พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 885/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความเรื่องดอกเบี้ย: เริ่มคิดดอกเบี้ยเมื่อใด ศาลฎีกาชี้เริ่มนับจากวันที่ตกลงในสัญญา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์ ต่อมาคู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2523 มีข้อความเกี่ยวกับดอกเบี้ยว่า 'จำเลยทั้งสองจะร่วมกันชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 12 ครึ่ง ต่อปี ของเงินที่ยังค้างชำระให้แก่โจทก์ทั้งหมด โดยจะต้องชำระดอกเบี้ยดังกล่าวนี้ทุก ๆ 6 เดือน นับแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2524 เป็นต้นไป' ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือนับแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2524 เป็นต้นไป นั้น เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความลดอัตราดอกเบี้ยลง แสดงว่าคู่สัญญามีความประสงค์จะผ่อนผันให้แก่กัน และตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้กำหนดไว้ให้ชัดเจนว่า จะคิดดอกเบี้ยตั้งแต่เมื่อใด เป็นกรณีที่มีข้อสงสัย ต้องตีความให้เป็นคุณแก่จำเลยผู้เป็นคู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้จำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2525.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 885/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความเรื่องดอกเบี้ย ต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยผู้เสียหนี้
สัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า จำเลยทั้งสองจะร่วมกันชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ ในอัตราร้อยละสิบสองครึ่งต่อปีของเงินที่ยังค้างชำระให้แก่โจทก์ทั้งหมด โดยจะต้องชำระดอกเบี้ยดังกล่าวนี้ทุก ๆ 6 เดือน นับแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2524 เป็นต้นไปดังนี้การรับผิดใช้ดอกเบี้ยต้องนับตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2524เป็นต้นไป ไม่ใช่ตั้งแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ เพราะสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้ระบุไว้เช่นนั้น จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยผู้เป็นคู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 885/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความเรื่องดอกเบี้ย: เริ่มนับเมื่อใด? ศาลฎีกาตัดสินให้เริ่มนับดอกเบี้ยตามวันที่ระบุในสัญญา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์ ต่อมาคู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2523มีข้อความเกี่ยวกับดอกเบี้ยว่า 'จำเลยทั้งสองจะร่วมกันชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 12 ครึ่ง ต่อปี ของเงินที่ยังค้างชำระให้แก่โจทก์ทั้งหมด โดยจะต้องชำระดอกเบี้ยดังกล่าวนี้ทุก ๆ 6 เดือน นับแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2524 เป็นต้นไป' ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือนับแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2524 เป็นต้นไป นั้น เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความลดอัตราดอกเบี้ยลง แสดงว่าคู่สัญญามีความประสงค์จะผ่อนผันให้แก่กัน และตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้กำหนดไว้ให้ชัดเจนว่า จะคิดดอกเบี้ยตั้งแต่เมื่อใด เป็นกรณีที่มีข้อสงสัย ต้องตีความให้เป็นคุณแก่จำเลยผู้เป็นคู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้จำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม2525.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2597/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า vs. สัญญาจะซื้อจะขาย: การตีความเจตนาและความสมบูรณ์ของสัญญา
ทำสัญญากันว่า 'ถ้าผู้เช่าประสงค์จะซื้อที่ดินผู้ให้เช่ายินยอมจะขายให้ ในราคา 8,000 บาท ถ้าผู้เช่าทอดเวลาซื้อขายไปนาน ผู้ให้เช่ามีสิทธิที่จะเสนอขายในราคาใหม่ได้ตามสภาพหรือสภาวะของการเงินในขณะนั้น' ดังนี้ เป็นข้อตกลงที่ราคาพิพาทยังไม่ยุติแต่เพียง 8,000 บาทอีกทั้งโจทก์(ผู้ให้เช่า) มีสิทธิที่จะขายในราคาใหม่ได้ถ้าการซื้อขายทอดเวลาออกไป จึงเป็นเพียงการให้คำมั่นว่าจะขายที่พิพาทแก่จำเลยเท่านั้นหาใช่สัญญาจะซื้อจะขายไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แสดงเจตนาสนองรับจะซื้อที่พิพาทตามคำมั่นของโจทก์ จำเลยย่อมไม่อาจถือเอาประโยชน์จากข้อสัญญานี้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาและการกำหนดแบบแปลนก่อสร้าง: เจตนาของคู่สัญญาและกฎหมาย
สัญญาก่อสร้างตึกแถวระหว่างโจทก์จำเลยมิได้ระบุแบบแปลนการก่อสร้างไว้แน่นอนในตัวสัญญา แต่ได้กำหนดเงื่อนไขให้จำเลยทำการก่อสร้างตึกแถวจำนวน 12 ห้อง ภายในเวลา 2 เดือน นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากเทศบาลและต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในสองปีนับแต่วันที่เทศบาลอนุญาต ดังนี้ต้องถือว่าแบบแปลนที่จำเลยยื่นขออนุญาตต่อเทศบาลและได้รับอนุมัติแล้วคือแบบแปลนตามสัญญาที่จำเลยจะต้องทำการก่อสร้างให้ถูกต้อง
การตีความสัญญาจะต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยประกอบกัน เมื่อปรากฏว่าข้อความในสัญญาแจ้งชัดและถูกต้องตามทางปฏิบัติอันชอบด้วยกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของทางราชการแล้ว ก็ถือได้ว่าไม่เข้ากรณีที่มีข้อสงสัยอันจะต้องตีความให้เป็นคุณแก่ฝ่ายจำเลยผู้ที่จะต้องเป็นฝ่ายเสียหายในมูลหนี้
การตีความสัญญาจะต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยประกอบกัน เมื่อปรากฏว่าข้อความในสัญญาแจ้งชัดและถูกต้องตามทางปฏิบัติอันชอบด้วยกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของทางราชการแล้ว ก็ถือได้ว่าไม่เข้ากรณีที่มีข้อสงสัยอันจะต้องตีความให้เป็นคุณแก่ฝ่ายจำเลยผู้ที่จะต้องเป็นฝ่ายเสียหายในมูลหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญา การก่อสร้างตึกแถว และการผูกพันตามแบบแปลนที่ได้รับอนุมัติ
สัญญาก่อสร้างตึกแถวระหว่างโจทก์จำเลยมิได้ระบุแบบแปลนการก่อสร้างไว้แน่นอนในตัวสัญญาแต่ได้กำหนดเงื่อนไขให้จำเลยทำการก่อสร้างตึกแถว12 ห้อง ภายในเวลา 2 เดือน นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากเทศบาล และต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปีนับแต่วันที่เทศบาลอนุญาต ดังนี้ ต้องถือว่า แบบแปลนที่จำเลยยื่นขออนุญาตต่อเทศบาล และได้รับอนุมัติแล้วคือแบบแปลนตามสัญญาที่จำเลย จะต้องทำการก่อสร้างให้ถูกต้อง การตีความสัญญาจะต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยประกอบกันเมื่อปรากฏว่าข้อความในสัญญาแจ้งชัด และถูกต้องตามทางปฏิบัติอันชอบด้วยกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับของทางราชการแล้ว ก็ถือได้ว่า ไม่เข้ากรณีที่มีข้อสงสัยอันจะต้องตีความให้เป็น คุณแก่ฝ่ายจำเลยผู้ที่จะต้องเป็นฝ่ายเสียหาย ในมูลหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2726/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับจากสัญญาจ้างเหมา vs. ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา: การตีความขอบเขตความรับผิด
ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยข้อ 8 ที่ระบุว่า 'ผู้รับจ้างยินยอมรับผิดชอบค่าปรับอันเนื่องจากเหตุแห่งความล่าช้าจาก กำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อ 3 (168 วัน) โดยคิดตามส่วนของงานและเวลาที่ล่าช้าไปจากที่กำหนดกับอัตราค่าปรับที่โรงพิมพ์ธนบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย คิดปรับจากผู้ว่าจ้าง' นั้นหมายความว่า โจทก์ยินยอมรับผิดชอบค่าปรับตามอัตราค่าปรับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดปรับจากจำเลยตามส่วนของงานและเวลาที่ล่าช้าไปจากที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 3 มิใช่โจทก์ยินยอมเสียค่าปรับตามส่วนของงานและเวลาที่ล่าช้าจำนวนหนึ่ง กับค่าปรับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดปรับจากจำเลยอีกจำนวนหนึ่ง
ค่าปรับก็คือค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดจำนวนกันไว้ล่วงหน้า เมื่อกำหนดค่าปรับกันแล้วก็ไม่สมควรที่จะให้ได้รับค่าเสียหายจากกันอีก ในกรณีค่าปรับกับค่าเสียหายใกล้เคียงกันศาลกำหนดให้จำเลยได้รับค่าเสียหายเท่ากับค่าปรับได้
ค่าปรับก็คือค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดจำนวนกันไว้ล่วงหน้า เมื่อกำหนดค่าปรับกันแล้วก็ไม่สมควรที่จะให้ได้รับค่าเสียหายจากกันอีก ในกรณีค่าปรับกับค่าเสียหายใกล้เคียงกันศาลกำหนดให้จำเลยได้รับค่าเสียหายเท่ากับค่าปรับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'ละทิ้งหน้าที่' ในข้อบังคับบริษัท และอำนาจการบังคับชำระหนี้ของนายจ้าง
คำว่าละทิ้งหน้าที่การงานเกินกว่า 7 วันติดต่อกันตามข้อบังคับ ฯ นั้น หมายถึงวันทำงานและวันหยุดรวมกัน เพราะหากแปลงว่าหมายถึงเฉพาะวันทำงานแล้วข้อบังคับนี้ย่อมไร้ผล เนื่องจากในสัปดาห์หนึ่งหยุดวันเสาร์วันอาทิตย์ การทำงานติดต่อกันจึงมีได้อย่างมาก 5 วันเท่านั้น
การที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ใช้ค่าเสียหาย มีผลเท่ากับเป็นทวงถามให้ชำระหนี้เท่านั้น เพราะจำเลยไม่มีอำนาจบังคับชำระหนี้โดยลำพังได้ จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลย
การที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ใช้ค่าเสียหาย มีผลเท่ากับเป็นทวงถามให้ชำระหนี้เท่านั้น เพราะจำเลยไม่มีอำนาจบังคับชำระหนี้โดยลำพังได้ จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3708/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้: การตีความข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยที่ไม่ชัดเจน ศาลใช้ประโยชน์แก่ลูกหนี้
สัญญากู้ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้ว่า "ยอมให้ดอกเบี้ยตามกฎหมายอย่างสูง" เป็นข้อความที่มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยโดยชัดแจ้งแน่นอนว่าเป็นอัตราสูงเท่าไร ต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กู้ ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3397/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตสัญญาจำนอง: การคุ้มครองหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลัง และหลักการตีความสัญญาที่เป็นคุณแก่ผู้เสีย
ขณะจำเลยที่ 4 ที่ 5 ทำสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองที่ดินกับโจทก์เพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เฉพาะหนี้ตาม สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเท่านั้น ส่วนหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คยังไม่เกิดขึ้น เพราะจำเลยที่ 1เพิ่งทำสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์ในภายหลัง อีกทั้งข้อความตามสัญญาต่อท้าย สัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันมีข้อความว่าประกันเงินที่เบิกไปจากผู้รับจำนองเกินกว่ายอดเงินในบัญชีหรือเงินที่ เป็นหนี้อยู่ในเวลานี้หรือเป็นต่อไปในภายหน้า ย่อมมี ความหมายถึงหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยตรง หาใช่หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คหรือหนี้อื่นที่ยังมิได้ เกิดขึ้นแต่อย่างใดไม่ และตามหนังสือสัญญาจำนองก็ระบุถึงหนี้ที่รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือเวลาใดต่อไป ภายหน้า ก็หมายถึงกำหนดเวลา มิได้หมายถึงลักษณะของหนี้ ไม่มีข้อความที่ระบุให้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คหรือ หนี้อย่างอื่นคนละประเภทกันที่จะเกิดมีขึ้นภายหน้า การตีความถึงเจตนาของคู่สัญญาในกรณีที่มีข้อสงสัยเช่นนี้ ท่านให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะต้องเสียในมูลหนี้นั้น ดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 การที่ตีความถึงเจตนา ให้เป็นโทษแก่จำเลยที่ 4 ที่ 5 ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้จึงขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว ดังนั้นต้องฟัง ว่าสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองที่ดินไม่ได้ ประกันถึงหนี้ที่เกิดจากสัญญาขายลดเช็คซึ่งจำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์