พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11317/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การและการฟ้องแย้งในคดีทรัพย์สินทางปัญญา: การยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การและการรับฟ้องแย้ง
การขอแก้ไขคำให้การต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนวันนัดชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 180 เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางนัดชี้สองสถานหรือนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 8 มีนาคม 2553 แต่เมื่อถึงวันนัด ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งงดชี้สองสถานและให้เลื่อนคดีไปนัดสืบพยานโจทก์ในวันอื่น วันที่ 8 มีนาคม 2553 ย่อมมิใช่วันชี้สองสถานหรือวันสืบพยาน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 จำเลยจึงยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในวันดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยและห้ามจำเลยใช้ ยื่นคำขอจดทะเบียน หรือเกี่ยวข้องในทางใดๆ กับเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ การที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยโดยอ้างว่า โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตทำให้จำเลยสูญเสียรายได้ เนื่องจากต้องเก็บสินค้าที่วางจำหน่ายในท้องตลาดระหว่างรอฟังผลของคดี เป็นฟ้องแย้งโดยอาศัยเหตุที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เป็นข้ออ้าง ฟ้องแย้งจึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรท้าย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยและห้ามจำเลยใช้ ยื่นคำขอจดทะเบียน หรือเกี่ยวข้องในทางใดๆ กับเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ การที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยโดยอ้างว่า โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตทำให้จำเลยสูญเสียรายได้ เนื่องจากต้องเก็บสินค้าที่วางจำหน่ายในท้องตลาดระหว่างรอฟังผลของคดี เป็นฟ้องแย้งโดยอาศัยเหตุที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เป็นข้ออ้าง ฟ้องแย้งจึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9069/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความในคดีทรัพย์สินทางปัญญา: การเปลี่ยนแปลงกฎหมายและผลกระทบต่อการฟ้องคดี
แม้ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 จะยกเลิก พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 แต่ก็มิได้ยกเลิกความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าแผ่นดีวีดีและวีซีดีภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาตจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ในขณะที่ พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ใช้บังคับ แต่ขณะที่จำเลยถูกฟ้องเป็นคดีนี้ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ได้ยกเลิก พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ไปแล้ว การกระทำของจำเลยที่เป็นความผิดตามมาตรา 38 วรรคหนึ่ง, 79 ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) เมื่ออายุความตามกฎหมายใหม่เป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า จึงต้องนำอายุความตามกฎหมายใหม่มาใช้บังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2551 เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิด คดีสำหรับความผิดฐานนี้จึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
โจทก์ฟ้องและมีคำขอให้ของกลางตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางที่เป็นแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ปัญหานี้ แต่ข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้เอง
โจทก์ฟ้องและมีคำขอให้ของกลางตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางที่เป็นแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ปัญหานี้ แต่ข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4602/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญา: ศาลใช้ดุลพินิจชอบธรรม แม้จำเลยคัดค้าน โดยคำนึงถึงสิทธิโจทก์อื่น
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง นั้น หลังจากฝ่ายจำเลยยื่นคำให้การแล้วโจทก์อาจยื่นคำร้องขอถอนฟ้องได้ ซึ่งศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต หรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ห้ามมิให้ศาลอนุญาตโดยมิได้ฟังฝ่ายจำเลยก่อน คดีนี้ปรากฏว่า เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องฉบับลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2550 ศาลได้บันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่เดียวกันว่า ศาลสอบแล้วทนายจำเลยทั้งห้าแถลงคัดค้านว่าประสงค์จะให้ศาลวินิจฉัยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ต่อมาศาลได้บันทึกรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 11 ธันวาคม 2550 ว่า ศาลสอบแล้ว ทนายโจทก์ยืนยันจะถอนคำฟ้อง ทนายจำเลยทั้งห้าแถลงคัดค้านเนื่องจากหากศาลอนุญาตให้ถอนคำฟ้อง ว. ซึ่งเป็นผู้มีชื่อในทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะมาฟ้องจำเลยทั้งห้าในข้อหาเดียวกันนี้อีก จึงเป็นการเอาเปรียบจำเลยทั้งห้าจากข้อเท็จจริงดังกล่าวถือว่า ศาลได้สอบถามจำเลยทั้งห้าแล้ว ซึ่งแม้จำเลยทั้งห้าจะคัดค้าน ศาลก็ใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ การที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4582/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีทรัพย์สินทางปัญญา และอายุความของค่าเสียหายจากสัญญา
