คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทางจำเป็น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 307 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1788/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอม/ทางจำเป็น: ระยะเวลาการใช้ทาง, การใช้เพื่อประโยชน์ตนเอง, และทางออกอื่น
โจทก์ซื้อที่ดินเมื่อปี 2531 จาก ส. หลังจากที่โจทก์ซื้อมาโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ถนนแก้ววรวุฒินับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี ทางพิพาทจึงยังไม่ตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ แม้เจ้าของที่ดินอื่นได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของตนเกิน 10 ปีแต่เมื่อมิได้ใช้เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินโจทก์ จึงจะนำระยะเวลาที่เจ้าของที่ดินอื่นใช้ประโยชน์ทางพิพาทดังกล่าวเพื่อทำให้ที่ดินของโจทก์ได้ภารจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็นเกิดขึ้นตามความจำเป็น เมื่อไม่มีความจำเป็นแล้ว สิทธิในการใช้ทางนั้นย่อมสิ้นสุด
ทางจำเป็นมิใช่สิทธิที่ติดกับที่ดินที่จะโอนไปพร้อมกับที่ดิน แต่ทางจำเป็นเกิดขึ้นและมีอยู่ตามความจำเป็น เมื่อไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทางแล้ว ก็ขอเปิดทางจำเป็นไม่ได้
โจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 32684 ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินโฉนดเลขที่12194 ของโจทก์โดยโจทก์สามารถเดินออกสู่ถนนสาธารณะผ่านที่ดินโฉนดเลขที่12194 ได้ แม้เดิมผู้อยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 32684 ที่โจทก์รับโอนมาจะมีสิทธิใช้ทางในที่ดินโฉนดเลขที่ 32688 ของจำเลยในฐานะทางจำเป็นก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทางนั้น เพราะโจทก์สามารถใช้ที่ดินแปลงโฉนดเลขที่12194 ออกสู่ทางสาธารณะได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิขอเปิดทางพิพาทผ่านที่ดินโฉนดเลขที่ 32688 เป็นทางจำเป็นไม่ว่าจะเป็นกรณีตามป.พ.พ.มาตรา 1349 หรือมาตรา 1350

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกล้อม - ป.พ.พ.มาตรา 1350
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า เดิมที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงตามสำเนาโฉนดที่ดินเลขที่ 7836 และ 7838 เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 เป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 1694 ของจำเลยซึ่งจำเลยได้แบ่งแยกขายให้ผู้อื่นแล้วโอนต่อมาจนถึงโจทก์ จำเลยได้ตกลงกับผู้ซื้อให้มีถนนยาวตลอดแนวที่ดินของจำเลยกว้างประมาณ 3 เมตร เพื่อออกสู่ทางสาธารณะ ปรากฏตามแผนที่ทางพิพาทเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 ทางดังกล่าวเป็นทางจำเป็นตาม ป.พ.พ.ขอให้บังคับจำเลยให้จดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดเลขที่1694 ทางด้านทิศใต้ซึ่งติดกับที่ดินของโจทก์มีความกว้าง 3 เมตร ยาวตลอดแนวที่ดินให้เป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 7836 และ 7838 ดังนี้ เมื่อพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ คำขอท้ายฟ้อง ภาพถ่ายโฉนดที่ดินเลขที่ 7836 และ7838 ของโจทก์เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 แผนที่ทางพิพาทเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 และภาพถ่ายโฉนดที่ดินเลขที่ 1694 ของจำเลยเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องแล้ว ปรากฏว่าเมื่อแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1694 ของจำเลยแล้วมีจำนวนทั้งหมด 17 แปลง และที่ดินโฉนดเลขที่ 7836 และ 7838 ของโจทก์ 2 แปลง ถูกที่ดินแปลงอื่นที่แบ่งแยกดังกล่าวอีก 15 แปลง ล้อมอยู่ทุกด้าน คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่กล่าวอ้างว่าที่ดินของจำเลยที่แบ่งแยกเป็นเหตุให้ที่ดิน 2 แปลง ซึ่งต่อมาได้โอนมาเป็นของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะแล้ว โจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน 2 แปลงดังกล่าวย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยเปิดทางจำเป็นบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกได้ ตามป.พ.พ.มาตรา 1350 คดีจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 1694 ของจำเลยกว้าง 3 เมตร ยาวตลอดแนวที่ดินเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 7836 และ 7838 ของโจทก์หรือไม่
