คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นำสืบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 271 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1631/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินด้วยใจสมัคร & การนำสืบเอกสารประกอบการจำนอง ศาลรับฟังได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยหลอกลวงให้โจทก์ทำสัญญาจำนองไว้แก่จำเลย จำเลยให้การว่าจำเลยรับโอนสิทธิเรียกร้องมาจาก ช.ซึ่งโจทก์เป็นหนี้เงินกู้ ช. อยู่ จำเลยจึงนำสืบตามคำให้การของตนได้ และเป็นการนำสืบอธิบายที่มาของหนี้ตามสัญญาจำนองมิใช่เป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารที่ต้องห้ามตามกฎหมาย หนังสือสัญญากู้ที่เป็นเพียงพยานหลักฐานที่อ้างถึงความเป็นมาของสัญญาจำนองว่ามีหนี้เดิมกันอยู่จริง และจำเลยมิได้ฟ้องให้โจทก์รับผิดตามสัญญากู้โดยตรง แม้ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ โจทก์จำนองที่ดินพิพาทไว้แก่จำเลย โดยโจทก์ยินยอมให้เปลี่ยนตัวเจ้าหนี้จาก ช. มาเป็นจำเลย การทำสัญญาจำนองจึงไม่ใช่การโอนสิทธิเรียกร้องที่จะต้องมีการทำเป็นหนังสืออีกต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทสัญญาจะซื้อจะขาย: การนำสืบและวินิจฉัยนอกประเด็นหรือไม่
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยผู้อาศัยให้รื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ไว้ว่าโจทก์ตกลงขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 ในราคา 20,000 บาท จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินงวดแรกให้โจทก์ 14,000 บาท ส่วนที่เหลือตกลงจะชำระให้เมื่อโจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้จำเลยที่ 1 ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องคำให้การแล้วกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าโจทก์ตกลงขายที่พิพาทให้แก่จำเลยโดยชำระราคาบางส่วนแล้วจริงหรือไม่ จึงเป็นการกำหนดประเด็นอย่างกว้าง ๆ ตามคำให้การของจำเลย ซึ่งย่อมรวมถึงการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยที่ 1 ที่ชำระราคาบางส่วนและที่เหลือเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ อันเป็นลักษณะของสัญญาจะซื้อจะขายนั่นเองการที่จำเลยทั้งสองนำสืบตามคำให้การและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองอยู่ในที่พิพาทโดยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขาย จึงหาเป็นการนำสืบและวินิจฉัยนอกประเด็นไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทสัญญาจะซื้อจะขาย: การนำสืบและวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้อาศัยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ไว้โดยชัดแจ้งว่าโจทก์ตกลงขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินงวดแรกให้โจทก์แล้ว ส่วนที่เหลือตกลงจะชำระให้เมื่อโจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้จำเลยที่ 1 ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องคำให้การแล้ว กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า โจทก์ตกลงขายที่พิพาทให้แก่จำเลยโดยชำระราคาบางส่วนแล้วจริงหรือไม่ จึงเป็นการกำหนดประเด็นอย่างกว้าง ๆ ตามคำให้การของจำเลย ซึ่งย่อมรวมถึงการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ชำระราคาบางส่วน และที่เหลือเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ อันเป็นลักษณะของสัญญาจะซื้อจะขายนั่นเองการที่จำเลยทั้งสองนำสืบตามคำให้การและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองอยู่ในที่พิพาทโดยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขาย จึงหาเป็นการนำสืบและวินิจฉัยนอกประเด็นไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3957/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาความถูกต้องของหนี้ในคดีล้มละลาย และหน้าที่นำสืบของคู่ความ
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 119 กำหนดให้ศาลเป็นผู้พิจารณาว่าสิทธิเรียกร้องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเรียกร้องนั้นเป็นสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้หรือไม่ เมื่อผู้ร้องปฏิเสธว่ามิได้เป็นหนี้ลูกหนี้ ผู้ร้องมีหน้าที่นำสืบก่อนตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดและผู้ร้องยังติดใจอ้างเอกสารซึ่งยังไม่เข้าสู่สำนวนของศาล ศาลชั้นต้นจึงไม่มีข้อเท็จจริงใดที่จะสั่งว่าเอกสารดังกล่าวไม่จำเป็นแก่คดีและหากได้เอกสารดังกล่าวมาแล้วผู้ร้องไม่มีพยานอื่นอีกต่อไปหน้าที่นำสืบต่อไปย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะพิสูจน์ให้ได้ตามประเด็นที่ตนยกขึ้นคัดค้าน ศาลจึงจะวินิจฉัยว่าจะยกคำร้องของผู้ร้องหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นด่วนงดสืบพยานเพราะผู้ร้องแถลงไม่ติดใจสืบตัวผู้ร้องแต่ยังติดใจสืบพยานเอกสารซึ่งเป็นสาระสำคัญในการปฏิเสธหนี้ของผู้ร้องดังนี้เป็นการไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: การนำสืบต้องตรงประเด็นตามฟ้อง และเบี้ยปรับภาษีแม้เคยชำระภาษีไว้เกิน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้จ่ายเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้าให้แก่บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นผู้ร่วมค้ากับโจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายจำเลยให้การว่า