คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ธนาคาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 399 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารจ่ายเช็คปลอมทำให้เสียหาย ผู้เสียหายมีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้
ธนาคารจำเลยที่1จ่ายเงินตามเช็คจำนวน16ฉบับเป็นการจ่ายเงินฝากของโจทก์ส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งเป็นการจ่ายเงินตามข้อตกลงตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1และจำเลยที่1ก็ได้นำจำนวนเงินตามเช็คพิพาทไปหักทอนบัญชีกระแสรายวันของโจทก์โดยอ้างว่าการกระทำของจำเลยที่1ถูกต้องแล้วและเมื่อโจทก์ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับสัญญาบัญชีกระแสรายวันและแจ้งจำเลยที่1และจำเลยที่3สมุห์บัญชีธนาคารจำเลยที่1ให้เพิกถอนรายการเช็คพิพาทที่นำมาลงบัญชีกระแสรายวันของโจทก์โดยไม่ถูกต้องออกเสียแต่จำเลยที่1และที่3ก็มิได้ปฏิบัติตามและยังคงถือว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยที่1ตามรายการที่ลงในบัญชีกระแสรายวันดังนี้การกระทำของจำเลยที่1และที่3ดังกล่าวย่อมเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายและเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ผลการตรวจพิสูจน์ของกองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจซึ่งส.ผู้เชี่ยวชาญของศาลเป็นผู้ตรวจพิสูจน์โดยเปรียบเทียบลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทกับลายมือชื่อตัวอย่างของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่1และลายมือชื่อของโจทก์ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายในเช็คแล้วส.มีความเห็นว่าไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันแม้ส. จะมิได้มาเบิกความประกอบรายงานการตรวจพิสูจน์ก็รับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา130 ลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทมิใช่ลายมือชื่อของโจทก์และเป็นลายมือชื่อปลอมการที่จำเลยที่1ประกอบธุรกิจการธนาคารซึ่งเป็นธุรกิจอันเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนการรับฝากเงินและการจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินจากธนาคารเป็นธุรกิจส่วนหนึ่งของจำเลยที่1ซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำและโดยที่จำเลยที่3เป็นสมุห์บัญชีลูกจ้างของจำเลยที่1มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของข้อความในเช็คและลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คที่นำมาขอเบิกเงินจากธนาคารของจำเลยที่1จ ำเลยที่3ย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คว่าเป็นลายมือชื่อของลูกค้าผู้สั่งจ่ายหรือไม่ยิ่งกว่าบุคคลธรรมดาทั้งจำเลยที่3จะต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่วๆไปเพราะเป็นงานในหน้าที่ของจำเลยที่3ที่ปฏิบัติอยู่เป็นประจำการที่จำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารจำเลยที่1และจำเลยที่3จ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้แก่ผู้นำมาเรียกเก็บเงินไปโดยที่ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คดังกาวไม่ใช่ลายมือชื่อโจทก์ทั้งที่มีตัวอย่างลายมือชื่อโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่1กับมีเช็คอีกหลายฉบับที่โจทก์เคยสั่งจ่ายไว้อยู่ที่จำเลยที่1ยิ่งกว่านั้นลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทก็มีลักษณะแตกต่างกับตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่1ค่อนข้างชัดเจนซึ่งหากได้ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่โดยละเอียดรอบคอบจะต้องทราบว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเป็นลายมือชื่อปลอมการกระทำของจำเลยที่2และที่3จึงเป็นการกระทำที่ขาดความระมัดระวังในฐานะที่จำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทอันเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่1ในฐานะนายจ้างและจำเลยที่3จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420และมาตรา425 โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและแจ้งให้จำเลยที่1และที่3เพิกถอนรายการที่ไม่ถูกต้องขอให้จำเลยที่1และที่3เพิกถอนรายการตามใบแจ้งรายการบัญชีโดยให้ถือว่ามิได้มีการเบิกถอนเงินตามเช็คพิพาทและงดคิดดอกเบี้ยตามเช็คดังกล่าวหรือมิฉะนั้นให้จำเลยที่1และที่3ร่วมกันหรือแทนกันนำเงินจำนวน625,365บาทพร้อมทั้งดอกเบี้ยซึ่งคิดเอาจากบัญชีของโจทก์ส่งคืนบัญชีโจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามกฎหมายและให้จำเลยที่1หักทอนบัญชีเพื่อจะทราบว่ามียอดหนี้ค้างชำระกันในขณะนี้เป็นจำนวนเท่าใดแต่จำเลยที่1และที่3ไม่ยอมที่จะเพิกถอนรายการตามใบแจ้งรายการบัญชีโดยให้ถือว่ามิได้มีการเบิกถอนเงินตามเช็คพิพาทและงดคิดดอกเบี้ยตามเช็คดังที่โจทก์เรียกร้องและโจทก์ได้เลือกฟ้องคดีเพื่อเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวที่จำเลยที่1คิดเอาจากโจทก์โดยกล่าวหาว่าจำเลยที่1และที่3กระทำละเมิดต่อโจทก์จึงเท่ากับโจทก์ยอมรับยอดเงินตามรายการในบัญชีเดินสะพัดที่จำเลยที่1เรียกร้องเอาจากโจทก์และฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นตัวเงินเอาจากจำเลยที่1และที่3ซึ่งโจทก์ชอบที่จะเลือกได้เมื่อจำเลยที่1และที่3จะต้องรับผิดในการกระทำละเมิดต่อโจทก์และจำเลยที่1และที่3ไม่ยอมเพิกถอนรายการในบัญชีเดินสะพัดเช่นนี้จึงชอบที่จะบังคับให้จำเลยที่1และที่3ชดใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์เลือกจำเลยที่1และที่3จึงต้องร่วมกันชำระเงินจำนวน625,365บาทพร้อมทั้งดอกเบี้ยซึ่งจำเลยที่1และที่3คิดเอาจากบัญชีของโจทก์คืนอันถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่1และที่3ให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา438ซึ่งจำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยที่1และที่3คิดเอาจากโจทก์เป็นจำนวน16,170.94บาทโจทก์ก็ชอบที่จะได้รับชดใช้คืนเป็นค่าเสียหายด้วยสำหรับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ15ต่อปีนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จก็เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าอัตราที่จำเลยที่1เรียกเก็บจากโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวจากจำเลยที่1และที่3ได้โดยเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งที่โจทก์ได้รับเนื่องจากจำเลยที่1และที่3คิดดอกเบี้ยเอาจากโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี: สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนกว่าจะบอกเลิกสัญญา
คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีข้อตกลงให้คิดดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีการค้าของธนาคาร โจทก์ได้บรรยายที่มาแห่งหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสาม ความรับผิดของจำเลยทั้งสามที่มีต่อโจทก์ และการคิดดอกเบี้ยตลอดจนจำนวนหนี้ที่คำนวณถึงวันฟ้องโดยละเอียดและชัดแจ้งเป็นที่เข้าใจได้อย่างดีว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์เพราะเหตุใด จำเลยทั้งสามได้ชำระหนี้ให้โจทก์ไปแล้วเป็นจำนวนเงินเท่าใด และจำเลยทั้งสามยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นจำนวนเงินเท่าใดจึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้วโจทก์หาต้องแบบหลักฐานหรือเอกสาร แสดงรายละเอียดการเบิกเงินการชำระเงิน การหักทอนบัญชีและการคิดดอกเบี้ยในแต่ละเดือนมาพร้อมกับคำฟ้องไม่ เพราะเป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบกันต่อไปในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ไม่เคลือบคลุม จำเลยที่ 1 ได้เปิดบัญชีเดินสะพัดประเภทเงินฝากกระแสรายวันไว้กับธนาคารโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเดินสะพัดดังกล่าวในวงเงิน 16,500,000 บาท โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ กรณีเช่นนี้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้คืนจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาต่อกันหรือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้หักทอนบัญชีและให้ชำระหนี้ที่มีต่อกันแล้วสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้คงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856และ 859 ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังมิได้เลิกกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนกว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะเลิกกัน ตามรายการในบัญชีของโจทก์ระบุข้อความไว้ถึงจำนวนวงเงินเบิกเกินบัญชี อัตราดอกเบี้ยและวันครบกำหนดไว้ว่าเป็นวันที่30 