ในคำให้การของจำเลยก็ดี ในทางนำสืบของจำเลยก็ดี ปรากฏข้อเท็จจริงเพียงว่ากิจการสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันของจำเลยตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิที่ทำกับโจทก์นั้นประสบภาวะขาดทุนโดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าสาเหตุเกิดจากอะไร สัญญาดังกล่าวไม่เป็นธรรมอย่างไร และโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริตอย่างไร ดังนั้น การที่จำเลยอุทธรณ์โดยให้รายละเอียดว่า การที่โจทก์คิดค่าใช้สิทธิจากจำเลยเพิ่มเติมในส่วนจำนวนน้ำมันที่จำเลยซื้อจากโจทก์ไม่ถึงปริมาณที่กำหนดไว้ในสัญญาอีก จึงไม่เป็นธรรมต่อจำเลยและเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต กิจการของจำเลยประสบกับภาวะขาดทุนเพราะสภาพเศรษฐกิจนั้น อุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 ประกอบด้วยมาตรา 225 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องคดีนี้ตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดำเนินการสถานีน้ำมัน โดยเรียกเงินค่าเสียหายจากจำเลยคือ เงินค้างชำระเกี่ยวกับค่าใช้สิทธิ ค่าซื้อสินค้า ค่าส่งเสริมการขาย และค่าซ่อมอุปกรณ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องจากสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิทั้งสิ้น นอกจากนี้น้ำมันซึ่งโจทก์ส่งมอบให้จำเลยก็มิใช่สินค้าที่มีลักษณะเป็นการซื้อมาขายไปเป็นปกติธุระของโจทก์ เพราะต้องมีการควบคุมปริมาณและคุณภาพตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา ค่าเสียหายตามคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ตกอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์เรื่องผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ส่งมอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี สัญญาให้ใช้สิทธิดังกล่าวไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
โจทก์ฟ้องคดีนี้ตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดำเนินการสถานีน้ำมัน โดยเรียกเงินค่าเสียหายจากจำเลยคือ เงินค้างชำระเกี่ยวกับค่าใช้สิทธิ ค่าซื้อสินค้า ค่าส่งเสริมการขาย และค่าซ่อมอุปกรณ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องจากสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิทั้งสิ้น นอกจากนี้น้ำมันซึ่งโจทก์ส่งมอบให้จำเลยก็มิใช่สินค้าที่มีลักษณะเป็นการซื้อมาขายไปเป็นปกติธุระของโจทก์ เพราะต้องมีการควบคุมปริมาณและคุณภาพตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา ค่าเสียหายตามคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ตกอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์เรื่องผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ส่งมอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี สัญญาให้ใช้สิทธิดังกล่าวไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2905/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา: ห้ามใช้ชื่อและเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกัน, ค่าเสียหายจากการใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ร. เป็นผู้รับมอบอำนาจดำเนินการทุกอย่างเพื่อยับยั้งและกำจัดการเลียนแบบการปลอมแปลง การละเมิดและการกระทำใดๆ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเกี่ยวกับการชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ รูปและรอยประดิษฐ์ ตลอดจนสิ่งต่างๆ ทำนองเดียวกันที่เกี่ยวข้องหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการมอบอำนาจทั่วไป ซึ่งผู้รับมอบอำนาจสามารถใช้ในการดำเนินคดีแก่บุคคลใดก็ได้ จึงไม่จำต้องระบุให้มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 โดยเฉพาะเจาะจง
โจทก์ฟ้องนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 โดยอ้างว่า จำเลยที่ 2 รับจดทะเบียนชื่อนิติบุคคลและดวงตรานิติบุคคลจำเลยที่ 1 โดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายและยังมีคำขอบังคับให้จำเลยที่ 2 เพิกถอนชื่อนิติบุคคลและดวงตรานิติบุคคลของจำเลยที่ 1 ออกจากทะเบียน จึงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาถึงกรอบอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 2 และเกี่ยวข้องกับอำนาจฟ้องของโจทก์ต่อจำเลยที่ 2 อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งนี้เพี่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นนี้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม จึงจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าว ดังนั้น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 แก้ไขคำให้การ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสาม และ มาตรา 180 เป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบแล้ว และไม่ว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะอนุญาตหรือไม่ หากศาลเห็นสมควรศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องอำนาจวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้อยู่แล้วเนื่องจากเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามมาตรา 142 (5)
จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดนนทบุรีและนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดนนทบุรีเป็นผู้รับจดทะเบียน ไม่ใช่จำเลยที่ 2 ซึ่งตามกฎกระทรวงฉบับที่ 5 (พ.ศ.2491) ฉบับที่ 20 (พ.ศ.2527) ฉบับที่ 21 (พ.ศ.2536) ออกตามความใน ป.พ.พ. (ว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัท) ระบุว่า การจัดตั้งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครและสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดอื่น มีการกำหนดเขตพื้นที่รับผิดชอบแยกกันอย่างชัดเจนจึงเห็นได้ชัดว่าที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ได้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบงานทะเบียนของจำเลยที่ 1 และไม่ใช่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดนนทบุรีที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียน จึงเป็นการฟ้องผิดตัว โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่2
