คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ที่ดินพิพาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 507 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4474/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งที่ดินโดยการชำระหนี้ การครอบครองปรปักษ์ และสิทธิครอบครอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทตามหนังสือแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) จาก ป.และ จ. ป.และ จ.ได้มอบสิทธิครอบครองที่พิพาทและหนังสือแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค.1 ให้แก่โจทก์เข้าครอบครองอย่างเป็นเจ้าของตลอดมา จำเลยทั้งสี่ให้การต่อสู้คดีว่า ป.และ จ.ได้กู้เงินโจทก์และมอบที่พิพาทให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ย คดีจึงมีประเด็นพิพาทว่าโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาทหรือไม่ การที่โจทก์นำสืบว่า ป.กู้เงินโจทก์ และมอบ ส.ค.1 ที่พิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกัน หากไม่ชำระเงินกู้คืนภายในกำหนด ป.ยินยอมสละสิทธิที่พิพาทแก่โจทก์ ต่อมา ป.ไม่ชำระเงินคืนภายในกำหนดจึงยกที่พิพาทชำระหนี้ โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมา การนำสืบของโจทก์ดังกล่าวจึงมีความหมายว่า โจทก์ได้ซื้อที่พิพาทจาก ป.ในราคาเท่ากับจำนวนเงินที่ ป.กู้เงินโจทก์ไป เป็นการนำสืบให้เห็นถึงที่มาของที่พิพาทว่าโจทก์ได้ที่พิพาทมาอย่างไร ซึ่งเป็นการนำสืบในประเด็นเดียวกันว่าโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาทหรือไม่นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์เป็นผู้ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของ โดย จ.ผู้มีสิทธิครอบครองเดิมมิได้เกี่ยวข้องกับที่พิพาทแล้ว การที่ จ.ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ก. สำหรับที่พิพาทตามที่เจ้าพนักงานแนะนำเพื่อโอนที่พิพาทให้โจทก์ มิใช่เพื่อยึดถือที่พิพาทเป็นของ จ.เอง จ.ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท
ป.ได้กู้เงินโจทก์ และไม่ชำระเงินคืนภายในกำหนด จึงยกที่พิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญา โจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมาโดยความสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ โจทก์ย่อมเป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4056/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท - ศาลผูกพันตามคำพิพากษาเดิม
คดีก่อนจำเลยเป็นโจทก์ฟ้องส. ซึ่งทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทในคดีนี้จำนวน 200 ตารางวา ให้แก่จำเลย ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ส.ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทเนื้อที่ 200 ตารางวากับจำเลย และพิพากษาให้โจทก์คดีนี้ในฐานะทายาทของส.โอนที่ดินพิพาทโดยปราศจากภาระติดพันใด ๆ ให้แก่จำเลย คดีนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของส.ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนว่า สัญญาจะซื้อขายเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ยืมเงินขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อขายดังกล่าว ดังนี้ ฟ้องโจทก์คดีนี้ และคดีก่อนจึงมีมูลจากสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำ ฉบับเดียวกัน เพียงแต่โจทก์กล่าวอ้างในคดีก่อนว่า ส. ไม่เคยทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทกับจำเลยเท่านั้น หาได้ต่อสู้ ว่าเงินมัดจำ 20,000 บาท ตามสัญญาดังกล่าวเป็นเงินยืมไม่ ทั้ง ๆ ที่โจทก์อาจกล่าวอ้างในคดีก่อนได้ ฉะนั้น แม้คดีนี้โจทก์จะกล่าวอ้างว่าเงินจำนวน 20,000 บาท ตามสัญญาจะซื้อขาย เป็นเงินยืม แต่จำเลยให้ส.ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทไว้แทนสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมอำพราง ซึ่งดูประหนึ่งว่าจะมิได้เกี่ยวข้องกับประเด็นในคดีก่อนดังโจทก์อ้างก็ตามแต่ตาม เนื้อหาแห่งฎีกาโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์โต้เถียงว่า โจทก์ไม่จำต้อง ผูกพันตามสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทเพราะส.ไม่ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย คดีทั้งสองจึงมีประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัย โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่าส.ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทส่วนของตนจำนวน 200 ตารางวา ให้แก่จำเลยคดีนี้หรือไม่ นั่นเอง ซึ่งศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยชี้ขาดมาแล้วว่า ส. ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทส่วนของตนจำนวน 200 ตารางวา ให้แก่จำเลยจริง เท่ากับฟังว่าเงิน 20,000 บาท เป็นเงินมัดจำ คำพิพากษาในคดีก่อนจึงผูกพันโจทก์คดีนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 145 วรรคหนึ่ง เมื่อคดีเดิมถึงที่สุดแล้วโจทก์กลับมาฟ้องจำเลยอีก ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นการ รื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการครอบครองที่ดินพิพาท การคัดค้านแนวเขตโดยสุจริตไม่ถือเป็นการละเมิด
ขณะที่โจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 264 มา โจทก์รู้อยู่แล้วว่าที่ดินดังกล่าวมีข้อพิพาทตรงที่ดินพิพาทกับจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วม การที่โจทก์ได้ขอรังวัดที่ดินพิพาทเพื่อแบ่งแยก แต่จำเลยคัดค้านการนำชี้ของโจทก์ว่าไม่ถูกต้องโดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมเช่นเดียวกับที่เคยคัดค้านต่อเจ้าของร่วมเดิมในที่ดินแปลงพิพาทก่อนขายให้โจทก์ ทั้งยังปรากฏอีกว่าผู้เช่าที่ดินของจำเลยทั้งสองได้ใช้น้ำในคลองที่ฝ่ายจำเลยขุดขึ้นรวมตลอดลำรางในที่ดินพิพาทโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าของที่ดินเดิมคัดค้าน เมื่อจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนกับจำเลยร่วม จำเลยมิได้มีเจตนาหรือจงใจกลั่นแกล้งโดยมุ่งประสงค์ให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์ การที่จำเลยได้คัดค้านการชี้แนวเขตที่ดินของโจทก์จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ใช้สิทธิโดยสุจริตไม่เป็นการละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 421 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการคัดค้านการชี้แนวเขต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนเงินจากการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท และสิทธิในที่ดินป่าสงวน
คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกอันเกิดจากการยึดและขายทรัพย์สินโดยมิชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 284 วรรคสอง ซึ่งมิได้มีกฎหมายใดบัญญัติในเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดสิบปีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 193/30 แห่ง ป.พ.พ. ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ได้ใช้ราคาซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลชั้นต้นอันเป็นวันเริ่มนับอายุความนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
เมื่อปรากกภายหลังงว่าที่ดินที่จำเลยคดีนี้ในฐานะเจ้าหนี้คำพิพากษาให้นำยึดและโจทก์เป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลเป็นที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 1,085 (พ.ศ.2527)ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน2527 และปัจจุบันกลายเป็นอ่างเก็บน้ำห้วยสงสัยซึ่งกรมชลประทานก่อสร้างขึ้นซึ่งแต่เดิมที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดิน น.ส.3 ก.ซึ่งทางราชการออกให้ไว้แก่ ส. จำเลยในคดีที่มีการขายทอดตลาดดังกล่าวก่อนที่จะมีกฎกระทรวงกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ กรณีย่อมมีผลทำให้ ส.ยังคงมีสิทธิครอบครองที่ดินนั้นอยู่ต่อไป ในมาตรา 12วรรคสุดท้าย แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินไปจากการขายทอดตลาด แต่ไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินที่ซื้อมา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเดลยผู้นำยึดคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดนั้นได้ ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้บริเวณพื้นที่ตาม น.