ที่ดินของโจทก์เดิมเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินของจำเลยต่อมาเมื่อจำเลยแบ่งแยกขาย ที่ดิน 2 แปลง ของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ดังนั้น การที่จำเลยแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1694ออกเป็นที่ดินแปลงย่อยรวมทั้งที่ดินของโจทก์เป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินอันเป็นทางจำเป็นบนที่ดินโฉนดเลขที่ 1694 ของจำเลยซึ่งอยู่ติดทางสาธารณะเพื่อออกสู่ทางสาธารณะได้โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350 บัญญัติให้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นโดยผลของกฎหมาย โจทก์มีสิทธิแต่เพียงให้จำเลยเปิดทางจำเป็นให้เท่านั้น โดยจำเลยไม่จำต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7600/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางผ่าน (ทางจำเป็น/ภาระจำยอม) กรณีที่ดินไม่มีทางออก
เดิมโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยผ่านที่ดินของ น.และ บ.ไปออกถนนสาธารณะเพื่อขนส่งผลิตผลการเกษตร แต่ที่ดินของ น.และ บ.เป็นนาลึกฤดูฝนน้ำท่วมถึงอก ส่วนหน้าแล้งสามารถเดินด้วยเท้า รถยนต์ไม่สามารถผ่านได้เพราะเป็นที่นา นอกจากทางพิพาทนี้แล้วโจทก์ไม่มีทางอื่นที่จะออกสู่ทางสาธารณะดังนี้ เมื่อที่ดินของโจทก์มีที่ดินของผู้อื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้และเส้นทางพิพาทซึ่งผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 มีระยะทางสั้นเพียง 40 เมตรการใช้ทางพิพาทดังกล่าวผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการใช้ที่ดินส่วนน้อยไม่ทำให้จำเลยที่ 1 รับภาระเกินไป และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ปลูกสร้างสิ่งใดในบริเวณนั้น อีกทั้งเป็นบริเวณที่โจทก์เคยใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349
โจทก์ได้ใช้เส้นทางพิพาทเข้าออกมาประมาณ 30 ปีแล้วโดยใช้มาก่อนมีการสร้างพนังกั้นนำเค็มซึ่งได้ทำขึ้นทับเส้นทางเดิม หลังจากสร้างพนังกั้นน้ำเค็มแล้วก็ได้ใช้ทางพิพาทบนผนังกั้นน้ำเค็มตลอดมา เมื่อโจทก์ใช้ทางพิพาทมาเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทจึงเป็นภาระจำยอมด้วย ซึ่งทางพิพาทนี้เป็นทั้งทางจำเป็นและเป็นทางภาระจำยอมในขณะเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7600/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็นและทางภารจำยอม: การใช้ทางผ่านที่ดินผู้อื่นเมื่อที่ดินตนถูกล้อมรอบ
เดิมโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยผ่านที่ดินของ น.และบ.ไปออกถนนสาธารณะเพื่อขนส่งผลิตผลการเกษตร แต่ที่ดินของ น.และ บ. เป็นนาลึกฤดูฝนน้ำท่วมถึงอก ส่วนหน้าแล้งสามารถเดินด้วยเท้า รถยนต์ไม่สามารถผ่านได้เพราะเป็นที่นานอกจากทางพิพาทนี้แล้วโจทก์ไม่มีทางอื่นที่จะออกสู่ทางสาธารณะดังนี้ เมื่อที่ดินของโจทก์มีที่ดินของผู้อื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้และเส้นทางพิพาทซึ่งผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1มีระยะทางสั้นเพียง 40 เมตร การใช้ทางพิพาทดังกล่าวผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการใช้ที่ดินส่วนน้อยไม่ทำให้จำเลยที่ 1รับภาระเกินไป และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ปลูกสร้างสิ่งใดในบริเวณนั้น อีกทั้งเป็นบริเวณที่โจทก์เคยใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 โจทก์ได้ใช้เส้นทางพิพาทเข้าออกมาประมาณ 30 ปีแล้วโดยใช้มาก่อนมีการสร้างผนัง กั้นน้ำเค็ม ซึ่งได้ทำขึ้นทับเส้นทางเดิม หลังจากสร้างผนังกั้นน้ำเค็ม แล้วก็ได้ใช้ทางพิพาทบนผนังกั้นน้ำเค็ม ตลอดมา เมื่อโจทก์ใช้ทางพิพาทมาเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาท จึงเป็นภารจำยอมด้วย ซึ่งทางพิพาทนี้เป็นทั้งทางจำเป็นและเป็นทางภารจำยอมในขณะเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น: การแบ่งแยกที่ดินเพื่อให้มีทางออกสู่ทางสาธารณะ และการกำหนดความกว้างของทางที่เหมาะสม
