พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 904/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดใบอนุญาตขับขี่เกินหน้าที่: นายทะเบียนต้องรับผิดค่าเสียหาย
เพียงแต่นำรถเข้าไปในเขตต์หวงห้าม ไม่เป็นเหตุให้ริบใบขับขี่
นายทะเบียนทำเกินหน้าที่ต้องรับผิด
ค่าเสียหายโดยตรง
นายทะเบียนทำเกินหน้าที่ต้องรับผิด
ค่าเสียหายโดยตรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9556/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อมูลเท็จต่อนายทะเบียนบริษัทเพื่อเปลี่ยนแปลงหนังสือบริคณห์สนธิ และที่ตั้งสำนักงาน ถือเป็นความผิดอาญา
การเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงข้อบังคับหรือข้อความในหนังสือบริคณห์สนธิ ป.พ.พ. มาตรา 1145 และมาตรา 1146 กำหนดว่า จะกระทำได้ต่อเมื่อมีการลงมติพิเศษ ซึ่งจะต้องมีการประชุมใหญ่โดยมีคำบอกกล่าวเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อลงมติพิเศษ และกำหนดให้เป็นหน้าที่ของบริษัทจะต้องจัดให้ไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้มีการลงมติพิเศษ และเหตุที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของบริษัทจะต้องนำเรื่องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็เนื่องจากเป็นเรื่องสำคัญเพราะมีผลกระทบต่อบุคคลภายนอก กรณีที่จำต้องใช้เอกสารยืนยันภูมิลำเนาคือสำนักงานแห่งใหญ่ของนิติบุคคลเป็นพยานหลักฐานที่มีการรับรองโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นที่เชื่อถือได้ในทางกฎหมาย ทั้งกิจการของบริษัท ร. ก็มิได้เป็นเพียงนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวข้องแต่เฉพาะบุคคลในวงศ์เครือญาติของจำเลย หากแต่ต้องติดต่อสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับนิติบุคคลหรือบุคคลอื่นด้วย จำเลยจะอ้างความเคยชิน และความไว้วางใจระหว่างเครือญาติของจำเลยมาเป็นข้อยกเว้นไม่ปฏิบัติตามกฎหมายไม่ได้ อีกทั้งการที่จำเลยมอบอำนาจให้ทนายความไปยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ และแจ้งย้ายที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัท ร. ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครโดยอ้างว่าจำเลยได้บอกกล่าวนัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2552 โดยลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์และส่งมอบให้ผู้ถือหุ้น และที่ประชุมวิสามัญมีมติพิเศษให้แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 2 และย้ายที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัท จากเดิมที่ตั้งอยู่กรุงเทพมหานครไปที่จังหวัดราชบุรีโดยไม่เป็นความจริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 137 และมาตรา 267 จำเลยจึงอ้างว่าไม่มีเจตนากระทำความผิดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6041/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตได้ การบรรยายฟ้องครบถ้วน
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครอง ข้อ 1.3 ว่า และเครื่องกระสุนปืน ขนาด 7.62 มม. NATO จำนวน 11 นัด ซึ่งเป็นกระสุนปืนตามกฎหมายผลิตขึ้นใช้กับอาวุธปืนกล ขนาด 7.62 มม. NATO เป็นอาวุธปืนชนิดที่มีเครื่องกลไกสำหรับบรรจุกระสุนปืนให้สามารถยิงซ้ำเองได้ มีขนาดความยาวลำกล้องเกิน 160 มม. ซึ่งนายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ อันเป็นเครื่องกระสุนปืนที่สามารถใช้ยิงทำอันตรายแก่ชีวิตและวัตถุได้ เครื่องกระสุนปืนจึงเป็นแบบที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ข้อ 2 (3) (ก) ไว้ในครอบครองของจำเลย อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ดังนี้ เมื่อฟ้องโจทก์บรรยายว่ากระสุนปืน ขนาด 7.62 มม. เป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนกล ขนาด 7.62 มม. NATO ซึ่งเป็นอาวุธปืนชนิดที่มีเครื่องกลไกสำหรับบรรจุกระสุนปืนให้สามารถยิงซ้ำเองได้มีขนาดความยาวลำกล้องเกิน 160 