ส.3 ก.ที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นเขตป่าไม้ถาวร ให้เก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติทั้งแปลง กรณียังต้องฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรณีสิทธิในที่ดินที่บุคคลมีอยู่ตามป.ที่ดิน กล่าวคือ น.ส.3 ก.รายนี้ออกโดยชอบด้วยกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา12 วรรคสุดท้าย แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 อันเป็นประเด็นที่รวมอยู่ในประเด็นที่ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินตามฟ้องหรือไม่ เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นสาระสำคัญอันทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงตรงกันข้าม การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานทำให้มีข้อเท็จจริงไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัย คดีจึงจำต้องทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยต่อไปให้สิ้นกระแสความ กรณีเป็นเรื่องที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243 (2) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3260/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานจากคดีอาญาในคดีแพ่ง: ที่ดินพิพาท
คดีแพ่งโจทก์จำเลยตกลงกันไม่สืบพยาน แต่ขอให้ศาลนำคำเบิกความของพยานและพยานหลักฐานต่าง ๆ ในสำนวนคดีอาญาของศาลชั้นต้นซึ่งโจทก์คดีนี้เป็นโจทก์ร่วมและจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยและคดีถึงที่สุดแล้ว เป็นพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยเพื่อวินิจฉัยคดีนี้ได้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบในคดีอาญาดังกล่าว มาวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จึงเป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และที่ดินมรดก: การพิสูจน์ความเป็นเจ้าของที่ดินที่ได้มาจากการครอบครองและทำประโยชน์
ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความกัน ซึ่งจำเลยแถลงไว้ว่า ที่ดินพิพาทเดิมเป็นของ ล. บิดาจำเลยและโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ต่อมาล. ละทิ้งร้าง จำเลยได้เข้าครอบครองและทำประโยชน์เรื่อยมาจำเลยเคยจะแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งห้า 5 ไร่ เนื่องจากเห็นแก่มารดา คำแถลงของจำเลยมิได้เกิดการถูกบังคับขู่เข็ญหรือหลอกลวงหากแต่จำเลยได้กระทำโดยสมัครใจ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่รับฟังประกอบกับพยานหลักฐานอื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาท แม้คำฟ้องไม่ระบุรายละเอียด ศาลสามารถวินิจฉัยได้ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากการนำสืบ
โจทก์ฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาท โดยมิได้ระบุว่าที่ดินพิพาทคือที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 987 แต่จำเลยที่ 2ให้การทำนองว่า ที่ดินพิพาทคือที่ดินตาม น.ส.3 ก.เลขที่ดังกล่าวและทางนำสืบของทั้งสองฝ่ายก็นำสืบรับกัน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทคือที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 987 แล้วพิพากษาขับไล่จำเลยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้มีผลทำให้โจทก์ทั้งสองได้ที่ดินน้อยกว่าที่ขอก็ตามและเมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น ทั้งยังได้แก้อุทธรณ์ว่าที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาขับไล่จำเลยทั้งสามออกจากที่ดินตาม น.ส.3ดังกล่าวชอบแล้วการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอและพิพาทแก้ให้ขับไล่จำเลยทั้งสามและบริวารออกจากที่ดินพิพาทย่อมเป็นการไม่ชอบแม้คู่ความทั้งสองฝ่ายจะมิได้ฎีกาโต้แย้งขึ้นมา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษาแก้ให้ขับไล่ออกจากที่ดินตาม น.ส.3 ก. ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินพิพาทเป็นธรณีสงฆ์ของวัด โจทก์ขอสิทธิครอบครองมิได้ การพัฒนาพื้นที่เป็นอำนาจหน้าที่
ที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดจำเลย พระครู น.เจ้าอาวาสองค์แรกของจำเลยอุทิศถวายให้จำเลยสร้างวัดและทางราชการ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ดินศาสนสมบัติวัดไว้แล้วแม้หนังสือรับรองสภาพวัดของกรมการศาสนาและทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดที่ระบุว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของจำเลยตามเอกสารหมาย ล.1 และ ล.8 จะเป็นเพียงสำเนาเอกสารก็ตามแต่เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นและรับรองโดยเฉพาะสำเนาทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดตามเอกสารหมายล.8 มีรายการที่ธรณีสงฆ์ซึ่งมีอาณาเขตที่ดินตรงกับสำเนาทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดเอกสารหมาย จ.6 และ จ.11ที่โจทก์ส่งอ้างเป็นพยานทุกประการเพียงแต่เลขทะเบียนที่ดินเท่านั้นที่ไม่ตรงกัน สำเนาเอกสารหนังสือรับรองสภาพวัดของกรมการศาสนาและสำเนาทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดเอกสารหมายล.1 และ ล.8 จึงรับฟังได้ ที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของจำเลย ไม่ใช่ที่ดินของเทศบาลโจทก์การที่โจทก์ขอออกหนังสือสิทธิครอบครองตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินเอกสารฉบับพิพาท จึงเป็นการออกทับที่ธรณีสงฆ์ของจำเลย ทั้งการเข้าพัฒนาที่ดินพิพาทของโจทก์เป็นเพียงการให้บริการแก่ประชาชนผู้อยู่อาศัยในที่ดินพิพาท ตามอำนาจหน้าที่ไม่ใช่เป็นการครอบครองเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ย่อมไม่ก่อให้โจทก์ได้สิทธิเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับโอนที่ดินโดยไม่สุจริต ผู้ซื้อย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
ที่ดินพิพาทเดิมบิดาและ ป.มารดาของ ส.ได้จับจองไว้ ต่อมาส.นำที่ดินดังกล่าวไปออกโฉนดแทนในนามของ ส. ที่ดินตามโฉนดดังกล่าวจึงยังเป็นของบิดามารดาของ ส. ต่อมา ส.จดทะเบียนแบ่งที่ดินดังกล่าวให้แก่ ป.และพี่น้อง กับแบ่งขายให้แก่ผู้คัดค้านและ ว.ด้วย เนื่องจาก ส.ต้องการแบ่งที่ดินให้ป.เป็นจำนวน 5 ไร่ แต่ปรากฏว่าที่ดินที่จดทะเบียนแบ่งให้ ป.นั้น มีเนื้อที่ 4 ไร่เศษ ส.จึงยกที่ดินส่วนที่พิพาทเนื้อที่ประมาณ 3 งาน ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินแปลงที่ยกให้อีกประมาณ 3 งาน โดยมิได้มีการโอนทางทะเบียน ซึ่ง ป.ก็ได้ปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินส่วนที่ ส.ยกเพิ่มให้นี้ การที่ ส.ขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านทราบอยู่แล้วว่ามีบ้านปลูกอยู่และมี ป.มารดาของ ส.อาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้น กับทราบดีว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ป.ซึ่งยังคงครอบครองอยู่ จึงเป็นการรับโอนมาโดยไม่สุจริต ผู้คัดค้านจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท: พิจารณาจากแนวเขตครอบครองจริง น.ส.3 ก. ไม่ใช่หลักฐานเด็ดขาด
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า ความเป็นเจ้าของต้องพิจารณาจากแนวเขตที่ดินที่ทั้งสองฝ่ายยึดถือครอบครอง น.ส.3 ก.ของจำเลยเป็นเพียงคำรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าได้ทำประโยชน์ในที่ดินแล้วเท่านั้น ไม่ก่อให้เกิดสิทธิในที่ดินส่วนที่มิได้ยึดถือครอบครอง จำเลยจึงไม่มีสิทธิในที่ดิน น.ส.3 ก.ด้านทิศตะวันออกที่อยู่นอกเขตการยึดถือครอบครองของฝ่ายจำเลย และเมื่อโจทก์และจำเลยต่างครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินของตน ดังนี้ ที่ดินตาม น.ส.3 ก. ในส่วนที่จำเลยมิได้ยึดถือครอบครองจึงเป็นที่ดินของโจทก์ จำเลยคงเป็นเจ้าของที่ดินเฉพาะส่วนที่จำเลยยึดถือครอบครองในกรอบเส้นสีดำประในแผนที่พิพาท ศาลจึงชอบที่จะพิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดิน น.ส.3 ที่พิพาทในกรอบเส้นสีแดงดำในแผนที่พิพาท เว้นแต่ที่ดินในกรอบเส้นสีดำประ และให้เพิกถอน น.ส.3 ก.ของจำเลยด้านทิศตะวันออกเฉพาะส่วนที่โจทก์ครอบครองที่ดิน กับห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินของโจทก์
of 51