พบผลลัพธ์ทั้งหมด 507 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5015/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยปกปิดภูมิลำเนา และไม่คัดค้านการแจ้งโดยหนังสือพิมพ์
คดีนี้ได้มีการประกาศขายทอดตลาด 2 ครั้งในการนำประกาศขายทอดตลาดครั้งแรกไปแจ้งแก่จำเลยเจ้าหน้าที่ส่งหมายรายงานว่าบ้านของจำเลยได้รื้อไปแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเรียกผู้แทนโจทก์มาแถลงเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลย ผู้แทนโจทก์แถลงว่า ได้ติดต่อเพื่อสืบหาที่อยู่ของจำเลย และปรากฏว่าไม่พบตามทะเบียนราษฎร์จึงขอประกาศหนังสือพิมพ์แจ้งให้จำเลยทราบแทนการส่งหมาย และในวันประกาศขายทอดตลาดครั้งที่ 1 ทนายจำเลยก็แถลงเพื่อขอคัดเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขายทอดตลาดครั้งนี้ นอกจากนั้นทนายจำเลยยังยื่นคำแถลงคัดค้านเกี่ยวกับราคาที่ขายว่ายังต่ำไป ดังนี้ เมื่อบ้านเลขที่ 174อันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยกำลังถูกรื้อ โดยจำเลยมีพฤติการณ์ปกปิดภูมิลำเนาอันแท้จริงของตน จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจส่งประกาศกำหนดวันนัดขายทอดตลาดให้จำเลยณ ภูมิลำเนาดังกล่าวของจำเลยขณะโจทก์ฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74(2) และการที่จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดและแจ้งให้จำเลยทราบโดยประกาศหนังสือพิมพ์แล้ว แต่จำเลยหาได้คัดค้านว่าการแจ้งให้จำเลยโดยประกาศหนังสือพิมพ์ไม่ถูกต้องทั้งจำเลยมิได้แจ้งให้ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าในการขายทอดตลาดครั้งต่อไป ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้จำเลยทราบ ณ ภูมิลำเนาใหม่ของจำเลยพฤติการณ์ของจำเลยเช่นนี้จึงเป็นการยอมรับว่าการแจ้งกำหนดวันขายทอดตลาดให้จำเลยทราบโดยประกาศหนังสือพิมพ์ถูกต้องแล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4881/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งปิดประชุมของประธานศาลฎีกาชอบด้วยกฎหมาย เหตุจากนายกฯ ขอให้พิจารณาเรื่องแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการใหม่
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เป็นบทบัญญัติที่ต้องการเอาโทษแก่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ แต่กลับปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้หนึ่งผู้ใดตอนหนึ่งและเอาโทษแก่เจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตอีกตอนหนึ่ง ในตอนแรก คำว่าเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดนั้น หมายความรวมถึง เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล หรือเอกชนผู้หนึ่งผู้ใดด้วย ดังนั้น หากการปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานโดยมิชอบเป็นการกระทำ ต่อเอกชนผู้หนึ่งผู้ใดโดยตรง และเป็นการกระทำให้บุคคลดังกล่าว ได้รับความเสียหาย เอกชนผู้นั้นย่อมเป็นผู้เสียหายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) ได้ คำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายถึงหน้าที่ตลอดจนการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติงานในหน้าที่ของจำเลยที่ 3 มาในคำฟ้องคำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ของจำเลยที่ 3 จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ดังนั้นปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 3 กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่จึงไม่จำต้องวินิจฉัย ตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 นอกจากจะเป็นตำแหน่งทางฝ่ายตุลาการแล้วยังเป็นตำแหน่งทางฝ่ายบริหารมีอำนาจให้คุณให้โทษแก่ผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ธุรการผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาได้ด้วย ถือว่าเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ และศักดิ์ศรีสูงกว่าตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ซึ่งเป็นตำแหน่งทางฝ่ายตุลาการเพียงอย่างเดียว ฉะนั้น การแต่งตั้งโจทก์จากผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงเป็นการปูนบำเหน็จความดีความชอบให้แก่โจทก์เป็นการขัดกับ การที่โจทก์ยังมีโทษงดบำเหน็จอยู่ การที่จำเลยที่ 2 ดำเนินการหาข้อยุติความเห็นขัดแย้งเกี่ยวกับมติ ก.