สัญญาการจัดจำหน่าย ข้อ 13 (2) ระบุว่า ผู้จำหน่ายมีสิทธิและหน้าที่ในการใช้ชื่อ เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายการบริการของโจทก์เฉพาะกับสินค้าและบริการของโจทก์ตามที่ได้รับอนุมัติและจะต้องไม่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทของผู้จำหน่ายโดยไม่ได้รับความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษรโดยชัดแจ้งล่วงหน้าจากโจทก์ก่อนดังนั้น ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 จะเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของโจทก์หรือไม่ จึงมิใช่สาระสำคัญเพราะถึงอย่างไรก็ไม่ได้ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่ 1 ที่จำนำชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการของโจทก์ไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทจำเลยที่ 1
โจทก์ใช้คำว่า เบนซ์ และ BENZ เป็นชื่อทางการค้าและใช้รูปประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมกับกิจการค้าขายรถยนต์ของโจทก์มาเป็นเวลานานจนเป็ที่เรียกขานเป็นยี่ห้อสินค้าที่มีชื่อเสียงทั่วไป ชื่อและรูปประดิษฐ์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองสิทธิในการที่จะใช้ชื่อทางการค้าและรูปประดิษฐ์ดังกล่าวในการประกอบกิจการค้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 และ ป.อ. มาตรา 272 (1)
กลุ่มผู้บริหารจำเลยที่ 1 ประกอบกิจการค้าโดยซื้อรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ของโจทก์จากตัวแทนจำหน่ายของโจทก์ไปจำหน่ายต่อให้ลูกค้าตั้งแต่ปี 2535 จนกระทั่งปี 2539 เป็นเวลานนาน 4 ปี จึงนำชื่อคำว่า เบนซ์, BENZ และรูปประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมไปจดทะเบียนและดวงตรานิติบุคคล ซึ่งเป็นเวลาหลังจากที่โจทก์จัดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศไทยแล้วเกือบ 40 ปี ย่อมทราบดีว่า ชื่อเสียงเกียรติคุณของชื่อทางการค้าและรูปรอยประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมของโจทก์เป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้บริโภค เป็นเสมือนหลักประกันคุณภาพของสินค้าและบริการ อีกทั้งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สาธารณชนเลือกที่จะซื้อสินค้าและบริการจากโจทก์หรือตัวแทนจำหน่ายของโจทก์ก่อให้เกิดรายได้และผลประโยชน์ตอบแทนอย่างสูงแก่ผู้ประกอบการพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ซึ่งประกอบกิจการประเภทเดียวกับโจทก์ ใช้ชื่อ บริษัท เบนซ์แจ้งวัฒนะ จำกัด และชื่อภาษาอังกฤษว่า BENZ CHANGWAT-TANA CO., LTD. อันเป็นการนำคำว่า เบนซ์ และ BENZ ไปเป็นคำนำหน้าชื่อในส่วนสำคัญ ตลอดจนใช้รูปประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมเป็นดวงตรานิติบุคคล ย่อมแสดงถึงเจตนาที่คาดหมายว่าสาธารณชนทั่วไปจะเข้าใจว่ากิจการของจำเลยที่ 1 เป็นกิจการในเครือ หรือเป็นตัวแทนจำหน่าย หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับโจทก์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง จึงเป็นการมุ่งแสวงหาประโยชน์จากเชื่อเสียงเกียรติคุณจากชื่อทางการค้าและรูประดิษฐ์ของโจทก์โดยไม่สุจริต
จำเลยที่ 1 สั่งซื้อรถยนต์ยี้ห้อเบนซ์จากแหล่งอื่นมาจำหน่ายต่อให้ลูกค้าภายใต้ชื่อบริษัทที่มีชื่อทางการค้าของโจทก์ประกอบอยู่ในส่วนสาระสำคัญ โดยไม่ลงทุนในค่าสิทธิและไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรฐานของโจทก์เฉกเช่นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของโจทก์รายอื่น เข้าลักษณะเป็นการแข่งขันทางการค้ากับบริษัทในเครือหรือตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของโจทก์ และทำให้โจทก์ขาดประโยชน์อันควรได้จากการอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิ ไม่สามารถควบคุมระดับคุณภาพของสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐาน อีกทั้งยังไม่อาจควบคุมระดับคุณภาพของสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐาน อีกทั้งยังไม่อาจควบคุมราคาสินค้าและบริการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องยนต์ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของชื่อทางการค้าคำว่า เบนซ์,BENZ และรูปประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมโดยชอบ จำเลยที่ 1 นำไปใช้ในการประกอบธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ เป็นการแสวงหาประโยชน์ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ระงับความเสียหายและห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อและรูปรอยประดิษฐ์ของโจทก์ได้สิทธิของโจทก์ในเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในราชอาณาจักรไว้แล้วตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 44 เป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวเพื่อใช้เครื่องหมายนั้นสำหรับสินค้าจำพวกที่ได้จดทะเบียนไว้เพื่อแยกแยะให้เห็นว่าสินค้าของโจทก์แตกต่างจากสินค้าของผู้อื่นเท่านั้น มิได้รวมถึงการนำเครื่องหมายนั้นมาใช้เป็นชื่อนิติบุคคลและดวงตรานิติบุคคลด้วย จำเลยที่ 1 นำคำว่า เบนซ์, BENZ และรูปรอยประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลม มาใช้เป็นชื่อบริษัทและดวงตรานิติบุคคลไม่ได้นำมาใช้กับสินค้า การกระทำดังกล่าวจึงมิได้เป็นการใช้คำและรูปรอยประดิษฐ์ของโจทก์ในฐานะที่เป็นเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ จึงไม่ได้ละเมิดสิทธิโจทก์ในเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 44
คำว่า เบนซ์, BENZ และรูปรอยประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของโจทก์ที่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 และ ป.อ. มาตรา 272 (1) เมื่อจำเลยที่ 1 นำชื่อและรูปประดิษฐ์ของโจทก์ไปใช้โดยไม่สุจริตทำให้โจทก์เสียหาย อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอสั่งห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อและรูปรอยประดิษฐ์นั้นได้ ซึ่งแม้บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจะมิได้ให้สิทธิแก่โจทก์ในที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนแก้ไขชื่อและดวงตรานิติบุคคลของจำเลยที่ 1 แต่การห้ามมิให้ใช้ดังกล่าวก็ย่อมมีผลทำให้จำเลยที่ 1 ไม่อาจประกอบกิจการค้าจำหน่ายรถยนต์และให้บริการซ่อมแซมบำรุงรักษาเครื่องยนต์ภายใต้ชื่อ "บริษัทเบนซ์แจ้งวัฒนะ จำกัด" และใช้ดวงตรานิติบุคคลที่เป็นรูปรอยประดิษฐ์ของโจทก์ได้อีก อันเป็นการห้ามมิให้กระทำการละเมิดอันก่อความเสียหายแก่โจทก์อยู่ในตัว
