คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทุนทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 764 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3500/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลกรณีฟ้องแทนกองทุนรวม: ศาลตัดสินให้คิดค่าขึ้นศาลแยกตามทุนทรัพย์ของแต่ละกองทุน
กองทุนรวมทั้งสี่กองทุนตามฟ้องเป็นกองทุนรวมที่จดทะเบียนแล้ว จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันและแยกต่างหากจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุนรวมตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 124 วรรคสองผลประโยชน์หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการที่โจทก์นำทรัพย์สินของกองทุนรวมแต่ละกองทุนไปลงทุน ย่อมตกแก่กองทุนรวมแต่ละกองทุนตามส่วนของเงินที่นำไปลงทุน แม้หุ้นกู้แต่ละกองทุนเป็นหุ้นกู้ที่จำเลยเสนอขายแก่โจทก์ในคราวเดียวกัน แต่โจทก์เป็นแต่เพียงผู้ที่นำทรัพย์สินของกองทุนรวมทั้งสี่กองทุนไปลงทุน โดยโจทก์ได้รับค่าธรรมเนียมการจัดการเป็นผลตอบแทนเท่านั้น มิใช่เป็นผู้ซื้อหุ้นกู้ของจำเลยเอง มูลหนี้ที่เกิดจากการซื้อขายหุ้นกู้ตามฟ้องของแต่ละกองทุนรวมจึงมิได้เกี่ยวข้องกัน แม้โจทก์ฟ้องรวมกันมาเป็นคดีเดียวกัน ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้องจากจำเลยเป็นรายกองทุนรวม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3371/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องทุนทรัพย์, การยกประเด็นนอกคำให้การ, และค่าทนายความ
แม้โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตน เมื่อรวมต้นเงินและดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องสำหรับโจทก์ที่ 2 แล้วไม่เกิน 200,000 บาท ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกา จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่า หนังสือสัญญากู้เงินเป็นนิติกรรมอำพรางการเข้าเป็นหุ้นส่วนในกองทุนที่จำเลยจัดตั้งหรือไม่ ปัญหานี้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีเป็นประเด็นไว้ แม้จะได้นำสืบในชั้นพิจารณาก็เป็นการนำสืบนอกคำให้การ เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามมิให้รับฟัง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 และถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
โจทก์ทั้งสองต่างฟ้องจำเลยให้รับผิดใช้เงินจำนวนไม่เท่ากัน ค่าขึ้นศาลและค่าทนายความจึงต้องใช้ตามจำนวนทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์คำสั่งขอให้พิจารณาใหม่: การคำนวณตามทุนทรัพย์หรือค่าปลดเปลื้องทุกข์
การที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ แล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี โดยมิได้อุทธรณ์ขอให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดี เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากทุนทรัพย์ข้อพิพาทในชั้นฎีกาเกิน 200,000 บาท และประเด็นบางส่วนมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์
ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกามีเพียงค่าขาดประโยชน์รถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 9 กำหนดเพิ่มให้ แก่โจทก์เป็นเงิน 112,200 บาท เท่านั้น เมื่อไม่เกิน 200,000 บาท จึงห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับพิจารณาเนื่องจากทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท แม้จะอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์แก้ไขจำนวนเงิน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยร่วมกันชำระค่าขาดประโยชน์รถยนต์ที่เช่าซื้อ337,800 บาท กับค่าขาดราคารถยนต์ที่เช่าซื้อ 60,000 บาท รวมเป็น 397,800 บาทให้แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ โจทก์อุทธรณ์ จำเลยมิได้อุทธรณ์ เท่ากับจำเลยยินยอมที่จะชำระค่าขาดประโยชน์และค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะค่าขาดประโยชน์รถยนต์ที่เช่าซื้อโดยกำหนดให้450,000 บาท ส่วนค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นกำหนดให้เหมาะสมแล้ว จำเลยฎีกา ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงมีเพียงค่าขาดประโยชน์รถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งศาลอุทธรณ์กำหนดเพิ่มให้แก่โจทก์ 112,200 บาท จำเลยจะฎีกาโดยถือเอาจำนวนเงินที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์: คำขอให้พิจารณาใหม่ไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์
คดีนี้แม้เดิมจะเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่ในชั้นอุทธรณ์โจทก์เพียงแต่ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่ไม่ได้ขอให้พิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามตาราง 1 ข้อ (2)(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพียง 200 บาท เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 146/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดวงเงินทุนทรัพย์อุทธรณ์-ฎีกา: ศาลอุทธรณ์-ฎีกาต้องห้ามหากทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท
โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้เงิน 150,194 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีจากต้นเงิน 139,716 บาท นับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ 112,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันผิดนัดเป็นต้นไป โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยชำระหนี้เต็มตามฟ้อง ดังนี้ คดีจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เท่ากับจำนวนเงินตามที่โจทก์ฟ้อง 150,194 บาท หักด้วยจำนวนเงินที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระ 112,000 บาทกับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดจนถึงวันฟ้องอีก 8,400 บาท แล้ว คือ 29,794 บาท เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ที่ให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์นั้น เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทตามตาราง 1 ข้อ 2(ก)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1391/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท คดีนี้จำกัดสิทธิฎีกาทั้งในส่วนฟ้องเดิมและฟ้องแย้ง