ต. ที่เห็นชอบในการแต่งตั้งโจทก์ดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการใช้ดุลพินิจพิจารณา สั่งการไปตามอำนาจหน้าที่ในทางบริหารราชการแผ่นดิน และที่สำคัญยิ่งก็คือการจะนำเรื่องใดเสนอให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งนั้นเรื่องนั้นจะต้องมีข้อยุติว่าเป็นเรื่องที่ชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการแล้ว การที่จำเลยที่ 2 พยายามหาข้อยุติความเห็นที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับมติ ก.ต. ที่แต่งตั้งโจทก์และยังไม่อาจนำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไปนั้นหาใช่จำเลยที่ 2 มีเจตนาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้โจทก์เสียหายอย่างใดไม่ จำเลยที่ 2จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จำเลยที่ 4 ดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกาและเป็นประธาน ก.ต.โดยตำแหน่งในการประชุมก.ต.ประธานก.ต. เป็นประธานที่ประชุม โดยทั่วไปแล้วในการประชุมประธานที่ประชุมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ จัดการประชุมและรับผิดชอบดำเนินการประชุมให้เป็นไปด้วย ความเรียบร้อยและเป็นผลดีแก่ทางราชการ หากไม่มีข้อบังคับ กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นกรณีมีเหตุจำเป็นและสมควรประธานที่ประชุม จะสั่งเลื่อนหรือปิดประชุมก็ย่อมทำได้ ได้ความว่า ในตอนเช้าจำเลยที่ 4 มีคำสั่งให้ดำเนินการประชุม ก.ต. ไป ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องต่าง ๆ จนกระทั่งถึงวาระการ แต่งตั้งข้าราชการตุลาการ จำเลยที่ 3 แถลงขอให้ที่ประชุม เลื่อนวาระนี้ไปก่อนโดยชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นว่า มีเรื่องที่จะต้องปรึกษาหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อยู่อีกและเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง ส่วนจำเลยที่ 4 ก็ได้พยายาม ชี้แจงและขอร้องให้ที่ประชุมเลื่อนวาระดังกล่าวออกไป โดยแจ้งว่าการเลื่อนออกไปจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม แต่ในที่สุดส่วนใหญ่ของที่ประชุมเห็นว่าไม่สมควร ให้มีการเลื่อนจำเลยที่ 4 จึงอาศัยอำนาจของประธาน ที่ประชุมสั่งให้เลื่อนและปิดประชุมทั้งนี้โดยมีมูลเหตุมาจาก การขอร้องของพลเอก ส. นายกรัฐมนตรีผู้ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อให้เกิดผลดี ต่อบ้านเมืองในทุก ๆ ด้านตามรัฐประศาสโนบาย โดยเฉพาะ เป็นผู้มีหน้าที่นำมติ ก.ต. ที่เห็นชอบในการแต่งตั้งโจทก์ ขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เมื่อพลเอก ส. เห็นว่าโจทก์ยังมีโทษทางวินัยอยู่และการแต่งตั้งโจทก์เป็นการขัดต่อพระราชกระแส เช่นนี้การที่จำเลยที่ 4 ขอให้ที่ประชุมเลื่อนการพิจารณาออกไปก่อนโดยแจ้งว่าการเลื่อนจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 4 ได้พิจารณาถึงเหตุผลและความเหมาะสมในหลาย ๆ ด้านแล้ว จึงได้สั่งให้เลื่อนและปิดประชุมหากจำเลยที่ 4 มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ จำเลยที่ 4 จะไม่นำเรื่องการแต่งตั้งโจทก์บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมก็ย่อมได้ทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 4 ก็รู้อยู่ว่าโจทก์มีโทษ ทางวินัยอยู่ การที่ภายหลังต่อมามีเหตุจำเป็นต้องเลื่อน การประชุมดังกล่าวแล้ว กรณีจึงไม่เชื่อว่าจำเลยที่ 4 สั่งเลื่อนและปิดประชุมโดยมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4187/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยชอบด้วยกฎหมาย และการไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหาย
จำเลยที่ 3 เจ้าของที่ดินที่อยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ซึ่งต่าง อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฯ ได้ยื่นคำร้องทุกข์ ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ก็เพราะจำเลยที่ 3 ได้รับ ความเดือดร้อนและเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำของ เจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ ของรัฐที่กำหนดแนวเขตทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่าง ถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อ ไม่ตรงกับมติคณะผู้บริหารอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการสร้างทางหลวงเทศบาล สายดังกล่าวทั้งนี้ต้องตามบทบัญญัติแห่ง พระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 มาตรา 18 และมาตรา 19(1) และ (2)(ง)การกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตและชอบด้วย กฎหมาย จึงไม่เป็นละเมิด การที่จำเลยที่ 4 ได้ทำการสำรวจและทำแผนที่กำหนดแนวเขตทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อ ให้เป็นไปตามมติคณะผู้บริหารของจำเลยที่ 1 ก็เพื่อต้องการทราบว่า ลักษณะรูปแผนที่และแนวเขตทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าว เพื่อเสนอให้คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณาประกอบเรื่อง ร้องทุกข์ ส่วนคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์จะเห็นพ้องด้วยหรือไม่ ก็อยู่ในดุลพินิจของกรรมการแต่ละคน จึงไม่เป็นการกระทำละเมิด โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในเขตทางหลวงที่ถูกเวนคืนดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 8 และที่ 9 ที่ร่วมเป็นคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณาเรื่องร้องทุกข์ของจำเลยที่ 3 ตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ซึ่งบัญญัติไว้ในภาค 1 หมวด 3 แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 คำวินิจฉัยของ คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มี อำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยนี้ได้ และในการพิจารณา เรื่องนี้คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ก็พิจารณาถึงการกระทำ ของเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ว่า ทำแผนที่กำหนดแนวเขตทางหลวงเทศบาลที่จะสร้างถูกต้องเป็นไปตามมติคณะผู้บริหาร ของจำเลยที่ 1 หรือไม่และที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร ไม่ได้ พิจารณาถึงที่ดินหรือการกระทำของโจทก์ ทั้งโจทก์ก็มิได้ เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องทุกข์แต่อย่างใดดังนั้น การที่ จำเลยที่ 8 และที่ 9 มิได้เรียกโจทก์เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืน มาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งพยานหลักฐานประกอบการพิจารณา ไม่ถือว่ากระทำต่อโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 เข้าครอบครองสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรี กับซอยทองหล่อ ในที่ดินของโจทก์ก็กระทำโดยอาศัยอำนาจตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อ พ.