ธันวาคม 2528 ซึ่งเป็นเพียงวิธีปฏิบัติทางบัญชีภายในของโจทก์มิได้ผูกพันถึงจำเลยที่ 1 ด้วย และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้ตกลงกันให้การเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1ครบกำหนดตามวันที่ระบุไว้ตามรายการในบัญชีดังกล่าว ทั้งตามรายการในบัญชีที่โจทก์ยกยอดมาตั้งเป็นบัญชีใหม่เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม2528 ในช่องวันครบกำหนดก็มิได้ระบุวันครบกำหนดไว้และโจทก์ยังคงคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ต่อไป ดังนั้นจึงไม่อาจถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงถือเอาวันที่ระบุไว้ในบัญชีเป็นวันครบกำหนดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและมีการต่อสัญญากันจนถึงวันที่30 ธันวาคม 2528 อันเป็นวันสิ้นสุดของสัญญาไม่ แม้หลังจากวันที่30 ธันวาคม 2528 จะปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยเบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวอีกและมียอดเงินในบัญชียังไม่เกินวงเงิน ตามข้อตกลงในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี คงปรากฏแต่รายการที่จำเลยที่ 1 นำเงินชำระต้นเงินและดอกเบี้ยเท่านั้น ก็ตา แต่เมื่อไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงยังไม่สิ้นสุดลง โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญาได้จนถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มิได้กำหนดระยะเวลาชำระหนี้คืนไว้ส่งไปถึงจำเลยวันที่ 1 มีนาคม 2534 และเรียกให้ชำระหนี้ค้างชำระแก่โจทก์ทั้งหมดภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม หากไม่ชำระให้ถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้สิ้นสุดลง ณ วันครบกำหนดเวลาดังกล่าวจึงถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกและหักทอนบัญชีในวันที่ครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2534 ซึ่งเป็นวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นอันสิ้นสุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำสิทธิการถอนเงินฝาก: สัญญาไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะกรรมสิทธิ์ตกเป็นของธนาคาร
โจทก์และญ.ได้นำเงินจำนวน 1,000,000 บาท ไปฝากประจำไว้แก่ธนาคาร ก. โดยมีเงื่อนไขว่า การสั่งจ่ายเงินและปิดบัญชีโจทก์และ ญ. จะต้องลงชื่อร่วมกันและธนาคารก.ได้ออกสมุดคู่ฝากไว้ให้ ต่อมา ญ. ได้นำสมุดเงินฝากดังกล่าวไปจำนำสิทธิการถอนเงินฝากจากบัญชีไว้แก่ธนาคารจำเลย เพื่อค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ที่มีต่อจำเลยโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ตามเอกสารหมาย จ.10 ดังนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 747 การจำนำผู้จำนำจะต้องส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ คดีนี้แม้ ญ. ส่งมอบสมุดเงินฝากให้แก่จำเลยไปแล้วก็ตามแต่เมื่อ ญ. กับโจทก์ได้ร่วมกันฝากเงินตามจำนวนในสมุดเงินฝากดังกล่าวไว้แก่ธนาคาร ก.กรรมสิทธิ์ในตัวเงินฝากย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ก.ไปแล้วธนาคาร ก. คงมีหน้าที่เพียงต้องคืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้น การที่ ญ. นำสมุดเงินฝากประจำดังกล่าวมอบให้ไว้แก่จำเลยจึงมิใช่การจำนำเงินฝาก และลักษณะของสัญญาเอกสารหมาย จ.10ดังกล่าวก็หาใช่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารดังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 750 บัญญัติไว้ไม่ เพราะสมุดเงินฝากดังกล่าวเป็นเพียงเอกสารหลักฐานแสดงถึงการรับฝากและถอนเงินที่ผู้รับฝากให้ผู้ฝากยึดถือไว้เพื่อความสะดวกในการฝากและถอนเงินในบัญชีฝากประจำของผู้ฝาก และแสดงถึงการเป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ระหว่างผู้ฝากกับธนาคารผู้รับฝากเท่านั้น จึงเป็นเอกสารธรรมดาที่ทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานแห่งสิทธิทั่วไป มิใช่สิทธิซึ่งมีตราสารที่ใช้แทนสิทธิหรือทรัพย์ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำขึ้นตามแบบพิธีในกฎหมายและโอนกันได้ด้วยวิธีของตราสาร แม้เอกสารหมาย จ.10 จะไม่ใช่สัญญาจำนำ แต่การที่ ญ.