คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นิติกรรมอำพราง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3108-3110/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย/ฝาก/กู้ที่มิได้ทำตามฟอร์ม/ผิดนัด/นิติกรรมอำพราง ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิเรียกร้องและหน้าที่ของคู่กรณี
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 กำหนดว่าจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ การที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาซื้อขายฝากกันเองจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์มีสิทธิเรียกเงินที่ชำระไปแล้วคืนได้ พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันครบกำหนดที่โจทก์แจ้งให้จำเลยนำเงินมาคืนเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
สัญญาที่มีข้อความระบุว่าที่ดินที่ซื้อขายกันนี้จำเลยได้จำนองธนาคาร ฯ ไว้และจำเลยจะไถ่ถอนจำนองธนาคารมาโอนให้โจทก์นั้น เป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายเพราะได้กำหนดวันนัดโอนให้ในภายหลัง เมื่อถึงกำหนดนัดจำเลยไม่ยอมโอนให้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยจดทะเบียนโอนตามสัญญาได้ หากจำเลยไม่สามารถโอนให้ได้ ให้จำเลยคืนเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3108-3110/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย/ฝาก/กู้ที่ไม่สมบูรณ์/นิติกรรมอำพราง ศาลฎีกาพิพากษากลับให้จำเลยชำระหนี้/โอนที่ดิน
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา456 กำหนดว่าจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ การที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาซื้อขายฝากกันเองจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์มีสิทธิเรียกเงินที่ชำระไปแล้วคืนได้ พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันครบกำหนดที่โจทก์แจ้งให้จำเลยนำเงินมาคืนเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
สัญญาที่มีข้อความระบุว่าที่ดินที่ซื้อขายกันนี้จำเลยได้จำนองธนาคาร ฯ ไว้และจำเลยจะไถ่ถอนจำนองธนาคารมาโอนให้โจทก์นั้น เป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายเพราะได้กำหนดวันนัดโอนให้ในภายหลัง เมื่อถึงกำหนดนัดจำเลยไม่ยอมโอนให้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยจดทะเบียนโอนตามสัญญาได้ หากจำเลยไม่สามารถโอนให้ได้ ให้จำเลยคืนเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง ตัวแทน และความรับผิดในสัญญา การที่ตัวแทนทำสัญญาในนามหลัก ย่อมทำให้หลักมีหน้าที่ผูกพัน
ห้างจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนไปประมูลและทำการก่อสร้างอาคาร เมื่อจำเลยที่ 3 ว่าจ้างโจทก์ติดตั้งกระจกและบานประตูจนโจทก์ทำให้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ห้างจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 820 และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมด้วยตามมาตรา 1077(2) ประกอบด้วยมาตรา1087
ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกาว่า หนังสือมอบอำนาจหมาย จ.3 เป็นเรื่องที่ห้างจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 3 ยืมชื่อไปใช้ประมูลและทำการก่อสร้างอาคารโดยจำเลยที่ 3 เข้าทำการก่อสร้างเอง จึงเป็นนิติกรรมอำพรางนั้น จำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ได้ล่วงรู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวอันเป็นการไม่สุจริตแต่อย่างใด ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ดังกล่าวจึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตและต้องได้รับความเสียหายไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคแรก
ปรากฏตามคำฟ้องและทางพิจารณาว่า จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และได้กระทำแทนจำเลยที่ 1 ภายในขอบอำนาจแห่งฐานเป็นตัวแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 3 ให้ชำระหนี้ตามฟ้องได้ แต่ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดโดยกำหนดจำนวนหนี้แตกต่างกัน จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 3 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ทั้งไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาคดีให้จำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดโดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง ตัวแทน และความรับผิดชอบในสัญญา การกระทำของตัวแทนผูกพันหลักทรัพย์