ศ. 2535 และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรี กับซอยทองหล่อ เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาและประกาศดังกล่าว หากจำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แล้วกล่าวคือหากจำเลยที่ 1 ได้จ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์และมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วันก่อนเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์แล้ว จำเลยที่ 1ก็มีอำนาจเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นได้ ผู้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าเจ้าหน้าที่เวนคืนได้วางเงิน ค่าทดแทนโดยนำไปฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์แล้วและจำเลยที่ 1 จะเข้าครอบครองที่ดินของโจทก์เมื่อพ้นกำหนด60 วัน นับแต่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้ง การที่จำเลยที่ 1 เข้าครอบครองและใช้ที่ดินของโจทก์สร้างทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนด 60 วันนับแต่วันที่แจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องห้ามจำเลยที่ 1 กระทำการดังกล่าว รวมทั้งไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำนั้น การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สั่งให้ถือเอาแนวเขตทางหลวงเทศบาลที่จำเลยที่ 4 จัดทำขึ้นเป็นหลักในการสร้างทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าว สอดคล้องกับคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่สั่งการตามคำวินิจฉัยของ คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ให้ถือแนวเขตทางหลวงเทศบาล ที่จำเลยที่ 4 โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์จัดทำขึ้นเป็นหลัก ทั้งสอดคล้องกับรูปแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายนั้น การของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าทำละเมิดต่อโจทก์ ผู้ถูกเวนคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อหนี้ผูกพันตาม พ.ร.บ.งบประมาณ: การแก้ไขใบส่งของไม่ถือเป็นการก่อหนี้ใหม่ หากการก่อหนี้เดิมชอบด้วยระเบียบ
การซื้อพัสดุอุปกรณ์พิพาท จำเลยได้กระทำก่อนสิ้นปีงบประมาณ2530 โดยจำเลยได้ขอเบิกเงินจากโจทก์ กองคลังของโจทก์เห็นว่าเงินงบประมาณในหมวดเงินตอบแทนใช้สอยและวัสดุไม่มีแล้ว จึงแนะนำให้จำเลยเบิกจากเงินบำรุงการศึกษา แต่จำเลยไม่กระทำ กลับไปให้ผู้ขายแก้ไขใบส่งของและสำเนาใบส่งของเป็นว่า จำเลยที่ 1 ได้สั่งซื้อพัสดุ 42 ครั้ง ในปีงบประมาณ 2531 แล้วจำเลยนำพัสดุจัดซื้อมาดังกล่าวนำไปใช้ในหน่วยราชการของโจทก์ครบถ้วน เมื่อตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ยกเว้นกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 ตรี ว่า ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจจะจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันได้แต่เฉพาะตามที่ได้กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายอื่น และห้ามมิให้จ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม จนกว่าจะได้รับอนุมัติเงินประจำงวดแล้ว ส่วนมาตรา 26 บัญญัติให้ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้ใดของส่วนราชการ กระทำการก่อหนี้ผูกพันหรือจ่ายเงิน หรือโดยรู้อยู่แล้วยินยอมอนุญาตให้กระทำการดังกล่าวนั้นโดยฝ่าฝืนพ.ร.บ.นี้ หรือระเบียบหรือข้อบังคับที่ได้ออกตามความใน พ.ร.บ.นี้ นอกจากความรับผิดทางอาญาซึ่งอาจได้รับตามกฎหมายอื่นแล้ว ผู้กระทำหรือผู้ยินยอมอนุญาตให้กระทำดังกล่าว จะต้องรับผิดชดใช้จำนวนเงินที่ส่วนราชการได้จ่ายไป หรือต้องผูกพันจะต้องจ่ายตลอดจนค่าสินไหมทดแทนใด ๆ ให้แก่ส่วนราชการนั้น ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 ได้ทำการขออนุมัติจัดซื้อพัสดุครุภัณฑ์ในคดีนี้โดยชอบด้วยระเบียบของทางราชการโจทก์ในปีงบประมาณ 2530 และโจทก์ได้ใช้ประโยชน์จากพัสดุครุภัณฑ์ที่จำเลยจัดซื้อครบถ้วนแล้ว และการที่จำเลยจัดซื้อพัสดุรุภัณฑ์ที่พิพาทตามระเบียบของโจทก์และเสนอขอเบิกเงินจากกองคลังของโจทก์ในปีงบประมาณ 2530 โดยจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าได้มีการกำหนดงบประมาณไว้ใน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2530 แล้ว และโจทก์ได้รับอนุมัติเงินประจำงวดแล้ว การก่อหนี้ผูกพันของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยชอบ มิได้ฝ่าฝืน พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 มาตรา 23 และมาตรา 26