มม. ที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ข้อ 2 (3) (ก) ออกตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครอง จึงครบองค์ประกอบความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่ไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองแล้ว โดยไม่จำต้องบรรยายให้เห็นว่าเครื่องกระสุนปืนของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิง ซึ่งเป็นข้อยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ข้อ 3 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพความผิดฐานดังกล่าวกฎหมายไม่ได้กำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานหนักกว่านั้น ศาลย่อมลงโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4107/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาอนุญาตใช้สิทธิเครื่องหมายการค้า ผลของคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการและอำนาจหน้าที่นายทะเบียน
เดิมจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าภายในกำหนด 90 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 74 วรรคสอง แล้ว แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 จะยื่นอุทธรณ์ฉบับใหม่ แต่เนื้อหาของคำอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวเป็นเพียงการเพิ่มเติมรายละเอียดของข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ และข้อเท็จจริงอื่นซึ่งได้มีการกล่าวอ้างมาแต่ในชั้นพิจารณาของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเท่านั้น ซึ่งอุทธรณ์ฉบับเดิมก็ได้มีการกล่าวไว้แล้วเพียงแต่ไม่มีการยกข้อความซึ่งอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยไว้หรือข้อความในสัญญาขึ้นกล่าวอ้างไว้ในอุทธรณ์ เพียงแต่อ้างว่ามีรายละเอียดปรากฏอยู่ในหน้าใดของคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรืออยู่ในสัญญาข้อใดตามเอกสารที่แนบท้ายมาเท่านั้น อุทธรณ์ฉบับใหม่จึงไม่ใช่การเพิ่มเติมเนื้อหาสาระสำคัญหรือข้อเท็จจริงเข้ามาใหม่ต่างจากอุทธรณ์ฉบับเดิม แต่เป็นการเพิ่มรายละเอียดในอุทธรณ์ฉบับเดิมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงชอบที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจะรับอุทธรณ์ฉบับใหม่ของจำเลยที่ 1 ไว้ประกอบการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับเดิมของจำเลยที่ 1 ได้
ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ไม่มีบทบัญญัติใดกำหนดว่า เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้รับอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้วต้องแจ้งให้ผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิยื่นคำชี้แจงหรือคำคัดค้าน คงมีแต่ในชั้นพิจารณาของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่กฎหมายบัญญัติว่า เมื่อได้รับคำร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าจากเจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือผู้ได้รับอนุญาต ให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีหนังสือแจ้งให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือผู้ได้รับอนุญาตแล้วแต่กรณีทราบเพื่อยื่นคำชี้แจงภายในกำหนดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 73 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากชั้นพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 74 วรรคสอง ที่ไม่ได้บัญญัติให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้ได้รับอนุญาตทราบเพื่อยื่นคำคัดค้าน จึงถือไม่ได้ว่าคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าพิจารณาอุทธรณ์จำเลยที่ 1 โดยผิดระเบียบหรือผิดกฎหมาย