ห้างจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนไปประมูลและทำการก่อสร้างอาคาร เมื่อจำเลยที่ 3 ว่าจ้างโจทก์ติดตั้งกระจกและบานประตูจนโจทก์ทำให้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ห้างจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 820 และจำเลยที่ 2ต้องรับผิดร่วมด้วยตามมาตรา 1077(2) ประกอบด้วยมาตรา1087
ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกาว่า หนังสือมอบอำนาจหมายจ.3 เป็นเรื่องที่ห้างจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 3ยืมชื่อไปใช้ประมูลและทำการก่อสร้างอาคารโดยจำเลยที่ 3เข้าทำการก่อสร้างเอง จึงเป็นนิติกรรมอำพรางนั้น จำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ได้ล่วงรู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวอันเป็นการไม่สุจริต แต่อย่างใด ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ดังกล่าวจึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตและต้องได้รับความเสียหายไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา118 วรรคแรก
ปรากฏตามคำฟ้องและทางพิจารณาว่า จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทน ของจำเลยที่ 1 และได้กระทำแทนจำเลยที่ 1 ภายในขอบอำนาจแห่งฐานเป็นตัวแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 3 ให้ชำระหนี้ตามฟ้องได้ แต่ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดโดยกำหนดจำนวนหนี้แตกต่างกัน จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 3 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาทั้งไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาคดีให้จำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดโดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3718/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อไม่เป็นนิติกรรมอำพราง ผู้เช่าซื้อผิดสัญญา เจ้าของทรัพย์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหาย
การให้เช่าซื้อเป็นธุรกิจหนึ่งซึ่งรวมอยู่ในธุรกิจการค้าอื่น ๆ ตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดแม้โจทก์จะไม่มีสินค้าของตนเอง ก็อาจนำเอาสินค้ามาให้ลูกค้าทำการเช่าซื้อได้.โดยทำสัญญาเช่าซื้อกันไว้ล่วงหน้าให้มีผลบังคับกันได้ในเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์แล้วมิใช่ว่าเมื่อไม่มีสินค้าของตนเองแล้วจะประกอบธุรกิจการค้าประเภทนี้ไม่ได้
จำเลยยอมสนองรับข้อเสนอของโจทก์ในอันที่จะผูกพันตนตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งตนรู้ถึงวัตถุประสงค์ของการทำสัญญาดังกล่าวเป็นอย่างดี ทั้งยังได้ยอมรับเงื่อนไขต่าง ๆ รวมทั้งการชำระหนี้อันเป็นผลโดยตรงที่คู่กรณียอมรับนับถือและให้พึงใช้บังคับต่อกันตามข้อสัญญา ดังนี้สัญญาเช่าซื้อดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่ใช้บังคับแก่คู่กรณีได้หาใช่นิติกรรมอำพรางการกู้เงินไม่
ในเรื่องการเช่าซื้อ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อยังคงเป็นของผู้ให้เช่าซื้อเมื่อผู้เช่าซื้อประพฤติผิดสัญญาเจ้าของทรัพย์สินจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ บรรดาเงินที่ได้ใช้มาแล้วเจ้าของทรัพย์สินชอบที่จะริบและกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 และเมื่อได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว ย่อมมีผลทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมของตนที่เป็นอยู่แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งสิทธิในอันที่จะเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 391
สัญญาเช่าซื้อกำหนดผ่อนชำระค่าเช่าซื้อเป็นงวดรายเดือนเริ่มงวดแรกภายในวันที่ 22 ตุลาคม 2521 งวดต่อไปภายในวันที่ 22 ของทุก ๆ เดือน จำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญานับแต่งวดที่ 5 ซึ่งครบกำหนดชำระในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2522 เป็นการผิดนัดไม่ใช้เงินสองคราวติด ๆ กัน ถือว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าซื้อได้ตั้งแต่วันที่มีการผิดนัดเป็นต้นมา เมื่อจำเลยยังคงครอบครองและใช้ประโยชน์ในตัวทรัพย์นั้นมาโดยตลอด ย่อมทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ชอบที่จะเรียกค่าที่จำเลยได้ใช้ทรัพย์ของโจทก์มาตลอดระยะเวลาที่จำเลยครอบครองทรัพย์ ถือตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2522 เป็นต้นมาตามมาตรา 391 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3718/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อไม่เป็นนิติกรรมอำพราง ผู้เช่าซื้อผิดสัญญา เจ้าของทรัพย์มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย
การให้เช่าซื้อเป็นธุรกิจหนึ่งซึ่งรวมอยู่ในธุรกิจการค้าอื่น ๆ ตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดแม้โจทก์จะไม่มีสินค้าของตนเอง ก็อาจนำเอาสินค้ามาให้ลูกค้าทำการเช่าซื้อได้.โดยทำสัญญาเช่าซื้อกันไว้ล่วงหน้าให้มีผลบังคับกันได้ในเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์แล้วมิใช่ว่าเมื่อไม่มีสินค้าของตนเองแล้วจะประกอบธุรกิจการค้าประเภทนี้ไม่ได้
จำเลยยอมสนองรับข้อเสนอของโจทก์ในอันที่จะผูกพันตนตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งตนรู้ถึงวัตถุประสงค์ของการทำสัญญาดังกล่าวเป็นอย่างดี ทั้งยังได้ยอมรับเงื่อนไขต่าง ๆรวมทั้งการชำระหนี้อันเป็นผลโดยตรงที่คู่กรณียอมรับนับถือและให้พึงใช้บังคับต่อกันตามข้อสัญญา ดังนี้สัญญาเช่าซื้อดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่ใช้บังคับแก่คู่กรณีได้หาใช่นิติกรรมอำพรางการกู้เงินไม่
ในเรื่องการเช่าซื้อ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อยังคงเป็นของผู้ให้เช่าซื้อเมื่อผู้เช่าซื้อประพฤติผิดสัญญาเจ้าของทรัพย์สินจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ บรรดาเงินที่ได้ใช้มาแล้วเจ้าของทรัพย์สินชอบที่จะริบและกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574และเมื่อได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว ย่อมมีผลทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมของตนที่เป็นอยู่แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งสิทธิในอันที่จะเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 391
สัญญาเช่าซื้อกำหนดผ่อนชำระค่าเช่าซื้อเป็นงวดรายเดือนเริ่มงวดแรกภายในวันที่ 22 ตุลาคม 2521 งวดต่อไปภายในวันที่ 22 ของทุก ๆ เดือน จำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญานับแต่งวดที่ 5 ซึ่งครบกำหนดชำระในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2522 เป็นการผิดนัดไม่ใช้เงินสองคราวติด ๆ กัน ถือว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าซื้อได้ตั้งแต่วันที่มีการผิดนัดเป็นต้นมา เมื่อจำเลยยังคงครอบครองและใช้ประโยชน์ในตัวทรัพย์นั้นมาโดยตลอด ย่อมทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ชอบที่จะเรียกค่าที่จำเลยได้ใช้ทรัพย์ของโจทก์มาตลอดระยะเวลาที่จำเลยครอบครองทรัพย์ ถือตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2522 เป็นต้นมาตามมาตรา 391 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3649/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางขายฝากที่ดิน - การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลง
บรรยายฟ้องว่า โจทก์จำเลยประสงค์จะขายฝากที่ดินกันเพียง200 ตารางวา ส่วนที่เหลือไม่ได้ขายฝากเพราะจะต้องแบ่งแยกโฉนดแม้โจทก์จดทะเบียนขายฝากที่ดินไว้กับจำเลยทั้งแปลงโจทก์ก็นำสืบว่าขายฝากเพียง 200 ตารางวา ได้เพราะเป็นเรื่องนิติกรรมอำพรางไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขอันต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3582/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบหักล้างข้ออ้างของจำเลย & การเปลี่ยนแปลงหนี้: โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ประเด็นนิติกรรมอำพรางได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยรับหนังสือพิมพ์จากโจทก์ไปจำหน่ายแล้วค้างชำระราคา ขอให้บังคับจำเลยชำระ จำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่เคยรับหนังสือพิมพ์จากโจทก์ แต่ ส. เป็นผู้รับจากโจทก์ไปจำหน่าย และโจทก์กับ ส. ได้ประนีประนอมยอมความกันโดย ส. ได้ทำสัญญากู้เอกสารหมาย จ. 3 ให้โจทก์ไว้และส. จะผ่อนชำระให้แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยจะต้องรับผิดตามฟ้องหรือไม่ ดังนี้ โจทก์มีสิทธินำสืบถึงความเป็นมาของสัญญากู้เอกสารหมาย จ. 3 ว่าการที่โจทก์ยอมให้ ส. ทำสัญญากู้ไว้กับโจทก์เพราะจำเลยขอร้องให้ช่วยทำแทนจำเลย