จำเลยได้จัดซื้อพัสดุคุรุภัณฑ์ประจำปีงบประมาณ 2530 มาใช้ในทางราชการจากร้านค้าต่าง ๆ แต่จำเลยให้ผู้ขายแก้ไขใบส่งของและสำเนาใบส่งของเป็นว่าจำเลยสั่งซื้อพัสดุครุภัณฑ์ในคดีนี้ในปีงบประมาณ 2531 ไม่เป็นการก่อหนี้ผูกพันขึ้นใหม่แต่อย่างใด เพราะหนี้มีอยู่แต่เดิมแล้ว จำเลยกระทำการดังกล่าวก็เพียงเพื่อประสงค์จะขอเบิกเงินจากงบประมาณปี 2531 ซึ่งเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 มาตรา 27 แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยก่อหนี้ผูกพันไม่ชอบตามมาตรา 26 เท่านั้น มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยจ่ายเงินโดยฝ่าฝืนพ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 มาตรา 26 เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นการก่อหนี้ขึ้นใหม่เพื่อผูกพันงบประมาณปี 2531 และการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณปี 2530 ของจำเลยได้กระทำโดยชอบด้วยระเบียบของทางราชการ จำเลยจึงไม่ต้องชดใช้เงินดังกล่าวให้โจทก์ และพัสดุที่จำเลยสั่งซื้อได้นำไปใช้ในส่วนราชการของโจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 420
จำเลยได้จัดซื้อพัสดุคุรุภัณฑ์ประจำปีงบประมาณ 2530 มาใช้ในทางราชการจากร้านค้าต่าง ๆ แต่จำเลยให้ผู้ขายแก้ไขใบส่งของและสำเนาใบส่งของเป็นว่าจำเลยสั่งซื้อพัสดุครุภัณฑ์ในคดีนี้ในปีงบประมาณ 2531 ไม่เป็นการก่อหนี้ผูกพันขึ้นใหม่แต่อย่างใด เพราะหนี้มีอยู่แต่เดิมแล้ว จำเลยกระทำการดังกล่าวก็เพียงเพื่อประสงค์จะขอเบิกเงินจากงบประมาณปี 2531 ซึ่งเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 มาตรา 27 แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยก่อหนี้ผูกพันไม่ชอบตามมาตรา 26 เท่านั้น มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยจ่ายเงินโดยฝ่าฝืนพ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 มาตรา 26 เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นการก่อหนี้ขึ้นใหม่เพื่อผูกพันงบประมาณปี 2531 และการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณปี 2530 ของจำเลยได้กระทำโดยชอบด้วยระเบียบของทางราชการ จำเลยจึงไม่ต้องชดใช้เงินดังกล่าวให้โจทก์ และพัสดุที่จำเลยสั่งซื้อได้นำไปใช้ในส่วนราชการของโจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 420
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาตามยอมและการบังคับคดีภายในสิบปี ศาลพิพากษายืนคำสั่งบังคับคดีชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมและมีคำสั่งท้ายคำพิพากษาว่าบังคับตามยอม ทั้งมีคำสั่งไว้ที่หน้าสำนวนว่า บังคับ ตามยอม หากไม่ปฏิบัติตามจะถูกยึดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยโจทก์กับจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้มีคำบังคับกำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับนั้นไว้และจำเลยทราบคำบังคับนั้นแล้ว เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ โจทก์จะ ต้องร้องขอให้บังคับคดีอีกชั้นหนึ่ง โจทก์ยื่นคำร้องว่า โจทก์ประสงค์จะบังคับคดีโดยนำเงิน18,200,000 บาท มาวางศาลเพื่อชำระแก่จำเลยตามคำพิพากษาตามยอมและคำบังคับ อันเป็นการชำระหนี้ต่างตอบแทนในการขอให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมแต่คำบังคับของศาลไม่มีกรณีต้องดำเนินการทางเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือต้องยื่นคำขอให้ออกหมายบังคับคดี