พบผลลัพธ์ทั้งหมด 131 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยรถยนต์: ต้องมีนิติสัมพันธ์กับผู้ขับขี่
คดีฟังไม่ได้ว่าผู้เอาประกันภัยรถยนต์มีนิติสัมพันธ์กับผู้ขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยอันจะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในการละเมิดของผู้ขับผู้รับประกันภัยค้ำจุนจึงไม่ต้องรับผิดด้วย
การที่โจทก์จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยโดยตรงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคสอง นั้นต้องเป็นกรณีที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบตาม มาตรา 887 วรรคแรกเสียก่อน
การที่โจทก์จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยโดยตรงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคสอง นั้นต้องเป็นกรณีที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบตาม มาตรา 887 วรรคแรกเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3063/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: นิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและลูกจ้าง แม้คำสั่งเลิกจ้างก่อนมี พ.ร.บ.แรงงานฯ
โรงงานกระสอบป่านเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาล กระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปในกิจการของโรงงานกระสอบป่าน มีอำนาจแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการตำแหน่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งคณะหรือรายบุคคล คณะกรรมการอำนวยการมีหน้าที่รับผิดชอบต่อจำเลย จำเลยมีอำนาจออกคำสั่งต่างๆ แม้แต่การเลิกจ้างโจทก์ก็เป็นไปตามความเห็นชอบของจำเลย จึงเห็นได้ว่าการที่จำเลยตั้งคณะกรรมการอำนวยการโรงงานขึ้นก็เพื่อให้คณะกรรมการรับมอบหน้าที่ไปทำในนามของจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล จำเลยจึงมีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับโจทก์
การที่ศาลพิพากษาว่าโจทก์ไม่อาจข้อกล่าวที่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและขอให้ยกเลิกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์มาฟ้องยังศาลแรงงานนั้น เป็นการวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีตามสิทธิในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มิได้รวมไปถึงสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินเดือนและบำเหน็จซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ได้ตามมาตรา 8 (1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยมีนิติสัมพันธ์อยู่กับโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาตามสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ได้
การที่ศาลพิพากษาว่าโจทก์ไม่อาจข้อกล่าวที่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและขอให้ยกเลิกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์มาฟ้องยังศาลแรงงานนั้น เป็นการวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีตามสิทธิในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มิได้รวมไปถึงสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินเดือนและบำเหน็จซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ได้ตามมาตรา 8 (1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยมีนิติสัมพันธ์อยู่กับโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาตามสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3063/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการมีนิติสัมพันธ์โดยตรงระหว่างจำเลยและลูกจ้าง
โรงงานกระสอบป่านเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาล กระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปในกิจการของโรงงานกระสอบป่าน มีอำนาจแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการตำแหน่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งคณะหรือรายบุคคล คณะกรรมการอำนวยการมีหน้าที่รับผิดชอบต่อจำเลย จำเลยมีอำนาจออกคำสั่งต่าง ๆแม้แต่การเลิกจ้างโจทก์ก็เป็นไปตามความเห็นชอบของจำเลย จึงเห็นได้ว่าการที่จำเลยตั้งคณะกรรมการอำนวยการโรงงานขึ้นก็เพื่อให้คณะกรรมการรับมอบหน้าที่ไปทำในนามของจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล จำเลยจึงมีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับโจทก์
การที่ศาลพิพากษาว่าโจทก์ไม่อาจนำข้อกล่าวหาที่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและขอให้ยกเลิกคำสั่งเลิกจ้าง โจทก์มาฟ้องยังศาลแรงงานนั้น เป็นการวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีตามสิทธิในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มิได้รวมไปถึงสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินเดือนและบำเหน็จซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ได้ตามมาตรา 8(1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยมีนิติสัมพันธ์อยู่กับโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาตามสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ได้
การที่ศาลพิพากษาว่าโจทก์ไม่อาจนำข้อกล่าวหาที่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและขอให้ยกเลิกคำสั่งเลิกจ้าง โจทก์มาฟ้องยังศาลแรงงานนั้น เป็นการวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีตามสิทธิในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มิได้รวมไปถึงสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินเดือนและบำเหน็จซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ได้ตามมาตรา 8(1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยมีนิติสัมพันธ์อยู่กับโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาตามสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง: ประเด็นสัญญาและการมีนิติสัมพันธ์ - การยกประเด็นใหม่ในฎีกา
