พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3349/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การค้ำประกัน, วงเงินจำกัดความรับผิด, สัญญาบัญชีเดินสะพัด, การคิดดอกเบี้ย
ปัญหาว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินคดีแทนโจทก์หรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะหากปรากฏว่าโจทก์มิได้มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินคดีแทนโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องและศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง แม้จำเลยที่ 3 มิได้ให้การปฏิเสธไว้ ก็มีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคสอง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบในเรื่องการมอบอำนาจไว้เพราะมีจำเลยอื่นขาดนัดพิจารณา แต่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานดังกล่าวได้ว่า ได้มีการมอบอำนาจกันจริง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์มีกำหนดเวลา 6 เดือนโดยมีข้อความในสัญญาค้ำประกันเท้าความถึงสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีว่ามีจำนวนเงิน 50,000 บาท และจำเลยที่ 3 สมัครใจยอมค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตลอดจนดอกเบี้ย ดังนี้ เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำกัดวงเงินเบิกเกินบัญชีไว้ไม่เกิน 50,000 บาท ความรับผิดของจำเลยที่ 3 จึงจำกัดเฉพาะจำนวนเงินไม่เกิน 50,000 บาทกับดอกเบี้ยเท่านั้น
เมื่อปรากฏว่าหนึ่งวันก่อนครบ 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญา จำเลยที่ 1เป็นหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย 95,000 บาทเศษ ไม่อาจแยกได้ว่าในจำนวนนี้เป็นเงินเบิกเกินบัญชีเท่าใดและเป็นดอกเบี้ยเท่าใด ทั้งไม่ได้ความชัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีรวมกับดอกเบี้ยของเงินจำนวนนั้นถึง 50,000 บาท เมื่อใดในระหว่างระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญา จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในยอดหนี้ในวันดังกล่าวเพียง 50,000 บาทเท่านั้น
เมื่อมีการปฏิบัติต่อกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามบัญชีเดินสะพัดการชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือเมื่อครบกำหนด 6 เดือนตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 มิได้ ชำระหนี้ให้หมดสิ้น และโจทก์มิได้หักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังเจตนาให้มีบัญชีเดินสะพัดอยู่ต่อไปต่อมาโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 29 มีนาคม 2522 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดและได้มีการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดในวันที่ 29 มีนาคม 2522 โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันดังกล่าวต่อแต่นั้นไปคงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดา
จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์มีกำหนดเวลา 6 เดือนโดยมีข้อความในสัญญาค้ำประกันเท้าความถึงสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีว่ามีจำนวนเงิน 50,000 บาท และจำเลยที่ 3 สมัครใจยอมค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตลอดจนดอกเบี้ย ดังนี้ เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำกัดวงเงินเบิกเกินบัญชีไว้ไม่เกิน 50,000 บาท ความรับผิดของจำเลยที่ 3 จึงจำกัดเฉพาะจำนวนเงินไม่เกิน 50,000 บาทกับดอกเบี้ยเท่านั้น
เมื่อปรากฏว่าหนึ่งวันก่อนครบ 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญา จำเลยที่ 1เป็นหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย 95,000 บาทเศษ ไม่อาจแยกได้ว่าในจำนวนนี้เป็นเงินเบิกเกินบัญชีเท่าใดและเป็นดอกเบี้ยเท่าใด ทั้งไม่ได้ความชัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีรวมกับดอกเบี้ยของเงินจำนวนนั้นถึง 50,000 บาท เมื่อใดในระหว่างระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญา จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในยอดหนี้ในวันดังกล่าวเพียง 50,000 บาทเท่านั้น