การยื่นคำร้องดังกล่าวของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 เมื่อเป็นการร้องขอให้บังคับคดีของโจทก์ชอบด้วยกฎหมาย การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีเพื่อให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมและคำบังคับก็ย่อมชอบ ด้วยกฎหมายด้วย แม้การบังคับคดีจะยังไม่แล้วเสร็จภายใน สิบปีก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกโดยวิธีปิดหมาย ณ สำนักงานใหญ่ของจำเลยชอบด้วยกฎหมาย แม้เอกสารจะล่าช้าในการส่งต่อภายใน
ในคดีแรงงานเมื่อพนักงานเดินหมายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลย โดยวิธีปิดหมายตามคำสั่งศาลแรงงาน ณ ภูมิลำเนาของจำเลยคือสำนักงานใหญ่อันเป็นสำนักทำการงานของจำเลยแล้ว การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 74 ประกอบมาตรา 79 ส่วนการที่พนักงานจำเลยซึ่งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ได้เก็บรวบรวมสำเนาคำฟ้องไว้กับเอกสารอื่นซึ่งมีจำนวนมากกว่าจะมีการแยกแยะ เพื่อส่งไปยังผู้บริหารซึ่งไปประจำอยู่ ณ สำนักงานโครงการ อันเป็นสำนักงานชั่วคราวเกิดความล่าช้ารวมทั้งระยะเวลาในการส่งไปยังผู้บริหารดังกล่าวก็ล่วงเลยกำหนดนัดของศาล โดยจำเลยไม่มีเจตนาจะไม่ยื่นคำให้การ และไม่ไปศาลตามนัดนั้น เป็นเรื่องการบริหารกิจการภายในที่จำเลยจะต้องกำชับดูแลพนักงานจำเลยให้ปฏิบัติงานให้ทันตามกำหนดเวลาเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย การที่พนักงานจำเลยตรวจสอบแยกแยะเอกสารล่าช้าและส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่ผู้บริหารของจำเลยล่วงเลยเวลาซึ่งกำหนดให้ปฏิบัติตามข้อความในหมายเรียกเมื่อเป็นความผิดหรือบกพร่องของจำเลยเอง จึงมิใช่เหตุผลอันสมควรที่จำเลยจะยกมาอ้างต่อศาลในการไม่ไปศาลตามนัด ในหมายเรียก การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่มี เหตุอันสมควร เป็นการขาดนัดโดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่มีเหตุที่จำเลยจะขอให้พิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2700/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย: การปิดหมายทดแทนเมื่อส่งไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 78
ถ้าการส่งคำคู่ความหรือเอกสารหากไม่สามารถจะทำได้ดั่งที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 78 ศาลอาจสั่งให้ส่งโดยวิธีอื่นแทนได้ กล่าวคือปิดคำคู่ความหรือเอกสารไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 79 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าการส่งคำคู่ความหรือเอกสารไม่สามารถจะทำได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 78 ศาลจะต้องสั่งให้เป็นกิจจะลักษณะเสียก่อนว่าให้ส่งโดยวิธีปิดคำคู่ความหรือเอกสารได้ เมื่อไม่ปรากฏว่า การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่สามารถจะทำได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 78 และไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปิดหมายนัดเป็นกิจจะลักษณะ เพราะในหมายนัดก็มีข้อความที่พิมพ์แต่เพียงว่า "หมายศาล - ปิดหมาย"เท่านั้น ทั้งเจ้าหน้าที่ส่งหมายก็รายงานว่า บริษัทจำเลยย้ายกิจการออกไปนานแล้ว แม้การปิดหมาย ณ สถานที่ดังกล่าวในชั้นส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง จำเลยสามารถยื่นคำให้การได้ก็ตามแต่เวลาก็ล่วงเลยมานานถึงสามปีเศษแล้ว และเมื่อปรากฏว่าขณะปิดหมายนัดสถานที่ที่ปิดหมายดังกล่าวไม่ใช่ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย การปิดหมายจึงไม่ชอบตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวข้างต้น การที่จำเลยไม่มาศาลย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวันดังกล่าว และถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังโดยชอบแล้ว ศาลฎีกาชอบที่จะเพิกถอนการอ่านคำพิากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะในส่วนที่อ่านให้จำเลยฟัง และให้ศาลชั้นต้นนัดจำเลยมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ใหม่ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย สำนักงานทนายความเลิกกิจการแล้ว
