คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บังคับตามสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายนาและการบังคับตามสัญญา เมื่อจำเลยบิดพลิ้วไม่ยอมโอนขาย
จำเลยกู้เงินมารดาโจทก์และน้องชายโจทก์ จำเลยตกลงยกนาให้มารดาโจทก์และน้องชายโจทก์ชำระหนี้แทนเงินมารดาโจทก์และน้องชายโจทก์ยอมรับ แต่ให้จำเลยโอนนานั้นให้แก่โจทก์ จำเลยตกลงโจทก์จำเลยจึงได้ไปทำคำขอทำสัญญาซื้อขายนานั้นที่อำเภอดังนี้ ถือได้ว่า โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายนานั้นแล้ว โดยหักเงินที่จำเลยเป็นหนี้มารดาโจทก์และน้องชายโจทก์เป็นราคานานั้นเมื่อจำเลยไม่ยอมโอนขาย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายต่างตอบแทน: ฝ่ายผิดสัญญาไม่อาจบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาได้
สัญญาจะซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ผิดสัญญาโจทก์จะฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าโดยความยินยอมก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และสิทธิของคู่สัญญาในการบังคับตามสัญญา
สามีภริยาที่สมรสกันก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เมื่อได้ตกลงหย่ากันโดยทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่อ 2 คน ย่อมเป็นการหย่าที่สมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน ได้ทำสัญญาหย่าและแบ่งทรัพย์สินกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ในสัญญานั้นได้ตกลงยกที่นาและบ้านให้แก่บุตรซึ่งยังเป็นผู้เยาว์อยู่ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นให้แก่บุตร โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเรียกเอาทรัพย์สินที่ตกลงกันยกให้บุตรนั้นมาเป็นของตนเอง ถือได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากับโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องในนามของจำเลย ให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านให้แก่บุตรตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลระงับสิทธิเดิม สัญญาใหม่ต้องบังคับตามเงื่อนไขของสัญญาใหม่เท่านั้น
โจทก์ฟ้องเรียกเงินอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง จำเลยฟ้องแย้งว่าโจทก์ผิดสัญญาและทิ้งงาน จำเลยต้องจ้างคนอื่นแทน ให้โจทก์ใช้เงินที่ต้องจ้างเกินไป ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยสละสิทธิที่อ้างมาในฟ้องและในฟ้องแย้งทั้งสิ้น ให้โจทก์จำเลยมีสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมาซึ่งทำกันใหม่พร้อมสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาตามยอมมิได้ให้คู่ความฝ่ายใดแพ้คดีหรือชนะคดี ซึ่งจะต้องมีการบังคับคดีเกิดขึ้น สัญญาจ้างเหมารายใหม่จึงมิใช่อยู่ใน+บังคับคดีที่ศาลพิพากษา คู่ความฝ่ายใดจะอ้างว่าตนเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพราะเหตุผิดสัญญารายใหม่ให้มีการบังคับคดีให้คดีนี้โดยไม่มีการฟ้องร้องเสนอคดีต่อศาลเป็นคดีใหม่หาได้ไม่