ส. จึงเป็นตัวแทนของจำเลย เพื่อหักล้างข้ออ้างของจำเลยได้ ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น เพราะประเด็นข้อพิพาทมิใช่เกิดจากคำฟ้องฝ่ายเดียว ย่อมเกิดจากคำให้การได้ด้วย ดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 และจำเลยเท่านั้นมีหน้าที่รับหรือปฏิเสธข้ออ้างของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 177 วรรคสอง ฉะนั้น การที่จำเลยให้การต่อสู้คดีมีข้ออ้างบางประการขึ้นมานั้น โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องบรรยายฟ้องเพิ่มเติม แถลงรับ หรือปฏิเสธข้ออ้างเช่นว่านั้นของจำเลยซ้อนขึ้นมาอีก ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยรับหนังสือพิมพ์จากโจทก์ไปจำหน่ายแต่ ส. ได้ยอมผูกพันตนเข้าทำสัญญากู้เอกสารหมาย จ. 3 เป็นหนี้โจทก์และจะผ่อนชำระจึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่หนี้ของจำเลยระงับพิพากษายกฟ้องโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์ว่าสัญญากู้เอกสารหมาย จ.3 เป็นนิติกรรมอำพรางดังที่โจทก์นำสืบและไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ได้ ไม่ใช่เป็นเรื่องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงิน, การเปลี่ยนแปลงวงเงิน, การหักกลบลบหนี้, นิติกรรมอำพราง, สัญญาต่างตอบแทน
จำเลยมีที่ดินได้เสนอโจทก์เพื่อร่วมทำโครงการจัดสรรที่ดินพร้อมบ้านกับจำเลยพร้อมอนุมัติกู้เงินเพื่อลงทุนด้วยโจทก์อนุมัติ ได้ทำสัญญากัน 2 ฉบับ คือสัญญากู้เงินและสัญญาให้ผู้ซื้อกู้เงินโจทก์ไปซื้อที่ดินและบ้านตามโครงการดังนี้ สัญญาฉบับหลังเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาฉบับแรก ข้อความในสัญญาแต่ละฉบับมีผลผูกพันบังคับกันได้ ดังนั้น การตีความเจตนาของคู่สัญญาจึงต้องแปลจากสัญญาทั้ง 2 ฉบับรวมกัน ไม่ใช่ยกเอาเฉพาะข้อความตอนใดตอนหนึ่งหรือสัญญาฉบับใดฉบับหนึ่งหรือข้อใดข้อหนึ่งมาแปล จึงไม่ใช่นิติกรรมอำพราง และไม่ใช่สัญญากู้เงินโดยวิธีออกตั๋วสัญญาใช้เงินอย่างเดียว สัญญาทั้ง 2ฉบับจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนกันเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญากู้ธรรมดาคู่สัญญาแต่ละฝ่ายต่างมีสิทธิและหน้าที่จะต้องปฏิบัติตอบแทนซึ่งกันและกันตามข้อความที่ระบุไว้ในสัญญา
โจทก์ยอมให้จำเลยกู้เงินสูงกว่าจำนวนที่ขอกู้ในการเสนอโครงการครั้งแรกแสดงว่าได้ตกลงเปลี่ยนแปลงวงเงินกันแล้วเท่ากับเป็นการยืนยันตามข้อตกลงนั้น ข้อตกลงนี้จึงผูกพันโจทก์ โจทก์จะปฏิเสธไม่ให้จำเลยและผู้ซื้อที่ดินกับบ้านกู้เงินถึงจำนวนดังกล่าวไม่ได้ เป็นการผิดสัญญา
เมื่อต่างฝ่ายต่างมีวัตถุแห่งหนี้เป็นเงินที่จะต้องชำระซึ่งกันและกัน ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้หักกลบลบหนี้กันได้เพราะเป็นความสะดวกในการบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2056/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้และการมอบเช็คชำระหนี้: ไม่เป็นนิติกรรมอำพราง แม้เช็คไม่สามารถขึ้นเงินได้ ผู้กู้ยังต้องรับผิดตามสัญญา
การนำเช็คไปแลกเงินสดและทำสัญญากู้ไว้โดยมีข้อตกลงว่า ถ้าเช็คขึ้นเงินไม่ได้จะต้องชำระเงินตามสัญญากู้ หรือการกู้เงินโดยทำหนังสือสัญญากู้เป็นหลักฐานและมอบเช็คลงวันที่ล่วงหน้าเพื่อให้ผู้กู้นำไปขึ้นเงิน เมื่อหนี้ถึงกำหนด หามีผลแตกต่างกันไม่
จำเลยทำหนังสือสัญญากู้เงินโจทก์และมอบเช็คซึ่งบุคคลภายนอกเป็นผู้สั่งจ่ายให้โจทก์ยึดถือไว้ จำนวนเงินในเช็คตรงกับจำนวนเงินในสัญญากู้ วันสั่งจ่ายตามเช็คก็ตรงกับวันที่จำเลยต้องชำระเงินตามสัญญากู้ ในสัญญากู้ระบุไว้ด้วยว่าจำเลยได้มอบเช็คที่บุคคลอื่นเป็นผู้สั่งจ่ายจำเลยเป็นผู้สลักหลัง เพื่อให้โจทก์นำไปขึ้นเงินชำระหนี้เงินกู้เมื่อถึงกำหนด ทั้งนี้จำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์จำนวนหนึ่ง โดยโจทก์คิดหักผลประโยชน์หรือดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าดังนี้มิใช่ เป็นเรื่องนิติกรรมอำพราง สัญญากู้หาตกเป็นโมฆะไม่ เมื่อโจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินไม่ได้ จำเลยก็ต้อง ผูกพันชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญากู้
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยตามข้อตกลงในสัญญากู้ที่ว่า ถ้าโจทก์ นำเช็คไปขึ้นเงินไม่ได้จำเลยทั้งสองจะต้องชำระหนี้ตามสัญญากู้นั้น หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
of 21