พบผลลัพธ์ทั้งหมด 189 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1684/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ผู้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ในการวางค่าฤชาธรรมเนียมและชำระเงินตามคำพิพากษา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ซึ่งใช้บังคับขณะจำเลยยื่นอุทธรณ์ บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ที่จะต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนด10 วัน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ มิได้บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องกำหนดเวลาให้ผู้อุทธรณ์ปฏิบัติไม่ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเวลาให้จำเลยนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลก็ดี หรือการที่ศาลอุทธรณ์มิได้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นกำหนดเวลาดังกล่าวนั้น หรือศาลอุทธรณ์มิได้กำหนดเวลาดังกล่าวเสียเองก็ดี หาใช่คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังที่จำเลยฎีกาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 494/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระเงินตามเช็คหลังปฏิเสธการจ่าย: หลักเกณฑ์การเลิกคดีตาม พ.ร.บ.เช็ค
ในกรณีที่ผู้ออกเช็คได้นำเงินไปชำระแก่ธนาคารเพื่อจ่ายเงินตามเช็ค ให้คดีเป็นอันเลิกกัน ดังที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 5 บัญญัติไว้นั้น เมื่อได้ความว่าผู้ออกเช็คได้นำเงินเข้าบัญชีธนาคารเป็นจำนวนเงินเท่ากับจำนวนเงินตามเช็ค โดยมีพฤติการณ์ที่เห็นได้ว่าเป็นเงินที่ผู้ออกเช็คนำไปชำระแก่ธนาคาร เพื่อจ่ายเงินตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องแล้วคดีย่อมเป็นอันเลิกกันตามความหมายแห่ง ป.วิ.อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 494/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระเงินค่าเช็คหลังธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินทำให้คดีเลิกกันได้ แม้ไม่แจ้งให้ผู้รับทราบ
ที่พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497มาตรา 5 วรรคท้าย บัญญัติว่า ถ้าผู้กระทำผิดตามมาตรา 3 ได้นำเงินตามเช็คไปชำระแก่ผู้ทรงเช็ค หรือแก่ธนาคารเพื่อจ่ายเงินตามเช็คภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ทรงเช็คได้บอกกล่าวให้ผู้ออกเช็คได้รับทราบว่าธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงินให้คดีเป็นอันเลิกกันตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา นั้นไม่ปรากฏข้อความบังคับว่าผู้ออกเช็คหรือจำเลยจะต้องแจ้งให้ผู้ทรงเช็คหรือโจทก์ทราบ หรือขอให้ธนาคารแจ้งให้ผู้ทรงเช็คทราบแทนผู้ออกเช็คหรือต้องแจ้งให้ธนาคารทราบว่า เงินที่ผู้ออกเช็คนำเข้าบัญชีนั้นเป็นการนำเข้าเพื่อจ่ายตามเช็คนั้นโดยเฉพาะเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1นำเงินเข้าบัญชีธนาคารเป็นจำนวนเงินเท่ากับจำนวนเงินตามเช็คนั้นโดยมีพฤติการณ์ที่เห็นได้ว่าเป็นเงินที่ผู้ออกเช็คนำไปชำระแก่ธนาคารเพื่อจ่ายเงินตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องแล้ว คดีย่อมเป็นอันเลิกกันตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3177/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาผูกพันแม้ไม่มีตราบริษัท เมื่อกรรมการลงนามและมีการชำระเงิน