และในกรณีดังกล่าวข้างต้นนี้ คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะร้องขอให้ศาลสั่งหรือพิพากษาล่วงหน้าว่าอีกฝ่ายหนึ่งหมดสิทธิเรียกร้องดังที่ระบุไว้ในสัญญารายใหม่เมื่อมีกรณีผิดสัญญาเกิดขึ้นนั้นโดยฝ่ายนั้นยังไม่ทันใช้สิทธิเรียกร้องเลย ก็อาจทำได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่างตอบแทนที่มีกำหนดระยะเวลา และการบังคับตามสัญญาแม้มีข้อโต้แย้ง
ที่ดินเป็นของ ผ. โจทก์ปลูกตึกรายพิพาทลงในที่ดินนี้ให้สามีจำเลยเช่า ได้ทำสัญญาเช่าตึกระหว่างโจทก์ผู้ให้เช่ากับสามีจำเลยผู้เช่า มีข้อสัญญาว่าให้เช่ามีกำหนดเวลา 3 ปี ค่าเช่าเดือนละ 100 บาท เมื่อครบ 3 ปีแล้ว ถ้าผู้เช่าหรือทายาทจะเช่าต่อไป ผู้ให้เช่าจะต้องต่ออายุสัญญาคราวละ 3 ปีจนกว่าอายุสัญญาจะร่วมกันเป็น 14 ปี ผู้ให้เช่าและเจ้าของที่ดินสัญญาว่าจะไปจดทะเบียนการเช่าภายในเวลาอันสมควร ผ.ผู้เป็นเจ้าของที่ดินและตึกก็บันทึกข้อความยอมตกลงตามข้อสัญญานี้ด้วย ในการทำสัญญานี้ สามีจำเลยและจำเลยได้ชำระเงินให้โจทก์ 56,000 บาท เป็นค่าช่วยการก่อสร้างด้วย ดังนี้ เป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อเช่ากันได้ราว 1 ปีแล้ว สามีจำเลยตาย แต่ได้มีการบันทึกของโจทก์จำเลยไว้หลังสัญญาเช่าให้จำเลยเช่าต่อไป จำเลยผู้เช่าย่อมมีอำนาจฟ้องโจทก์ให้ไปจดทะเบียนการเช่าตามสัญญานั้นได้ และแม้โจทก์จะไม่ใช่เจ้าของที่ดินกับตึก และ ผ.เจ้าของที่ดินก็เป็นคู่สัญญาร่วมด้วย จำเลยก็ไม่จำเป็นต้องฟ้อง ผ.หรือเรียกเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม (ในคดีที่จำเลยฟ้องแย้ง) การฟ้องขอให้บังคับโจทก์เช่นนี้ แม้จำเลยปล่อยให้ล่วงเลยมาถึง 6 ปี (นับแต่วันทำสัญญาเช่า)
ก็ไม่ขาดอายุความ แม้จำเลยจะได้เช่าห้องพิพาทมาแล้ว 6 ปี โดยไม่ได้ต่ออายุสัญญาเช่า สัญญาเช่าก็ไม่หมดอายุ เพราะต้องถือตามสัญญาต่างตอบแทน และเมื่อจำเลยมีสิทธิเช่าตามสัญญาต่างตอบแทนแล้ว ก็ไม่ต้องวินิจฉัยข้อที่ว่าจำเลยไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า ฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการบังคับตามสัญญาประนีประนอมหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุด การเปลี่ยนแปลงแก้ไขต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
ทำสัญญาประนีประนอมแบ่งที่ดินมรดกแปลงหนึ่งออกเป็น 4 ส่วน ตามที่ตกลงปักหลักเขตแบ่งกันไว้ (ซึ่งได้จำนวนเนื้อที่ไม่เท่ากัน) แล้ว ต่อมาจำเลยไม่ยินยอมตามที่ตกลงกัน โจทก์จึงฟ้องจำเลยขอให้แบ่งตามสัญญา ศาลพิพากษาให้แบ่งเป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน คดีถึงที่สุดดังนี้ต่อมาศาลจะสั่งเปลี่ยนแก้ให้แบ่งตามที่ตกลงปักหลักกันตามสัญญาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 143 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความชอบธรรม ศาลบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ แม้การรังวัดไม่สมบูรณ์
