คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชิงทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 588 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 282/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์โดยใช้กำลังข่มขู่ ความน่าเชื่อถือพยานหลักฐาน และการรับสารภาพ
คำเบิกความของพยานโจทก์ทุกปากไม่มีผู้ใดมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยจึงไม่มีข้อน่าระแวงสงสัยว่าจะเบิกความกลั่นแกล้งใส่ร้ายจำเลย น่าเชื่อว่าพยานทุกปากเบิกความไปตามความเป็นจริงส่วนที่จำเลยนำสืบว่าที่ให้การรับสารภาพเพราะถูกเจ้าพนักงานตำรวจทำร้ายจนทนไม่ไหวนั้น คงมีตัวจำเลยและบิดาจำเลยเท่านั้นที่เบิกความ และทนายจำเลยก็มิได้ถามค้านในเรื่องที่จำเลยอ้างว่าถูกทำร้ายจนทนไม่ไหวจึงต้องให้การรับสารภาพไว้ในขณะที่เจ้าพนักงานสอบสวนมาเบิกความเมื่อพิจารณาพยานหลักฐานต่าง ๆ ประกอบกับภาพถ่ายซึ่งจำเลยนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพของจำเลยแล้ว เห็นได้ว่าจำเลยกระทำโดยสมัครใจและไม่มีร่องรอยการถูกทำร้ายอยู่เลยคำให้การรับสารภาพชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยจึงไม่มีข้อพิรุธหรือน่าสงสัยว่าจะมีการบังคับขู่เข็ญ หรือทำร้ายจนจำเลยทนไม่ได้ต้องให้การรับสารภาพ พยานจำเลยที่นำสืบจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังเพื่อหักล้างพยานโจทก์ได้ พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมามีน้ำหนักมั่นคงน่าเชื่อถือจึงรับฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้องจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานชิงทรัพย์ vs. พยายามชิงทรัพย์: การยึดถือทรัพย์สินยังไม่สำเร็จ
จำเลยใช้ลูกเหล็กของกลางทุบตีที่บริเวณใบหน้า ของผู้เสียหายที่ 1 แล้วกระชากสร้อยคอทองคำที่ผู้เสียหายที่ 1สวมอยู่ที่คอจนขาด แต่สร้อยคอหลุดมือตกลงที่พื้นจำเลยที่ 1 ก้มลงเก็บ ผู้เสียหายที่ 1 ร้องขอความช่วยเหลือและเข้ากอดเอวและดึงเสื้อของจำเลยไว้ผู้เสียหายที่ 2 เข้ามาช่วย จำเลยสะบัดหลุด แล้ววิ่งหนีไป แม้ขณะสร้อยคอทองคำหลุดจากคอผู้เสียหายที่ 1สร้อยคอทองคำจะอยู่ที่มือจำเลยตอนกระชากก็เป็นการกระทำเพื่อมุ่งหมายจะให้สร้อยคอหลุดจากคอผู้เสียหายที่ 1 แต่หลังจากกระชากแล้วสร้อยคอหลุดจากมือจำเลยตกลงที่พื้นแล้วจำเลยยังไม่ทันยึดถือเอาสร้อยคอทองคำไป การที่จำเลยเอาสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายที่ 1 ไปไม่ได้ก็เนื่องจากผู้เสียหายที่ 1กอดเอวและดึงเสื้อของจำเลยไว้โดยมีผู้เสียหายที่ 2เข้ามาช่วย เห็นได้ว่า จำเลยได้ลงมือกระทำความผิดแล้วแต่การยึดถือเอาสร้อยคอทองคำนั้นไปยังไม่บรรลุผลการกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดเจตนาทุจริตในการชิงทรัพย์: การกระทำที่ปราศจากอาวุธและเจตนาลักทรัพย์
จำเลยว่าจ้างผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ไปส่งจำเลยโดยจำเลยไม่ได้พกมีดปลายแหลมไป เมื่อถึงที่เกิดเหตุจำเลยบอกให้หยุดรถ ผู้เสียหายหยุดรถเพราะรู้สึกว่ามีมีดปลายแหลมจี้ที่ด้านหลัง และโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่า สิ่งที่ผู้เสียหายเข้าใจว่าเป็นมีดปลายแหลมนั้นคืออะไร และสามารถใช้เป็นอาวุธได้หรือไม่ จึงต้องสันนิษฐาน ในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยว่าสิ่งของนั้นไม่สามารถใช้เป็นอาวุธได้ การที่ผู้เสียหายตกใจกลัวจึงเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายกลัวไปเอง และคำพูดที่จำเลยบอกให้ผู้เสียหายหยุดรถ โจทก์ก็ไม่ได้ นำสืบให้เห็นว่าเป็นคำพูดลักษณะใดอันจะแสดงว่าเป็นการขู่เข็ญ ว่าในทันทีทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือข่มขืนใจให้ผู้เสียหายหยุดรถ นอกจากนั้น ผู้เสียหายทราบว่าในขณะนั้นจำเลยจะไปเยี่ยมภริยาจำเลยที่โรงพยาบาล การที่จำเลยนำรถจักรยานยนต์ไปจอดที่ลานจอดรถของโรงพยาบาลในลักษณะเปิดเผย จนกระทั่งเจ้าพนักงานตำรวจตามยึดคืนได้ในวันรุ่งขึ้น ประกอบกับจำเลยไม่ได้หลบหนีไปที่ใดทั้งที่รู้ว่าผู้เสียหาย และ เพื่อนผู้เสียหายทราบที่อยู่ของจำเลย จึงเป็นการแสดงว่าเมื่อผู้เสียหายกระโดดหนีจากรถจักรยานยนต์แล้วจำเลยก็ขับรถจักรยานยนต์ไปยังจุดมุ่งหมายแล้วจอดรถทิ้งไว้โดยไม่ประสงค์จะเอารถจักรยานยนต์ไว้เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับตนหรือผู้อื่น การกระทำของจำเลยจึงขาดเจตนาทุจริตในการลักทรัพย์ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2472/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานในคดีชิงทรัพย์ และขอบเขตการฟ้องคดีอาญาที่แตกต่างจากข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้
แม้บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของ ต.จะเป็นพยานบอกเล่าซึ่งโดยลำพังไม่อาจรับฟังชี้ลงไปได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้กระทำความผิด แต่อาจรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์มีพันตำรวจตรี ว. พนักงานสอบสวนเบิกความว่า จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ และมีรายละเอียดเป็นขั้นตอนโดยให้การในวันรุ่งขึ้นหลังจากวันที่ถูกจับ อีกทั้งยังได้ความจากคำเบิกความของร้อยตำรวจเอก ส.ว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ตรวจค้นจำเลยที่ 2 พบเงินสดอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 จำนวน 30,000 บาทเศษ ซึ่งจำเลยที่ 2 ให้การรับว่าเป็นเงินที่ได้มาจากการชิงทรัพย์ และได้นำเจ้าพนักงานตำรวจไปชี้จุดที่จำเลยที่ 2 นำทรัพย์สินบางส่วนที่ได้มาจากการชิงทรัพย์ของผู้เสียหายทั้งสองไปฝังไว้ด้วยเช่นนี้ เมื่อพิจารณาคำให้การชั้นสอบสวนของ ต. ประกอบกับคำให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 และบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพแล้ว พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ชิงทรัพย์ผู้เสียหายจริงตามฟ้อง
ส่วนจำเลยที่ 1 นั้น นอกจากคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนแล้ว คงมีเพียงคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ซัดทอดว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดซึ่งเป็นคำชัดทอดระหว่างผู้กระทำความผิดด้วยกัน จึงยังไม่อาจรับฟังว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้อง
แม้พยานหลักฐานของโจทก์จะฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงมือกระทำผิดฐานรับของโจร แต่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ด้วยการใช้จ้างวาน มิได้ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงมือกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ กรณีย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานรับของโจร ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2472/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานในคดีชิงทรัพย์: คำรับสารภาพ, คำให้การร่วม, และความแตกต่างของฟ้อง
แม้บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของ ต. จะเป็นพยานบอกเล่าซึ่งโดยลำพังไม่อาจจะรับฟังชี้ลงไปได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้กระทำความผิด แต่อาจรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์มีพันตำรวจตรี ว.พนักงานสอบสวนเบิกความว่า จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพและมีรายละเอียดเป็นขั้นตอนโดยให้การในวันรุ่งขึ้นหลังจากวันที่ถูกจับ อีกทั้งยังได้ความจากคำเบิกความของร้อยตำรวจเอก ส. ว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ตรวจค้นจำเลยที่ 2 พบเงินสดอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2จำนวน 30,000 บาทเศษ ซึ่งจำเลยที่ 2 ให้การรับว่าเป็นเงินที่ได้มาจากการชิงทรัพย์ และได้นำเจ้าพนักงานตำรวจไปชี้จุดที่จำเลยที่ 2 นำทรัพย์สินบางส่วนที่ได้มาจากการชิงทรัพย์ของผู้เสียหายทั้งสองไปฝังไว้ด้วยเช่นนี้ เมื่อพิจารณาคำให้การชั้นสอบสวนของ ต. ประกอบกับคำให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 และบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพแล้ว พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ชิงทรัพย์ผู้เสียหายจริงตามฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 1 นั้น นอกจากคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนแล้ง คงมีเพียงคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ชัดทอดว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดซึ่งเป็นคำชัดทอดระหว่างผู้กระทำความผิดด้วยกัน จึงยังไม่อาจรับฟังว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้อง แม้พยานหลักฐานของโจทก์จะฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงมือกระทำผิดฐานรับของโจร แต่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ด้วยการใช้จ้างวาน มิได้ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงมือกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญกรณีย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานชิงทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย และอำนาจศาลในการพิพากษาจำเลยที่ไม่ได้ฎีกา
เหตุเกิดเวลากลางคืนโดยจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ชกต่อยทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย และจำเลยที่ 1 เอาสร้อยคอทองคำพร้อมพระเครื่องจำนวน 1 องค์ ของผู้เสียหายไป แต่การที่จำเลยทั้งสามสอบถามผู้เสียหายครั้งแรกที่ป้ายรถโดยสารประจำทางก็โดยมีเจตนาต้องการทราบว่าผู้เสียหายเป็นนักเรียนโรงเรียน ล.หรือไม่ หากว่าเป็นนักเรียนโรงเรียนดังกล่าว จำเลยทั้งสามจะได้แก้แค้น เมื่อผู้เสียหายบอกว่าไม่ใช่ จำเลยทั้งสามไม่เชื่อ ต่อมาเมื่อผู้เสียหายลงจากรถโดยสารประจำทางจึงถูกจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันทำร้ายร่างกาย การที่จำเลยที่ 1 เอาสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายไปขณะทำร้ายร่างกายผู้เสียหายโดยที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ทราบ และไม่มีเจตนาที่จะร่วมกันชิงทรัพย์หรือลักทรัพย์และจำเลยทั้งสามไม่มีเจตนาที่จะกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์มาแต่แรก คงมีเจตนาทำร้ายร่างกายเท่านั้น ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ในเวลากลางคืนตาม ป.อ.มาตรา 339 วรรคสอง จำเลยที่ 3 มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 391
คดีทั้งสามสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาคดีรวมกัน โดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันปล้นทรัพย์ซึ่งรวมถึงการชิงทรัพย์และทำร้ายร่างกายด้วย เฉพาะจำเลยที่ 3 ผู้เดียวฎีกาศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ในการกระทำความผิดดังกล่าวตามที่ทางพิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสุดท้าย ประกอบด้วยมาตรา 215, 225 ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1และที่ 3 แม้จะได้ร่วมซักถามผู้เสียหาย แต่จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ทั้งไม่ปรากฏว่าได้หลบหนีไปกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 แสดงว่าไม่ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 เมื่อเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วยแม้มิได้ฎีกา ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์เวลากลางคืน, ทำร้ายร่างกาย, เจตนา, ความร่วมมือ, อำนาจศาล
เหตุเกิดเวลากลางคืนโดยจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ชกต่อยทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย และจำเลยที่ 1 เอาสร้อยคอทองคำพร้อมพระเครื่อง จำนวน 1 องค์ ของผู้เสียหายไปแต่การที่จำเลยทั้งสามสอบถามผู้เสียหายครั้งแรกที่ป้ายรถโดยสารประจำทางก็โดยมีเจตนาต้องการทราบว่าผู้เสียหายเป็นนักเรียนโรงเรียน ล. หรือไม่ หากว่าเป็นนักเรียนโรงเรียนดังกล่าว จำเลยทั้งสามจะได้แก้แค้นเมื่อผู้เสียหายบอกว่าไม่ใช่ จำเลยทั้งสามไม่เชื่อต่อมาเมื่อผู้เสียหายลงจากรถโดยสารประจำทางจึงถูกจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันทำร้ายร่างกายการที่จำเลยที่ 1 เอาสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายไปขณะทำร้ายร่างกายผู้เสียหายโดยที่จำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่ทราบ และไม่มีเจตนาที่จะร่วมกันชิงทรัพย์หรือลักทรัพย์และจำเลยทั้งสามไม่มีเจตนาที่จะกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์มาแต่แรก คงมีเจตนาทำร้ายร่างกายเท่านั้น ดังนี้จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ในเวลากลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสอง จำเลยที่ 3มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 391 คดีทั้งสามสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาคดีรวมกัน โดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันปล้นทรัพย์ซึ่งรวมถึงการชิงทรัพย์และทำร้ายร่างกายด้วยเฉพาะจำเลยที่ 3 ผู้เดียวฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1และที่ 3 ในการกระทำความผิดดังกล่าวตามที่ทางพิจารณาได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสุดท้ายประกอบด้วยมาตรา 215,225 ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 แม้จะได้ร่วมชักถามผู้เสียหายแต่จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งไม่ปรากฏว่าได้หลบหนีไปกับจำเลยที่ 1 และที่ 3แสดงว่าไม่ได้ร่วมกระทำกับจำเลยที่ 1 และที่ 3เมื่อเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วยแม้มิได้ฎีกา ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2152/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การรับสารภาพใช้ยันจำเลยได้, ความผิดฐานมีและใช้อาวุธปืนในการชิงทรัพย์, ลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุด
จำเลยให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนโดยสมัครใจ คำให้การดังกล่าวใช้ยันจำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 134
ความผิดฐานมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน นอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวง (อาวุธปืนสำหรับใช้เฉพาะในการสงคราม) ความผิดฐานใช้อาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน นอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์และความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษฐานใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน นอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคสาม อันเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดแต่เพียงบทเดียว ตาม ป.อ.มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2152/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดฐานชิงทรัพย์โดยใช้อาวุธปืน: หลักการประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
จำเลยให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนโดยสมัครใจ คำให้การดังกล่าวใช้ยันจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 ความผิดฐานมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน นอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวง (อาวุธปืนสำหรับใช้เฉพาะในการสงคราม) ความผิดฐานใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน นอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์และความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษฐานใช้อาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน นอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคสาม อันเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดแต่เพียงบทเดียว ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2152/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดฐานชิงทรัพย์โดยใช้อาวุธปืนผิดกฎหมาย: หลักการประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90
จำเลยให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนโดยสมัครใจคำให้การดังกล่าวใช้ยันจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา134 ความผิดฐานมีอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวง(อาวุธปืนสำหรับใช้เฉพาะในการสงคราม)ความผิดฐานใช้อาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์และความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษฐานใช้อาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา78วรรคสามอันเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดแต่เพียงบทเดียวตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา90
of 59