จำเลยที่ 1 นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้ให้ปรากฏเป็นป้ายชื่อโชว์รูม ตลอดจนใช้ในการโฆษณาตามสื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบต่างๆ เพื่อเผยแพร่กิจการค้าของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำคำและรูปรอยประดิษฐ์ตามฟ้องไปใช้กับสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจอ้างความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 44 ได้ แต่ ป.อ. มาตรา 272 (1) วางโทษทางอาญาสำหรับผู้ใดที่เอาชื่อรูปรอยประดิษฐ์หรือข้อความใดๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้หุ้มห่อ แจ้งความรายการแสดงราคา จดหมายเกี่ยวกับการค้าหรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่นเมื่อจำเลยที่ 1 นำชื่อและรูปรอยประดิษฐ์อันเป็นชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้โดยส่อเจตนาให้ประชาชนสับสนหลงผิดว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนทางการค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิข้อบังคับห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ในลักษณะที่เป็นชื่อทางการค้าและรูปรอยประดิษฐ์ในการประกอบการค้าของโจทก์ในการประกอบธุรกิจการค้าของจำเลยที่ 1 ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 ยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท เครื่องหมายการค้า และเครื่องหมายบริการ หรือใช้ หรือเข้าเกี่ยวข้องไม่ว่าในทางใดกับชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า และเครื่องหมายบริการของโจทก์ รวมทั้งชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการอื่นใดที่เหมือน หรือคล้ายกับชื่อทางการค้าเครื่องหมายทางการค้า และเครื่องหมายบริการของโจทก์ไม่ว่ากับกิจการค้าสินค้าหรือบริการใดๆ ซึ่งเป็นคำขอในอนาคตที่โจทก์ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 โดยอ้างว่า จำเลยที่ 2 รับจดทะเบียนชื่อนิติบุคคลและดวงตรานิติบุคคลจำเลยที่ 1 โดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายและยังมีคำขอบังคับให้จำเลยที่ 2 เพิกถอนชื่อนิติบุคคลและดวงตรานิติบุคคลของจำเลยที่ 1 ออกจากทะเบียน จึงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาถึงกรอบอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 2 และเกี่ยวข้องกับอำนาจฟ้องของโจทก์ต่อจำเลยที่ 2 อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งนี้เพี่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นนี้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม จึงจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าว ดังนั้น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 แก้ไขคำให้การ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสาม และ มาตรา 180 เป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบแล้ว และไม่ว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะอนุญาตหรือไม่ หากศาลเห็นสมควรศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องอำนาจวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้อยู่แล้วเนื่องจากเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามมาตรา 142 (5)
จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดนนทบุรีและนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดนนทบุรีเป็นผู้รับจดทะเบียน ไม่ใช่จำเลยที่ 2 ซึ่งตามกฎกระทรวงฉบับที่ 5 (พ.ศ.2491) ฉบับที่ 20 (พ.ศ.2527) ฉบับที่ 21 (พ.ศ.2536) ออกตามความใน ป.พ.พ. (ว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัท) ระบุว่า การจัดตั้งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครและสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดอื่น มีการกำหนดเขตพื้นที่รับผิดชอบแยกกันอย่างชัดเจนจึงเห็นได้ชัดว่าที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ได้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบงานทะเบียนของจำเลยที่ 1 และไม่ใช่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดนนทบุรีที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียน จึงเป็นการฟ้องผิดตัว โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่2
สัญญาการจัดจำหน่าย ข้อ 13 (2) ระบุว่า ผู้จำหน่ายมีสิทธิและหน้าที่ในการใช้ชื่อ เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายการบริการของโจทก์เฉพาะกับสินค้าและบริการของโจทก์ตามที่ได้รับอนุมัติและจะต้องไม่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทของผู้จำหน่ายโดยไม่ได้รับความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษรโดยชัดแจ้งล่วงหน้าจากโจทก์ก่อนดังนั้น ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 จะเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของโจทก์หรือไม่ จึงมิใช่สาระสำคัญเพราะถึงอย่างไรก็ไม่ได้ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่ 1 ที่จำนำชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการของโจทก์ไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทจำเลยที่ 1
โจทก์ใช้คำว่า เบนซ์ และ BENZ เป็นชื่อทางการค้าและใช้รูปประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมกับกิจการค้าขายรถยนต์ของโจทก์มาเป็นเวลานานจนเป็ที่เรียกขานเป็นยี่ห้อสินค้าที่มีชื่อเสียงทั่วไป ชื่อและรูปประดิษฐ์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองสิทธิในการที่จะใช้ชื่อทางการค้าและรูปประดิษฐ์ดังกล่าวในการประกอบกิจการค้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 และ ป.อ. มาตรา 272 (1)
