พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2531/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้น: สิทธิของผู้โอนหุ้นเมื่อบริษัทละเลยการจดแจ้งการโอน และความรับผิดต่อเจ้าหนี้
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่ยังไม่ได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นที่จะนำมาใช้ยันแก่บริษัทไม่ได้ตามป.พ.พ.มาตรา1129วรรคสามหมายถึงกรณีที่ผู้โอนและผู้รับโอนโอนหุ้นกันเองโดยบริษัทมิได้ร่วมรู้เห็นอยู่ด้วยเมื่อขณะที่มีการโอนขายหุ้นกัน ส. ผู้รับโอนเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยแม้จะรับโอนหุ้นไว้ในฐานะส่วนตัวต้องถือว่าบริษัทจำเลยร่วมรู้เห็นและยินยอมให้มีการโอนหุ้นแล้วบริษัทจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการจดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นโดยไม่จำต้องให้ผู้โอนหรือผู้รับโอนคนหนึ่งคนใดแจ้งให้ดำเนินการอีกมิฉะนั้นย่อมเป็นความผิดของบริษัทจำเลยเองการที่กลับมายกเหตุที่ไม่มีการจดแจ้งการโอนขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อให้ผู้โอนต้องรับผิดย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตามมาตรา5 ความรับผิดของผู้โอนหุ้นสำหรับจำนวนเงินที่ยังส่งใช้ไม่ครบตามมูลค่าของหุ้นที่โอนตามมาตรา1133หมายถึงความรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัทที่ผู้โอนเคยถือหุ้นอยู่หาได้หมายถึงว่าผู้โอนยังจะต้องรับผิดต่อบริษัทในเงินค่าหุ้นซึ่งตนยังส่งใช้ไม่ครบแม้จะได้โอนหุ้นดังกล่าวไปแล้วแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2531/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้น: สิทธิและความรับผิดของผู้โอนเมื่อบริษัทร่วมรู้เห็นและไม่จดแจ้งการโอน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1129วรรคสามที่บัญญัติถึงการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่ยังไม่ได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นว่าจะนำมาใช้ยันแก่บริษัทไม่ได้นั้นหมายถึงกรณีที่ผู้โอนและผู้รับโอนโอนหุ้นกันเองโดยบริษัทมิได้ร่วมรู้เห็นอยู่ด้วย ขณะที่มีการโอนขายหุ้นกันส. ผู้รับโอนเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยแม้ส. จะรับโอนหุ้นไว้ในฐานะส่วนตัวแต่ในฐานะที่ส. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยอยู่ด้วยจึงต้องถือว่าบริษัทจำเลยร่วมรู้เห็นและยินยอมให้มีการโอนหุ้นแล้วบริษัทจำเลยมีหน้าที่ต้องดำเนินการจดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นโดยไม่จำต้องให้ผู้โอนหรือผู้รับโอนคนหนึ่งคนใดแจ้งให้ดำเนินการอีกการที่บริษัทจำเลยไม่ดำเนินการจดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงเป็นความผิดของบริษัทจำเลยเองและการที่บริษัทจำเลยยกเหตุที่ไม่มีการจดแจ้งการโอนขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อให้ผู้โอนต้องรับผิดย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา5บริษัทจำเลยหรือผู้คัดค้านจะเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นที่ยังค้างชำระโดยอ้างว่าการโอนหุ้นไม่สมบูรณ์ตามมาตรา1129วรรคสามไม่ได้ส่วนมาตรา1133เกี่ยวกับความรับผิดของผู้โอนหุ้นสำหรับจำนวนเงินที่ยังส่งใช้ไม่ครบตามมูลค่าของหุ้นที่โอนหมายถึงความรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัทที่ผู้โอนเคยถือหุ้นอยู่ไม่ได้หมายถึงว่าผู้โอนจะต้องรับผิดต่อบริษัทในเงินค่าหุ้นซึ่งตนยังส่งใช้ไม่ครบแม้จะได้โอนหุ้นไปแล้วผู้คัดค้านจึงเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินแก่ผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา119ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2450/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกค่าหุ้นยังไม่ขาดอายุความ กรรมการมีอำนาจเรียกเก็บได้ตลอดอายุบริษัท
การจะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกในแต่ละคราวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1120,1121นั้นเป็นดุลพินิจของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรงอยู่หาต้องเรียกภายใน10ปีนับแต่วันจดทะเบียนบริษัทไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2450/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกค่าหุ้นคงเหลือของบริษัท, อายุความ, และอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกในแต่ละคราวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1120,1121เป็นดุลพินิจของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรงอยู่ไม่ต้องเรียกภายใน10ปีนับแต่วันจดทะเบียนบริษัท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2240/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกบริษัทเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดีเช่า กรณีมีสิทธิไล่เบี้ยตามสัญญาเช่า
คำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลหมายเรียกบริษัท บ.เข้ามาเป็นจำเลยร่วมนั้นอ้างเหตุว่าจำเลยได้ทำสัญญาเช่าโรงแรมพิพาทจากบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นผู้จะซื้อโรงแรมพิพาทจากโจทก์ โดยโจทก์มอบอำนาจให้บริษัท บ.เป็นตัวแทนในการที่จะให้บุคคลภายนอกเช่าโรงแรมพิพาทได้ จำเลยได้ชำระค่าเช่าล่วงหน้าและค่าเช่าประจำเดือนให้แก่บริษัทดังกล่าวไปแล้ว หากจำเลยแพ้คดีโจทก์ จำเลยย่อมมีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยจากบริษัท บ.ในฐานะที่เป็นผู้ผิดสัญญาเช่าที่ทำไว้กับจำเลยได้ตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าต่อไปโดยอาศัยสัญญาเช่าฉบับใหม่ที่ทำขึ้นระหว่างบริษัท บ.กับจำเลย มิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ กรณีมีเหตุสมควรที่จะเรียกบริษัท บ.เข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ.ความแพ่ง มาตรา 57 (3) (ก)
จำเลยฎีกาขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท ตามตาราง 1(2) (ข) แห่ง ป.วิ.พ. จึงให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่จำเลย
จำเลยฎีกาขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท ตามตาราง 1(2) (ข) แห่ง ป.วิ.พ. จึงให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทตามสัญญาต่างตอบแทนและการบอกเลิกสัญญา
ในสัญญาต่างตอบแทนเมื่อจำเลยที่1ไม่ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตอบแทนแก่โจทก์ตามสัญญาจำเลยที่1ย่อมตกเป็นผู้ผิดสัญญาโจทก์บอกเลิกสัญญาได้โดยไม่จำต้องชำระเงินค่างวดแก่จำเลย ขณะจำเลยที่2เข้าทำสัญญากับโจทก์ยังอยู่ในระยะเวลาดำเนินการก่อตั้งและขอจดทะเบียนจำเลยที่1อยู่จำเลยที่2ในฐานะผู้เริ่มก่อการบริษัทจึงต้องรับผิดตามสัญญาที่ตนได้ทำขึ้นจนกว่าที่ประชุมตั้งบริษัทได้อนุมัติและได้จดทะเบียนบริษัทแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1113เมื่อไม่ได้ความว่ามีการอนุมัติสัญญาดังกล่าวในการประชุมตั้งบริษัทแม้จะจดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยที่1และจำเลยที่1เข้าถือสิทธิตามสัญญาแล้วก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่2หลุดพ้นจากความรับผิด ความรับผิดของจำเลยที่2เป็นผลเกิดจากเหตุตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391บัญญัติไว้เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่1แล้วย่อมก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งจำเลยที่2ที่จำต้องให้โจทก์ได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมความรับผิดนี้เกิดขึ้นทันทีโดยมิพักต้องอาศัยการบอกกล่าวอีกแต่ประการใด ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องสืบเนื่องจากการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาซึ่งจำเลยที่2จำต้องให้โจทก์ได้กลับคืนฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมด้วยการใช้เงินคืนแก่โจทก์โดยให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วยคิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391เป็นการทดแทนความเสียหายเพื่อให้ได้กลับคืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิมหาใช่หนี้ดอกเบี้ยค้างส่งตามมาตรา166(เดิม)ไม่โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1910/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีล้มละลายของผู้ถือหุ้น: ต้องเป็นการฟ้องแทนหรือเพื่อประโยชน์ของบริษัทเท่านั้น