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าเดิมที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงตามสำเนาโฉนดที่ดินเลขที่7836และ7838เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข1เป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินโฉนดเลขที่1694ของจำเลยซึ่งจำเลยได้แบ่งแยกขายให้ผู้อื่นแล้วโอนต่อมาจนถึงโจทก์จำเลยได้ตกลงกับผู้ซื้อให้มีถนนยาวตลอดแนวที่ดินของจำเลยกว้างประมาณ3เมตรเพื่อออกสู่ทางสาธารณะปรากฏตามแผนที่ทางพิพาทเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข4ทางดังกล่าวเป็นทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขอให้บังคับจำเลยให้จดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดเลขที่1694ทางด้านทิศใต้ซึ่งติดกับที่ดินของโจทก์มีความกว้าง3เมตรยาวตลอดแนวที่ดินให้เป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่7836และ7838ดังนี้เมื่อพิจารณาคำฟ้องของโจทก์คำขอท้ายฟ้องภาพถ่ายโฉนดที่ดินเลขที่7836และ7838ของโจทก์เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข1แผนที่ทางพิพาทเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข4และภาพถ่ายโฉนดที่ดินเลขที่1694ของจำเลยเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข2ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องแล้วปรากฏว่าเมื่อแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่1694ของจำเลยแล้วมีจำนวนทั้งหมด17แปลงและที่ดินโฉนดเลขที่7836และ7838ของโจทก์2แปลงถูกที่ดินแปลงอื่นที่แบ่งแยกดังกล่าวอีก15แปลงล้อมอยู่ทุกด้านคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่กล่าวอ้างว่าที่ดินของจำเลยที่แบ่งแยกเป็นเหตุให้ที่ดิน2แปลงซึ่งต่อมาได้โอนมาเป็นของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะแล้วโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน2แปลงดังกล่าวย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยเปิดทางจำเป็นบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1350คดีจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่าที่ดินโฉนดเลขที่1694ของจำเลยกว้าง3เมตรยาวตลอดแนวที่ดินเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่7836และ7838ของโจทก์หรือไม่ ที่ดินของโจทก์เดิมเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินของจำเลยต่อมาเมื่อจำเลยแบ่งแยกขายที่ดิน2แปลงของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะดังนั้นการที่จำเลยแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่1694ออกเป็นที่ดินแปลงย่อยรวมทั้งที่ดินของโจทก์เป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินอันเป็นทางจำเป็นบนที่ดินโฉนดเลขที่1694ของจำเลยซึ่งอยู่ติดทางสาธารณะเพื่อออกสู่ทางสาธารณะได้โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1350 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1350บัญญัติให้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นโดยผลของกฎหมายโจทก์มีสิทธิแต่เพียงให้จำเลยเปิดทางจำเป็นให้เท่านั้นโดยจำเลยไม่จำต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็น vs. สิทธิโดยปรปักษ์: การใช้ทางผ่านที่ดินของผู้อื่นโดยไม่จ่ายค่าทดแทน
ทางพิพาทเกิดขึ้นหลังจากส. ขายที่ดินให้จำเลยแล้วต่อมาส. ปักเสาไฟฟ้าโดยได้รับอนุญาตจากจำเลยจึงเกิดเป็นถนนสายเล็กๆขึ้นโดยปริยายประมาณ10ปีเศษทางพิพาทจึงไม่ใช่ทางสาธารณะแต่เป็นที่ดินของจำเลยซึ่งโจทก์เป็นบุคคลอื่นอาศัยสัญจรโดยถือวิสาสะหาเข้าลักษณะเป็นการใช้สิทธิโดยปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382ไม่แม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยมากกว่า10ปีทางพิพาทก็ไม่ตกเป็นภาระจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1401 แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1349จะกำหนดให้ผู้มีสิทธิใช้ทางจำเป็นมีหน้าที่ต้องใช้ค่าทดแทนแก่ผู้เปิดทางให้ก็ตามแต่ก็มิได้บังคับให้ใช้ค่าทดแทนก่อนจึงจะใช้สิทธิได้ในทางตรงกันข้ามเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่มีหน้าที่ต้องเปิดทางให้ผ่านและมีสิทธิเรียกค่าทดแทนเช่นเดียวกันเมื่อโจทก์ไม่เสนอค่าทดแทนแก่จำเลยและจำเลยมิได้ฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนจากโจทก์คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าทดแทนจำเลยชอบที่จะว่ากล่าวเอากับโจทก์เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7405/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินติดทางสาธารณประโยชน์แล้วบุกรุกเอง ไม่สามารถเรียกร้องทางจำเป็นได้
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินซึ่งทางด้านทิศตะวันออกติดต่อกับที่ดินของจำเลยทั้งสองที่มีทางพิพาทผ่าน เมื่อปรากฏว่าที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศใต้แต่เดิมติดกับทางสาธารณประโยชน์ซึ่งประชาชนทั่วไปได้ใช้ผ่านเข้าออกอยู่แล้ว และต่อมาโจทก์ซื้อที่ดินอีก 2 แปลง คือเลขที่ 807 และ 808 ที่ดินของโจทก์ทั้งสามจึงติดกับทางสาธารณประโยชน์ การที่ต่อมาโจทก์ได้ปักรั้วเข้าไปในทางสาธารณประโยชน์ทางด้านทิศใต้ของที่ดินจนติดที่ดินของจำเลยที่ 2 ทำให้ทางสาธารณประโยชน์ไม่สามารถใช้เดินได้ โจทก์จึงเข้าออกทางสาธารณประโยชน์นั้นไม่ได้อีก ดังนี้ กรณีจะถือว่าที่ดินของโจทก์อยู่ในที่ล้อมของที่ดินแปลงอื่น และโจทก์จะมาร้องขอให้ศาลบังคับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินให้เปิดทางพิพาททางจำเป็นหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7405/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินมีทางออกสาธารณะแล้ว ไม่ถือเป็นที่ดินถูกล้อม สิทธิทางจำเป็นไม่เกิดขึ้น
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินซึ่งทางด้านทิศตะวันออกติดต่อกับที่ดินของจำเลยทั้งสองที่มีทางพิพาทผ่าน เมื่อปรากฏว่าที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศใต้แต่เดิมติดกับทางสาธารณประโยชน์ซึ่งประชาชนทั่วไปได้ใช้ผ่านเข้าออกอยู่แล้ว และต่อมาโจทก์ซื้อที่ดินอีก 2 แปลง คือเลขที่ 807 และ 808 ที่ดินของโจทก์ทั้งสามจึงติดกับทางสาธารณประโยชน์ การที่ต่อมาโจทก์ได้ปักรั้วเข้าไปในทางสาธารณประโยชน์ทางด้านทิศใต้ของที่ดินจนติดที่ดินของจำเลยที่ 2 ทำให้ทางสาธารณประโยชน์ไม่สามารถใช้เดินได้ โจทก์จึงเข้าออกทางสาธารณประโยชน์นั้นไม่ได้อีก ดังนี้ กรณีจะถือว่าที่ดินของโจทก์อยู่ในที่ล้อมของที่ดินแปลงอื่น และโจทก์จะมาร้องขอให้ศาลบังคับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินให้เปิดทางพิพาททางจำเป็นหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7403/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยทางจำเป็นได้ แม้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเป็นทางภาระจำยอม และต้องระบุความกว้างของทางจำเป็นให้ชัดเจน
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมกว้าง1 เมตร จึงไม่เป็นทางจำเป็น และให้ย้ายทางภาระจำยอมตามที่จำเลยทั้งสองเสนอ โจทก์อุทธรณ์ว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมและเป็นทางจำเป็นด้วยศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็น และเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยต่อไปว่า ทางพิพาทไม่เป็นทางภาระจำยอมจึงเป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์หาเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบไม่
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมทุกด้าน คงมีเฉพาะทางพิพาทที่โจทก์และครอบครัวใช้เป็นทางเข้าออกที่ดินของโจทก์เท่านั้น จำเลยไม่ได้อุทธรณ์หรือยื่นคำแก้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองจะฎีกาว่า โจทก์มีทางอื่นออกสู่ทางสาธารณะนอกเหนือจากทางพิพาทอีกไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เปิดทางจำเป็นกว้างตามแนวที่โจทก์ขอ แต่ไม่ระบุความกว้างให้ชัดเจน จึงอาจเกิดปัญหาในชั้นบังคับคดีได้ ศาลฎีกาจึงระบุให้จำเลยทั้งสองเปิดทางจำเป็นเสียให้ชัดแจ้งและไม่เกินกว่าที่โจทก์ขอมาในชั้นอุทธรณ์
of 31