ซึ่งเป็นผู้ฝากเงินตามสมุดเงินฝากที่พิพาทร่วมกับโจทก์ได้ทำสัญญาเอกสารหมาย จ.10 ไว้แก่จำเลยและมอบสมุดเงินฝากให้จำเลยไว้ตามสัญญา ในเมื่อ ญ. เป็นเจ้าของร่วมในสมุดเงินฝากคนหนึ่งซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357 ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากัน กรณีจึงผูกพันและบังคับกันได้ในส่วนของ ญ. เพราะมิใช่สัญญาที่ขัดต่อกฎหมาย จำเลยจึงมีสิทธิโดยชอบตามสัญญาที่จะยึดถือสมุดเงินฝากไว้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งจะขอให้จำเลยส่งมอบสมุดเงินฝากให้โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9372/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงิน ธนาคารไม่ต้องรับผิดหากจ่ายเงินถูกต้องตามระเบียบ แม้ลายมือชื่อไม่ตรงกับเอกสาร
คำฟ้องระบุว่าได้มีการเบิกจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่า ม. ก็เป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 การที่ศาลวินิจฉัยว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของ ม. จึงเป็นการวินิจฉัยว่ามีการเบิกจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยความประมาทเลินเล่อของพนักงานของจำเลยที่ 1 ตามคำฟ้องนั่นเอง จึงมิได้วินิจฉัยนอกคำฟ้อง โจทก์ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับการส่งตั๋วแลกเงินมาแสดงโดยอ้างว่าทำหาย และยังได้ความต่อไปว่าหลังจากส่งตั๋วแลกเงินไปแล้ว โจทก์ทราบว่ามีผู้รับเงินตามตั๋วแลกเงินไปโดยใช้บัตรประจำตัวคนญวนอพยพของ ก. ที่หมดอายุเป็นหลักฐานในการเรียกเก็บเงินและลายมือชื่อ ก.ที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินเป็นลายมือชื่อปลอม แต่โจทก์เพิ่งแจ้งความหลังจากทราบเหตุแล้วหลายวันซึ่งนับว่าเป็นข้อพิรุธอย่างยิ่ง ส่วนเรื่องการทำบัตรประจำตัวคนญวนอพยพนั้นการออกบัตรใหม่ให้ ทางสำนักงานทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลจะต้องเรียกบัตรเดิมคืน แสดงว่าถ้า ก.ยังไม่มารับบัตรใหม่ก็ยังไม่ต้องคืนบัตรเก่า จึงน่าเชื่อว่าบัตรเก่ายังคงอยู่ที่ ก.การที่ม. พนักงานรับเงินธนาคารจำเลยที่ 1 เบิกความยืนยันว่าก. กับพวกได้นำตั๋วแลกเงินมาเรียกเก็บเงินโดยนำบัตรประจำตัวที่เป็นบัตรเก่าหมดอายุแล้วมาแสดงจึงมีน้ำหนักน่าเชื่อ ส่วนเหตุที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินมีชื่อ ก. นั้น เมื่อได้พิเคราะห์ตั๋วแลกเงินกับบัตรประจำตัวของ ก. แล้วปรากฏว่ามีการลงรายการดังกล่าวที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินจริง และตรงกับข้อความในบัตรประจำตัวของ ก. ทุกประการลายมือชื่อของ ก.ที่ลงในตั๋วแลกเงินกับที่ลงในบัตรประจำตัวคนญวนอพยพของก. ก็มีความคล้ายคลึงกันอยู่มาก พยานหลักฐานของจำเลยที่ 1จึงมีน้ำหนักน่าเชื่อว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินให้แก่ ก. โดยถูกต้องตามระเบียบแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดชอบเช็คปลอมแม้ไม่มีประมาทเลินเล่อ หากลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายไม่ตรงกับทะเบียน
ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์คือ มีผู้ลักและปลอมลายมือชื่อโจทก์ในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับแล้วนำไปเบิกเงินในบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ธนาคารจำเลย พนักงานของจำเลยประมาทเลินเล่อไม่ตรวจลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายว่าเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงของโจทก์หรือไม่ แล้วจ่ายเงินไปทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยให้การปฏิเสธเฉพาะความประมาทเลินเล่อเท่านั้น ส่วนลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับปลอมหรือไม่ จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ทั้งได้ให้การว่าโจทก์ให้บุคคลภายนอกเลียนแบบลายมือชื่อโจทก์ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นลายมือชื่อปลอม ดังนั้นโจทก์จึงไม่จำต้องนำเจ้าพนักงานผู้ทำการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับมาเบิกความรับรองผลการตรวจพิสูจน์อีก