เมื่อบริษัทจดทะเบียนแล้วถือว่าเป็น บุคคลมีสิทธิหน้าที่ต่างหากจาก ผู้ถือหุ้น กรรมการผู้ใดทำให้บริษัทเสียหายบริษัทย่อมเป็นผู้ฟ้องเรียกให้กรรมการผู้นั้นชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัทส่วนผู้ถือหุ้นจะฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1169ต้องเป็นการฟ้องแทนหรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัทเฉพาะกรณีที่บริษัทไม่ยอมฟ้องและเป็นการฟ้องเรียกร้องเอาสินไหมทดแทนเท่านั้นโจทก์ซึ่งเป็นเพียง ผู้ถือหุ้นของบริษัทจึงมิได้อยู่ในฐานะ เจ้าหนี้ของจำเลยที่จะฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1910/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องล้มละลายของผู้ถือหุ้น: ต้องเป็นการฟ้องแทนหรือเพื่อประโยชน์ของบริษัทเท่านั้น
ปกติเมื่อกรรมการผู้ใดทำให้บริษัทเสียหายบริษัทย่อมเป็นผู้ฟ้องเรียกให้กรรมการผู้นั้นชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัทส่วนผู้ถือหุ้นจะเป็นผู้ฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1169วรรคแรกต้องเป็นการฟ้องแทนหรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัทเฉพาะกรณีที่บริษัทไม่ยอมฟ้องและเป็นการฟ้องเพื่อเรียกร้องเอาสินไหมทดแทนเท่านั้น การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่งของบริษัท ก. นำหนี้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำเลยในฐานะกรรมการบริษัท ก. ที่ยักยอกเงินของบริษัท ก. และต้องรับผิดต่อบริษัท ก. มาฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายหาใช่เป็นกรณีการฟ้องเพื่อเรียกร้องเอาสินไหมทดแทนจากจำเลยแทนหรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัท ก. ไม่โจทก์ซึ่งเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของบริษัท ก. จึงมิได้อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่จะฟ้องจำเลยให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา9ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2738/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการจดทะเบียนบริษัทกับหน้าที่ทางภาษี: กรรมการจดทะเบียนนอกวัตถุประสงค์ไม่ผูกพันบริษัท
เมื่อโจทก์จดทะเบียนและเป็นผู้ทำการค้าขาออกซึ่งสินค้ามาตร-ฐานข้าวโพดแล้ว โจทก์จะมาอ้างว่ากรรมการของโจทก์ไปจดทะเบียนนอกเหนือวัตถุประสงค์ ไม่มีผลผูกพันโจทก์ไม่ได้ โจทก์ต้องมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในเงินที่จ่ายซื้อข้าวโพดให้ผู้ขายเพื่อนำส่งจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1430/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งเท็จเพื่อจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัท และการทำเอกสารเท็จเพื่อหลอกลวงนายทะเบียน
บัญชีผู้ถือหุ้น สำเนารายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นและคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมกรรมการเป็นสำเนาเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่รับรองความถูกต้องถือเป็นเอกสารมหาชน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันจะต้องนำสืบความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารนั้น การที่จำเลยสั่งให้ อ. ทำรายงานว่า มีการประชุมวิสามัญครั้งที่ 1/2534 ซึ่งไม่มีการประชุมขึ้นจริงจึงเป็นการทำเอกสารเท็จการที่จำเลยร่วมกับ อ.ให้อ. ยื่นขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมกรรมการของบริษัท ก. ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดสมุทรปราการ โดยยื่นรายงานอันเป็นเอกสารเท็จดังกล่าวประกอบไปด้วย จนเป็นเหตุให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนให้ เป็นการแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์และประชาชน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267