เมื่อโจทก์ยื่นคำคัดค้านโต้แย้งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 แล้ว คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าก็ได้นำข้อเท็จจริงในคำโต้แย้งคัดค้านของโจทก์มาพิจารณาด้วย ทั้งไม่มีบทบัญญัติตามระเบียบข้อบังคับหรือตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ที่กำหนดให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าต้องวินิจฉัยตามคำโต้แย้งคัดค้านอุทธรณ์ทุกประเด็น การที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และคำโต้แย้งคัดค้านของโจทก์เฉพาะประเด็นสำคัญ ถือว่าการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแสดงให้เห็นว่า สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า/บริการฉบับที่ 1 สิ้นสุดลงโดยการบอกเลิกสัญญาของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ให้อนุญาตแล้ว ส่วนสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า/บริการ ฉบับที่ 2 แม้จำเลยที่ 1 ได้ใช้สิทธิโดยชอบในการบอกเลิกสัญญาแล้ว แต่เนื่องจากมีการนำไปจดทะเบียนและยังไม่ได้รับการเพิกถอนจากนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า อนุญาโตตุลาการจึงไม่ชอบที่จะวินิจฉัยว่า สัญญาดังกล่าวเลิกกันแล้ว เนื่องจากจะกระทบกระเทือนถึงอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า จากคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการดังกล่าว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าแสดงได้ว่า สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า/บริการ ฉบับที่ 2 ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ได้สิ้นสุดลงแล้ว ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 72
ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ไม่มีบทบัญญัติใดกำหนดว่า เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้รับอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้วต้องแจ้งให้ผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิยื่นคำชี้แจงหรือคำคัดค้าน คงมีแต่ในชั้นพิจารณาของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่กฎหมายบัญญัติว่า เมื่อได้รับคำร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าจากเจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือผู้ได้รับอนุญาต ให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีหนังสือแจ้งให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือผู้ได้รับอนุญาตแล้วแต่กรณีทราบเพื่อยื่นคำชี้แจงภายในกำหนดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 73 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากชั้นพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 74 วรรคสอง ที่ไม่ได้บัญญัติให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้ได้รับอนุญาตทราบเพื่อยื่นคำคัดค้าน จึงถือไม่ได้ว่าคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าพิจารณาอุทธรณ์จำเลยที่ 1 โดยผิดระเบียบหรือผิดกฎหมาย
เมื่อโจทก์ยื่นคำคัดค้านโต้แย้งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 แล้ว คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าก็ได้นำข้อเท็จจริงในคำโต้แย้งคัดค้านของโจทก์มาพิจารณาด้วย ทั้งไม่มีบทบัญญัติตามระเบียบข้อบังคับหรือตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ที่กำหนดให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าต้องวินิจฉัยตามคำโต้แย้งคัดค้านอุทธรณ์ทุกประเด็น การที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และคำโต้แย้งคัดค้านของโจทก์เฉพาะประเด็นสำคัญ ถือว่าการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแสดงให้เห็นว่า สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า/บริการฉบับที่ 1 สิ้นสุดลงโดยการบอกเลิกสัญญาของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ให้อนุญาตแล้ว ส่วนสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า/บริการ ฉบับที่ 2 แม้จำเลยที่ 1 ได้ใช้สิทธิโดยชอบในการบอกเลิกสัญญาแล้ว แต่เนื่องจากมีการนำไปจดทะเบียนและยังไม่ได้รับการเพิกถอนจากนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า