กลุ่มผู้บริหารจำเลยที่ 1 ประกอบกิจการค้าโดยซื้อรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ของโจทก์จากตัวแทนจำหน่ายของโจทก์ไปจำหน่ายต่อให้ลูกค้าตั้งแต่ปี 2535 จนกระทั่งปี 2539 เป็นเวลานนาน 4 ปี จึงนำชื่อคำว่า เบนซ์, BENZ และรูปประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมไปจดทะเบียนและดวงตรานิติบุคคล ซึ่งเป็นเวลาหลังจากที่โจทก์จัดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศไทยแล้วเกือบ 40 ปี ย่อมทราบดีว่า ชื่อเสียงเกียรติคุณของชื่อทางการค้าและรูปรอยประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมของโจทก์เป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้บริโภค เป็นเสมือนหลักประกันคุณภาพของสินค้าและบริการ อีกทั้งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สาธารณชนเลือกที่จะซื้อสินค้าและบริการจากโจทก์หรือตัวแทนจำหน่ายของโจทก์ก่อให้เกิดรายได้และผลประโยชน์ตอบแทนอย่างสูงแก่ผู้ประกอบการพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ซึ่งประกอบกิจการประเภทเดียวกับโจทก์ ใช้ชื่อ บริษัท เบนซ์แจ้งวัฒนะ จำกัด และชื่อภาษาอังกฤษว่า BENZ CHANGWAT-TANA CO., LTD. อันเป็นการนำคำว่า เบนซ์ และ BENZ ไปเป็นคำนำหน้าชื่อในส่วนสำคัญ ตลอดจนใช้รูปประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมเป็นดวงตรานิติบุคคล ย่อมแสดงถึงเจตนาที่คาดหมายว่าสาธารณชนทั่วไปจะเข้าใจว่ากิจการของจำเลยที่ 1 เป็นกิจการในเครือ หรือเป็นตัวแทนจำหน่าย หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับโจทก์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง จึงเป็นการมุ่งแสวงหาประโยชน์จากเชื่อเสียงเกียรติคุณจากชื่อทางการค้าและรูประดิษฐ์ของโจทก์โดยไม่สุจริต
จำเลยที่ 1 สั่งซื้อรถยนต์ยี้ห้อเบนซ์จากแหล่งอื่นมาจำหน่ายต่อให้ลูกค้าภายใต้ชื่อบริษัทที่มีชื่อทางการค้าของโจทก์ประกอบอยู่ในส่วนสาระสำคัญ โดยไม่ลงทุนในค่าสิทธิและไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรฐานของโจทก์เฉกเช่นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของโจทก์รายอื่น เข้าลักษณะเป็นการแข่งขันทางการค้ากับบริษัทในเครือหรือตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของโจทก์ และทำให้โจทก์ขาดประโยชน์อันควรได้จากการอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิ ไม่สามารถควบคุมระดับคุณภาพของสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐาน อีกทั้งยังไม่อาจควบคุมระดับคุณภาพของสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐาน อีกทั้งยังไม่อาจควบคุมราคาสินค้าและบริการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องยนต์ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของชื่อทางการค้าคำว่า เบนซ์,BENZ และรูปประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมโดยชอบ จำเลยที่ 1 นำไปใช้ในการประกอบธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ เป็นการแสวงหาประโยชน์ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ระงับความเสียหายและห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อและรูปรอยประดิษฐ์ของโจทก์ได้สิทธิของโจทก์ในเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในราชอาณาจักรไว้แล้วตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 44 เป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวเพื่อใช้เครื่องหมายนั้นสำหรับสินค้าจำพวกที่ได้จดทะเบียนไว้เพื่อแยกแยะให้เห็นว่าสินค้าของโจทก์แตกต่างจากสินค้าของผู้อื่นเท่านั้น มิได้รวมถึงการนำเครื่องหมายนั้นมาใช้เป็นชื่อนิติบุคคลและดวงตรานิติบุคคลด้วย จำเลยที่ 1 นำคำว่า เบนซ์, BENZ และรูปรอยประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลม มาใช้เป็นชื่อบริษัทและดวงตรานิติบุคคลไม่ได้นำมาใช้กับสินค้า การกระทำดังกล่าวจึงมิได้เป็นการใช้คำและรูปรอยประดิษฐ์ของโจทก์ในฐานะที่เป็นเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ จึงไม่ได้ละเมิดสิทธิโจทก์ในเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 44
คำว่า เบนซ์, BENZ และรูปรอยประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของโจทก์ที่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 และ ป.อ. มาตรา 272 (1) เมื่อจำเลยที่ 1 นำชื่อและรูปประดิษฐ์ของโจทก์ไปใช้โดยไม่สุจริตทำให้โจทก์เสียหาย อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอสั่งห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อและรูปรอยประดิษฐ์นั้นได้ ซึ่งแม้บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจะมิได้ให้สิทธิแก่โจทก์ในที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนแก้ไขชื่อและดวงตรานิติบุคคลของจำเลยที่ 1 แต่การห้ามมิให้ใช้ดังกล่าวก็ย่อมมีผลทำให้จำเลยที่ 1 ไม่อาจประกอบกิจการค้าจำหน่ายรถยนต์และให้บริการซ่อมแซมบำรุงรักษาเครื่องยนต์ภายใต้ชื่อ "บริษัทเบนซ์แจ้งวัฒนะ จำกัด" และใช้ดวงตรานิติบุคคลที่เป็นรูปรอยประดิษฐ์ของโจทก์ได้อีก อันเป็นการห้ามมิให้กระทำการละเมิดอันก่อความเสียหายแก่โจทก์อยู่ในตัว
จำเลยที่ 1 นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้ให้ปรากฏเป็นป้ายชื่อโชว์รูม ตลอดจนใช้ในการโฆษณาตามสื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบต่างๆ เพื่อเผยแพร่กิจการค้าของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำคำและรูปรอยประดิษฐ์ตามฟ้องไปใช้กับสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจอ้างความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 44 ได้ แต่ ป.