คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตีความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 230 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3360/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความ 'วัตถุก่อสร้าง' ตามกฎหมายภาษีอากร: ทองเหลืองรูปตัวที/แอล จัดเป็นวัตถุก่อสร้างที่ต้องเสียภาษี
พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่54) พ.ศ.2517 บัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาบัญชีที่ 1 หมวด 4 บัญญัติว่า 'หมวด 4 วัตถุก่อสร้างและเครื่องเรือน (1) ฯลฯ (6) กลอน บานพับ คานเหล็กเหล็กฉากผลิตภัณฑ์โลหะใด ๆ ที่มิได้ผลิตจากสินค้าตาม (4)' กลอน บานพับ คานเหล็ก เหล็กฉาก เป็นวัตถุที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในการก่อสร้าง แต่หาใช่เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ในการก่อสร้างทุกรายไม่ผลิตภัณฑ์โลหะที่บัญญัติต่อท้ายกลอน บานพับ คานเหล็กและเหล็กฉากดังกล่าวก็ต้องมีลักษณะทำนองเดียวกัน กล่าวคือ ไม่ต้องเป็นสิ่งจำเป็นต่อการก่อสร้างจนถึงแก่จะขาดเสียมิได้ด้วย ทองเหลืองรูปตัวทีใช้สำหรับทำคิ้วพื้นหินขัดสามารถแบ่งพื้นหินขัดออกเป็นแผ่น ๆ ป้องกันมิให้พื้นแตกเป็นทางยาวข้ามแผ่นได้ และทองเหลืองรูปตัวแอลใช้ทำขอบของขั้นบันไดหินขัด ก็หุ้มขอบบันไดมิให้แตกและสึกกร่อนง่าย ทองเหลืองดังกล่าวจึงเป็นวัตถุที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในการก่อสร้างการที่ใช้ประกอบเข้าแล้วทำให้เกิดความสวยงามด้วยก็เป็นลักษณะของวัตถุก่อสร้างทั่ว ๆ ไปนั่นเอง ฟังไม่ได้ว่าทองเหลืองดังกล่าวเป็นเพียงสิ่งประดับ ดังนี้ทองเหลืองรูปตัวทีและตัวแอลย่อมเป็นผลิตภัณฑ์โลหะอันเป็นวัตถุก่อสร้างตามหมวด 4(6) แห่งบัญชีที่ 1 ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ พ.ศ.2517 และเมื่อเป็นสินค้าตามบัญชีที่ 1 แล้วย่อมไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามมาตรา 5(8) จึงต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ตามประเภทการค้า 1 ชนิด 1 (ก) ในบัญชีอัตราภาษีการค้า ท้ายหมวด 4 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3136/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำว่า 'เครื่องจักร' ในพิกัดอัตราศุลกากร คอนเดนเซอร์เป็นส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ ไม่ใช่เครื่องจักร
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร(ฉบับที่35)พ.ศ.2521 ซึ่งใช้บังคับขณะมีข้อพิพาทไม่ได้ให้ความหมายของคำว่าเครื่องจักรไว้เป็นพิเศษจึงต้องถือตามความหมายธรรมดาซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่าเป็นกลอุปกรณ์ต่างๆที่ประกอบกันขึ้นเป็นเครื่องเพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามคำเบิกความของพยานโจทก์จำเลยไม่ปรากฏว่าคอนเดนเซอร์สามารถนำไปใช้ผลิตอะไรขึ้นมาได้โดยลำพังอันจะถือได้ว่าเป็นเครื่องจักร สินค้าที่จะถือว่าอยู่ในพิกัดประเภทที่84.17ก.นั้นจะต้องเป็นเครื่องจักรเครื่องจักรโรงงานหรือเครื่องที่คล้ายกันสำหรับใช้ในห้องทดลองเสียก่อนและเครื่องจักรจะเข้าอยู่ในพิกัดประเภทดังกล่าวนั้นจะต้องเป็นเครื่องจักรที่ทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพโดยกรรมวิธีดังที่ระบุไว้ด้วยแม้คอนเดนเซอร์จะสามารถเปลี่ยนสภาพของก๊าซได้โดยกรรมวิธีที่ระบุไว้ในพิกัดประเภทที่84.17ก.ก็หาได้หมายความว่าคอนเดนเซอร์จะกลายเป็นเครื่องจักรไปด้วยไม่ไม่ปรากฏว่าคอนเดนเซอร์สามารถนำไปใช้ผลิตอะไรขึ้นมาได้โดยลำพังอันจะถือได้ว่าเป็นเครื่องจักรหากแต่ต้องนำไปประกอบกับส่วนประกอบอื่นๆอีกจึงสามารถทำงานเป็นเครื่องปรับอากาศได้คอนเดนเซอร์จึงมีลักษณะเป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศยิ่งกว่าเป็นเครื่องจักรในตัวของมันเองจึงต้องเสียอากรตามพิกัดประเภทที่84.15ข.หาใช่พิกัดประเภทที่84.17ก.ซึ่งมิได้กล่าวถึงส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศไว้แต่อย่างใดไม่ ไม่ปรากฏว่าคอนเดนเซอร์สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้เมื่อสามารถนำคอนเดนเซอร์ไปใช้ประกอบเป็นเครื่องปรับอากาศได้มาแต่เดิมก็ต้องถือว่าเป็นเครื่องประกอบเครื่องปรับอากาศมาตั้งแต่ตอนโจทก์นำเข้ามาจากต่างประเทศแล้วแม้โจทก์จะไม่ได้นำส่วนประกอบอื่นเข้ามาด้วยและยังไม่ได้มีการประกอบเป็นเครื่องปรับอากาศก็ตาม.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำว่า 'ด้าย' ในประมวลรัษฎากร และการคืนเงินภาษีที่เรียกเก็บเกินสิทธิ
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า ฯ บัญชี 2 หมวด 2 (9) ระบุว่า 'ด้ายทุกชนิดสำหรับใช้ทอผ้า ไม้ว่าผลิตจากฝ้ายหรือเส้นใยอื่นใด' นั้น หมายความว่า สิ่งใดก็ตามที่มีลักษณะเป็นด้ายโดยไม่ว่าผลิตจากอะไร ใช้ทอผ้าได้โดยผ้าที่ทอนั้นเป็นสินค้านำออกขายเกิดรายรับเพื่อเสียภาษีตามอัตราในบัญชีอัตราภาษีการค้าได้แล้ว ย่อมเป็นด้ายตามความหมายดังกล่าว ดังเมื่อสินค้าเส้นใยประดิษฐ์ พี.โอ.วาย ของโจทก์โดยปกติในทางการค้าไม่มีการนำไปใช้ทอผ้า และแม้อาจนำไปทอเป็นผ้าในห้องทดลอง ผ้าที่ทอนั้นก็ขาดคุณสมบัติจำหน่ายในท้องตลาดไม่ได้ สินค้าเส้นใยประดิษฐ์ พี.โอ.วาย ของโจทก์จึงไม่ใช่ด้ายทุกชนิดสำหรับใช้ทอผ้า ไม่ว่าผลิตจากฝ้ายหรือเส้นใยอื่นใดตามความหมายที่ระบุในบัญชี 2 หมวด 2(9) โจทก์ได้รับยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าดังกล่าวตาม มาตรา 5(8) แห่งพระราชกฤษฎีกา ฯ ดังกล่าว.
เมื่อโจทก์ไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าและภาษีสุขาภิบาลตามกฎหมาย แต่จำเลยได้รับชำระค่าภาษีจากโจทก์ไว้โดยจำเลยไม่มีสิทธิจะเรียกเก็บ จำเลยจึงมีหน้าที่คืนเงินภาษีนั้นแก่โจทก์ จำเลยมีหนังสือลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2523 ยืนยันว่าโจทก์ต้องเสียภาษีการค้าและปฏิเสธไม่คืนเงินภาษีที่เรียกเก็บให้แก่โจทก์ จำเลยจึงตกเป็นฝ่ายผิดนัด ต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 นับแต่วันดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำว่า 'ด้าย' ในกฎหมายภาษีอากร กรณีเส้นใยประดิษฐ์ที่ไม่เข้าข่ายด้ายเพื่อทอผ้า และสิทธิคืนเงินภาษี
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้าฯบัญชี2หมวด2(9)ระบุว่า'ด้ายทุกชนิดสำหรับใช้ทอผ้าไม้ว่าผลิตจากฝ้ายหรือเส้นใยอื่นใด'นั้นหมายความว่าสิ่งใดก็ตามที่มีลักษณะเป็นด้ายโดยไม่ว่าผลิตจากอะไรใช้ทอผ้าได้โดยผ้าที่ทอนั้นเป็นสินค้านำออกขายเกิดรายรับเพื่อเสียภาษีตามอัตราในบัญชีอัตราภาษีการค้าได้แล้วย่อมเป็นด้ายตามความหมายดังกล่าวดังเมื่อสินค้าเส้นใยประดิษฐ์พี.โอ.วายของโจทก์โดยปกติในทางการค้าไม่มีการนำไปใช้ทอผ้าและแม้อาจนำไปทอเป็นผ้าในห้องทดลองผ้าที่ทอนั้นก็ขาดคุณสมบัติจำหน่ายในท้องตลาดไม่ได้สินค้าเส้นใยประดิษฐ์พี.โอ.วายของโจทก์จึงไม่ใช่ด้ายทุกชนิดสำหรับใช้ทอผ้าไม่ว่าผลิตจากฝ้ายหรือเส้นใยอื่นใดตามความหมายที่ระบุในบัญชี2หมวด2(9)โจทก์ได้รับยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าดังกล่าวตามมาตรา5(8)แห่งพระราชกฤษฎีกาฯดังกล่าว. เมื่อโจทก์ไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าและภาษีสุขาภิบาลตามกฎหมายแต่จำเลยได้รับชำระค่าภาษีจากโจทก์ไว้โดยจำเลยไม่มีสิทธิจะเรียกเก็บจำเลยจึงมีหน้าที่คืนเงินภาษีนั้นแก่โจทก์จำเลยมีหนังสือลงวันที่17พฤศจิกายน2523ยืนยันว่าโจทก์ต้องเสียภาษีการค้าและปฏิเสธไม่คืนเงินภาษีที่เรียกเก็บให้แก่โจทก์จำเลยจึงตกเป็นฝ่ายผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224นับแต่วันดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4589/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราอากรขาเข้า: อีแวปอเรเตอร์เป็นส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ ไม่ใช่เครื่องจักร
การใช้อีแวปอเรเตอร์ที่โจทก์นำเข้ามาในคดีนี้เป็นการนำเอา อีแวปอเรเตอร์เข้าประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรับอากาศที่ติด รถยนต์ทีเดียวจึงเป็นการใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ ถือว่าเป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศตามความใน พิกัดประเภทที่ 84.14 ข. ไม่อยู่ในความหมายของคำว่าเครื่องจักร ตามพิกัดประเภทที่84.17 และการนำเข้าซึ่งส่วนประกอบของ เครื่องปรับอากาศตามพิกัดประเภทที่ 84.15 ข.ตอนท้ายหาต้องเป็นการ นำเข้าครบชุดไม่
คำว่า เครื่องจักรตามความในหมายเหตุหมวด 16 ข้อ 7นั้นใช้เฉพาะ แก่ข้อความในหมายเหตุเท่านั้นหาได้มีความหมายว่าสินค้าตาม พิกัดประเภทที่ 84.01 ถึง 84.65ทุกชนิด เป็นเครื่องจักรตาม พิกัดประเภทหนึ่ง 84.17 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4371/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจอนุมัติลาออกของผู้จัดการโรงงาน: การตีความระเบียบข้อบังคับของนายจ้างตามหลักสุจริตและสภาพบังคับ
การที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ยื่นใบลาออกและผู้จัดการโรงงานลงลายมือชื่ออนุมัติแล้วนั้น ศาลแรงงานกลางมิได้ถือเอาตัวอย่างใบลาพยานเอกสารเป็นข้อวินิจฉัยในการรับฟัง ข้อเท็จจริงดังกล่าว หากแต่ศาลแรงงานกลางชั่งน้ำหนักคำเบิกความ ของพยานจำเลยกับคำเบิกความของตัวโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยหรือ กล่าวพาดพิงถึงพยานเอกสารดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลาง หาได้ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ไม่
ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการลาออกมิได้กำหนดตัวผู้มีอำนาจหน้าที่อนุมัติใบลาออกไว้ชัดแจ้ง แต่ไม่อาจแปลจำกัดเพียงว่านอกจากกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจหน้าที่กระทำการแทนจำเลยผู้เดียวเท่านั้นแล้ว ผู้อื่นใดหามีอำนาจที่จะอนุมัติอีกไม่เป็นการแปลเฉพาะข้อความตอนใดตอนหนึ่งอันไม่ต้องด้วยหลักการตีความ การตีความจักต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์เทียบเคียงถึงข้อสัญญาและข้อตกลงอื่น ๆ ประกอบด้วย และต้องตีความโดยนัยที่จะทำให้เป็นผลบังคับได้การเลิกจ้างตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยมีข้อความเป็นทำนองเดียวกับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 47 (1) ถึง (6) เป็นการเลิกจ้างในทางวินัย เป็นการลงโทษในสถานที่หนักที่สุดที่นายจ้างพึงกระทำต่อลูกจ้างได้นั้น ให้อำนาจผู้จัดการโรงงานไว้ส่วนการลาออกโดยความสมัครใจ ซึ่งโดยปกติย่อมไม่มีผลร้ายแก่ลูกจ้างไม่มีประโยชน์และความจำเป็นประการใดที่จำเลยจะสงวนอำนาจเช่นว่านี้ไว้เป็นอำนาจโดยเฉพาะสำหรับกรรมการผู้จัดการผู้เดียวเท่านั้น ผู้จัดการโรงงานจึงมีอำนาจอนุมัติได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4371/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจอนุมัติใบลาออกของผู้จัดการโรงงาน: การตีความระเบียบข้อบังคับและหลักการตีความ
การที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ยื่นใบลาออกและผู้จัดการโรงงานลงลายมือชื่ออนุมัติแล้วนั้น ศาลแรงงานกลางมิได้ถือเอาตัวอย่างใบลาพยานเอกสารเป็นข้อวินิจฉัยในการรับฟัง ข้อเท็จจริงดังกล่าว หากแต่ศาลแรงงานกลางชั่งน้ำหนักคำเบิกความ ของพยานจำเลยกับคำเบิกความของตัวโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยหรือ กล่าวพาดพิงถึงพยานเอกสารดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลาง หาได้ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา93 ไม่
ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการลาออกมิได้กำหนดตัวผู้มีอำนาจหน้าที่อนุมัติใบลาออกไว้ชัดแจ้ง แต่ไม่อาจแปลจำกัดเพียงว่านอกจากกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจหน้าที่กระทำการแทนจำเลยผู้เดียวเท่านั้นแล้ว ผู้อื่นใดหามีอำนาจที่จะอนุมัติอีกไม่เป็นการแปลเฉพาะข้อความตอนใดตอนหนึ่งอันไม่ต้องด้วยหลักการตีความ การตีความจักต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์เทียบเคียงถึงข้อสัญญาและข้อตกลงอื่นๆ ประกอบด้วย และต้องตีความโดยนัยที่จะทำให้เป็นผลบังคับได้การเลิกจ้างตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยมีข้อความเป็นทำนองเดียวกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯข้อ 47(1) ถึง (6) เป็นการเลิกจ้างในทางวินัย เป็นการลงโทษในสถานที่หนักที่สุดที่นายจ้างพึงกระทำต่อลูกจ้างได้นั้น ให้อำนาจผู้จัดการโรงงานไว้ ส่วนการลาออกโดยความสมัครใจ ซึ่งโดยปกติย่อมไม่มีผลร้ายแก่ลูกจ้างไม่มีประโยชน์และความจำเป็นประการใดที่จำเลยจะสงวนอำนาจเช่นว่านี้ไว้เป็นอำนาจโดยเฉพาะสำหรับกรรมการผู้จัดการผู้เดียวเท่านั้น ผู้จัดการโรงงานจึงมีอำนาจอนุมัติได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจ อธิบดีกรมศุลกากร ตีความพิกัดอัตราศุลกากร และการจัดพิกัดสินค้า (ยาอม) เป็นลูกกวาดเพื่อเสียภาษี
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 มาตรา12 ให้อำนาจ อธิบดีกรมศุลกากร ตีความสั่งเปลี่ยนแปลงพิกัดอัตราศุลกากรให้ถูกต้องได้ ถ้าหากการจัดพิกัดอัตราศุลกากรตามที่ถือปฏิบัติกันมายังไม่ถูกต้อง
เดิมจำเลยเคยเรียกเก็บภาษีอากรขาเข้าสำหรับสินค้ายาอมแฮคส์ของโจทก์ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 30.03 ง. (32) ในลักษณะยาอื่น ๆ ในอัตราร้อยละ 10 ของราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร แต่ต่อมาอธิบดีกรมจำเลยได้มีคำวินิจฉัยพิกัดอัตราใหม่ตามคำวินิจฉัยพิกัดอัตราที่ 151/2519 ให้จัดสินค้ายาอมแก้โรคเจ็บคอและหวัดประเภทเดียวกับสินค้ายาอมแฮคส์ของโจทก์ เข้าพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 17.04 โดยถือเป็นลูกกวาด ซึ่งต้องเสียภาษี ในอัตราร้อยละ 65 ของราคาสินค้าหรือกิโลกรัมละ 22 บาท เมื่อคำวินิจฉัยพิกัดอัตราของอธิบดีกรมจำเลยเป็นการตีความพิกัดอัตราศุลกากรโดยชอบ. การประเมินเรียกเก็บภาษีอากรของจำเลยย่อมชอบด้วยกฎหมาย. แม้โจทก์จะขึ้นทะเบียนตำรับยาสำหรับยาอมแฮคส์ไว้ต่อกองอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ก็เป็นการ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติยาพ.ศ.2510 ซึ่งเป็นกฎหมายคนละฉบับ และมีวัตถุประสงค์ต่างกัน จะอ้างมาเป็นหลักในการตีความ พิกัดอัตราศุลกากรเพื่อการจัดเก็บภาษีอากรหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3030/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดทรัพย์ก่อนขายทอดตลาด: การตีความ 'ก่อนที่ได้เอาทรัพย์สินออกขายทอดตลาด' ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำว่า "ก่อนที่ได้เอาทรัพย์สินเช่นว่านี้ออกขายทอดตลาด "ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 หมายความถึงการขายทอดตลาดบริบูรณ์โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีมีการตกลงด้วยการเคาะไม้หรือด้วยกิริยาอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาด หรือศาลมีคำสั่งให้ขายแล้ว
เจ้าพนักงานบังคับคดีเพียงแต่นำเรือนพิพาทออกดำเนินการขายทอดตลาด 2 ครั้งแล้วเลื่อนไปประกาศขายทอดตลาดอีกเป็นครั้งที่สามการดำเนินการขายทอดตลาดทั้งสองครั้งยังถือไม่ได้ว่าเป็นการขายทอดตลาดผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขัดทรัพย์ก่อนการขายทอดตลาดในครั้งที่สามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3030/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดทรัพย์ก่อนขายทอดตลาด: การตีความ 'ก่อนที่ได้เอาทรัพย์สินออกขายทอดตลาด' และการคุ้มครองผู้ซื้อสุจริต
คำว่า "ก่อนที่ได้เอาทรัพย์สินเช่นว่านี้ออกขายทอดตลาด"ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 หมายความถึงการขายทอดตลาดบริบูรณ์โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีมีการตกลงด้วยการเคาะไม้หรือด้วยกิริยาอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาด หรือศาลมีคำสั่งให้ขายแล้ว
เจ้าพนักงานบังคับคดีเพียงแต่นำเรือนพิพาทออกดำเนินการขายทอดตลาด 2 ครั้งแล้วเลื่อนไปประกาศขายทอดตลาดอีกเป็นครั้งที่สาม การดำเนินการขายทอดตลาดทั้งสองครั้งยังถือไม่ได้ว่าเป็นการขายทอดตลาด ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขัดทรัพย์ก่อนการขายทอดตลาดในครั้งที่สามได้
of 23