จำเลยฎีกาว่า ค่าเสียหายที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยชำระแก่โจทก์ในกรณีที่จำเลยไม่คืนทรัพย์สินหรืออุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ในการทำอาหาร 80,000 บาท เหมาะสมหรือไม่ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนด ค่าเสียหายของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ และให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยตามฟ้องแย้ง โดยกำหนดให้โจทก์ชำระค่าเช่าที่ค้าง 138,000 บาท ค่าซ่อมแซมตึกพิพาท 200,000 บาท และค่าไฟฟ้า 7,708 บาท รวมเป็นเงิน 345,708 บาท ซึ่งเมื่อหักเงินประกัน 240,000 บาท โจทก์ต้องชำระเงินให้แก่จำเลย 105,708 บาท เมื่อจำเลยไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้ง คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าว และโจทก์อุทธรณ์เพียงฝ่ายเดียวขอให้จำเลยชำระเงินให้โจทก์ตามฟ้องเดิม และขอให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่กำหนดให้โจทก์ชำระเงินดังกล่าวตามฟ้องแย้งของจำเลย ดังนั้น จำนวนเงินที่พิพาทกันในส่วนค่าซ่อมแซมตึกพิพาทจึงเป็นเงิน 200,000 บาท เท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย โดยไม่กำหนดค่าซ่อมแซมตึกพิพาทให้ตามฟ้องแย้ง จำเลยจะฎีกาโต้เถียงให้โจทก์ชำระค่าซ่อมแซมตึกพิพาทให้จำเลย 420,000 บาท เต็มตามฟ้องแย้งอีกหาได้ไม่ ทุนทรัพย์ที่จำเลยฎีกาได้คงเป็นเงินค่าซ่อมแซม 200,000 บาท ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้เท่านั้น ที่จำเลยฎีกาอ้างว่าจำเลยเข้าซ่อมแซมตึกพิพาทเนื่องจากโจทก์ยอมให้หักเงินประกัน โจทก์ผิดสัญญาเช่า ไม่บำรุงรักษารวมทั้งซ่อมแซมเล็กน้อย โจทก์จึงต้องรับผิดต่อจำเลยนั้นเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1391/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากทุนทรัพย์เกิน 200,000 บาท และประเด็นข้อเท็จจริงที่โต้แย้งเกินกว่าขอบเขตที่กฎหมายอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์และให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยตามฟ้องแย้ง เป็นค่าเช่าที่ค้าง 138,000 บาท ค่าซ่อมแซมตึกพิพาท 200,000 บาท และค่าไฟฟ้า 7,708 บาท เมื่อจำเลยไม่ได้อุทธรณ์และโจทก์อุทธรณ์เพียงฝ่ายเดียวขอให้จำเลยชำระเงินให้โจทก์ตามฟ้องเดิมและขอให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่กำหนดให้โจทก์ชำระเงินตามฟ้องแย้ง ดังนั้น จำนวนเงินที่พิพาทกันในส่วนค่าซ่อมแซมตึกพิพาทจึงเป็นเงิน 200,000 บาทเท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย โดยไม่กำหนดค่าซ่อมแซมตึกพิพาทให้ตามฟ้องแย้ง จำเลยจะฎีกาให้โจทก์ชำระค่าซ่อมแซมตึกพิพาทให้จำเลย 420,000 บาท เต็มตามฟ้องแย้งอีกหาได้ไม่ ทุนทรัพย์ที่จำเลยฎีกาคงเป็นเงินค่าซ่อมแซม 200,000 บาท ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้เท่านั้น จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเข้าซ่อมแซมตึกพิพาท เนื่องจาก โจทก์ย่อมให้หักเงินประกัน 240,000 บาท โจทก์ผิดสัญญาเช่าไม่สงวนตึกพิพาทเสมอกับที่วิญญูชนจะพึงกระทำและไม่บำรุงรักษารวมทั้งซ่อมแซมเล็กน้อย ทำให้เกิดความเสียหาย โจทก์ต้องรับผิดชำระค่าซ่อมแซมตึกพิพาทให้แก่จำเลยเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1058/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคดีมีทุนทรัพย์และคำขอหลายประเภท ศาลใช้ดุลพินิจขยายเวลาชำระได้
คำฟ้องของโจทก์นอกจากขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3 อันเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แล้ว ยังขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทในราคาที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขายให้แก่จำเลยที่ 3 และให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์อีกด้วยคดีตามคำขอส่วนนี้อาจมีผลให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้ถือได้ว่าคำขอส่วนแรกเป็นคำขอหลัก คำขอส่วนหลังเป็นคำขอต่อเนื่อง แต่ก็มีผลเพียงก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ในการอุทธรณ์ฎีกาโดยไม่จำต้องพิจารณาถึงราคาทรัพย์สินพิพาทเท่านั้น ไม่มีผลทำให้โจทก์มีสิทธิชำระค่าขึ้นศาลแบบคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
แม้การประทับตราในคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลเพิ่มที่กำหนดวันให้โจทก์มาทราบคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการกระทำโดยเจ้าพนักงานศาลมิใช่การกระทำของศาล แต่โจทก์ก็ได้ลงลายมือชื่อไว้ใต้ตราประทับเป็นการยืนยันต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์จะไปทราบคำสั่งในวันดังกล่าวเอง ทั้งตราประทับยังมีข้อความด้วยว่า ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ศาลชั้นต้นจึงไม่ต้องมีหมายแจ้งคำสั่งไปให้โจทก์ทราบอีก โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลเกินกำหนดดังกล่าว และในคำร้องมิได้ระบุถึงเหตุที่ทำให้โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องภายในกำหนด จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่ามีพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยอันควรอนุญาตให้ขยายระยะเวลาหรือไม่
การอนุญาตให้ขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียม ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรว่าจะอนุญาตกี่ครั้งหรือเป็นเวลานานเพียงใดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่าอนุญาตอีกเพียงครั้งเดียว จึงไม่เป็นการจำกัดสิทธิของโจทก์
of 77