การที่โจทก์เก็บรักษาเช็คไว้ในลิ้นชักที่มีกุญแจใส่อยู่ในบ้านและลูกกุญแจแขวนไว้ใต้โต๊ะทำงานเป็นการเก็บรักษาเช็คดังเช่นวิญญูชนจะพึงกระทำตามปกติธรรมดา ถือไม่ได้ว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อ การที่พนักงานของจำเลยจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับไป แม้จะอ้างว่าไม่ได้ประมาทเลินเล่อ แต่เมื่อลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นลายมือชื่อปลอมไม่ใช่ลายมือชื่อของโจทก์ จำเลยจึงหาหลุดพ้นความรับผิดไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของธนาคารต่อความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติงาน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดโดยอาศัยมูลหนี้จากการกระทำละเมิดและการผิดสัญญาฝากทรัพย์เพราะจ่ายเงินของโจทก์ให้ผู้อื่นไปโดยความประมาทเลินเล่อปราศจากความระมัดระวังและฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการธนาคารอันเป็นอาชีวะของจำเลย จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม ที่ใช้ขณะเกิดเหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ กรณีธนาคารจ่ายเงินผิดพลาด
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดโดยอาศัยมูลหนี้จากการกระทำละเมิดและการผิดสัญญาฝากทรัพย์เพราะจ่ายเงินของโจทก์ให้ผู้อื่นไปโดยความประมาทเลินเล่อปราศจากความระมัดระวังและฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการธนาคารอันเป็นอาชีวะของจำเลย จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม ที่ใช้ขณะเกิดเหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิด/ผิดสัญญาฝากทรัพย์ในกิจการธนาคาร: 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 164 เดิม
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดโดยอาศัยมูลหนี้จากการกระทำละเมิดและการผิดสัญญาฝากทรัพย์เพราะจ่ายเงินของโจทก์ให้ผู้อื่นไปโดยความประมาทเลินเล่อปราศจากความระมัดระวังและฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการธนาคารอันเป็นอาชีวะของจำเลยจึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิมที่ใช้ขณะเกิดเหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงดอกเบี้ยบัตรเครดิต: ไม่เข้าข่ายดอกเบี้ยเกินกฎหมาย
เงินที่ธนาคารโจทก์ได้ผ่อนผันจ่ายไปก่อนตามสัญญาบัญชี-เดินสะพัดและคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตที่จำเลยขอสินเชื่อบัตรเครดิตจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ชำระค่าสินค้าและบริการ ตลอดจนเบิกเงินสดจากเครื่องบริการนั้นไม่ได้กำหนดเวลาที่แน่นอนว่าให้จำเลยจะต้องจ่ายคืนให้แก่โจทก์เมื่อใด เป็นแต่เพียงว่า จำเลยยอมผูกพันตนที่จะจ่ายคืนให้พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามภาวะเศรษฐกิจ สังคมและนโยบายการเงินของประเทศ เป็นการกำหนดดอกเบี้ยกันไว้ล่วงหน้า ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นแล้ว และไม่อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ.มาตรา 654 ซึ่งห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปีเพราะมิใช่เป็นเรื่องกู้ยืมและโจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์เป็นสถาบันการเงิน ข้อตกลงดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยไปตามข้อตกลงนั้น จึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 379

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยบัตรเครดิต: ข้อตกลงดอกเบี้ยระหว่างธนาคารและผู้ใช้บัตรเครดิต ไม่เข้าข่ายเบี้ยปรับตามกฎหมาย
เงินที่ธนาคารโจทก์ได้ผ่อนผันจ่ายไปก่อนตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดและคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตที่จำเลยขอสินเชื่อบัตรเครดิตจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ชำระค่าสินค้าและบริการตลอดจนเบิกเงินสดจากเครื่องบริการนั้นไม่ได้กำหนดเวลาที่แน่นอนว่าให้จำเลยจะต้องจ่ายคืนให้แก่โจทก์เมื่อใดเป็นแต่เพียงว่าจำเลยยอมผูกพันตนที่จะจ่ายคืนให้พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามภาวะเศรษฐกิจสังคมและนโยบายการเงินของประเทศเป็นการกำหนดดอกเบี้ยกันไว้ล่วงหน้าถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นแล้วและไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา654ซึ่งห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปีเพราะมิใช่เป็นเรื่องกู้ยืมและโจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์เป็นสถาบันการเงินข้อตกลงดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายจำเลยต้องเสียดอกเบี้ยไปตามข้อตกลงนั้นจึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา379
of 40