อนุญาโตตุลาการจึงไม่ชอบที่จะวินิจฉัยว่า สัญญาดังกล่าวเลิกกันแล้ว เนื่องจากจะกระทบกระเทือนถึงอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า จากคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการดังกล่าว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าแสดงได้ว่า สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า/บริการ ฉบับที่ 2 ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ได้สิ้นสุดลงแล้ว ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 72
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตได้ โดยศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า กระสุนปืน ขนาด .223 (5.56 มม.) เป็นเครื่องกระสุนปืนสามารถใช้ยิงร่วมกับอาวุธปืนที่มีกลไกบรรจุกระสุนปืนเองและสามารถยิงซ้ำได้ และยิงเป็นชุดหรือยิงกล และมีขนาดความยาวของลำกล้องเกิน 160 มม. ซึ่งเป็นอาวุธปืนที่ไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ข้อ 2 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองแล้ว โดยไม่จำต้องบรรยายให้เห็นว่า เครื่องกระสุนปืนของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิง ซึ่งเป็นข้อยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ข้อ 3 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพและความผิดฐานดังกล่าวกฎหมายไม่ได้กำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานหนักกว่านั้น ศาลย่อมลงโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15995/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีค่าธรรมเนียมโรงแรม: ต้องเป็นนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.โรงแรมเท่านั้น
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครเป็นนายทะเบียน ผู้ว่าราชการจังหวัดระยองจึงเป็นนายทะเบียนในเขตท้องที่จังหวัดระยองตาม พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 และมีอำนาจหน้าที่ตามที่พระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ทั้งไม่มีกฎหมายใดให้บุคคลอื่นใช้อำนาจหน้าที่แทนได้
คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งประกอบธุรกิจโรงแรมในจังหวัดระยองชำระค่าธรรมเนียมต่อใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรมที่ค้างชำระ แต่โจทก์ไม่ใช่นายทะเบียนตาม พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การในประเด็นนี้ไว้โดยชัดแจ้ง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งประกอบธุรกิจโรงแรมในจังหวัดระยองชำระค่าธรรมเนียมต่อใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรมที่ค้างชำระ แต่โจทก์ไม่ใช่นายทะเบียนตาม พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การในประเด็นนี้ไว้โดยชัดแจ้ง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2910/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อาวุธปืน-ซองกระสุน: การครอบครองซองกระสุนเกิน 20 นัดเป็นความผิด ฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนไม่ออกใบอนุญาต
ซองกระสุนเป็นอาวุธปืนตามความหมายแห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 4 (1) ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2491) ออกตามความใน พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ข้อ 1 (4) แม้ซองกระสุนชนิดบรรจุกระสุนได้ 15 นัด และ 30 นัด เป็นซองกระสุนที่สามารถบรรจุกระสุนได้เกินกว่า 10 นัด อันเป็นซองกระสุนชนิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2491) ข้อ 2 (12) ซึ่งเป็นความผิดฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 55, 78 ตามฟ้องโจทก์ แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกามีกฎกระทรวง ฉบับที่ 18 (พ.