จำเลยฎีกาว่า เอกสารกู้ยืมในช่องผู้ให้กู้มีแต่ลายมือชื่อของ บ. ไม่มีกรรมการของบริษัทโจทก์อีก 1 นายลงลายมือชื่อร่วมด้วยและมิได้ประทับตราของบริษัท บริษัทโจทก์มิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยและมิได้มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยอันจะขอให้ศาลบังคับจำเลยได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปรากฏว่าประเด็นข้อนี้มิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้ตามคำให้การของจำเลยจะได้กล่าวไว้ด้วยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ก็กล่าวสืบเนื่องมาแต่เหตุซึ่งจำเลยอ้างว่าจำเลยถือว่าโจทก์ผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: การฟ้องเรียกค่าเสียหายหลังนิติสัมพันธ์สิ้นสุดนานกว่า 10 ปี ศาลยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินได้ทำนิติกรรมให้โจทก์โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ รู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของรัฐบาลแล้วยังขืนทำการโอนให้โจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ถูกผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ฟ้องขับไล่ ศาลฎีกาพิพากษาขับไล่โจทก์ออกจากที่พิพาท ทำให้โจทก์เสียหาย ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องถึงการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาใช้บังคับ เมื่อคดีฟังข้อเท็จจริงได้ว่า นับแต่วันที่โจทก์ทำนิติกรรมซื้อที่ดินพิพาทจนถึงวันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลเป็นเวลาห่างกันถึง 21 ปี และโจทก์เพิ่งยื่นฟ้องคดีนี้ภายหลังจากที่โจทก์ได้ฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนแล้วถึง 2 ปีเศษ คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2300/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินจากการซื้อขาย-ครอบครอง แม้ไม่มีนิติสัมพันธ์โดยตรง ศาลสั่งเพิกถอน น.ส.3 และห้ามเกี่ยวข้อง
น.ส.3 ของจำเลยทับที่ดินของโจทก์ ศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งแยกโอนที่ดินให้โจทก์ โดยจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์นั้น ไม่ถูกศาลพิพากษาเพียงว่าที่ดินเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 639/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการชำระราคาสินค้าจากการส่งมอบเป็นงวดและการมีตัวแทน
จำเลยซื้อหินและทรายจากโจทก์ ตกลงกันว่า หินและทรายที่โจทก์ส่งให้นั้นถึงสิ้นเดือนจึงจะคิดบัญชีกันครั้งหนึ่งและจำเลยจะต้องชำระราคาภายใน 7 วันนับแต่วันคิดบัญชี ดังนี้ สิทธิเรียกร้องให้ชำระราคาของโจทก์ย่อมจะเกิดขึ้นในวันสิ้นเดือนของแต่ละเดือนและสิทธิเรียกร้องดังกล่าวนั้น โจทก์จะต้องฟ้องเรียกร้องเสียภายในกำหนดสองปี มิฉะนั้นเป็นอันขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2298/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับสัญญาเช่าช่วงเมื่อผู้เช่าเดิมเสียชีวิต และสิทธิของผู้เช่าใหม่ที่ไม่ปรากฏนิติสัมพันธ์
แม้จำเลยจะได้เช่าช่วงนาพิพาทจากนายผลบิดาโจทก์ โดยวัดเครือวัลย์วรวิหารเจ้าของนายินยอมก็ตาม แต่เมื่อนายผลบิดาโจทก์ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.2516 การเช่าระหว่างวัดเครือวัลย์วรวิหารกับนายผลได้ระงับลง มีผลให้การเช่าช่วงนาพิพาทของจำเลยระงับไปด้วย ขณะนายผลถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.2516 นั้น พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 ยังมิได้ประกาศใช้บังคับ จึงไม่อาจนำผลบังคับตามกฎหมายใหม่ไปใช้ได้ ครั้นโจทก์ได้เป็นผู้เช่าประจำปี พ.ศ.2517, 2518 เป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เช่านาพิพาทกับโจทก์ โจทก์จำเลย (ย่อม)ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน จำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2188/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเกิดจากนิติสัมพันธ์โดยตรงระหว่างโจทก์กับจำเลย หากไม่มีโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์เช่าบ้านจาก จ.และใช้น้ำประปาของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เรียกเงินค่าน้ำที่เก็บเพิ่มขึ้น และค่าเช่ามาตรวัดน้ำคืนโดย จ.ซึ่งเป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 1 ไม่ได้เข้ามาในคดีในฐานะโจทก์ร่วมหรือมอบหมายให้โจทก์ฟ้องคดีแทนนั้น โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะโจทก์มิใช่เป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 1 แม้โจทก์ได้รับความเสียหายในการที่จะต้องชำระค่าน้ำเพิ่มและค่ามาตรวัดน้ำ แต่ก็เป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ จ. ซึ่งจำเลยที่ 1 ไม่จำต้องรับรู้ด้วย โจทก์หาได้มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2472-2474/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาซื้อขายต้องทำสัญญาใหม่เพื่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญา
หนี้ที่เกิดจากสัญญาซื้อขายซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนนั้น ฐานะของคู่สัญญามิได้เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ฝ่ายเดียว แต่ละฝ่ายต่างมี 2 ฐานะคือเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ด้วยการโอนสิทธิ์เรียกร้องให้บุคคลอื่นต่อไปนั้น จะใช้วิธีการแบบโอนสิทธิ์เรียกร้องธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 หาได้ไม่ เมื่อจำเลยได้ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่มารดาโจทก์แต่ละสำนวน และมารดาโจทก์แต่ละสำนวนได้โอนสิทธิ์ให้โจทก์ กรณีเป็นเรื่องแปลงหนี้โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ลูกหนี้ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 คือจะต้องทำสัญญาต่อกัน ซึ่งบางกรณีต้องทำเป็นหนังสือด้วยและต้องไม่ขืนใจลูกหนี้ซึ่งหมายความว่าทั้งลูกหนี้ซึ่งหมายความว่าทั้งลูกหนี้เจ้าหนี้ต้องยินยอมต่อกันนั่นเอง หาใช่เพียงแต่แจ้งการโอนให้ลูกหนี้ทราบก็เกิดสัญญาแปลงหนี้ใหม่ได้ไม่ เมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์จำเลยได้มีการทำสัญญากันใหม่ หนี้ใหม่ก็ไม่เกิดขึ้น โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยแต่อย่างใด และไม่เกิดอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้โจทก์ได้