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพรางโดยมิได้อุทธรณ์ขึ้นมาประเด็นข้อพิพาทในส่วนนี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่จำเลยที่2ฎีกาข้อแรกว่าโจทก์ฟ้องเรื่องเช่าซื้ออันไม่เป็นความจริงความจริงโจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ฟ้องจำเลยผิดข้อหาหรือฐานความผิดจำเลยไม่ควรรับผิดตามฟ้องของโจทก์และจำเลยที่1กู้ยืมเงินโจทก์มาเป็นเงิน250,000บาทเมื่อจำเลยที่1ชำระให้โจทก์ไปแล้วเป็นเงิน125,489บาทคงเหลืออีก124,511บาทเท่าที่จำเลยที่1จะต้องชำระให้แก่โจทก์ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมนั้นโจทก์คิดจากจำเลยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยจึงไม่ต้องชำระให้แก่โจทก์นั้นล้วนเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งและไม่ใช่ข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4770/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิในที่ดินสาธารณสมบัติเพื่อประโยชน์ราชการ ไม่ถือเป็นการละเมิด แม้จำกัดสิทธิการใช้ทางของผู้อื่น
ทางพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณะ แต่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1304(3) และอยู่ในโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ครอบครองดูแลที่ดินแทนจำเลยที่ 3 ปิดกั้นทางพิพาทบริเวณที่เชื่อมกับถนนสายบางกอกน้อยตลิ่งชันและทำรั้วลวดหนามล้อมที่ดินด้านที่มีแนวเขตติดต่อกับที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในสถานที่ราชการ จึงเป็นการกระทำโดยชอบ แม้จะเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสามไม่สามารถใช้ทางพิพาทได้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น อันจะฟังว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม
of 33