อ. มาตรา 272 (1) วางโทษทางอาญาสำหรับผู้ใดที่เอาชื่อรูปรอยประดิษฐ์หรือข้อความใดๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้หุ้มห่อ แจ้งความรายการแสดงราคา จดหมายเกี่ยวกับการค้าหรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่นเมื่อจำเลยที่ 1 นำชื่อและรูปรอยประดิษฐ์อันเป็นชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้โดยส่อเจตนาให้ประชาชนสับสนหลงผิดว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนทางการค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิข้อบังคับห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ในลักษณะที่เป็นชื่อทางการค้าและรูปรอยประดิษฐ์ในการประกอบการค้าของโจทก์ในการประกอบธุรกิจการค้าของจำเลยที่ 1 ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 ยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท เครื่องหมายการค้า และเครื่องหมายบริการ หรือใช้ หรือเข้าเกี่ยวข้องไม่ว่าในทางใดกับชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า และเครื่องหมายบริการของโจทก์ รวมทั้งชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการอื่นใดที่เหมือน หรือคล้ายกับชื่อทางการค้าเครื่องหมายทางการค้า และเครื่องหมายบริการของโจทก์ไม่ว่ากับกิจการค้าสินค้าหรือบริการใดๆ ซึ่งเป็นคำขอในอนาคตที่โจทก์ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7017/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อทางการค้าซ้ำกันละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้จำกัดขอบเขตการชดใช้ค่าเสียหาย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ใช้คำว่า "ยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ส (Universal Pictures) ชื่อบริษัทในเครือเป็นชื่อทางการค้า และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการไว้ในต่างประเทศ ก่อนที่จำเลยที่ 1 เริ่มใช้ชื่อนิติบุคคลของตน และจำเลยที่ 2 ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ซึ่งโจทก์ดำเนินธุรกิจการค้าครอบคลุมไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย โดยมีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าด้วย โจทก์จึงมีสิทธิในชื่อทางการค้าคำว่า "ยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ส (Universal Pictures)" ในประเทศไทยดีกว่าจำเลยที่ 1 และเมื่อจำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจเช่นเดียวกับโจทก์ ทั้งยังมีการใช้คำว่า "ยูนิเวอร์แซล" ในการดำเนินธุรกิจ การที่จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อนิติบุคคลว่า "บริษัทยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ส (ไทยแลนด์) จำกัด" จึงทำให้โจทก์เสื่อมเสียประโยชน์ ส่วนที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "UPT Universal Pictures (Thailand) Co., Ltd." ซึ่งมีคำว่า "ยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ส (Universal Pictures) รวมอยู่ด้วย ย่อมจะทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดเข้าใจได้ว่า จำเลยที่ 1 มีส่วนเกี่ยวข้องทางการค้ากับโจทก์ โจทก์ในฐานะที่ใช้ชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า และเครื่องหมายบริการในคำว่า "ยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ส (Universal Pictures)" มาก่อน ย่อมจะมีสิทธิห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ใช้คำดังกล่าวเป็นชื่อนิติบุคคลได้ แม้ปัจจุบันนี้โจทก์จะไม่ได้จดทะเบียนสาขาชื่อเดียวกันในประเทศไทย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโจทก์จะไม่มีการประกอบธุรกิจการค้าในประเทศไทย อันจะทำให้เป็นการไม่มีการแข่งขันกับกิจการของโจทก์สำหรับการพิจารณาว่าสาธารณชนเกิดความสับสนหลงผิดหรือไม่ นั้น ศาลย่อมพิจารณาพยานหลักฐานต่าง ๆ ตามที่ปรากฏในสำนวน รวมทั้งคำเบิกความของพยานบุคคลและวินิจฉัยได้โดยไม่จำต้องรับฟังเฉพาะความรู้สึกหรือความเข้าใจของพยานบุคคลที่นำเข้าสืบเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อจำเลยที่ 1 โดยห้ามใช้คำว่า "ยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ส" และอักษรโรมันคำว่า "Universal Pictures" กับชื่อนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 นั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 เพียงแต่ให้สิทธิโจทก์ร้องขอต่อศาลสั่งห้ามจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อนิติบุคคลคำว่า "ยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ส" และอักษรโรมันคำว่า "Universal Pictures" เป็นส่วนหนึ่งของชื่อนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 เท่านั้น มิได้ให้สิทธิแก่โจทก์ในการบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 และไม่อาจกระทำได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5) เป็นเหตุให้ไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้โจทก์นับจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง คงบังคับให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้โจทก์จนกระทั่งจำเลยที่ 1 ยุติการใช้คำว่า "ยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ส" และอักษรโรมันคำว่า "Universal Pictures" เป็นส่วนหนึ่งของชื่อนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 เท่านั้น
อนึ่งโจทก์แก้อุทธรณ์โดยขอให้แก้ไขคำพิพากษาที่ยกคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยที่ 1 เพิกถอนชื่อนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 ออกจากทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกับขอให้จำเลยที่ 2 ถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวและให้เหตุผลไว้โดยชัดแจ้งแล้ว หากโจทก์ไม่เห็นด้วยหรือเห็นว่าเป็นคำพิพากษาที่ไม่ถูกต้องและต้องการขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้ไขในประเด็นดังกล่าว โจทก์ต้องยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง มิใช่เพียงตั้งประเด็นมาในคำแก้อุทธรณ์ ทั้งกรณีหาใช่เป็นเรื่องที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตามที่โจทก์กล่าวอ้างด้วย
อย่างไรก็ตาม ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อจำเลยที่ 1 โดยห้ามใช้คำว่า "ยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ส" และอักษรโรมันคำว่า "Universal Pictures" กับชื่อนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 นั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 เพียงแต่ให้สิทธิโจทก์ร้องขอต่อศาลสั่งห้ามจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อนิติบุคคลคำว่า "ยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ส" และอักษรโรมันคำว่า "Universal Pictures" เป็นส่วนหนึ่งของชื่อนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 เท่านั้น มิได้ให้สิทธิแก่โจทก์ในการบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 และไม่อาจกระทำได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5) เป็นเหตุให้ไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้โจทก์นับจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง คงบังคับให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้โจทก์จนกระทั่งจำเลยที่ 1 ยุติการใช้คำว่า "ยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ส" และอักษรโรมันคำว่า "Universal Pictures" เป็นส่วนหนึ่งของชื่อนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 เท่านั้น