เมื่อมีการปฏิบัติต่อกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามบัญชีเดินสะพัดการชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือเมื่อครบกำหนด 6 เดือนตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 มิได้ ชำระหนี้ให้หมดสิ้น และโจทก์มิได้หักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังเจตนาให้มีบัญชีเดินสะพัดอยู่ต่อไปต่อมาโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 29 มีนาคม 2522 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดและได้มีการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดในวันที่ 29 มีนาคม 2522 โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันดังกล่าวต่อแต่นั้นไปคงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1129/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด, การเลิกสัญญา, และข้อตกลงตามประเพณีการค้า
เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์จำเลยมิได้กำหนดระยะเวลากันไว้ ต้องถือว่าได้มีการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ภายในระยะเวลาที่โจทก์แจ้งไปยังจำเลยให้จัดการชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชี ซึ่งในระหว่างนั้นจำเลยก็มิได้สั่งจ่ายเงินอีก
ตามประเพณีการค้าธนาคารโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ ข้อตกลงไม่เป็นโมฆะ ปัญหาว่าข้อนี้เป็นโมฆะหรือไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ตามประเพณีการค้าธนาคารโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ ข้อตกลงไม่เป็นโมฆะ ปัญหาว่าข้อนี้เป็นโมฆะหรือไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 80/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันบัญชีเดินสะพัด: ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในหนี้เต็มจำนวนหากสัญญาระบุไม่จำกัดความรับผิด
จำเลยที่ 1 ทำหนังสือสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงินไม่เกิน 20,000 บาท ตามที่โจทก์จะพิจารณาอนุญาต ตามวิธีและประเพณีการเบิกเงินเกินบัญชีของธนาคาร และจำเลยที่ 3 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่ใช่สัญญากู้เพราะจำนวนที่กู้ไม่แน่นอนสุดแท้แต่โจทก์ผู้ให้กู้จะอนุญาต และเมื่อสัญญาค้ำประกันไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าจำเลยที่ 3 รับผิดจำกัดเพียง 20,000 บาท จำเลยที่ 3 ก็ต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 เต็มจำนวนเมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเลิกกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีบัญชีเดินสะพัด/ลาภมิควรได้ จำนวนทุนทรัพย์ไม่เกิน 5 หมื่น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาในข้อเท็จจริง
คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยรับเงินจากโจทก์โดยไม่มีมูลจะกล่าวอ้างได้ตามกฎหมาย และถือไม่ได้ว่าจำเลยได้รับเงินไว้โดยสุจริต จำเลยจึงต้องคืนเงินให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยนับแต่วันนำเงินเข้าบัญชีจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นเรื่องบัญชีเดินสะพัดมิใช่เรื่องลาภมิควรได้ โจทก์ชอบที่จะเพิกถอนรายการที่ช้าออกจากบัญชีของจำเลยได้ ข้อที่จำเลยอ้างว่าไม่ต้องคืนเงินจึงฟังไม่ขึ้น แต่ศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยให้ไม่ถูกต้อง พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันหักทอนบัญชี ดังนี้ เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีบัญชีเดินสะพัด: การโอนเงินผิดพลาดไม่ใช่ลาภมิควรได้ ศาลอุทธรณ์แก้ไขดอกเบี้ย
คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยรับเงินจากโจทก์โดยไม่มีมูลจะกล่าวอ้างได้ตามกฎหมายและถือไม่ได้ว่าจำเลยได้รับเงินไว้โดยสุจริตจำเลยจึงต้องคืนเงินให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยนับแต่วันนำเงินเข้าบัญชีจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นเรื่องบัญชีเดินสะพัดมิใช่เรื่องลาภมิควรได้ โจทก์ชอบที่จะเพิกถอนรายการที่ซ้ำออกจากบัญชีของจำเลยได้ ข้อที่จำเลยอ้างว่าไม่ต้องคืนเงินจึงฟังไม่ขึ้น แต่ศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยให้ไม่ถูกต้องพิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันหักทอนบัญชีดังนี้ เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้บัญชีเดินสะพัดและการรับสภาพหนี้ การนำเงินเข้าบัญชีตัดหนี้และผลต่ออายุความ