ศ.2552) ออกตามความใน พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 กำหนดให้ซองกระสุนชนิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ต้องเป็นซองกระสุนที่สามารถบรรจุกระสุนได้เกิน 20 นัด จึงถือได้ว่าตามบทบัญญัติดังกล่าวที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีซองกระสุนชนิดบรรจุกระสุนได้ 15 นัด ไม่เป็นความผิดอีกต่อไป จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 55, 78 ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง จำเลยคงมีความผิดฐานมีอาวุธปืน (ซองกระสุนชนิดบรรจุกระสุนได้ 30 นัด) ที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 55, 78 วรรคหนึ่ง สำหรับซองกระสุนชนิดบรรจุกระสุนได้ 30 นัด ของกลาง เป็นซองกระสุนชนิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ผู้ใดมีไว้ย่อมเป็นความผิด ซึ่งตาม ป.อ. มาตรา 32 บัญญัติให้ริบเสียทั้งสิ้น จึงต้องริบซองกระสุนชนิดบรรจุกระสุนได้ 30 นัด ของกลาง ตามบทบัญญัติดังกล่าว
ความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้ในครอบครองต้องระวางโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 72 วรรคหนึ่ง ส่วนความผิดฐานมีอาวุธปืนมีเครื่องหมายทะเบียนของผู้อื่นที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้และเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครอง ต้องระวางโทษตามมาตรา 72 วรรคสาม และวัตถุที่ต้องห้ามทั้งสองกรณีดังกล่าว กฎหมายถือว่าเป็นวัตถุประเภทเดียวกันโดยบัญญัติบทความผิดกับบทลงโทษในบทมาตราเดียวกัน เมื่อจำเลยมีไว้ในครอบครองในขณะเดียวกัน การกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องแยกเป็นความผิดแต่ละกรรมโดยชัดแจ้งและขอให้ลงโทษทุกกรรมกับจำเลยให้การรับสารภาพ ก็ไม่ทำให้การกระทำความผิดของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้ในครอบครองต้องระวางโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 72 วรรคหนึ่ง ส่วนความผิดฐานมีอาวุธปืนมีเครื่องหมายทะเบียนของผู้อื่นที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้และเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครอง ต้องระวางโทษตามมาตรา 72 วรรคสาม และวัตถุที่ต้องห้ามทั้งสองกรณีดังกล่าว กฎหมายถือว่าเป็นวัตถุประเภทเดียวกันโดยบัญญัติบทความผิดกับบทลงโทษในบทมาตราเดียวกัน เมื่อจำเลยมีไว้ในครอบครองในขณะเดียวกัน การกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องแยกเป็นความผิดแต่ละกรรมโดยชัดแจ้งและขอให้ลงโทษทุกกรรมกับจำเลยให้การรับสารภาพ ก็ไม่ทำให้การกระทำความผิดของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนรายการจดทะเบียนบริษัท: โจทก์ต้องเพิกถอนมติที่ประชุมก่อน จึงจะขอให้จำเลย (นายทะเบียน) เพิกถอนรายการจดทะเบียนได้
เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่า ล. กับพวกร่วมกันยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจำนวนกรรมการ กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัท และตราประทับของบริษัทโดยอาศัยมติที่ประชุมอันเป็นเท็จ เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปฟ้องขอเพิกถอนมติที่ประชุมดังกล่าวก่อน และหากโจทก์ชนะคดีจึงจะมีสิทธินำคำพิพากษาไปยื่นต่อจำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเพื่อรับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไข
การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยในฐานะนายทะเบียนให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนดังกล่าวเป็นคดีนี้จึงไม่ถูกต้อง จำเลยเป็นนายทะเบียนมิได้เป็นผู้จัดทำรายงานการประชุมที่โจทก์อ้างว่าเป็นเท็จ การที่จำเลยรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนกรรมการ กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัท และตราประทับของบริษัทก็เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ตามกฎหมาย และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยรับจดทะเบียนไว้โดยไม่ชอบ การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์
การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยในฐานะนายทะเบียนให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนดังกล่าวเป็นคดีนี้จึงไม่ถูกต้อง จำเลยเป็นนายทะเบียนมิได้เป็นผู้จัดทำรายงานการประชุมที่โจทก์อ้างว่าเป็นเท็จ การที่จำเลยรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนกรรมการ กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัท และตราประทับของบริษัทก็เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ตามกฎหมาย และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยรับจดทะเบียนไว้โดยไม่ชอบ การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอคืนค่าหุ้นสมาชิกสหกรณ์ที่ขาดทุนสะสม และการปฏิบัติตามคำสั่งนายทะเบียน
จำเลยจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 การพิจารณาสิทธิของโจทก์ที่จะขอคืนเงินค่าหุ้นที่ได้ชำระไปแล้วจึงต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 และข้อบังคับของจำเลยตลอดจนคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์ โดยในเรื่องการจ่ายคืนค่าหุ้นนั้น แม้สหกรณ์แต่ละแห่งสามารถกำหนดในข้อบังคับของตนเองได้ตามมาตรา 34 (4) ประกอบมาตรา 43 (5) ก็ตาม แต่ทั้งนี้ในการดำเนินกิจการของสหกรณ์ยังคงตกอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายทะเบียนสหกรณ์เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินลุล่วงไปได้อย่างมั่นคงเพื่อประโยชน์ของสหกรณ์ เมื่อความปรากฏตามรายงานผลการตรวจสอบบัญชีว่า จำเลยมีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิติดต่อกันเป็นเวลา 9 ปี มียอดขาดทุนสะสม 188,292,559.62 บาท มีหนี้สินหมุนเวียนสูงกว่ายอดรวมสินทรัพย์ 206,667,002.51 บาท อันต้องด้วยกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ที่ 278/2549 การที่จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2557 จึงเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำของนายทะเบียนสหกรณ์ดังกล่าวซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (8) และมาตรา 22 (2) โดยเฉพาะคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์ตามมาตรา 22 นี้ หากมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีโทษทางอาญาตามมาตรา 132 ข้อบังคับของจำเลยที่ได้มีการแก้ไขเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2557 จึงเป็นไปโดยชอบ
การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเรื่องการคืนเงินค่าหุ้นเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์ที่ 278/2549 มิใช่คำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ที่ สสพ.288/2559 โจทก์เกษียณอายุปี 2558 และขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสหกรณ์จำเลยเมื่อปี 2559 อันเป็นเวลาภายหลังจากจำเลยแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับแล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะขอคืนเงินค่าหุ้นจึงต้องตกอยู่ภายใต้ข้อบังคับของจำเลยที่ใช้อยู่ในเวลาที่ขอลาออกจากการเป็นสมาชิก
เงินค่าหุ้นมีลักษณะเป็นทุนของสหกรณ์ เมื่อสมาชิกจ่ายให้แก่สหกรณ์แล้วย่อมตกเป็นทุนของสหกรณ์ซึ่งสหกรณ์สามารถนำไปดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของตน เช่น การให้กู้ ให้สินเชื่อ หรือให้ยืมทรัพย์สินได้ตามความในบทบัญญัติมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 เงินสะสมทุนเรือนหุ้นจึงมิใช่เงินฝากหรือการฝากทรัพย์ที่สมาชิกมีสิทธิจะถอนคืนต้นเงินฝากได้เต็มจำนวน หากแต่ถือเป็นการลงทุนซึ่งสมาชิกมีโอกาสได้รับผลประโยชน์ตอบแทนตามสัดส่วนของการลงทุน ในทางกลับกันหากผลการดำเนินงานขาดทุน การจ่ายคืนค่าหุ้นกรณีสมาชิกลาออกก็ต้องนำทุนเรือนหุ้นที่ชำระไปทั้งหมดมาคำนวณเพื่อให้เป็นมูลค่าปัจจุบันโดยสมาชิกต้องรับผิดชอบในส่วนที่ขาดทุนด้วย ดังนี้ หลักเกณฑ์การคำนวณมูลค่าหุ้นตามที่นายทะเบียนสหกรณ์ให้คำแนะนำไว้ท้ายคำสั่งนายทะเบียนที่ 