จำเลยมิได้ประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจากเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้าแต่เป็นการประเมินจากเงินเดือน ค่าเบี้ยเลี้ยง และค่าแรงที่โจทก์จ่ายให้แก่พนักงานขับรถและคนงานของโจทก์ ดังนั้นการที่โจทก์นำสืบว่า การจ่ายเงินค่าจ้างแรงงานก่อสร้าง นั้นบางครั้งโจทก์ได้จ่ายเป็นค่าเหมาช่วงให้บุคคลอื่นรับไปบางส่วนจ่ายเป็นค่าจ้างแรงงานรายวัน บางส่วนจ่ายเป็นค่าจ้างคนขับรถ ซึ่งมีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โจทก์ไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็นตามคำฟ้องศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้อง ทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไปอันจะต้องเสียเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษอันเป็นมาตรการที่บังคับไว้เพื่อให้เกิดผลในกรณี ที่ผู้ต้องเสียภาษีไม่ยอมชำระภาษีหรือชำระภาษีไม่ครบถ้วน แม้ผู้ต้องเสียภาษีจะเคยชำระภาษีในครั้งก่อน ๆ ไว้เกิน ก็ไม่เป็นเหตุให้พ้นความรับผิดที่จะไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชำระหนี้ที่ดินโดยใช้เงินกู้จากธนาคาร การนำสืบข้อตกลงนอกสัญญาซื้อขาย
แม้หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินจะระบุไว้ชัดแจ้งว่าจำเลยได้ชำระราคาที่ดินให้โจทก์ 70,000 บาทแล้ว แต่โจทก์ก็สามารถนำพยานบุคคลมาสืบถึงข้อตกลงอีกส่วนหนึ่งระหว่างโจทก์ จำเลย และบุคคลภายนอกต่างหากจากสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวว่าได้มีการตกลงในการชำระราคาที่ดินกันอย่างไรได้ หาใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาซื้อขายที่ดินไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 775/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานบุคคลเพื่อพิสูจน์ข้อตกลงเพิ่มเติมในสัญญาจะซื้อขายที่ดิน แม้ไม่มีหลักฐานเอกสาร
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน ข้อ 2.1 ระบุถึงเรื่องการปรับปรุงที่ดินเพียงว่า "ผู้ซื้อยินดีจะจ่ายส่วนหนึ่งของค่าที่ดินให้แก่ผู้ขายเป็นค่าปรับปรุงที่" ข้อความดังกล่าวบ่งถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นผู้จะซื้อกับจำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายเกี่ยวกับการปรับปรุงที่ดินที่จะซื้อขายกัน แต่ข้อตกลงนั้นจะมีอยู่จริงหรือไม่หรือมีสาระสำคัญอย่างไร จำต้องพิจารณาพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมา ซึ่งการนำสืบถึงข้อตกลงในลักษณะเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง จำเลยจึงมีสิทธินำสืบพยานบุคคลในข้อนี้ได้ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6276/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบขัดแย้งกับคำให้การเดิม ถือเป็นการนำสืบนอกคำให้การ
จำเลยที่ 4 มิได้ให้การปฏิเสธไว้โดยชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท แม้จำเลยที่ 4 ให้การว่าห้าง จำเลยที่ 1 ไม่เคยผูกนิติสัมพันธ์กับโจทก์ เช็คตามฟ้องไม่มีมูลหนี้อันโจทก์จะอ้างกับห้างจำเลยที่ 1 ก็ไม่ชัดแจ้งว่าได้ให้การปฏิเสธเกี่ยวกับลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายย่อมเป็นคำให้การที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง ทำให้ไม่มีประเด็นเรื่องนี้ การที่จำเลยที่ 4นำสืบปฏิเสธว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2จึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5930/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบต้องตรงกับฟ้อง แม้โจทก์จะรับช่วงสิทธิจากผู้เสียหาย แต่การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงในคำฟ้องเป็นเหตุให้รับฟังพยานหลักฐานไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยความเสียหายที่เกิดแก่บริษัท อ. เนื่องจากการทุจริตต่อหน้าที่ของพนักงาน จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานรักษาเงินของบริษัท อ. ระหว่างปี 2525 - 2527 จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของบริษัท อ. ไปจำนวน 424,783.22 บาท โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท อ. แล้วจึงรับช่วงสิทธิมาฟ้องแต่ทางพิจารณาโจทก์กลับนำสืบว่าโจทก์เป็นผู้รับประกันความเสียหายอันเกิดจากการ ทำงานของพนักงานบริษัท อ. และบริษัท ฟ. จำเลยที่ 1ยักยอกเงินของบริษัท ฟ. เป็นการนำสืบต่างกับฟ้อง พยานหลักฐานโจทก์จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของบริษัท อ.ตามฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5564/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการนำสืบข้อเท็จจริงนอกคำให้การ: ห้ามนำสืบข้อเท็จจริงขัดแย้งกับที่อ้างไว้เดิม แม้เป็นข้อกฎหมาย
จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยซึ่งผู้ตายยกให้แต่กลับนำสืบว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานนอกข้อต่อสู้ในคำให้การและนอกประเด็นพิพาทที่ศาลกำหนดไว้ ไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบ ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ไม่ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87.
of 28