พบผลลัพธ์ทั้งหมด 113 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกที่ดินมรดกและการครอบครองปรปักษ์ ศาลมีอำนาจวินิจฉัยสัดส่วนการถือครองและอายุความครอบครอง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357 บัญญัติว่า'ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากัน' นั้น ย่อมนำสืบหักล้างได้ว่าความจริงมีอยู่อย่างไร และศาลมีอำนาจวินิจฉัยได้ว่า ฝ่ายใดมีส่วนเป็นเจ้าของในส่วนใดเท่าใด หาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายไม่
ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยครอบครองที่ดินส่วนของจำเลยมา 10 ปีแล้วย่อมได้กรรมสิทธิ์นั้น เมื่อจำเลยให้การว่าจำเลยได้รับโอนที่ดินพิพาทจากบิดาเมื่อวันที่25 มกราคม 2482 แล้วครอบครองตลอดมา ตามคำให้การนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ยกประเด็นขึ้นอ้างแล้วว่าจำเลยครอบครองที่ดินมาเกิน 10 ปี ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยนอกประเด็น
ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยครอบครองที่ดินส่วนของจำเลยมา 10 ปีแล้วย่อมได้กรรมสิทธิ์นั้น เมื่อจำเลยให้การว่าจำเลยได้รับโอนที่ดินพิพาทจากบิดาเมื่อวันที่25 มกราคม 2482 แล้วครอบครองตลอดมา ตามคำให้การนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ยกประเด็นขึ้นอ้างแล้วว่าจำเลยครอบครองที่ดินมาเกิน 10 ปี ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความ: การแบ่งแยกครอบครองที่ดินมรดกและการใช้ทางเดินเป็นทางภารจำยอม
โจทก์จำเลยและบุตรคนอื่นของ อ. ต่างได้แบ่งแยกกันครอบครองที่ดินโฉนดแปลงเดียวกัน เป็นส่วนสัดตามที่ อ. ชี้แบ่งเขตให้ แต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเฉพาะส่วนที่ได้ครอบครองมา เมื่อโจทก์ได้ครอบครองที่ดินเฉพาะส่วนที่ได้รับแบ่งแยกมาตั้งแต่ก่อน อ. ถึงแก่กรรมและได้ใช้ทางเดินผ่านเข้าออกจากที่บ้านไปสู่ถนน โดยผ่านที่ดินที่จำเลยทั้งสองครอบครองอยู่มาตั้งแต่แรกเกินกว่า 10 ปีแล้ว ทางเดินดังกล่าวจึงตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองเปิดทางภารจำยอมโดยมิได้เรียกค่าเสียหาย เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองเปิดทางภารจำยอมโดยมิได้เรียกค่าเสียหาย เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2721/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การเรียกร้องที่ดินมรดกเดิม แม้เป็นแปลงอื่น ประเด็นสิทธิในการได้รับมรดกต้องวินิจฉัยเดียวกัน
เจ้ามรดกมีที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกอยู่ 3 แปลง โจทก์จำเลยต่างเป็นทายาทของเจ้ามรดก คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้กำจัดมิให้จำเลยได้รับมรดกที่ดิน 2 แปลง ศาลพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอแบ่งที่ดินมรดกแปลงที่ 3 ครึ่งหนึ่ง แม้ที่ดินที่โจทก์ฟ้องเรียกในคดีนี้จะเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อนก็ตาม แต่คดีก็มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่าโจทก์มีสิทธิได้รับที่ดินมรดกหรือไม่ ทั้งโจทก์ทราบว่าที่ดินแปลงนี้มีอยู่แล้วก่อนที่โจทก์จะฟ้องในคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมรดก: ไม่ต้องขออนุญาตศาลหากเป็นไปตามสัญญาก่อนมรณะ
ผู้ร้องในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองของผู้เยาว์ผู้รับมรดกของ ผ. ผู้ตายยื่นคำร้องขอทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ ผ. ผู้ตายทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้ก่อนตายให้แก่ผู้มีชื่อ ตามคำร้องเป็นเรื่องขอทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของผู้ตายตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ทำกันไว้ ระหว่างผู้ตายกับผู้มีชื่อ มิใช่เรื่องขอทำนิติกรรมขายที่ดินอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของเด็กตามความในมาตรา 1574 (1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ร้องจึงไม่ต้องขออนุญาตจากศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1652/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีขับไล่: ผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องได้ แม้ทำสัญญาเช่ากับจำเลยแล้ว