278/2549 ซึ่งจำเลยได้นำมากำหนดไว้ในข้อบังคับจึงหาใช่เป็นการออกข้อบังคับไม่เป็นธรรม เมื่อปรากฏตามรายงานผลการตรวจสอบบัญชีของจำเลยสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ว่า ข้อบังคับของจำเลยข้อที่ 44 กำหนดให้จำเลยชะลอการจ่ายคืนค่าหุ้นของสมาชิกที่ขาดจากการเป็นสมาชิกภาพแล้ว โดยจำเลยจะต้องคำนวณมูลค่าหุ้นจ่ายคืนให้เป็นปัจจุบันทุกปี และสหกรณ์จำเลยสามารถปิดงบการเงินประจำปีได้จนถึงปี 2557 ซึ่งมูลค่าต่อหุ้นของจำเลยมีมูลค่าติดลบ 32.35 บาท หลังจากนั้นจนถึงปี 2562 (ปีที่โจทก์ยื่นฟ้อง) ยังไม่สามารถปิดงบการเงินประจำปีได้ เช่นนี้ แม้จำเลยจะประสบภาวะขาดทุนทำให้จำเลยไม่สามารถจ่ายคืนค่าหุ้นให้แก่โจทก์ที่พ้นจากสมาชิกภาพในเวลาที่โจทก์ขอคืนค่าหุ้นได้ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ทำให้สิทธิของโจทก์ในกรณีนี้เป็นอันระงับสิ้นไปเลยทีเดียว เพราะหากภายภาคหน้าสหกรณ์จำเลยสามารถแก้ไขภาวะขาดทุนสะสมได้แล้ว หรือสามารถจ่ายเงินค่าหุ้นได้เมื่อใด โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะได้รับคืนเงินค่าหุ้นอยู่เมื่อนั้น จึงชอบที่จะให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ได้
การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเรื่องการคืนเงินค่าหุ้นเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์ที่ 278/2549 มิใช่คำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ที่ สสพ.288/2559 โจทก์เกษียณอายุปี 2558 และขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสหกรณ์จำเลยเมื่อปี 2559 อันเป็นเวลาภายหลังจากจำเลยแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับแล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะขอคืนเงินค่าหุ้นจึงต้องตกอยู่ภายใต้ข้อบังคับของจำเลยที่ใช้อยู่ในเวลาที่ขอลาออกจากการเป็นสมาชิก
เงินค่าหุ้นมีลักษณะเป็นทุนของสหกรณ์ เมื่อสมาชิกจ่ายให้แก่สหกรณ์แล้วย่อมตกเป็นทุนของสหกรณ์ซึ่งสหกรณ์สามารถนำไปดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของตน เช่น การให้กู้ ให้สินเชื่อ หรือให้ยืมทรัพย์สินได้ตามความในบทบัญญัติมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 เงินสะสมทุนเรือนหุ้นจึงมิใช่เงินฝากหรือการฝากทรัพย์ที่สมาชิกมีสิทธิจะถอนคืนต้นเงินฝากได้เต็มจำนวน หากแต่ถือเป็นการลงทุนซึ่งสมาชิกมีโอกาสได้รับผลประโยชน์ตอบแทนตามสัดส่วนของการลงทุน ในทางกลับกันหากผลการดำเนินงานขาดทุน การจ่ายคืนค่าหุ้นกรณีสมาชิกลาออกก็ต้องนำทุนเรือนหุ้นที่ชำระไปทั้งหมดมาคำนวณเพื่อให้เป็นมูลค่าปัจจุบันโดยสมาชิกต้องรับผิดชอบในส่วนที่ขาดทุนด้วย ดังนี้ หลักเกณฑ์การคำนวณมูลค่าหุ้นตามที่นายทะเบียนสหกรณ์ให้คำแนะนำไว้ท้ายคำสั่งนายทะเบียนที่ 278/2549 ซึ่งจำเลยได้นำมากำหนดไว้ในข้อบังคับจึงหาใช่เป็นการออกข้อบังคับไม่เป็นธรรม เมื่อปรากฏตามรายงานผลการตรวจสอบบัญชีของจำเลยสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ว่า ข้อบังคับของจำเลยข้อที่ 44 กำหนดให้จำเลยชะลอการจ่ายคืนค่าหุ้นของสมาชิกที่ขาดจากการเป็นสมาชิกภาพแล้ว โดยจำเลยจะต้องคำนวณมูลค่าหุ้นจ่ายคืนให้เป็นปัจจุบันทุกปี และสหกรณ์จำเลยสามารถปิดงบการเงินประจำปีได้จนถึงปี 2557 ซึ่งมูลค่าต่อหุ้นของจำเลยมีมูลค่าติดลบ 32.35 บาท หลังจากนั้นจนถึงปี 2562 (ปีที่โจทก์ยื่นฟ้อง) ยังไม่สามารถปิดงบการเงินประจำปีได้ เช่นนี้ แม้จำเลยจะประสบภาวะขาดทุนทำให้จำเลยไม่สามารถจ่ายคืนค่าหุ้นให้แก่โจทก์ที่พ้นจากสมาชิกภาพในเวลาที่โจทก์ขอคืนค่าหุ้นได้ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ทำให้สิทธิของโจทก์ในกรณีนี้เป็นอันระงับสิ้นไปเลยทีเดียว เพราะหากภายภาคหน้าสหกรณ์จำเลยสามารถแก้ไขภาวะขาดทุนสะสมได้แล้ว หรือสามารถจ่ายเงินค่าหุ้นได้เมื่อใด โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะได้รับคืนเงินค่าหุ้นอยู่เมื่อนั้น จึงชอบที่จะให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ได้