คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทรัพย์มรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 490 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์และฎีกาในคดีทรัพย์มรดก สิทธิเช่าซื้อที่ดิน และการตกทอดทางมรดก
คดีที่โจทก์ฟ้องและจำเลยฟ้องแย้งจะอุทธรณ์ฎีกาได้เพียงใดหรือไม่ต้องแยกพิจารณาคนละส่วน
ฟ้องโจทก์ระบุว่าอาวุธปืนพิพาทมีราคา 20,000 บาท ในชั้นอุทธรณ์จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องโจทก์แต่เพียงว่าอาวุธปืนพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดก ฉะนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องโจทก์จึงมีเพียง20,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224วรรคหนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยก็ถือว่าไม่ชอบ และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ตามสัญญาเช่าซื้อที่ ส.ทำไว้ให้แก่สำนักงานปฏิรูปที่ดินระบุว่าหากผู้เช่าซื้อถึงแก่กรรมในระหว่างเช่าซื้อ ที่ดินที่เช่าซื้อนี้จะต้องตกอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ซึ่งบัญญัติให้ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม ฯลฯทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีการออกกฎกระทรวงตามกฎหมายมาตราดังกล่าว ส่วนระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการโอนและการตกทอดทางมรดก สิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อที่ดินในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2535 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 30 วรรคหนึ่งของ พ.ร.บ.ดังกล่าว แต่เพิ่งมีการประกาศใช้บังคับในราชกิจจานุเบกษาภายหลังที่ ส.ถึงแก่ความตาย แต่เมื่อสิทธิการเช่าซื้อที่ดินพิพาทได้ตกทอดแก่ทายาทของ ส.ทันทีเมื่อ ส.ถึงแก่ความตายก่อนระเบียบดังกล่าวประกาศใช้แล้ว ระเบียบดังกล่าวจึงนำมาบังคับใช้กับคดีนี้ไม่ได้ จำเลยที่ 1 มารดาของ ส. และจำเลยที่ 2 และที่ 3บุตรของ ส.เป็นทายาทโดยธรรมของ ส.ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกในสิทธิการเช่าที่ซื้อที่ดินร่วมกับโจทก์ซึ่งเป็นภริยาของโจทก์ด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 และตามพ.ร.บ.เพื่อการเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การแบ่งมรดกที่ดินและพันธบัตรเมื่อมีการฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินอื่นไปแล้ว
คดีหมายเลขดำที่ 283/2535 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ฟ้องจำเลยกับ จ. ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 659 ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ต. และนำมาแบ่งปันกันและตามคดีหมายเลขดำที่ 284/2535 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5ฟ้องจำเลยกับ พ. ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 6278 ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของนาย ต.และนำมาแบ่งปันกัน แต่คดีนี้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5ฟ้องจำเลยคนเดียว ให้ดำเนินการแบ่งปันที่ดินโฉนดเลขที่ 3977กับพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 200,000 บาท ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ต.แม้ว่าที่ดินทั้งหมดจะเป็นทรัพย์มรดกของต.แต่เห็นได้ว่าตามคดีหมายเลขดำที่ 283/2535 และ 284/2535นั้น จะต้องพิจารณาประเด็นที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินเสียก่อนว่าจะเพิกถอนหรือไม่ เมื่อเพิกถอนแล้วจึงจะนำมาแบ่งปันกันระหว่างทายาท ส่วนคดีนี้มีแต่เพียงประเด็นแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างทายาทด้วยกันเท่านั้นหาได้เป็นเรื่องเดียวกันไม่ ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8475/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าซื้อและการสืบสิทธิหลังผู้เช่าซื้อเสียชีวิต ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ชำระหนี้และแบ่งปันทรัพย์มรดก
สิทธิที่จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามสัญญาเช่าซื้อไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าซื้อตาย ทายาทจึงสืบสิทธิของผู้เช่าซื้อได้ และจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกซึ่งมีหน้าที่ ตามกฎหมายที่จะต้องจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกจึงมีสิทธิ ที่จะเข้าสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อเพื่อดำเนินการแบ่งปัน ให้ทายาทต่อไปได้ หลังจาก อ. ผู้เช่าซื้อถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองรถยนต์คันที่เช่าซื้อและชำระเงินค่าเช่าซื้อให้โจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้เข้าสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้จัดการมรดก อ. ผู้ตายและ อ. มีทายาทหลายคน ดังนั้น แม้จำเลยจะสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ ก็เป็นการสืบสิทธิในฐานะผู้จัดการมรดกอ. เพื่อจะดำเนินการแบ่งปันสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งเป็นมรดกของ อ. ให้แก่ทายาทต่อไปเท่านั้นตราบใดที่จำเลยยังไม่ได้แบ่งปันสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ทายาทคนใด ตราบนั้นสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อก็ยังคงเป็นมรดกของ อ. อยู่ และเมื่อสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อเป็นสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อ และเป็นสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ที่มีต่ออ.เจ้ามรดกสำหรับคดีนี้เมื่อโจทก์ทราบว่าอ.ถึงแก่ความตายเมื่อเดือนเมษายน 2537 และโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 กรกฎาคม 2537 จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8227/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสจากทรัพย์มรดกและการโอนทรัพย์สินโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
ช. กับโจทก์ที่ 1 เป็นสามีภริยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 พ.ศ. 2477 ช.ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2535 ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของ ช.ระหว่างที่ช.มีชีวิตอยู่ ช.ได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์จากจำเลยที่ 1 หลังจากนั้น ช.ยกที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์เลขที่ 10/141 ให้จำเลยที่ 2 และมีการเปลี่ยนคู่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ เมื่อไม่ปรากฏว่าในระหว่างสมรสโจทก์ที่ 1 และ ช. ได้หย่าขาดจากกันประกอบกับที่ดินมรดกนั้น ช. ได้รับมาก็ไม่ปรากฏว่าเป็นทรัพย์สินประเภทใด กรณีจึงเป็นที่สงสัย ต้องสันนิษฐานว่า ที่ดินมรดกดังกล่าวเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 ดังนี้เงินที่ ช.ได้มาจากการขายที่ดินดังกล่าวแล้วนำไปฝากธนาคาร เมื่อเป็นการได้ทรัพย์สินมาหลังจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ขณะนั้นมาใช้บังคับจะนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้บังคับหาได้ไม่ เงินที่ช. ได้จากการขายที่ดินมรดกจึงเป็นสินสมรส การที่ ช. นำเงินดอกเบี้ยซึ่งเป็นดอกผลของสินสมรสไปซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ที่พิพาท ทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสของโจทก์ที่ 1 กับ ช. ซึ่งในการจัดการสินสมรสดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 การที่ ช.ยกที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้ รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรส โจทก์ที่ 1จึงขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ระหว่างช. กับจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8222/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่สมบูรณ์, การรับบุตรบุญธรรมไม่สมบูรณ์, สิทธิในทรัพย์มรดก
พินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นพินัยกรรมแบบทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ แต่ไม่ระบุวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม อันเป็นการทำพินัยกรรมที่ไม่ถูกต้องตามแบบที่กำหนดไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1657 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1705ทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมจึงเป็นทรัพย์มรดกที่ไม่มีพินัยกรรม และเมื่อการจัดการมรดกมีเหตุขัดข้อง ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ย่อมมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713
แม้เอกสารฉบับพิพาทพร้อมคำแปลจะมีข้อความว่า ป.เจ้ามรดกเป็นผู้ทำ และมีลักษณะเป็นพินัยกรรมแบบทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ โดยผู้ทำลงวัน เดือน ปี และลายมือชื่อของตนในเอกสารอย่างถูกต้องตามกฎหมายก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงสำเนาเท่านั้น ไม่ใช่ต้นฉบับเอกสาร จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 กรณีไม่อาจฟังว่า ป.เจ้ามรดกทำพินัยกรรมนั้นไว้จริง
เมื่อเอกสารที่ผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นเอกสารการรับเป็นบุตรบุญธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันระหว่าง ป.เจ้ามรดกกับผู้คัดค้านเป็นเพียงสัญญารับบุตรบุญธรรมเพราะ ป.เจ้ามรดกไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองเพื่อขอรับบุตรบุญธรรม ทั้งไม่ปรากฏว่า ป.เจ้ามรดกได้รับอนุมัติจากศาลปกครองในการรับบุตรบุญธรรมให้ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ดังนั้น เมื่อการรับบุตรบุญธรรมของ ป.ไม่สมบูรณ์ และไม่มีผลตามกฎหมาย และเมื่อ ป.เจ้ามรดก ไม่ได้จดทะเบียนรับผู้คัดค้านเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายของประเทศไทย ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ทายาทของ ป. ทั้งเมื่อไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ป. ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ป.ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8216/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลมีอำนาจสั่งแม้ยังไม่ได้รวบรวมทรัพย์มรดก
คดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ประเด็นมีเพียงว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ คดีไม่มีประเด็นว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกอะไรบ้างหรือไม่ เพราะขั้นตอนดังกล่าวเป็นเรื่องการรวบรวมทรัพย์มรดกหลังจากที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกไปแล้ว หากการรวบรวมทรัพย์มรดกของผู้ตายดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านโต้แย้งได้ ผู้คัดค้านก็ชอบที่จะดำเนินคดีเอาแก่ผู้ร้องได้เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านของผู้ร้องคัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8216/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: ประเด็นการตั้งผู้จัดการมรดกแยกจากประเด็นการพิสูจน์ทรัพย์มรดก
คดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ประเด็นมีเพียงว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ คดีไม่มีประเด็นว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกอะไรบ้างหรือไม่ เพราะขั้นตอนดังกล่าวเป็นเรื่องการรวบรวมทรัพย์มรดกหลังจากที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกไปแล้ว หากการรวบรวมทรัพย์มรดกของผู้ตายดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านโต้แย้งได้ ผู้คัดค้านก็ชอบที่จะดำเนินคดีเอาแก่ผู้ร้องได้เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก จึง ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านของผู้ร้องคัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์มรดก: การซื้อที่ดินแทนบุคคลอื่น การแบ่งทรัพย์มรดก และการนำสืบพยานเพื่อแสดงความเป็นมาของทรัพย์สิน
สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระบุว่าจำเลยเป็นผู้ซื้อการที่โจทก์จะนำสืบว่าจำเลยทำแทนหรือถือกรรมสิทธิ์แทนก็เพื่อแสดงถึงความเป็นมาอันแท้จริงว่าที่ดินพิพาทเป็นของส. จำเลยมีชื่อในโฉนดที่ดินแทนส. การนำสืบเช่นนี้เป็นการนำสืบถึงการเป็นตัวการตัวแทนอีกส่วนหนึ่งหาใช่เป็นการนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารไม่กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข) ที่จำเลยฎีกาว่าบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมายจ.4เป็นคำมั่นจะให้ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะบังคับได้นั้นจำเลยมิได้ให้การไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีกับทรัพย์มรดก: เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์มรดกของลูกหนี้ที่ยังไม่ได้แบ่งปัน
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ จ. เมื่อ จ.ถึงแก่กรรมไปโดยมิได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใด ที่ดินพิพาทจึงย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายรวมทั้งจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของ จ. จำเลยที่ 2 จึงมีส่วนเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทแปลงนี้ด้วย เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการยึดที่ดินพิพาทเพื่อบังคับคดีตามที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้ อันเป็นการยึดทรัพย์สินโดยชอบแล้ว แม้ที่ดินพิพาทยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างจำเลยที่ 2 กับทายาทอื่นก็ไม่ทำให้การยึดทรัพย์ต้องเสียไปเพราะเป็นเรื่องที่ทายาทอื่น ๆ จะต้องขอส่วนแบ่งหรือร้องขอให้กันเงินส่วนของตนออกเมื่อขายทรัพย์แล้วต่อไป โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะไม่อนุญาตขายทอดตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้บังคับคดีทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งปัน ทายาทมีส่วนเป็นเจ้าของรวม
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของจ. เมื่อจ.ถึงแก่กรรมไปโดยมิได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใดที่ดินพิพาทจึงย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายรวมทั้งจำเลยที่2ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของจ. จำเลยที่2จึงมีส่วนเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทแปลงนี้ด้วยเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการยึดที่ดินพิพาทเพื่อบังคับคดีตามที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นของจำเลยที่2ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้อันเป็นการยึดทรัพย์สินโดยชอบแล้วแม้ที่ดินพิพาทยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างจำเลยที่2กับทายาทอื่นก็ไม่ทำให้การยึดทรัพย์ต้องเสียไปเพราะเป็นเรื่องที่ทายาทอื่นๆจะต้องขอส่วนแบ่งหรือร้องขอให้กันเงินส่วนของตนออกเมื่อขายทรัพย์แล้วต่อไปโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่2ย่อมมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะไม่อนุญาตขายทอดตลาด
of 49