คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฐานความผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 195 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากลักทรัพย์/รับของโจร เป็นยักยอกทรัพย์ เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ดูแลศาสนสมบัติของวัด
พระพุทธรูปซึ่งเป็นศาสนสมบัติของวัด จึงอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ มาตรา 37(1) จำเลยที่ 1 เบียดบังเอาพระพุทธรูปเป็นของตนหรือของจำเลยที่ 2 โดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ในการเบียดบังเอาพระพุทธรูป มีความผิดเกี่ยวกับการยักยอกด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันลักทรัพย์หรือรับของโจร เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอก จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 กระทำความผิดเกี่ยวกับการยักยอกด้วย ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ศาลต้องยกฟ้อง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 และการยกฟ้องนี้เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้ยกฟ้องไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3031/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกเงินสวัสดิการข้าราชการ: เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่พิเศษ ไม่ถือเป็นฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147
เทศบาลมอบเงินรายได้ส่วนหนึ่งจากค่าเช่าที่ขายทุเรียนในงานตลาดทุเรียนให้จังหวัด จังหวัดจะนำไปใช้อย่างใดก็ได้ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบเงินนี้ให้จำเลยซึ่งเป็นเสมียนตราจังหวัดเก็บรักษาและทำบัญชีไว้ โดยถือว่าเป็นเงินของจังหวัด ต่อมาผู้ว่าราชการจังหวัดให้นำเงินนี้เป็นเงินสวัสดิการข้าราชการ เพื่อให้ข้าราชการผู้มีเงินเดือนน้อยของจังหวัดนั้นได้กู้ยืมไปบรรเทาความเดือดร้อน ได้วางระเบียบว่าด้วยเงินสวัสดิการข้าราชการขึ้นและตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาและดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนั้น
จำเลยได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการทำหน้าที่เหรัญญิก ดังนี้วัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินดังกล่าวนี้หาได้มุ่งหมายใช้จ่ายในทางราชการไม่ แต่เป็นการใช้จ่ายในทางช่วยเหลือข้าราชการเป็นการส่วนตัว อันเป็นกิจการพิเศษซึ่งไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายใดกำหนดไว้และการที่จำเลยมีหน้าที่รักษาและรับจ่ายเงินนี้ก็โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทำหน้าที่เหรัญญิกซึ่งการแต่งตั้งนี้ก็ไม่ต้องอาศัยอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายไม่ต้องอาศัยฐานะที่จำเลยเป็นเสมียนตราจังหวัดหรือเป็นข้าราชการในบังคับบัญชาของผู้ว่าราชการจังหวัด การที่จำเลยปฏิบัติหน้าที่นี้จึงมิใช่เป็นการที่เจ้าพนักงานปฏิบัติราชการตามตำแหน่งหน้าที่ราชการเมื่อจำเลยเบียดบังยักยอกเงินดังกล่าวไป จึงถือไม่ได้ว่าเบียดบังยักยอกไปในฐานะเจ้าพนักงาน คงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3031/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานยักยอกเงินสวัสดิการข้าราชการ: การพิจารณาฐานความผิดทางอาญา
เทศบาลมอบเงินรายได้ส่วนหนึ่งจากค่าเช่าที่ขายทุเรียนในงานตลาดทุเรียนให้จังหวัด จังหวัดจะนำไปใช้อย่างใดก็ได้ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบเงินนี้ให้จำเลยซึ่งเป็นเสมียนตราจังหวัดเก็บรักษาและทำบัญชีไว้ โดยถือว่าเป็นเงินของจังหวัด ต่อมาผู้ว่าราชการจังหวัดให้นำเงินนี้เป็นเงินสวัสดิการข้าราชการเพื่อให้ข้าราชการผู้มีเงินเดือนน้อยของจังหวัดนั้นได้กู้ยืมไปบรรเทาความเดือดร้อน ได้วางระเบียบว่าด้วยเงินสวัสดิการข้าราชการขึ้นและตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาและดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนั้น
จำเลยได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการทำหน้าที่เหรัญญิก ดังนี้ วัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินดังกล่าวนี้หาได้มุ่งหมายใช้จ่ายในทางราชการไม่ แต่เป็นการใช้จ่ายในทางช่วยเหลือข้าราชการเป็นการส่วนตัว อันเป็นกิจการพิเศษซึ่งไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายใดกำหนดไว้และการที่จำเลยมีหน้าที่รักษาและรับจ่ายเงินนี้ก็โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทำหน้าที่เหรัญญิกซึ่งการแต่งตั้งนี้ก็ไม่ต้องอาศัยอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายไม่ต้องอาศัยฐานะที่จำเลยเป็นเสมียนตราจังหวัดหรือเป็นข้าราชการในบังคับบัญชาของผู้ว่าราชการจังหวัด การที่จำเลยปฏิบัติหน้าที่นี้จึงมิใช่เป็นการที่เจ้าพนักงานปฏิบัติราชการตามตำแหน่งหน้าที่ราชการเมื่อจำเลยเบียดบังยักยอกเงินดังกล่าวไป จึงถือไม่ได้ว่าเบียดบังยักยอกไปในฐานะเจ้าพนักงาน คงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 543/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีอาญา: การระบุฐานความผิดที่ชัดเจน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดฐานลักทรัพย์ หรือมิฉะนั้นจำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร เช่นนี้เป็นฟ้องที่สมบูรณ์(อ้างฎีกาที่ 467/2491 และ 212/2504)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องอาญา: ศาลอนุญาตได้หากไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ แม้เพิ่มเติมรายละเอียดหรือฐานความผิด
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยไปไถ่จำนองที่ดินของโจทก์จากนางประหยัดสุวเทพ เพื่อจะได้นำไปค้ำประกันหนี้เงินกู้ของจำเลยจากธนาคาร แต่จำเลยบังอาจทุจริตนำที่ดินโจทก์ซึ่งไถ่จำนองแล้วไปขายให้นายวรเทพ ลิ้มรสสุขแล้วเบียดบังเอาเงินค่าขายไว้เป็นประโยชน์ส่วนตนเสียขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352ระหว่างสืบพยานโจทก์ โจทก์ขอแก้ฟ้องจากข้อความที่ว่า'ให้ไปไถ่จำนองที่ดินจากนางประหยัด สุวเทพ เพื่อจำเลยจะได้นำที่ดินแปลงนี้ไปค้ำประกันเงินกู้ที่จำเลยกู้มาจากธนาคารในวงเงินไม่เกิน 375,500 บาท' เป็นว่า 'ให้นำที่ดิน แปลงนี้ไปจำนองกับธนาคารในวงเงินไม่เกิน 375,500 บาท เพื่อนำเงินจำนวนนี้ไปไถ่จำนองที่ดินแปลงนี้จากนางประหยัด สุวเทพและจากข้อความที่ว่า 'โดยเจตนาทุจริต จำเลยได้บังอาจร่วมกันเบียดบังเอาที่ดินดังกล่าวไปโอนขายให้นายวรเทพ ลิ้มรสสุขแล้วเอาเงินที่ขายได้เป็นประโยชน์ของจำเลยเสีย เป็นว่า'จำเลยได้บังอาจมีเจตนาทุจริตร่วมกันไปไถ่จำนองที่ดินดังกล่าวจากธนาคารและนำไปโอนขายให้นายวรเทพ ลิ้มรสสุข แล้วจำเลยมีเจตนาทุจริตร่วมกันเบียดบังยักยอกเอาเงินที่ขายได้ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวของจำเลยเสีย' ดังนี้ ข้อความที่ขอแก้คงมีผลตรงกันกับฟ้องเดิมในใจความสำคัญไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบแต่อย่างใด ส่วนที่โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องก็เป็นเพียงเรียกการกระทำให้ชัดขึ้น รวมทั้งการเพิ่มเติมบทลงโทษก็หาทำให้จำเลยหลงต่อสู้ไม่ จึงไม่อาจถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบเช่นกัน โจทก์ชอบที่จะขอแก้และเพิ่มเติมฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องอาญาต้องไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ แม้เป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดหรือฐานความผิดใหม่
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยไปไถ่จำนองที่ดินของโจทก์จากนางประหยัดสุวเทพ เพื่อจะได้นำไปค้ำประกันหนี้เงินกู้ของจำเลยจากธนาคาร แต่จำเลยบังอาจทุจริตนำที่ดินโจทก์ซึ่งไถ่จำนองแล้วไปขายให้นายวรเทพ ลิ้มรสสุขแล้วเบียดบังเอาเงินค่าขายไว้เป็นประโยชน์ส่วนตนเสียขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352ระหว่างสืบพยานโจทก์ โจทก์ขอแก้ฟ้องจากข้อความที่ว่า 'ให้ไปไถ่จำนองที่ดินจากนางประหยัด สุวเทพ เพื่อจำเลยจะได้นำที่ดินแปลงนี้ไปค้ำประกันเงินกู้ที่จำเลยกู้มาจากธนาคารในวงเงินไม่เกิน 375,500 บาท' เป็นว่า 'ให้นำที่ดินแปลงนี้ไปจำนองกับธนาคารในวงเงินไม่เกิน 375,500 บาท เพื่อนำเงินจำนวนนี้ไปไถ่จำนองที่ดินแปลงนี้จากนางประหยัดสุวเทพ และจากข้อความที่ว่า 'โดยเจตนาทุจริต จำเลยได้บังอาจร่วมกันเบียดบังเอาที่ดินดังกล่าวไปโอนขายให้นายวรเทพ ลิ้มรสสุขแล้วเอาเงินที่ขายได้เป็นประโยชน์ของจำเลยเสีย เป็นว่า 'จำเลยได้บังอาจมีเจตนาทุจริตร่วมกันไปไถ่จำนองที่ดินดังกล่าวจากธนาคารและนำไปโอนขายให้นายวรเทพ ลิ้มรสสุข แล้วจำเลยมีเจตนาทุจริตร่วมกันเบียดบังยักยอกเอาเงินที่ขายได้ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวของจำเลยเสีย' ดังนี้ ข้อความที่ขอแก้คงมีผลตรงกันกับฟ้องเดิมในใจความสำคัญไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบแต่อย่างใด ส่วนที่โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องก็เป็นเพียงเรียกการกระทำให้ชัดขึ้น รวมทั้งการเพิ่มเติมบทลงโทษ ก็หาทำให้จำเลยหลงต่อสู้ไม่ จึงไม่อาจถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบเช่นกัน โจทก์ชอบที่จะขอแก้และเพิ่มเติมฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2130/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากวิ่งราวทรัพย์เป็นลักทรัพย์ และการลงโทษตามบทมาตราที่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานวิ่งราวทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 วรรคแรก ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำผิดฐานลักทรัพย์แต่ไม่ได้ใช้กิริยาฉกฉวยเอาซึ่งหน้า ศาลย่อมลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ซึ่งเป็นแม่บทได้ แต่จะลงโทษจำเลยตามมาตรา 335 (1) ไม่ได้ เพราะโจทก์มิได้อ้างมาตรานี้มาในฟ้อง ทั้งโทษตามมาตรา 335 (1) ก็หนักกว่าโทษตามมาตรา 336 วรรคแรก ที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความร่วมมือในการกระทำความผิดฐานพยายามฆ่า พิจารณาจากพฤติการณ์ร่วมกัน
จำเลยกับพวกอีกหนึ่งคนมาหาผู้เสียหายที่กระท่อมนาในเวลากลางคืนจำเลยเรียกผู้เสียหายให้ลุกขึ้นแล้วขอน้ำดื่ม พวกของจำเลยใช้ปืนยิงผู้เสียหายถูกที่ท้อง แล้วจำเลยกับพวกก็วิ่งหนีไปด้วยกัน พฤติการณ์ดังนี้แสดงว่าจำเลยกับพวกร่วมกระทำผิดด้วยกัน เมื่อผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยย่อมมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมฟ้องอาศัยกฎหมายเฉพาะเพื่อยืนยันฐานะเจ้าพนักงานของผู้เสียหาย ไม่เป็นการอ้างกฎหมายใหม่เพื่อลงโทษหนักขึ้น
โจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่า จำเลยได้ทำร้ายผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายได้รับอันตรายสาหัสเพราะเหตุที่ได้ปฏิบัติการตามหน้าที่ ต่อมาโจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องโดยอ้างพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 16 การขอเพิ่มเติมฟ้องนี้ ก็เพื่อชี้ให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นว่ามีกฎหมายรับรองความเป็นเจ้าพนักงานของผู้เสียหาย หาได้เป็นการอ้างกฎหมายขึ้นใหม่เพื่อให้ศาลลงโทษจำเลยหนักขึ้นประการใดไม่ ฉะนั้น การที่ศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมฟ้อง จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมเดียวฟ้องซ้ำ: ศาลยกฟ้องเมื่อศาลเคยพิพากษาลงโทษในความผิดนั้นแล้ว แม้จะแบ่งเป็นหลายฐาน
ในคดีความผิดครั้งเดียวและกรรมเดียวกัน เมื่ออัยการโจทก์ได้ฟ้องจำเลยและศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยเสร็จเด็ดขาดไปแล้วผู้เสียหายจะฟ้องจำเลยในความผิดกรรมเดียวนั้นอีกไม่ได้แม้ว่าการกระทำหรือกรรมนั้นจะแบ่งแยกความผิดออกได้เป็นหลายฐานหรือเป็นความผิดอาญาแผ่นดินกับความผิดที่ยอมความกันได้ก็ตาม เพราะคำว่า "ในความผิด"ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) มีความหมายถึงการกระทำอันหนึ่งๆในคราวเดียวกัน มิได้หมายถึงฐานความผิด
of 20