บริษัทโจทก์ได้จดทะเบียนไว้ว่า ส.หรืออ. กรรมการคนใดคนหนึ่งลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทจึงผูกพันโจทก์ได้ จำเลยได้ทำสัญญารับจ้างเหมาสร้างเครื่องอบมะพร้าวผงโดยสัญญาทำในนามของโจทก์และมี ส. กรรมการโจทก์ลงลายมือชื่อเป็นผู้ว่าจ้าง จำเลยเป็นผู้นำเครื่องอบมะพร้าวผงไปติดตั้งที่โรงงานของโจทก์ เพื่อใช้ผลิตมะพร้าวผงอันเป็นกิจการของโจทก์และรับเงินค่าติดตั้งจากโจทก์ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นการทำกับโจทก์หาใช่ทำกับ ส. ในนามส่วนตัวไม่ เมื่อจำเลยทำสัญญากับโจทก์ก็ต้องผูกพันตามสัญญา จะอ้างว่าโจทก์ไม่ประทับตราสำคัญของบริษัทโจทก์จึงไม่ผูกพันหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายอ้อย: การชำระเงินขัดแย้ง การสืบพยาน และหลักฐานสัญญา
เมื่อข้อความในสัญญาซื้อขายระบุเรื่องการชำระราคาสินค้าไว้ขัดแย้งกันไม่อาจรับฟังเป็นยุติไปในทางใดได้ จึงเป็นเรื่องที่คู่กรณีต้องนำสืบให้เห็นว่าแท้จริงเรื่องนี้ได้ตกลงกันไว้อย่างไรไม่เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันจะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 จำเลยให้การรับว่าทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ตามฟ้อง จึงไม่ใช่กรณีที่จะต้องใช้สัญญาซื้อขายเป็นพยานหลักฐาน แม้สัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็ถือว่ามีหลักฐานเป็นหนังสือใช้ฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การชำระเงินไม่ครบถ้วน การคำนวณผิดพลาด และสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจากจำเลย และผ่อนชำระราคาเรื่อยมาจำเลยได้ออกหลักฐานการชำระเงินงวดสุดท้ายให้โจทก์ระบุว่า"จ่ายให้หมดแล้ว" ซึ่งความจริงเงินที่ต้องผ่อนชำระยังขาดอยู่อีก2,600 บาท แต่จำเลยคำนวณผิดพลาด จำนวนเงินที่ขาดนี้ไม่ใช่โจทก์ไม่ยินยอมชำระ แต่เนื่องจากโจทก์เข้าใจว่าได้ชำระครบถ้วนแล้วตามหลักฐานที่จำเลยทำให้และที่จำเลยทวงถามก็ให้โจทก์ชำระเงินถึง8,200 บาท ซึ่งมิใช่จำนวนเงินที่ค้างจริง ทั้งเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3พิพากษาให้โจทก์ชำระเงินส่วนที่ค้างชำระจริง โจทก์ก็มิได้ฎีกาโต้แย้ง แสดงว่าโจทก์ยอมรับที่จะชำระเงินส่วนนี้ให้จำเลยให้ครบถ้วนตามสัญญา จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญาจำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและต้องปฏิบัติตามสัญญาต่อไปเมื่อโจทก์ได้ชำระเงินส่วนที่ยังขาดอยู่ให้ครบถ้วนแล้ว โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินให้จำเลยไปเพียง 45,000 บาท ถ้าจะบังคับให้จำเลยคืนเงินก็คงบังคับได้เฉพาะส่วนที่จำเลยได้รับชำระไปแล้วเท่านั้น จะบังคับให้คืนทั้งหมด 48,000 บาท ตามสัญญาจะซื้อจะขาย โดยรวมส่วนที่ยังชำระไม่ครบด้วยนั้นไม่ชอบ เมื่อโจทก์ยังชำระค่าที่ดินขาดอยู่อีก 2,600 บาท ซึ่งแม้ในตอนแรกจะเกิดขึ้นจากการคำนวณผิดพลาดของจำเลยว่าชำระครบแล้วแต่ต่อมาเมื่อจำเลยทวงถาม โจทก์ก็ยังไม่ยอมชำระ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาที่ยังไม่โอนที่ดินให้โจทก์ โจทก์จึงไม่อาจจะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินยังไม่สมบูรณ์เนื่องจากชำระเงินไม่ครบ ถือเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่คู่สัญญาต้องปฏิบัติหนี้ต่อกัน
ว. บิดาโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลย แต่ยังชำระราคาไม่ครบถ้วน และยังมิได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่กัน เมื่อ ว. ถึงแก่ความตาย และโจทก์ได้ฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ดังนี้ จำเลยมีหน้าที่จะต้องโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ และโจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าที่ดินที่ค้างชำระนั้นให้แก่จำเลย เพราะเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2479/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเชิดตัวแทน – หน้าที่รับผิดของตัวการเมื่อตัวแทนทำสัญญาซื้อขายและชำระเงินด้วยเช็คของตัวการ