หากข้อเท็จจริงได้ความตามคำร้อง ของ จำเลยที่ 1 และที่ 2ว่าสำนักงานของทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามที่พนักงานเดินหมายไปปิดหมายนั้นได้เลิกประกอบกิจการไปนานแล้ว ไม่มีผู้ใดอาศัยอยู่ในสำนักงานดังกล่าว ซึ่งพนักงานเดินหมาย ก็ทราบดี จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมไม่อาจทราบเรื่องหมายนัด ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำการ ไต่สวนให้ได้ความว่าการส่งหมายนัดดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 และ ที่ 2 ชอบแล้วหรือไม่ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2524/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกที่ชอบด้วยกฎหมาย: การปิดหมายที่สำนักงานในอาคารสูง และการจงใจขาดนัด
อาคารที่ตั้งสำนักงานของจำเลยที่ 1 เป็นตึกสูง 20 ชั้นในอาคารนั้นเป็นที่ตั้งสำนักงานบริษัทอื่น ๆ ประมาณ50 บริษัท สำนักงานของจำเลยที่ 1 อยู่ที่ชั้น 19ซึ่งตามปกติพนักงานของศาลที่ไปส่งหมายต่าง ๆ ให้บริษัทจำเลยที่ 1 จะปิดหมายไว้ที่บริเวณใกล้ตู้โทรศัพท์ซึ่งเป็นทางเดินเล็ก ๆ ไปยังห้องน้ำอยู่แล้ว ดังนั้น ที่พนักงานเดินหมายของกรมบังคับคดีนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องซึ่งได้กำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ไปส่งให้แก่จำเลยที่ 1โดยการปิดไว้ชั้นล่างของอาคารดังกล่าว จึงเป็นวิธีปฏิบัติตามปกติในการส่งหมายให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ย้ายภูมิลำเนาไปที่อื่น การปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องตลอดจนการแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการปิดคำคู่ความและเอกสารไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคหนึ่งแล้วเมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องกับได้ทราบถึงวันนัดสืบพยานโจทก์โดยชอบแล้ว การที่จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนดและไม่มาศาลในวันสืบพยานโจทก์โดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดีจึงเป็นการจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาไม่มีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย แม้ราคาประเมินแตกต่างกัน ผู้ซื้อเสนอราคาสูงสุด ไม่มีสมยอม
ในวันขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีผู้สนใจประมูลประมาณ20คนเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้อ่านประกาศขายทอดตลาดและข้อสัญญาตลอดจนคำเตือนให้ผู้สนใจทราบทุกคนแล้วมีผู้เข้าสู้ราคาเพียง2คนคืออ. และโจทก์ซึ่งอ.เป็นผู้เสนอราคาสูงสุดเป็นเงิน14,100,000บาทสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีและสำนักงานวางทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเคาะไม้ขายไปในราคาดังกล่าวทั้งไม่ปรากฏว่าการขายทอดตลาดครั้งนี้มีการสมยอมกันแต่อย่างใดและเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ไม่ได้กระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีอีกด้วยที่จำเลยที่1อ้างมาในฎีกาว่าการประมูลมีการกดราคาและสู้ราคาในอัตราที่ต่ำกว่าความเป็นจริงนั้นเมื่อมีการขายทอดตลาดถึง18ครั้งจำเลยที่1กับพวกก็หาได้ขวนขวายหาผู้มาประมูลตามที่จำเลยที่1อ้างแต่อย่างใดไม่จึงถือได้ว่าการขายทอดตลาดเป็นอันสมบูรณ์และชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่มีเหตุที่จะขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดใหม่