พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากการซื้อขายหุ้น และการใช้เอกสารหลักฐานที่ไม่ติดอากรแสตมป์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ตกลงขายหุ้นของบริษัท อ. ให้แก่สามีโจทก์ แต่จำเลยไม่โอนหุ้นที่ตกลงซื้อขายให้แก่สามีโจทก์จนกระทั่งสามีโจทก์ได้ถึงแก่กรรม โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของสามีไม่ประสงค์จะซื้อหุ้นดังกล่าวอีก ทั้งการซื้อขายหุ้นมิได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นโมฆะ โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาซื้อขายหุ้นแล้ว ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินค่าซื้อหุ้นแก่โจทก์ ดังนี้เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 และกรณีไม่ใช่ลาภมิควรได้เพราะการที่จำเลยรับเงินค่าซื้อหุ้นไว้จากสามีโจทก์เป็นการรับไว้ โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จึงนำกำหนดอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 มาใช้แก่คดีนี้ไม่ได้
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 206 ลงวันที่ 15 กันยายน 2519 ข้อ 19 มิได้กำหนดให้ใบรับเงินค่าซื้อหุ้นบริษัทต้องปิดอากรแสตมป์ ดังนั้น ใบรับเงินค่าซื้อหุ้นแม้มิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้
ข้อที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท และจำเลยก็มิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อนี้แล้ว จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 206 ลงวันที่ 15 กันยายน 2519 ข้อ 19 มิได้กำหนดให้ใบรับเงินค่าซื้อหุ้นบริษัทต้องปิดอากรแสตมป์ ดังนั้น ใบรับเงินค่าซื้อหุ้นแม้มิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้
ข้อที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท และจำเลยก็มิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อนี้แล้ว จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากสัญญาซื้อขายหุ้น: 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 และประเด็นเอกสารไม่ติดอากรแสตมป์
การที่จำเลยรับเงินค่าซื้อหุ้นไว้จากสามีโจทก์ เป็นการรับไว้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ กรณีจึงไม่เป็นเรื่องลาภมิควรได้ โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืน เป็นเรื่องฟ้องเรียกทรัพย์คืน ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องอยู่ในบังคับแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือมีอายุความ 10 ปี
ข้อที่จำเลยให้การไว้ เมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อต่อสู้นั้นแล้ว จึงเป็นปัญหาที่มิได้ว่ากันมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ข้อที่จำเลยให้การไว้ เมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อต่อสู้นั้นแล้ว จึงเป็นปัญหาที่มิได้ว่ากันมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีซื้อขายหุ้น: การแจ้งเจตนาหักกลบลบหนี้ก่อนฟ้อง ไม่ถือเป็นการหักกลบลบหนี้ที่ระงับอำนาจฟ้อง
จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องว่า จำเลยได้เคยแจ้งแก่โจทก์แล้วว่า เงินค่าหุ้นของโจทก์ที่โจทก์มีสิทธิรับตามสัญญานั้น จำเลยขอหักกับส่วนหนึ่งของหนี้ที่โจทก์ต้องรับผิดแก่จำเลยตามสัญญา หนี้เงินค่าหุ้นของโจทก์จึงระงับไปแล้วทั้งสิ้น โจทก์จึงไม่อำนาจฟ้อง ดังนี้ ประเด็นเรื่องจำเลยขอหักกลบลบหนี้จึงไม่มี และเมื่อไม่มีประเด็นดังกล่าว ประเด็นเรื่องสิทธิเรียกร้องของจำเลยตามคำให้การที่ขอหักหนี้ตามฟ้องโจทก์ จะมีข้อต่อสู้หรือไม่ จึงไม่มีเช่นกัน ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นข้อนี้ขึ้นวินิจฉัย และศาลอุทธรณ์ก็รับวินิจฉัยต่อมา จึงเป็นการไม่ถูกต้อง เมื่อจำเลยฎีกาต่อมาศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงซื้อขายหุ้นต่างสกุลเงิน: สันนิษฐานตามสภาพแวดล้อมและพยานหลักฐาน
สัญญา ซื้อขายหุ้น หุ้นส่วน วิธีพิจารณาแพ่งความสันนิษฐาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5653/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ: การซื้อขายหุ้นเพื่อแสวงหาผลประโยชน์มิชอบ และความรับผิดชอบของผู้กระทำและผู้ช่วยเหลือ
พ.ร.บ.บริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ.2535 มาตรา 85 วรรคหนึ่ง มิใช่บทความผิดแต่เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่บริษัทหรือผู้ถือหุ้นฟ้องร้องกรรมการบริษัท เรียกค่าสินไหมทดแทนกรณีกรรมการปฏิบัติหน้าที่เป็นเหตุให้บริษัทได้รับความเสียหาย หรือระงับการกระทำดังกล่าว การที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 มาตรา 85 วรรคหนึ่ง มาด้วยนั้น จึงเป็นการไม่ถูกต้อง และความผิดฐานกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลใดกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 311 ย่อมเป็นความผิดตามมาตรา 315 ประกอบมาตรา 311 อันเป็นกฎหมายเฉพาะ จึงไม่ต้องปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 86 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5583/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ จากการซื้อขายหุ้นโดยอาศัยข้อมูลภายในและการให้ข้อมูลเท็จ
บทบัญญัติตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 239 และ 240 มีเจตนารมณ์เพื่อจะจัดระเบียบและกำกับดูแลตลาดทุน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ อันเป็นมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนส่วนรวม ความผิดทั้งสองฐานนี้จึงเป็นความผิดต่อรัฐ รัฐเท่านั้นที่จะดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิด เอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว ผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเปิดบัญชีเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ เมื่อผู้เสียหายที่ 1 ไม่อาจเป็นโจทก์ร่วมได้ ก็ไม่มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกา จึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ร่วม
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ได้ค่าตอบแทนจากค่าธรรมเนียมในการซื้อขายตามมูลค่าหลักทรัพย์ จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ตำแหน่งเจ้าหน้าที่การตลาดอาวุโส มีหน้าที่ดูแลให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาแก่ผู้ลงทุนในการซื้อขายหลักทรัพย์ จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าหน้าที่การตลาดจึงเป็นผู้ใกล้ชิดกับผู้ลงทุนและใกล้ชิดข้อมูลของหลักทรัพย์ ต้องติดต่อและให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจแก่ผู้ลงทุน คำปรึกษาและคำแนะนำดังกล่าวย่อมมีอิทธิพลต่อผู้ลงทุนที่จะตัดสินใจซื้อขายหรือไม่ซื้อขายหลักทรัพย์ใดในปริมาณเท่าใด ยิ่งผู้ลงทุนตัดสินใจซื้อหรือขายหลักทรัพย์มากย่อมทำให้มีมูลค่าการซื้อขายมาก ส่งผลให้จำเลยที่ 1 ได้ค่าตอบแทนมาก การปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 จึงมีผลโดยตรงต่อกิจการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงถือเป็นผู้ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินกิจการของบริษัทหลักทรัพย์ตามบทบัญญัติมาตรา 239 การที่จำเลยที่ 2 พูดผ่านเครื่องขยายเสียงในสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 1 ว่า ให้ผู้เสียหายที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยที่ 1 ซื้อหุ้นเอฟและหุ้นอาร์เนื่องจาก ส. จะมาไล่ราคาให้สูงขึ้น ส่วนจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้จัดการสำนักงานบริการด้านหลักทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ก็เดินไปเดินมาทักทายแนะนำลูกค้าให้ซื้อหุ้นทั้งสองตัวดังกล่าวในลักษณะสนับสนุนคำพูดของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดฐานแพร่ข่าวเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใดๆ อันอาจทำให้บุคคลอื่นเข้าใจว่า หลักทรัพย์ใดจะมีราคาสูงขึ้นหรือลดลง ตามมาตรา 239