โจทก์จำเลยทำสัญญาให้กรรมการวัดสอบเขตที่ดินตามเนื้อที่ในโฉนดของโจทก์หากปรากฎว่าจำเลยปลูกรั้วล้ำเข้าไปในเขตของโจทก์ จำเลยยอมรื้อรั้ว เมื่อเริ่มรังวัดเพียงด้านหนึ่งปรากฎว่ารั้วของจำเลยล้ำเข้าไปในเขตที่ของโจทก์ 1.20 เมตร จำเลยจึงไม่ยอมให้วัดต่อไป สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวนี้ย่อมเป็นสัญญาที่ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยไม่ยินยอมให้กรรมการวัดตามสัญญาที่ตกลงกัน นั้น จำเลยก็เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมจะมาฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยมิให้ขัดขวางในการที่กรรมการจะทำการตามสัญญานั้นได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 37/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าจ้างรังวัดที่ดินและการบังคับตามสัญญาเมื่อคู่สัญญาไม่ปฏิบัติตาม
โจทก์จำเลยทำสัญญาให้กรรมการวัดสอบเขตที่ดินตามเนื้อที่ในโฉนดของโจทก์ หากปรากฏว่าจำเลยปลูกรั้วล้ำเข้าไปในเขตของโจทก์จำเลยยอมรื้อรั้ว เมื่อเริ่มรังวัดเพียงด้านหนึ่ง ปรากฏว่ารั้วของจำเลยล้ำเข้าไปในเขตที่ของโจทก์ 1.20 เมตร จำเลยจึงไม่ยอมให้วัดต่อไป สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวนี้ย่อมเป็นสัญญาที่ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยไม่ยินยอมให้กรรมการวัดตามสัญญาที่ตกลงกัน จำเลยก็เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมจะมาฟ้องขอให้บังคับจำเลยมิให้ขัดขวางในการที่กรรมการจะทำการตามสัญญานั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญายอมความและการบังคับตามสัญญา: กรณีใหม่ไม่ผูกพันสัญญาเดิม
โจทก์จำเลยทำยอมความกันว่าให้ถือตรอกทางเดินที่พิพาทกันเป็นทางสาธารณ และจำเลยยอมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไป ศาลพิพากษาตามยอมและจำเลยปฏิบัติตามยอมแล้ว ต่อมาโจทก์กลับปลูกสร้างขึ้นบนทางเดินนั้น ดังนี้จำเลยจะมาร้องขอในคดีเดิมในบังคับโจทก์รื้อไม่ได้ เพราะเป็นกรณีที่เกิดขึ้นใหม่ ไม่ใช่กรณีตามยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม - สัญญาซื้อขาย - การบังคับตามสัญญา - ภารจำยอมทางนิติกรรม - การจดทะเบียน
คดีแพ่ง ปัญหาว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย หากแต่เป็นเรื่องระหว่างโจทก์จำเลยโดยเฉพาะไม่กระทบกระเทือนถึงประชาชนหรือบุคคลภายนอกแต่ประการใด ถ้าจำเลยเห็นว่า ฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม จำเลยก็ชอบที่จะระวังผลประโยชน์ของตนเอง โดยต่อสู้ไว้เสียตั้งแต่ศาลชั้นต้น คดีแพ่งหาเหมือนกับคดีอาญาไม่ เมื่อจำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้เป็นความบกพร่องของตนเอง ไม่เกี่ยวกับผู้อื่น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยข้อนี้
จำเลยทำสัญญาขายส่วนหนึ่งของที่ดินมีโฉนดของคนให้โจทก์ โดยจำเลยยอมตกลงทำถนนในที่ดินของจำเลยแปลงที่ติดต่อกัน เพื่อโจทก์จะได้ใช้เป็นทางออกสู่ถนนหลวงได้ เมื่อโจทก์ผู้ซื้อได้ปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วนแล้ว หากจำเลยไม่ยอมทำถนนดังกล่าว โจทก์ในฐานะคู่สัญญาย่อมฟ้องขอให้บังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ กรณีเช่นนี้ จำเลยจะเถียงว่า นิติกรรมรายนี้ยังไม่มีการจดทะเบียน ยังไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 หาได้ไม่ เพราะชั้นนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องและอ้างว่ามีสิทธิทางเดินอยู่แล้ว
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2503 เฉพาะปัญหาข้อแรก)
of 11