ที่ดินมรดก จำเลยทำสัญญาเช่าจากโจทก์ จำเลยเถียงอำนาจของโจทก์ว่าโจทก์ฟ้องขับไล่ในฐานะส่วนตัว ไม่ใช่ฐานะผู้จัดการมรดก เถียงไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1924/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนที่ดินมรดกไม่ถูกต้องเมื่อทายาทไม่ได้ยื่นคำขอรับมรดก และการฟ้องแย้งสิทธิในที่ดินของทายาทที่ไม่ได้ประโยชน์จากคำพิพากษา
คดีมีปัญหาว่า การลงชื่อทายาทตามฟ้องลงในแบบ น.ส.3 ชอบหรือไม่เท่านั้น ฉะนั้น แม้โจทก์จะมิได้ระบุจำนวนเนื้อที่ที่พิพาทให้แน่ชัดว่าครอบครองจำนวนเท่าใดก็ตาม โจทก์ก็ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา โดยบรรยายข้อเท็จจริงและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาละเอียดพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนระบุไว้ชัดแจ้งว่า "ให้แบ่งที่ดินพิพาทออกเป็น 9 ส่วน ให้โจทก์ทั้ง 3 ได้คนละ 1 ส่วน "คำพิพากษาดังกล่าวที่ให้แบ่งที่พิพาทเป็น 9 ส่วน ก็เพื่อจะกำหนดจำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์แต่ละคนที่ฟ้องว่าควรจะได้รับส่วนแบ่งมากน้อยเพียงใดเท่านั้น คำพิพากษาย่อมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความคือโจทก์ทั้งสามในคดีนั้น ส่วนทายาทอื่นไม่ได้เป็นโจทก์หรือร้องสอดเข้าเป็นโจทก์ร่วม จึงไม่อาจจะถือเอาประโยชน์จากคำพิพากษานี้ได้
ทายาทอื่นมิได้ยื่นคำขอรับมรดกในที่ดินแปลงพิพาทซึ่งจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดินว่าด้วยการได้ซึ่งที่ดินกองมรดก การที่เจ้าพนักงานจดทะเบียนใส่ชื่อทายาทนั้นลงไว้ในแบบ น.ส.3 จึงไม่ถูกต้อง โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและมีส่วนได้ในที่ดินแปลงพิพาทจึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนระบุไว้ชัดแจ้งว่า "ให้แบ่งที่ดินพิพาทออกเป็น 9 ส่วน ให้โจทก์ทั้ง 3 ได้คนละ 1 ส่วน "คำพิพากษาดังกล่าวที่ให้แบ่งที่พิพาทเป็น 9 ส่วน ก็เพื่อจะกำหนดจำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์แต่ละคนที่ฟ้องว่าควรจะได้รับส่วนแบ่งมากน้อยเพียงใดเท่านั้น คำพิพากษาย่อมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความคือโจทก์ทั้งสามในคดีนั้น ส่วนทายาทอื่นไม่ได้เป็นโจทก์หรือร้องสอดเข้าเป็นโจทก์ร่วม จึงไม่อาจจะถือเอาประโยชน์จากคำพิพากษานี้ได้
ทายาทอื่นมิได้ยื่นคำขอรับมรดกในที่ดินแปลงพิพาทซึ่งจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดินว่าด้วยการได้ซึ่งที่ดินกองมรดก การที่เจ้าพนักงานจดทะเบียนใส่ชื่อทายาทนั้นลงไว้ในแบบ น.ส.3 จึงไม่ถูกต้อง โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและมีส่วนได้ในที่ดินแปลงพิพาทจึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1440/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินมรดก: ผลผูกพันจากคำพิพากษาเดิม, การครอบครองปรปักษ์, และความยินยอมในการดำเนินคดี
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องในที่ดินของโจทก์จำเลยกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์มิใช่บุคคลภายนอกอันจะกล่าวอ้างพิสูจน์สิทธิใหม่ และพิพากษายกฟ้อง ดังนี้ เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 การอุทธรณ์คำสั่งนี้และฎีกาต่อมา จึงเป็นการอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ตามที่บัญญัติไว้ในตาราง 1 ข้อ 2ข.ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ต้องเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท
สามีเคยให้ความยินยอมแก่ภริยาต่อสู้คดีกับจำเลย และให้ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับที่พิพาทมาแล้ว คดีถึงที่สุด โดยศาลพิพากษาว่าภริยามีสิทธิรับมรดกที่ดินเท่าที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าที่พิพาทอยู่นอกพินัยกรรม สามีจะรื้อฟื้นมาฟ้องจำเลยอีกว่าที่พิพาทเป็นของสามี ได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ มิใช่ที่ดินของเจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมหาได้ไม่ เพราะสามีต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกับภริยาคำพิพากษาคดีดังกล่าวย่อมผูกพันสามีด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 699/2498)