อนึ่งโจทก์แก้อุทธรณ์โดยขอให้แก้ไขคำพิพากษาที่ยกคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยที่ 1 เพิกถอนชื่อนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 ออกจากทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกับขอให้จำเลยที่ 2 ถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวและให้เหตุผลไว้โดยชัดแจ้งแล้ว หากโจทก์ไม่เห็นด้วยหรือเห็นว่าเป็นคำพิพากษาที่ไม่ถูกต้องและต้องการขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้ไขในประเด็นดังกล่าว โจทก์ต้องยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง มิใช่เพียงตั้งประเด็นมาในคำแก้อุทธรณ์ ทั้งกรณีหาใช่เป็นเรื่องที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตามที่โจทก์กล่าวอ้างด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6356/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษปรับและริบทรัพย์ในคดีภาษีอากรและทรัพย์สินทางปัญญา ศาลฎีกามีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับอัตราโทษและทรัพย์สินที่พึงริบ
แสตมป์ยาสูบนั้น มีผู้อื่นทำปลอมขึ้นและได้ถูกนำมาใช้ปิดอยู่บนซองบรรจุยาสูบของกลางแต่ละซองแล้ว โดยจำเลยที่ 1 มียาสูบของกลางแต่ละซองดังกล่าวไว้เพื่อขาย ซึ่งในการขายยาสูบของกลางแต่ละซองนั้น แม้จะมีแสตมป์ยาสูบปิดอยู่บนซองบรรจุยาสูบด้วยก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะมียาสูบของกลางแต่ละซองนั้น แม้จะมีแสตมป์ยาสูบปิดอยู่บนซองบรรจุยาสูบด้วยก็ถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะมีแสตมป์ยาสูบปลอมดวงนั้น ๆ ไว้เพื่อขายตามความหมายในมาตรา 43 แห่ง พ.ร.บ.ยาสูบ ฯ เพราะบทมาตราดังกล่าวมุ่งประสงค์ที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดที่มีแสตมป์ยาสูบปลอมไว้ในครอบครองเพื่อขายหรือนำออกใช้เท่านั้น หาได้ประสงค์ที่จะลงโทษผู้ที่มียาสูบซึ่งมีผู้อื่นทำปลอมแสตมป์ยาสูบขึ้นแล้วนำมาปิดอยู่บนซองยาสูบดังกล่าวไม่
การที่จำเลยที่ 1 ช่วยซ่อนเร้น หรือรับไว้ซึ่งบุหรี่เครื่องหมายการค้า L&M ของกลางที่มีผู้ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร แล้วจำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองเพื่อขายซึ่งบุหรี่จำนวนเดียวกันดังกล่าวนั้น ซึ่งเป็นยาสูบที่มีน้ำหนักเกินกว่าห้าร้อยกรัมและมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมาย แม้การกระทำนั้นจะผิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายหลายฉบับ แต่ก็เป็นการกระทำที่มุ่งประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกัน คือการหลีกเลี่ยงที่จะไม่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมาย ถือว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานช่วยซ่อนเร้น พาเอาไปเสียหรือรับไว้ซึ่งยาสูบซึ่งมีผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 27 ทวิ ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด
การที่จำเลยที่ 1 ช่วยซ่อนเร้น หรือรับไว้ซึ่งบุหรี่เครื่องหมายการค้า L&M ของกลางที่มีผู้ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร แล้วจำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองเพื่อขายซึ่งบุหรี่จำนวนเดียวกันดังกล่าวนั้น ซึ่งเป็นยาสูบที่มีน้ำหนักเกินกว่าห้าร้อยกรัมและมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมาย แม้การกระทำนั้นจะผิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายหลายฉบับ แต่ก็เป็นการกระทำที่มุ่งประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกัน คือการหลีกเลี่ยงที่จะไม่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมาย ถือว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานช่วยซ่อนเร้น พาเอาไปเสียหรือรับไว้ซึ่งยาสูบซึ่งมีผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 27 ทวิ ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6302-6303/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญา และกระบวนการคุ้มครองชั่วคราว: การเสนอประเด็นเขตอำนาจต่อประธานศาลฎีกา
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 9 บัญญัติว่า "ในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ ไม่ว่าปัญหานั้นจะเกิดขึ้นในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือศาลยุติธรรมอื่น ให้ศาลนั้นรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวแล้วเสนอปัญหานั้นให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัย คำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาให้เป็นที่สุด" คำว่า ปัญหา หมายถึง ข้อสงสัย กรณีมีปัญหาหมายถึงกรณีมีข้อสงสัย ย่อมหมายถึงศาลที่รับพิจารณาคดีนั้นๆ ไว้แล้ว มีความสงสัยว่า คดีนั้นจะไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาในศาลของตน จึงต้องส่งเรื่องให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัย
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับคำฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณา ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางย่อมเห็นว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ โดยไม่มีข้อสงสัย ไม่ใช่ว่า ถ้าคู่ความฝ่ายใดยื่นคำร้องว่า คดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลนั้น ศาลนั้นจะต้องเสนอไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยทุกเรื่องเพราะจะทำให้การพิจารณาคดีต้องล่าช้าออกไป เนื่องจากต้องรอการพิจารณาคดีไว้ขณะส่งเรื่องไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย จึงน่าจะไม่ใช่เจตนารมณ์ที่แท้จริงของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ ที่ประสงค์จะให้การดำเนินกระบวนพิจาณาเป็นไปโดยรวดเร็วและเป็นธรรม คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 7 อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอย่างชัดแจ้งแล้ว ทั้งการฟ้องคดีลักษณะเดียวกันนี้ ประธานศาลฎีกาก็เคยมีคำวินิจฉัยว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางหลายเรื่องแล้ว ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้เสนอปัญหาตามคำร้องของจำเลยทั้งสองไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นพ้องด้วย กรณีถือไม่ได้ว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ปฏิบัติตามมาตรา 9
ตามบทบัญญัติในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ ที่ให้ศาลรอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราวนั้น หมายถึง กรณีที่ศาลนั้นเสนอปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาลให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย หากศาลนั้นมิได้เสนอปัญหาดังกล่าวให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม ศาลนั้นย่อมมีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ และการที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปจึงไม่ใช่เป็นกรณีที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือมีความมุ่งหมายเพื่อจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับคำฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณา ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางย่อมเห็นว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ โดยไม่มีข้อสงสัย ไม่ใช่ว่า ถ้าคู่ความฝ่ายใดยื่นคำร้องว่า คดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลนั้น ศาลนั้นจะต้องเสนอไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยทุกเรื่องเพราะจะทำให้การพิจารณาคดีต้องล่าช้าออกไป เนื่องจากต้องรอการพิจารณาคดีไว้ขณะส่งเรื่องไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย จึงน่าจะไม่ใช่เจตนารมณ์ที่แท้จริงของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ ที่ประสงค์จะให้การดำเนินกระบวนพิจาณาเป็นไปโดยรวดเร็วและเป็นธรรม คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 7 อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอย่างชัดแจ้งแล้ว ทั้งการฟ้องคดีลักษณะเดียวกันนี้ ประธานศาลฎีกาก็เคยมีคำวินิจฉัยว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางหลายเรื่องแล้ว ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้เสนอปัญหาตามคำร้องของจำเลยทั้งสองไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นพ้องด้วย กรณีถือไม่ได้ว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ปฏิบัติตามมาตรา 9
ตามบทบัญญัติในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ ที่ให้ศาลรอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราวนั้น หมายถึง กรณีที่ศาลนั้นเสนอปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาลให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย หากศาลนั้นมิได้เสนอปัญหาดังกล่าวให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม ศาลนั้นย่อมมีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ และการที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปจึงไม่ใช่เป็นกรณีที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือมีความมุ่งหมายเพื่อจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกคดีทรัพย์สินทางปัญญาที่ผิดสถานที่ และการพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางนิติสัมพันธ์ของตัวแทน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการขายสินค้าดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่หรือสำนักทำการและงานของจำเลยที่ 2 เป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องตั้งต้นคดีแก่จำเลยที่ 1 ณ สถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่หรือสำนักทำการงานที่จำเลยที่ 2 ใช้ประกอบกิจการจึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 3 (2) (ข), 83 ทวิ และมีผลให้กระบวนพิจารณาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หลังจากนั้นไม่ชอบไปด้วย เรื่องดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจึงเห็นสมควรเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14750/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษปรับเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดในคดีทรัพย์สินทางปัญญาและศุลกากร ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไข
ความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง, 34 มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาปรับ 1,000 บาท จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษ จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 39 (4)
คำว่า "อากร" ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ หมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น ไม่ได้หมายความถึงภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีตามกฎหมายอื่น ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาปรับจำเลยโดยนำภาษีสรรพสามิต ภาษีมหาดไทย และภาษีมูลค่าเพิ่มมารวมคำนวณค่าปรับ เป็นการลงโทษเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำว่า "อากร" ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ หมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น ไม่ได้หมายความถึงภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีตามกฎหมายอื่น ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาปรับจำเลยโดยนำภาษีสรรพสามิต ภาษีมหาดไทย และภาษีมูลค่าเพิ่มมารวมคำนวณค่าปรับ เป็นการลงโทษเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง