คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทนาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดอำนาจศาล: โจทก์ยื่นคำร้องเสียดสีศาล แม้ทนายไม่ได้ตรวจ ก็ต้องรับผิด
โจทก์เป็นผู้เรียงและพิมพ์คำร้องซึ่งมีข้อความเสียดสีศาลย่อมตระหนักในข้อความตามคำร้องเป็นอย่างดี จึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดตามเนื้อความในคำร้อง การที่ทนายความของโจทก์ไม่ได้ตรวจคำร้องก่อนที่โจทก์จะนำมายื่นต่อศาลไม่เป็นเหตุที่ยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวได้ และไม่อาจถือได้ว่าเป็นเรื่องผิดพลาดและผิดหลง การที่โจทก์ขอถอนคำร้องซึ่งมีข้อความเสียดสีศาล หาทำให้ข้อความตามคำร้องที่เป็นการละเมิดอำนาจศาลหมดไปโดยการถอนคำร้องไม่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 31(1) ไม่ได้บัญญัติว่าความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลจะต้องเป็นกรณีที่ศาลเตือนแล้วจึงจะถือว่ามีเจตนาละเมิดอำนาจศาล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4352/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดพิจารณาคดีผ่านทนาย แม้จำเลยขัดแย้งกับทนาย ก็ยังถือเป็นการส่งโดยชอบ
เจ้าหน้าที่ศาลส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่ทนายจำเลยโดยชอบแล้วจำเลยจะอ้างเหตุว่าจำเลยขัดแย้งในการดำเนินคดีกับทนายจำเลย และทนายจำเลยไม่ได้แจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทราบ ขอให้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ใหม่โดยที่จำเลยมิได้จำกัดอำนาจของทนายหรือถอนทนายจำเลยในขณะเกิดเหตุขัดแย้งกัน คงปล่อยให้ทนายจำเลยทำหน้าที่ทนายต่อไปย่อมไม่อาจรับฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3391/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายทำสัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันจำเลย เว้นแต่มีเหตุฉ้อฉลที่ชัดแจ้ง
จำเลยตั้งให้ทนายจำเลยมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ได้ เมื่อทนายจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์และศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว คำพิพากษานั้นย่อมผูกมัดจำเลยไม่ให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 เว้นแต่กรณีจะต้องด้วยข้อยกเว้น จำเลยไม่ได้ยืนยันในอุทธรณ์โดยชัดแจ้งว่าโจทก์และทนายจำเลยกระทำการร่วมกันอันเป็นการฉ้อฉลจำเลย เพียงแต่อ้างว่าสืบทราบว่าโจทก์ให้เงินทนายจำเลย ทนายจำเลยจึงได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ เป็นการคาดคิดเอาเองของจำเลยฝ่ายเดียว ยังถือไม่ได้ว่ามีการฉ้อฉลเกิดขึ้นในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และทนายจำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2666/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งนัดฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ผ่านทนาย และผลของการไม่มาศาล: ถือว่าจำเลยทราบคำสั่ง
ศาลชั้นต้นส่งหมายนัด ฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้แก่ทนายจำเลยที่ 1 โดยชอบแล้ว ครั้นถึงวันนัด ทนายจำเลยที่1 ไม่มา ศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้ทนายโจทก์ซึ่งมาศาลฟังและบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ให้ถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์แล้วตั้งแต่วันนั้น ดังนี้ ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ทราบคำสั่งศาลอุทธรณ์แล้วตั้งแต่วันอ่านนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2924/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีล้มละลาย แม้ทนายไม่แจ้งวันนัดใหม่ ก็ถือว่าจำเลยทราบแล้ว ศาลชอบธรรมในการพิจารณาต่อไป
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนายและฟังคำสั่งศาลแทน ศาลไม่อนุญาตให้ทนายจำเลยถอนตัวเพราะจำเลยยังไม่ทราบเรื่อง ให้ทนายจำเลยนำส่งสำเนาคำร้องขอถอนตัวให้จำเลยทราบเสียก่อน และศาลได้เลื่อนไปสืบพยานโจทก์ใหม่โดยผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งศาลในรายงานกระบวนพิจารณา ถือได้ว่าทนายจำเลยทราบคำสั่งของศาลที่ไม่อนุญาตให้ถอนตัวจากการเป็นทนายจำเลย และจำเลยได้ทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ตามที่ศาลนัดใหม่แล้ว เมื่อทนายจำเลยและจำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ที่เลื่อนมาดังกล่าวโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง การที่ศาลได้มีคำสั่งให้จำเลยขาดนัดพิจารณาและดำเนินการสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวแล้วมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดจึงเป็นการชอบแล้ว จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้มีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์และคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด และขอให้ไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ซึ่งศาลดำเนินการไปโดยชอบแล้วศาลมีอำนาจที่จะสั่งยกคำร้องของจำเลยโดยไม่จำเป็นต้องไต่สวนคำร้องก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายในการผ่อนผันสัญญาประนีประนอมยอมความต้องได้รับความยินยอมจากคู่ความ
ทนายความที่คู่ความแต่งตั้งมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่ความตามที่เห็นสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของคู่ความ แต่ถ้าดำเนินกระบวนพิจารณาใดเป็นไปในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความ จะต้องได้ระบุไว้ชัดเจนในใบแต่งทนายความของคู่ความนั้น เมื่อปรากฏว่าทนายโจทก์อนุญาตให้จำเลยออกจากห้องพิพาทหลังจากล่วงพ้นกำหนดตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความก็เป็นการกระทำกันนอกศาล มิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลทั้งโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย จึงนอกเหนืออำนาจที่ทนายโจทก์จะกระทำได้และไม่มีผลผูกพันโจทก์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายจำกัด: การยินยอมผ่อนผันนอกศาลไม่ผูกพันคู่ความ จำหน่ายสิทธิต้องระบุในใบแต่ง
ทนายความที่คู่ความแต่งตั้งมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่ความตามที่เห็นสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของคู่ความ แต่ถ้าดำเนินกระบวนพิจารณาใดไปในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความ จะต้องได้ระบุไว้ชัดเจนในใบแต่งทนายความของคู่ความนั้นเมื่อปรากฏว่าทนายโจทก์อนุญาตให้จำเลยออกจากห้องพิพาทหลังจากล่วงพ้นกำหนดตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความก็เป็น การกระทำกันนอกศาล มิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลทั้งโจทก์ มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย จึงนอกเหนืออำนาจที่ทนายโจทก์จะกระทำ ได้และไม่มีผลผูกพันโจทก์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอม ยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในการมีทนาย – กระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามกฎหมายที่มีอัตราโทษจำคุก อย่างสูงถึง 10 ปี ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 วรรคแรกบัญญัติว่าก่อนเริ่มพิจารณา ให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการ ก็ให้ศาลตั้งทนายให้ ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยในเรื่องทนายเสียก่อนเริ่มพิจารณา แต่ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยไม่มีทนาย และศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาคดีไปโดยที่มิได้สั่งให้ศาลชั้นต้นจัดการเสียให้ถูกต้อง การดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวเป็นเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในการมีทนาย – กระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามกฎหมายที่มีอัตราโทษจำคุก อย่างสูงถึง 10 ปี ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 วรรคแรกบัญญัติว่าก่อนเริ่มพิจารณา ให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการ ก็ให้ศาลตั้งทนายให้ ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยในเรื่องทนายเสียก่อนเริ่มพิจารณา แต่ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยไม่มีทนาย และศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาคดีไปโดยที่มิได้สั่งให้ศาลชั้นต้นจัดการเสียให้ถูกต้อง การดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวเป็นเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4626-4629/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกที่ชอบด้วยกฎหมายและการเลื่อนคดีเพื่อหาทนายใหม่
เจ้าพนักงานศาลไปส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสี่ที่บ้านจำเลยที่ 3 ขณะที่จำเลยทั้งสี่กำลังช่วยกันปลูกบ้านจำเลยที่ 3 อยู่ เมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่ยอมรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง เจ้าพนักงานศาลจึงได้ส่งโดยวิธีวางหมายต่อหน้าเจ้าพนักงานตำรวจ ณ ที่นั้น โดยจำเลยทั้งสี่มีบ้านอยู่ติดกัน แม้เป็นคนละแห่งกับภูมิลำเนาของจำเลยที่ปรากฏในคำฟ้อง ก็เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสี่มีภูมิลำเนาหลายแห่ง ถือได้ว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีการวางหมายถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยทั้งสี่มิได้ยื่นคำให้การภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นการจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์และนัดสอบถามเรื่องทนายจำเลยขอถอนตน ครั้นถึงวันนัดศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ไปจนเสร็จโดยมิได้สอบถามจำเลยถึงการถอนตนของทนายความ จำเลยจึงยังไม่ได้หาทนายใหม่ เมื่อจำเลยไม่มีทนาย การขอเลื่อนคดีของจำเลยจึงมีเหตุผลอันสมควร ชอบที่จะอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีได้เมื่อศาลชั้นต้นไม่อนุญาตเลื่อนคดี ศาลฎีกาย่อมให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้สืบพยานโจทก์ใหม่โดยให้โอกาสจำเลยถามค้านพยานโจทก์ แล้วจึงสืบจำเลยทั้งสี่ต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอง
of 22