สามีเคยให้ความยินยอมแก่ภริยาต่อสู้คดีกับจำเลย และให้ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับที่พิพาทมาแล้ว คดีถึงที่สุด โดยศาลพิพากษาว่าภริยามีสิทธิรับมรดกที่ดินเท่าที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าที่พิพาทอยู่นอกพินัยกรรม สามีจะรื้อฟื้นมาฟ้องจำเลยอีกว่าที่พิพาทเป็นของสามี ได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ มิใช่ที่ดินของเจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมหาได้ไม่ เพราะสามีต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกับภริยาคำพิพากษาคดีดังกล่าวย่อมผูกพันสามีด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 699/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1263/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินมรดกของภริยาที่ไม่จดทะเบียน และการครอบครองปรปักษ์
สามีภริยาไม่จดทะเบียน สามีรับมรดกที่ดิน ภริยาไม่มีสิทธิร่วมด้วย และถือว่าอาศัยสิทธิของสามีอยู่ในที่ดินจนสามีตาย ต่อมาภริยารื้อเรือนเดิมปลูกขึ้นใหม่ในรั้วเดียวกันโดยไม่ขออนุญาตทายาทอื่น แต่มิได้โต้แย้งสิทธิกับทายาทหรือครอบครองมีเขตเป็นส่วนสัด ทายาทอื่นเสียภาษีบำรุงท้องที่แต่ผู้เดียว ไม่เป็นการที่ภริยาครอบครองปรปักษ์ เจ้าหนี้ของภริยายึดที่พิพาทบังคับคดีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงตรวจสอบที่ดินมรดกก่อนโอน การปฏิบัติตามข้อตกลงและผลกระทบต่อการฟ้องร้อง
คู่ความตกลงกันว่า จำเลยยินดีโอนห้องแถวพร้อมกับที่ดิน 2 ห้องที่เหลือตามพินัยกรรมดังโจทก์ฟ้องให้โจทก์ ในเมื่อโจทก์นำเจ้าพนักงานที่ดินไปสำรวจแล้วให้เจ้าพนักงานที่ดินแยกออกมาว่าห้องทั้งสองอยู่ที่ใด ถ้าหากเจ้าพนักงานที่ดินตรวจแล้วว่าที่ดินและห้องแถวตามพินัยกรรมไม่มีอยู่เลย โจทก์ก็ยินดีถอนฟ้องแต่ถ้าปรากฏว่ามีเหลืออยู่เป็นจำนวนมากกว่า 2 ห้อง โจทก์ยอมรับเพียง 2 ห้อง จำเลยยินดีโอนให้โจทก์ การตรวจสอบนี้ให้ถือเอาพินัยกรรมตามฟ้องและตราจองเลขที่ 5 เป็นหลัก ดังนี้เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินได้ตรวจสอบแล้วได้ความว่าห้องแถวดังกล่าวอยู่ในตราจองเลขที่ 2172 โดยเจ้าพนักงานที่ดินได้ตรวจสอบรูปแผนที่ในพินัยกรรมแล้ว แสดงว่าที่ดินพร้อมด้วยห้องแถวที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามพินัยกรรม คือ ที่ดินตราจองเลขที่ดังกล่าว จำเลยต้องโอนให้โจทก์ตามข้อตกลง และเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินตรวจพบแล้วก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องตรวจสอบที่ดินมรดกรายนี้ทั้งหมดต่อไปอีก
ข้อตกลงของโจทก์จำเลยเช่นว่านี้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 และไม่เป็นการที่ศาลพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นตามมาตรา 142 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งด้วย
ปัญหาเรื่องข้อตกลงขัดต่อ มาตรา 138 หรือไม่ และศาลพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
วันนัดสืบพยานประเด็นโจทก์ จำเลยที่ 2 และทนายจำเลยที่ 2 มิได้ไปศาลตามนัด แต่ศาลได้สืบพยานไปโดยมิได้มี การสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดพิจารณานั้น เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ฎีกาจำเลยที่ 1 จะฎีกาแทนไม่ได้
ข้อตกลงของโจทก์จำเลยเช่นว่านี้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 และไม่เป็นการที่ศาลพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นตามมาตรา 142 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งด้วย
ปัญหาเรื่องข้อตกลงขัดต่อ มาตรา 138 หรือไม่ และศาลพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
วันนัดสืบพยานประเด็นโจทก์ จำเลยที่ 2 และทนายจำเลยที่ 2 มิได้ไปศาลตามนัด แต่ศาลได้สืบพยานไปโดยมิได้มี การสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดพิจารณานั้น เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ฎีกาจำเลยที่ 1 จะฎีกาแทนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดก: ต้องระบุส่วนได้เสียของทายาททั้งหมดก่อน
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่านาพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่ามีสิทธิได้รับส่วนแบ่งนาพิพาทบางส่วนร่วมกับโจทก์ ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์จำเลยต่างทำนาพิพาทด้วยกัน ต่างเป็นเจ้าของรวมกันดังนี้ คดียังอาจมีทายาทอื่นครอบครองนาพิพาทร่วมอีกซึ่งมิได้เข้ามาในคดี จะกำหนดแบ่งส่วนเกี่ยวกับนาพิพาทให้แก่คู่ความยังไม่ได้ชอบที่จะว่ากล่าวกันเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก จึงต้องยกฟ้องคดีของโจทก์