การที่บุคคลใดจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 239, 296 จะต้องปรากฏว่าบุคคลนั้นเป็นบริษัทหลักทรัพย์ หรือผู้ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินกิจการของบริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือผู้มีส่วนได้เสียในหลักทรัพย์ และบุคคลนั้นต้องแพร่ข่าวเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใด ๆ อันอาจทำให้บุคคลอื่นเข้าใจว่าหลักทรัพย์ใดจะมีราคาสูงขึ้นหรือลดลง และข้อเท็จจริงนั้นต้องมิใช่ข้อเท็จจริงที่ได้แจ้งไว้กับตลาดหลักทรัพย์แล้วด้วย ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของคำว่า "แพร่ข่าว" ไว้ หมายความว่า "กระจายข่าวออกไป" ซึ่งมีความหมายทำนองว่า เป็นการทำให้บุคคลโดยทั่วไปในวงกว้างที่ต่างๆ ได้ทราบข่าวนั้นในเวลาเดียวกัน การที่จำเลยที่ 2 พูดกับผู้เสียหายที่ 1 ต่อหน้าจำเลยที่ 3 ที่สำนักงานสาขาของจำเลยที่ 1 ว่า วันนี้ให้ซื้อหุ้นเอฟและหุ้นอาร์ เนื่องจาก ส. จะมาไล่ราคาหุ้นทั้งสองตัวนี้ที่สำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ 1 ราคาหุ้นก็จะสูงขึ้น แล้วให้เทขายหุ้นทั้งหมดในวันต่อมา โดยมีจำเลยที่ 3 พูดสนับสนุนให้ซื้อ ลักษณะการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังกล่าวมิใช่เป็นการกระจายข่าวออกไป ซึ่งจะทำให้บุคคลโดยทั่วไปในวงกว้างที่ต่างๆ ได้ทราบข่าวในเวลาเดียวกัน อันเป็นความหมายของการแพร่ข่าวที่เป็นองค์ประกอบความผิดในมาตรา 239
การที่จำเลยที่ 2 แพร่ข่าวดังกล่าวอย่างเปิดเผยด้วยเครื่องขยายเสียง โดยมีเจตนาที่จะให้ลูกค้าทุกคนที่อยู่ในสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 1 และในงานเลี้ยงที่โรงแรมซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดในวันต่อมา ได้รับฟังการแพร่ข่าวอย่างชัดเจนทั่วถึง โดยมีกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ไปร่วมงานด้วย ถือว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 เพราะการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำตามหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ทั้งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ 2 ย่อมตกได้แก่จำเลยที่ 1 โดยตรง คดีจึงฟังว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ได้ค่าตอบแทนจากค่าธรรมเนียมในการซื้อขายตามมูลค่าหลักทรัพย์ จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ตำแหน่งเจ้าหน้าที่การตลาดอาวุโส มีหน้าที่ดูแลให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาแก่ผู้ลงทุนในการซื้อขายหลักทรัพย์ จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าหน้าที่การตลาดจึงเป็นผู้ใกล้ชิดกับผู้ลงทุนและใกล้ชิดข้อมูลของหลักทรัพย์ ต้องติดต่อและให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจแก่ผู้ลงทุน คำปรึกษาและคำแนะนำดังกล่าวย่อมมีอิทธิพลต่อผู้ลงทุนที่จะตัดสินใจซื้อขายหรือไม่ซื้อขายหลักทรัพย์ใดในปริมาณเท่าใด ยิ่งผู้ลงทุนตัดสินใจซื้อหรือขายหลักทรัพย์มากย่อมทำให้มีมูลค่าการซื้อขายมาก ส่งผลให้จำเลยที่ 1 ได้ค่าตอบแทนมาก การปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 จึงมีผลโดยตรงต่อกิจการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงถือเป็นผู้ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินกิจการของบริษัทหลักทรัพย์ตามบทบัญญัติมาตรา 239 การที่จำเลยที่ 2 พูดผ่านเครื่องขยายเสียงในสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 1 ว่า ให้ผู้เสียหายที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยที่ 1 ซื้อหุ้นเอฟและหุ้นอาร์เนื่องจาก ส. จะมาไล่ราคาให้สูงขึ้น ส่วนจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้จัดการสำนักงานบริการด้านหลักทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ก็เดินไปเดินมาทักทายแนะนำลูกค้าให้ซื้อหุ้นทั้งสองตัวดังกล่าวในลักษณะสนับสนุนคำพูดของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดฐานแพร่ข่าวเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใดๆ อันอาจทำให้บุคคลอื่นเข้าใจว่า หลักทรัพย์ใดจะมีราคาสูงขึ้นหรือลดลง ตามมาตรา 239
การที่บุคคลใดจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 239, 296 จะต้องปรากฏว่าบุคคลนั้นเป็นบริษัทหลักทรัพย์ หรือผู้ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินกิจการของบริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือผู้มีส่วนได้เสียในหลักทรัพย์ และบุคคลนั้นต้องแพร่ข่าวเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใด ๆ อันอาจทำให้บุคคลอื่นเข้าใจว่าหลักทรัพย์ใดจะมีราคาสูงขึ้นหรือลดลง และข้อเท็จจริงนั้นต้องมิใช่ข้อเท็จจริงที่ได้แจ้งไว้กับตลาดหลักทรัพย์แล้วด้วย ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของคำว่า "แพร่ข่าว" ไว้ หมายความว่า "กระจายข่าวออกไป" ซึ่งมีความหมายทำนองว่า เป็นการทำให้บุคคลโดยทั่วไปในวงกว้างที่ต่างๆ ได้ทราบข่าวนั้นในเวลาเดียวกัน การที่จำเลยที่ 2 พูดกับผู้เสียหายที่ 1 ต่อหน้าจำเลยที่ 3 ที่สำนักงานสาขาของจำเลยที่ 1 ว่า วันนี้ให้ซื้อหุ้นเอฟและหุ้นอาร์ เนื่องจาก ส. จะมาไล่ราคาหุ้นทั้งสองตัวนี้ที่สำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ 1 ราคาหุ้นก็จะสูงขึ้น แล้วให้เทขายหุ้นทั้งหมดในวันต่อมา โดยมีจำเลยที่ 3 พูดสนับสนุนให้ซื้อ ลักษณะการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังกล่าวมิใช่เป็นการกระจายข่าวออกไป ซึ่งจะทำให้บุคคลโดยทั่วไปในวงกว้างที่ต่างๆ ได้ทราบข่าวในเวลาเดียวกัน อันเป็นความหมายของการแพร่ข่าวที่เป็นองค์ประกอบความผิดในมาตรา 239
การที่จำเลยที่ 2 แพร่ข่าวดังกล่าวอย่างเปิดเผยด้วยเครื่องขยายเสียง โดยมีเจตนาที่จะให้ลูกค้าทุกคนที่อยู่ในสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 1 และในงานเลี้ยงที่โรงแรมซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดในวันต่อมา ได้รับฟังการแพร่ข่าวอย่างชัดเจนทั่วถึง โดยมีกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ไปร่วมงานด้วย ถือว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 เพราะการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำตามหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ทั้งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ 2 ย่อมตกได้แก่จำเลยที่ 1 โดยตรง คดีจึงฟังว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18462/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นเพื่อชักจูงบุคคลทั่วไปให้ซื้อขายหุ้นอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์
ความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 243 (2) เป็นการกระทำที่มีเจตนาทำการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในลักษณะต่อเนื่องกัน อันเป็นผลทำให้การซื้อขายหลักทรัพย์นั้นผิดไปจากสภาพปกติของตลาด และการกระทำดังกล่าวได้กระทำไปเพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปทำการซื้อหรือขายหลักทรัพย์นั้น พฤติการณ์ในลักษณะต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ร่วมกันทำการซื้อขายหุ้นธนาคาร น. ในช่วงเกิดเหตุ จนทำให้มีปริมาณในการซื้อขายหุ้นดังกล่าวเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว และมีระดับราคาเพิ่มสูงขึ้นโดยไม่มีข้อมูลหรือปัจจัยใดมาสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ได้ ทั้งราคาหุ้นดังกล่าวก็เพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่มีข้อมูลใดที่จะส่งผลให้การซื้อขายหุ้นเปลี่ยนแปลงเพิ่มสูงขึ้นได้เช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบกับหุ้นของธนาคารอื่นที่มีสินทรัพย์และผลประกอบการระดับเดียวกัน การซื้อขายหุ้นนี้จึงเป็นการซื้อขายหุ้นที่ผิดไปจากสภาพปกติของตลาดอันเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้ว นอกจากนี้ การที่จำเลยที่ 2 มีคำสั่งซื้อหุ้นอันมีลักษณะเป็นการชี้นำนักลงทุนทั่วไปว่ามีนักลงทุนจำนวนมากสนใจซื้อหุ้นดังกล่าวจนทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้น หรือพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่มีการส่งคำสั่งซื้อโดยใช้คำสั่งย่อยคำสั่งละ 10,000 หุ้น ก็เป็นไปตามความต้องการของจำเลยที่ 1 หรือที่ 2 เพื่อให้นักลงทุนทั่วไปเข้าใจว่ามีนักลงทุนเป็นจำนวนมากสนใจซื้อหุ้นดังกล่าว จนมีนักลงทุนทั่วไปซื้อหุ้นนี้จนมีราคาสูงขึ้นในวันนั้น ๆ ซึ่งหากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องการซื้อหุ้นดังกล่าวไว้เก็งกำไรจริง ย่อมต้องเข้าซื้อหุ้นขณะที่มีราคาถูกแล้วรอไว้ขายเมื่อราคาปรับตัวสูงขึ้นตามกลไกของตลาด พฤติการณ์ในการซื้อขายหุ้นดังกล่าวของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในขณะเกิดเหตุ หาใช่เป็นการซื้อเพื่อเก็งกำไรตามที่นักลงทุนทั่วไปปฏิบัติกัน จึงเป็นการซื้อขายในลักษณะต่อเนื่องกัน เป็นผลให้การซื้อขายหุ้นดังกล่าวผิดไปจากสภาพปกติของตลาดเพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปทำการซื้อหรือขายหุ้นดังกล่าว อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11883/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นต้องปฏิบัติตามหลักการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ แม้การโอนหุ้นไม่ถูกต้องก็ไม่ทำให้การซื้อขายเป็นโมฆะ
การซื้อขายหุ้นสามัญชนิดระบุชื่อเป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่งซึ่งต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม ส่วน ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง เพียงกำหนดแบบของการโอนหุ้นที่มีหลักฐานการโอนที่แน่นอนเท่านั้น หาใช่แบบของการซื้อขายหุ้น ผู้ซื้อหุ้นที่มิได้โอนหุ้นให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าวยังไม่อาจอ้างว่าตนเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท และไม่อาจใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นตามที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้เท่านั้น หาทำให้การซื้อขายหุ้นตกเป็นโมฆะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4652/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นในแผนฟื้นฟูกิจการ: สัญญาไม่ขัดต่อแผนหากชำระราคาครบถ้วนตามกำหนด
แผนฟื้นฟูกิจการส่วนที่ 3 ข้อ ฐ (ก) (1) กำหนดว่า การชำระราคาซื้อหุ้นทั้งหมดของส่วนทุนตามแผนต้องชำระเป็นเงินสดครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่มีการซื้อขายนั้นซึ่งจะไม่ช้ากว่า 8 สัปดาห์ก่อนวันสิ้นระยะเวลาดำเนินการตามแผนและตามสัญญาซื้อขายหุ้นฉบับลงวันที่ 1 มิถุนายน 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติมข้อ 4.3.3 ได้กำหนดการชำระราคาหุ้นที่ซื้อขายว่า ผู้ซื้อแต่ละรายจะดำเนินการชำระราคาหุ้นที่ซื้อขายในราคาซื้อขายหุ้นสุดท้ายโดยการโอนเงินสดทั้งจำนวนเข้าบัญชีของผู้ขายตามรูปแบบและวิธีการที่กลุ่มผู้ร่วมลงทุนหลักและผู้ร่วมลงทุนใหม่ตกลงกันก่อนวันที่การซื้อขายหุ้นเป็นผลสำเร็จ และ ข้อ 1.9 "วันที่การซื้อขายหุ้นเป็นผลสำเร็จ" หมายถึง วันที่การโอนหุ้นที่ซื้อขายและชำระราคาค่าหุ้นที่ซื้อขายตามข้อกำหนดในสัญญาจะต้องไม่ช้ากว่า 8 สัปดาห์ ก่อนสิ้นระยะเวลาการดำเนินการตามแผน เมื่อปรากฏว่ากลุ่มผู้ร่วมลงทุนได้ชำระค่าหุ้นที่ซื้อโดยโอนเงินสดครั้งเดียวเข้าบัญชีเงินฝากของลูกหนี้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2548 ภายในระยะเวลาไม่ช้ากว่า 8 สัปดาห์ ก่อนวันสิ้นระยะเวลาดำเนินการตามแผน คือวันที่ 30 มิถุนายน 2548 ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนเพื่อขยายระยะเวลาดำเนินการตามแผนแล้ว สัญญาซื้อขายหุ้นฉบับพิพาทจึงสอดคล้องไม่ขัดต่อข้อกำหนดของแผนส่วนที่ 3 ข้อ ฐ (ก) (1) คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาซื้อขายหุ้นส่วนทุนตามแผนจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้น: สัญญาไม่ระบุเลขที่หุ้นไม่เป็นโมฆะ และการพิสูจน์กลฉ้อฉลต้องมีพยานหลักฐานสนับสนุน
สัญญาซื้อขายหุ้นและโอนหุ้นเป็นการตกลงซื้อขายหุ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 โดยโจทก์ตกลงซื้อหุ้นของบริษัท ท. จากจำเลยที่ 3 ในสัญญาระบุว่า การส่งมอบหุ้นจะทำโดยวิธีการสลักหลังภายใน 5 วันทำการ หลังจากผู้โอนได้รับการส่งมอบหุ้นจากบริษัท ร. สัญญาซื้อขายดังกล่าวยังมิใช่การดำเนินการโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ที่จะต้องทำตามแบบที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง ทั้งบทมาตราดังกล่าวหาได้บัญญัติว่า ถ้ามิได้แถลงหมายเลขหุ้นที่โอนกัน การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อย่อมเป็นโมฆะไม่ ดังนั้น สัญญาซื้อขายหุ้นและโอนหุ้นแม้มิได้ระบุหมายเลขหุ้นที่ซื้อขายก็ไม่ตกเป็นโมฆะ