พบผลลัพธ์ทั้งหมด 85 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2485
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญา แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว
ความผิดส่วนตัวนั้น แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลย เจ้าทุกข์ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์และเลิกแล้วคดีต่อจำเลยในชั้นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 240/2484
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์ในคดีความผิดต่อส่วนตัว ส่งผลให้โจทก์หมดสิทธิฟ้องร้อง แม้ศาลไม่สังคำ
คดีที่อัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีความผิดต่อส่วนตัวไว้ต่อศาลแล้วนั้น เมื่อเจ้าทุกข์ยื่นคำร้องต่อศาลขอถอนคำร้องทุกข์เสียแล้ว โดยคำร้องขอถอนนั้นมีข้อความถูกต้อง แม้ศาลจะไม่สังคำร้องขอถอนนั้น ก็ถือว่าโจทก์หมดสิทธิในการว่ากล่าวเอาโทษแก่จำเลยในความผิดต่อส่วนตัวต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7832/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายจากการยักยอกทรัพย์ และผลกระทบต่อการดำเนินคดีอาญา
จำเลยกับพวกร่วมกันยักยอกรถยนต์ของผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อ ขณะอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อ เมื่อในขณะกระทำความผิดผู้เสียหายที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์รถยนต์ที่เช่าซื้อดังกล่าว การกระทำของจำเลยกับพวกย่อมทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับความเสียหายโดยตรง แม้ผู้เสียหายที่ 2 จะไปแจ้งความร้องทุกข์ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหายที่ 1 แต่ก็ถือว่าได้ร้องทุกข์ในฐานะที่ผู้เสียหายที่ 2 เป็นผู้เสียหายด้วยเช่นกัน ผู้เสียหายที่ 2 จึงเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ และย่อมมีอำนาจในการถอนคำร้องทุกข์ เมื่อความผิดฐานยักยอกทรัพย์เป็นความผิดต่อส่วนตัวและคดียังไม่ถึงที่สุด ผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ เมื่อปรากฏว่าก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกา ผู้เสียหายที่ 2 ถอนคำร้องทุกข์ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8750/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อหาจากยักยอกทรัพย์เป็นลักทรัพย์ และอำนาจฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน แม้มีการถอนคำร้องทุกข์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก ประกอบมาตรา 83 ให้ลงโทษจำคุกกระทงละ 2 เดือน รวม 182 กระทง เป็นจำคุก 364 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 334 และมาตรา 335 (7) วรรคแรก ประกอบมาตรา 83 ส่วนกำหนดโทษให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นการแก้ไขเฉพาะบทลงโทษเท่านั้น มิได้แก้ไขกำหนดโทษ ถือว่า เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 จำเลยฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์มีเพียงคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยได้นั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 352 ประกอบมาตรา 83 แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ตาม มาตรา 335 (7) ประกอบมาตรา 83 แต่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม บัญญัติว่า ข้อแตกต่างระหว่างการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์กับยักยอก มิให้ถือว่าแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกัน ลักทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความได้
แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 352 อันเป็นความผิด ยอมความได้ แต่เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ตาม มาตรา 335 (7) ซึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน หากตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลฎีกาเปลี่ยนแปลงแก้ไข ต้องถือว่าคดีนี้เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว การที่โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ย่อมไม่ตัดอำนาจของพนักงานอัยการที่จะฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 126 วรรคสอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมไม่ระงับ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 352 ประกอบมาตรา 83 แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ตาม มาตรา 335 (7) ประกอบมาตรา 83 แต่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม บัญญัติว่า ข้อแตกต่างระหว่างการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์กับยักยอก มิให้ถือว่าแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกัน ลักทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความได้
แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 352 อันเป็นความผิด ยอมความได้ แต่เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ตาม มาตรา 335 (7) ซึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน หากตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลฎีกาเปลี่ยนแปลงแก้ไข ต้องถือว่าคดีนี้เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว การที่โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ย่อมไม่ตัดอำนาจของพนักงานอัยการที่จะฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 126 วรรคสอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมไม่ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8732/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์มีผลระงับสิทธิฟ้องคดีลิขสิทธิ์ และขอบเขตการถอนคำร้องทุกข์ครอบคลุมถึงผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด
ตามบันทึกถอนการร้องทุกข์เอกสารหมาย จ.14 ระบุข้อความว่า "...ผู้เสียหายไม่ประสงค์จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับ ว. ผู้ต้องหา และผู้เกี่ยวข้องอื่นอีกต่อไป..." คำว่าผู้เกี่ยวข้องอื่น นั้น มีความหมายได้ว่า อาจเป็นตัวการร่วมกันหรือเป็นผู้จ้างวาน ใช้หรือเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวก็ได้ การถอนคำร้องทุกข์นั้นย่อมเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายไม่ประสงค์ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดทุกคน ที่พยานโจทก์เบิกความว่า กรณีเป็นการถอนคำร้องทุกข์เฉพาะสำหรับ ว. ซึ่งเป็นเยาวชนเท่านั้น จึงขัดกับข้อความในบันทึกถอนการร้องทุกข์ดังกล่าวย่อมรับฟังไม่ได้ เมื่อความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 เป็นความผิดอันยอมความได้ตามมาตรา 66 ของ พระราชบัญญัติดังกล่าว การถอนคำร้องทุกข์ดังกล่าวย่อมมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6844/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายกระทบสิทธิโจทก์ในการฟ้องคดีอาญา ความผิดอันยอมความได้
จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยมีคำร้องของผู้เสียหายแนบท้ายมีความว่า จำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้เสียหายเป็นที่พอใจแล้ว จึงไม่ติดใจเอาความแก่จำเลย โจทก์รับสำเนาแล้วมิได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์คัดค้านว่าคำร้องของผู้เสียหายไม่เป็นความจริงหรือไม่ถูกต้องประการใด เมื่อคำร้องดังกล่าวมีข้อความสรุปได้ว่า ผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป จึงมีลักษณะเช่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์
แม้การกระทำของจำเลยตามฟ้องจะเป็นความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงซึ่งยอมความไม่ได้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก, 80, 83 โจทก์ไม่อุทธรณ์ ข้อหาที่ว่าจำเลยกระทำในลักษณะเป็นการโทรมหญิงจึงยุติไป ในชั้นนี้หากฟังว่าจำเลยกระทำความผิดก็ลงโทษจำเลยได้ตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก เท่านั้น ซึ่งความผิดดังกล่าวเป็นความผิดอันยอมความได้ตามมาตรา 281 เมื่อผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์แล้ว ย่อมมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองยอมระงับไปในตัว ไม่มีผลบังคับอีกต่อไป
แม้การกระทำของจำเลยตามฟ้องจะเป็นความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงซึ่งยอมความไม่ได้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก, 80, 83 โจทก์ไม่อุทธรณ์ ข้อหาที่ว่าจำเลยกระทำในลักษณะเป็นการโทรมหญิงจึงยุติไป ในชั้นนี้หากฟังว่าจำเลยกระทำความผิดก็ลงโทษจำเลยได้ตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก เท่านั้น ซึ่งความผิดดังกล่าวเป็นความผิดอันยอมความได้ตามมาตรา 281 เมื่อผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์แล้ว ย่อมมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองยอมระงับไปในตัว ไม่มีผลบังคับอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10653/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิถอนคำร้องทุกข์ของผู้เยาว์ที่มีความรู้สึกผิดชอบดีแล้ว และผลกระทบต่อการดำเนินคดีอาญา
เมื่อผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ที่มีความรู้สึกผิดชอบดีแล้วก็มีสิทธิยื่นคำร้องทุกข์หรือถอนคำร้องทุกข์เองได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นอ้างได้ แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9213/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวหลังศาลเปลี่ยนข้อกล่าวหา
แม้ความผิดที่โจทก์ฟ้องคือความผิดฐานปลอมเอกสารและลักทรัพย์จะเป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน แต่เมื่อศาลพิจารณาแล้วได้ความว่าข้อเท็จจริงคดีนี้เป็นความผิดฐานยักยอกและศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ก็ต้องถือว่าคดีนี้เป็นความผิดฐานยักยอกอันเป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว โจทก์ร่วมย่อมถอนคำร้องทุกข์ในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดได้ เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน จึงอนุญาตให้โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2953/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์ระหว่างพิจารณาคดีอาญา ความระงับของสิทธิฟ้อง และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 โจทก์ โจทก์ร่วมและจำเลยตกลงกันได้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยโจทก์ร่วมขอถอนคำร้องทุกข์ และศาลชั้นต้นได้ส่งสัญญาประนีประนอมยอมความและรายงานกระบวนพิจารณาให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 แล้ว เมื่อคดีนี้เป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวและคดียังไม่ถึงที่สุด โจทก์ร่วมจะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ เมื่อโจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่ดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าวกลับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยแล้วพิพากษาให้ยกฟ้อง จึงเป็นการไม่ชอบ กรณีดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์ร่วมไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5262/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุดทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
คดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่ถึงที่สุด ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ แม้ปรากฏว่าผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ก่อนจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา แต่ก็ยังอยู่ในระยะเวลายื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา จึงเป็นการถอนคำร้องทุกข์คดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งได้ แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้วจึงเห็นสมควรสั่งไปเสียเลย เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) จึงให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