คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ดุลพินิจศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการไต่สวนคำร้องขอเป็นผู้จัดการทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ ศาลมีสิทธิยกคำร้องได้หากข้อกล่าวอ้างไม่น่าเชื่อถือ
คำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบกิจการตามความใน ป.วิ.พ.มาตรา 307 ไม่มีกฎหมายบังคับว่าศาลจะต้องทำการไต่สวนคำร้องเสียก่อนแล้วจึงจะมีคำสั่งได้ การที่จะต้องไต่สวนตามคำร้องเสียก่อนแล้วจึงจะมีคำสั่งหรือไม่ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาเห็นสมควรเป็นเรื่อง ๆ ไป
ตามคำร้องของจำเลยอ้างว่า ทรัพย์สินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้นั้น จำเลยได้ใช้ประกอบกิจการหารายได้มีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษารวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดีได้ แต่ตามพฤติการณ์ในสำนวนปรากฏว่าจำเลยได้ผิดนัดชำระหนี้นับถึงวันที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลคิดเป็นเวลาได้ไม่ต่ำกว่า 5 ปี โดยในระหว่างนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ชำระหนี้หรือผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด ทั้ง ๆ ที่ตามคำพิพากษาของศาลก็เปิดโอกาสให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ได้ จึงเป็นที่เห็นได้ว่าข้อกล่าวอ้างของจำเลยตามคำร้องเป็นเพียงการกล่าวอ้างลอย ๆ ศาลชอบที่จะสั่งยกคำร้องเสียได้โดยไม่จำต้องทำการไต่สวนตามคำร้องเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการไต่สวนคำร้องขอจัดการทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ตามมาตรา 307 ว.แพ่ง พิจารณาจากพฤติการณ์ลูกหนี้
คำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบกิจการตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307ไม่มีกฎหมายบังคับว่าศาลจะต้องทำการไต่สวนคำร้องเสียก่อนแล้ว จึงจะมีคำสั่งได้ การที่จะต้องไต่สวนคำร้องเสียก่อนแล้ว จึงจะมีคำสั่งหรือไม่ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณา เห็นสมควรเป็นเรื่อง ๆ ไป ตามคำร้องของ จำเลยอ้างว่า ทรัพย์สินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้นั้น จำเลยได้ใช้ประกอบกิจการหารายได้มีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษารวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดีได้ แต่ตามพฤติการณ์ในสำนวนปรากฏว่าจำเลยได้ผิดนัดชำระหนี้นับถึงวันที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลคิดเป็นเวลาได้ไม่ต่ำกว่า 5 ปี โดยในระหว่างนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ชำระหนี้หรือผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใดทั้ง ๆ ที่ตามคำพิพากษาของศาลก็เปิดโอกาสให้จำเลย ผ่อนชำระหนี้ได้ จึงเป็นที่เห็นได้ว่าข้อกล่าวอ้างของจำเลยตามคำร้องเป็นเพียงการกล่าวอ้างลอย ๆ ศาลชอบที่จะสั่งยกคำร้องเสียได้โดยไม่จำต้องทำการไต่สวนตามคำร้องเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2811/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ดุลพินิจศาลในคดีล้มละลาย: พิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ที่มีรายได้ประจำ
จำเลยเป็นข้าราชการมีรายได้คือเงินเดือนที่แน่นอนและสามารถแบ่งชำระหนี้ได้เดือนละ 2,000 บาท ตามที่จำเลยเสนอ แม้จะใช้เวลายาวนานออกไป แต่ก็เห็นได้ชัดว่าเป็นวิธีการที่สามารถชำระหนี้ได้จริง เป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้และจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้มากกว่าวิธีการพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายตามที่โจทก์ขอ เป็นเหตุไม่ควรพิพากษาให้จำเลยล้มละลายซึ่งศาลย่อมมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจตามพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 ที่จะยกฟ้องโจทก์ได้ แม้คดีจะได้ความจริงว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวต้องตามมาตรา 9 ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม: การลดค่าเสียหายที่ศาลกำหนดไม่ถือว่าโจทก์ดำเนินคดีไม่สุจริต
ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม ป.วิ.พ. มาตรา 161 บัญญัติให้เป็นดุลพินิจของศาลโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีการที่ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์ต่ำกว่าที่โจทก์ขอมาในฟ้อง ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ดำเนินคดีโดยไม่สุจริต ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ตามทุนทรัพย์ที่ฟ้อง เป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ดุลพินิจศาลรับฟังพยานหลักฐานเกินกำหนดระยะเวลา เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนมาตรา 88 และมาตรา 90 แต่ในมาตรา 87(2) นั้นเองบัญญัติต่อไปว่า "...แต่ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของอนุมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้"เมื่อพยานบุคคลที่จำเลยอ้างเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญในคดีส่วนพยานเอกสารที่จำเลยอ้างก็เป็นชุดเดียวกับที่โจทก์อ้างทั้งจำเลยขอยื่นบัญชีพยานในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน แม้จะสืบพยานโจทก์ไปแล้ว 2 ปาก ก็ไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ เนื่องจากเป็นการนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์เท่านั้น ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งรับบัญชีพยานของจำเลยเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการกำหนดค่าฤชาธรรมเนียมและการแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ไม่ถูกต้อง
การกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้รับผิดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแค่ไหนเพียงไรนั้นเป็นดุลพินิจของศาลโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดี มิใช่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ย่อมไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจกำหนดให้จำเลยที่ 2รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งหมด และจำเลยที่ 2มิได้อุทธรณ์โต้เถียงในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม จึงไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะกำหนดค่าขึ้นศาลชั้นต้นใหม่ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้แทนโจทก์ทั้งสามตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนชนะคดี การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีไม่ถูกต้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องเสียเองได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการกำหนดค่าฤชาธรรมเนียมเป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจ มิใช่การฝ่าฝืนกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสามจำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์โต้เถียงในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แต่กำหนดค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นใหม่โดยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้แทนโจทก์ทั้งสามตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนชนะคดี จึงเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้รับผิดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแค่ไหนเพียงไรนั้น เป็นดุลพินิจของศาลโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดี ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 2รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งหมดมานั้นเป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจ มิใช่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลอุทธรณ์จะหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้เอง ศาลฎีกาจึงเห็นควรแก้ไขในส่วนนี้เสียให้ถูกต้อง เพราะการพิพากษาคดีโดยไม่ถูกต้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการอนุญาตทุเลาการบังคับคดี: เหตุผลเพียงพอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่ศาลอุทธรณ์จะอนุญาตให้ทุเลาการบังคับ ที่จำเลยยื่นคำร้องขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 231 หรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่สั่งว่า พิเคราะห์แล้วคดีไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้ทุเลาการบังคับไว้ในระหว่างอุทธรณ์นั้นเป็นการแสดงว่าศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาเหตุผลตามคำร้องของจำเลยและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วมีดุลพินิจไม่อนุญาตให้ทุเลาการบังคับและถือได้ว่าเป็นการแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในการมีคำสั่งตามคำร้องขอทุเลาการบังคับของจำเลยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานที่ได้ฟังคำเบิกความของพยานก่อนหน้า: ดุลพินิจศาลและการไม่เปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัย
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 114 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15เป็นดุลพินิจของศาลที่จะรับฟังคำเบิกความของพยานที่เบิกความโดยได้ฟังคำเบิกความของพยานคนก่อนได้ หากศาลเห็นว่าคำเบิกความเช่นว่านั้น เป็นที่เชื่อฟังได้ หรือมิได้เปลี่ยนแปลงโดยได้ฟังคำเบิกความของพยานคนก่อน หรือไม่สามารถทำให้คำวินิจฉัยชี้ขาดเปลี่ยนแปลงไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6035/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดี และการฟ้องร้องเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดี ศาลมีดุลพินิจอนุญาต/ไม่อนุญาตถอนฟ้องได้ และการบังคับคดีต้องดำเนินการในคดีเดิม
การที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลโดยพิจารณาจากความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์และผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่าย โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและเพิกถอนการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท ทั้งยื่นคำร้องขอให้ห้ามจำเลยและเจ้าพนักงานที่ดินทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทซึ่งศาลชั้นต้นได้ไต่สวนคำร้องดังกล่าวจนเสร็จแล้ว โจทก์ จึงขอถอนฟ้องโดยให้เหตุผลว่าประสงค์จะยื่นฟ้องจำเลยใหม่ ดังนั้น หากศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องแล้วโจทก์อาจฟ้องจำเลยใหม่และ ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนคำพิพากษาเช่นเดียวกันกับ คดีนี้อีกซึ่งอาจทำให้จำเลยเสียหายเมื่อเป็นเช่นนี้จึงควร ดำเนินการพิจารณาให้เป็นผลเสร็จเด็ดขาดไปในคดีนี้ โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นของศาลชั้นต้นฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ กับขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์ในคดีดังกล่าว เป็นฟ้องที่มีคำขอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษา ของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 กำหนดให้ว่ากล่าวกันในคดีเดิม โจทก์ต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ในคดีเดิมดังกล่าว จะทำเป็นคำฟ้องมายื่นต่อศาลเป็นคดีใหม่หาได้ไม่.
of 25