จำเลยกู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีเป็นการตัดทอนหนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยตามลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัด ถือได้ว่าจำเลยรับสภาพต่อโจทก์โดยใช้เงินให้บางส่วน หรือด้วยส่งดอกเบี้ยอายุความย่อมสะดุดหยุดลงทุกครั้งที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2504/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี: การนำเงินเข้าบัญชีถือเป็นการรับสภาพหนี้ ทำให้ระยะอายุความสะดุดหยุดลง
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ มีข้อความ ว่าจะชำระหนี้เมื่อทวงถาม ปกติย่อมต้องฟ้องคดีภายใน10 ปี นับแต่ วันที่กู้เพราะอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป แต่นับแต่ วันทำสัญญา จำเลยได้นำเงินเข้าและเบิกเงินจากบัญชีตลอดมาการนำ เงินเข้าบัญชีเป็นการตัดทอนหนี้สินระหว่างโจทก์จำเลยตามลักษณะของบัญชีเดินสะพัดถือได้ว่าจำเลยรับสภาพต่อโจทก์ด้วยใช้เงินให้บางส่วน หรือด้วยส่งดอกเบี้ย อายุความย่อมสะดุดหยุดลงทุกครั้งที่นำเงินเข้าบัญชี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 ปรากฏว่านับจากวันที่ จำเลยนำเงินเข้าบัญชีครั้งสุดท้ายถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์ จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1126/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในเช็คลดบัญชีเดินสะพัด: สิทธิในการเพิกถอนรายการเมื่อเช็คไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้
จำเลยที่ 1 เป็นลูกค้าเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน และได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารโจทก์ นอกจากนี้ จำเลยที่ 1 ยังได้นำเช็คซึ่งผู้อื่นเป็นผู้ออกมาขายลดให้โจทก์ โดยโจทก์ได้ส่วนลดหมื่นละยี่สิบบาท แม้ขอตกลงซื้อขายลดเช็คระหว่างเช็คกับจำเลยที่ 1 จะไม่ปรากฏมีข้อสัญญาว่าหากเช็คเรียกเก็บเงินไม่ได้แล้ว จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ก็ตาม แต่การที่จำเลยนำเช็คพิพาทมาเข้าบัญชีเดินสะพัดของจำเลยเพื่อให้โจทก์เรียกเก็บเงิน โดยนำเช็คเข้าบัญชีในวันที่ลงในเช็ค แล้วจำเลยออกเช็คสั่งให้โจทก์จ่ายเงินให้ตามจำนวนดังกล่าวจากบัญชีเดินสะพัดของจำเลยและโจทก์ยอมจ่ายเงินไปก่อนโดยที่เช็คที่จำเลยนำมาเข้าบัญชียังเรียกเก็บเงินไม่ได้ และโจทก์ได้ค่าธรรมเนียมเรียกว่า ส่วนลดหมื่นละยี่สิบบาท เช่นนี้ เป็นพฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติต่อกันตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้จ่ายเงินตามเช็คของจำเลยจากบัญชีเดินสะพัดไปแล้ว ต่อมาโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทไม่ได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิจะเพิกถอนการลงรายการของเช็คดังกล่าวเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 857 และนำจำนวนเงินนั้นมา ลงรายการว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์ได้ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในจำนวนเงินดังกล่าวต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3332/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีเงินในบัญชี: ธนาคารจ่ายเช็คแล้วผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดชดใช้
เปิดบัญชีกระแสรายวันกับธนาคารแล้ว ออกเช็คสั่งจ่ายเงินเกินจำนวนที่มีในบัญชี ธนาคารจะไม่จ่ายเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 991(1) ก็ได้ ถ้าธนาคารจ่ายเงินไปตามเช็ค ผู้ฝากเงินต้องรับผิดต่อธนาคาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2785/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันและสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี: การคิดดอกเบี้ยทบต้นตามบัญชีเดินสะพัด
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 โดยรับผิดร่วมยอมชำระหนี้ตลอดจนดอกเบี้ยและเงื่อนไขตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ ซึ่งให้ถือยอดเงินตามบัญชีกระแสรายวันและให้เอาดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือน จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในหนี้ที่ค้างชำระพร้อมดอกเบี้ยทบต้น แม้ในช่วงเวลาที่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดแล้ว แต่บัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ยังคงเดินสะพัดอยู่จนกว่าจะเลิกสัญญากัน