จำเลยที่ 4 มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ดำเนินกิจการโรงแรมแทนและมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายเช็คของจำเลยที่ 4 ในกิจการของโรงแรมได้ ดังนี้การที่จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้ออุปกรณ์โทรศัพท์พิพาทจากโจทก์ โดยระบุว่ากระทำการแทนจำเลยที่ 4 แล้วจำเลยที่ 2ได้สั่งจ่ายเช็คของจำเลยที่ 4 ชำระราคาค่าอุปกรณ์โทรศัพท์และดอกเบี้ยบางส่วนตามสัญญาให้โจทก์ ประกอบกับจำเลยที่ 4 ได้ใช้อุปกรณ์โทรศัพท์พิพาทในกิจการโรงแรมของจำเลยที่ 4 ตลอดมาแสดงว่าจำเลยที่ 4 ได้เชิด ให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนเข้าทำสัญญาซื้อขายอุปกรณ์โทรศัพท์พิพาทกับโจทก์ จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดในฐานะตัวการต้องชำระราคาค่าอุปกรณ์โทรศัพท์พิพาทให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต้องปฏิบัติตามมาตรา 234 วรรคหนึ่ง โดยนำเงินมาชำระหรือหาประกัน หากไม่ปฏิบัติตาม ศาลชอบที่จะยกคำร้อง
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล เป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยได้ และการที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยไปยังศาลอุทธรณ์ทันทีโดยมิได้แจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อบกพร่องดังกล่าวก็ไม่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบเพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 มิได้บังคับให้ศาลชั้นต้นมีหน้าที่แจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบ แต่เป็นบทบัญญัติที่บังคับผู้อุทธรณ์เพียงฝ่ายเดียวให้ต้องปฏิบัติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอาคารชุด: การชำระเงินค่างวดและการเริ่มก่อสร้าง ไม่ถือเป็นผิดสัญญาหากเริ่มก่อสร้างก่อนครบกำหนดชำระเงิน
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารชุด เมื่อวันที่28 พฤษภาคม 2525 ระบุว่าจำเลยที่ 1 จะดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2526 และโจทก์ผู้จะซื้อตกลงชำระเงินมัดจำให้ในวันทำสัญญาเป็นเงิน 210,000 บาท และจะชำระในช่วงระยะเวลาก่อสร้างอีก 2,160,000 บาท โดยแบ่งชำระเป็นงวดจำนวน 24 งวด ภายในวันที่ 28 ของทุกเดือน จนกระทั่งถึงวันที่ 28 พฤษภาคม 2527 ปรากฏว่าโจทก์ชำระเงินมัดจำแล้วแต่ไม่ได้ชำระเงินค่างวด เช่นนี้ ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยต้องดำเนินการก่อสร้างตามงวดการชำระเงิน จึงเป็นเพียงการกะประมาณเอาหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาโดยแท้จริง คือสร้างอาคารชุดให้เสร็จภายในเดือน ธันวาคม 2526 ทั้งปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างบริษัท ผ. ตอกเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2525 และก่อนหน้านั้นต้องเจาะสำรวจดินเพื่อหาข้อมูลในการปักเสาเข็มก่อน ผู้รับจ้างเจาะสำรวจดินทำงานล่าช้าไปประมาณเดือนครึ่งซึ่งเป็นปกติวิสัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เมื่อคำนวณดูแล้วอย่างน้อยจำเลยก็ได้ดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่ประมาณกลางเดือนมิถุนายน 2525 ดังนี้จะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินมัดจำคืน.(ที่มา-ส่งเสริม)