คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บำเหน็จ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 81 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ.ให้บำเหน็จฯ กับ พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร: เงินรางวัลยังคงใช้ได้
พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 มาตรา 30 หาได้มีความทับในเรื่องเงินรางวัลตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 ไม่ เพราะไม่ได้กล่าวถึงเงินรางวัลไว้ คงบัญญัติแต่ในเรื่องเงินสินบลอย่างเดียว เงินรางวัลตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดฯ จึงยังคงใช้ได้อยู่ และถือตามอัตราเดิม เพราะการบอกแก้ไขราชกิจจาฯ (ประกาศเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร) นั้นใช้ไม่ได้ (อ้างฎีกา 1073/2492)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26/2492)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาปกปิดปริมาณข้าวถือเป็นความผิดฐานไม่แจ้งตาม พ.ร.บ.การค้าข้าว และไม่มีสิทธิรับบำเหน็จ
จำเลยมีข้าวไว้ในครอบครอง 6 เกวียนหลวงกับ 10 ถัง แต่จำเลยได้แจ้งปริมาณเพียง 3 เกวียนหลวง การที่จำเลยไม่แจ้งประมาณให้ครบถ้วน เช่นนี้ แสดงว่าจำเลยเจตนาปกปิดข้าวนอกจากที่แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บไว้นั้น จำเลยย่อมมีผิดฐานไม่แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บสำหรับข้าวอีก 3 เกวียนหลวงกับ 10 ถัง
พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 5 บัญญัติให้ใช้บังคับแก่ความผิดซึ่งเกิดตามกฎหมายที่ระบุไว้ ส่วน พ.ร.บ.การค้าข้าวออกใช้ในภายหลัง และไม่มีบัญญัติให้นำ พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดมาใช้บังคับแต่อย่างใด ฉะนั้นจะยกเอาการให้บำเหน็จตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว มาใช้แก่ความผิดตาม พ.ร.บ.การค้าข้าว ย่อมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5756-5761/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจเมื่อเกษียณอายุ และความแตกต่างจากบำเหน็จ
โจทก์ทั้งหกฟ้องเรียกเงินอันเกิดจากการเลิกจ้างจากจำเลย ส่วนการที่โจทก์ทั้งหกมีสิทธิได้รับเงินอันเกิดจากการเลิกจ้างตามกฎหมายใดเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับข้อเท็จจริงจากการเลิกจ้างเข้ากับตัวบทกฎหมาย เมื่อจำเลยไม่จ่ายเงินอันเนื่องมาจากการเลิกจ้างด้วยเหตุเกษียณอายุ โจทก์ทั้งหกจึงถูกโต้แย้งสิทธิ มีอำนาจฟ้องเรียกเงินนั้นจากจำเลยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
จำเลยเป็นองค์การของรัฐและเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ.2510 มาตรา 6, 7 เป็นรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มาตรา 4 ตามความหมายของคำว่า "รัฐวิสาหกิจ" ใน (1) ประเภทกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งจำเลย บุคคลทั้งหกเป็นพนักงานของรัฐวิสาหกิจตามความหมายของคำว่า "พนักงาน" เมื่อ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ถูกยกเลิก จำเลยก็ยังคงเป็นรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 6 ตามความหมายของคำว่า "รัฐวิสาหกิจ" ใน (1) ประเภทกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งจำเลย โจทก์ที่ 4 และที่ 6 ยังคงเป็นลูกจ้างของจำเลยต่อมาจึงเป็นลูกจ้างตามความหมายของคำว่า "ลูกจ้าง" เมื่อไม่มีพระราชกฤษฎีกายกเว้นการบังคับใช้ พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 แก่จำเลยตามมาตรา 5 จำเลยจึงอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 และอยู่ภายใต้ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ซึ่งออกตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มาตรา 11 (1) 11 วรรคสอง เมื่อ พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 ใช้บังคับแล้วระเบียบนี้ก็ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปตามมาตรา 95 วรรคหนึ่ง
ข้อบังคับสภาทหารผ่านศึกว่าด้วยบำเหน็จของพนักงานองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ.2520 ข้อ 4 กำหนดให้พนักงานได้รับบำเหน็จเมื่อต้องออกจากงานเพราะข้อ 4.1 ทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ หมายความว่าเป็นการออกจากงานไม่ว่ากรณีใดซึ่งรวมถึงการลาออกและออกด้วยเหตุเกษียณอายุด้วย ไม่ใช่การออกจากงานเฉพาะเหตุเกษียณอายุจึงจะมีสิทธิได้รับบำเหน็จ ส่วนข้อ 4.2 ถึง 4.4 จะได้รับบำเหน็จเมื่อทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีบริบูรณ์ ในกรณีหย่อนสมรรถภาพ ป่วยเจ็บถึงแก่ความตาย ข้อ 5 วรรคหนึ่ง กำหนดให้จ่ายบำเหน็จแก่บุคคลตามข้อ 4 ในจำนวนเท่ากับเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีเวลาทำงาน ดังนั้นผู้ที่ออกจากงานตามข้อ 4.1 จึงได้รับบำเหน็จตามข้อ 5 เริ่มต้นจากเมื่อทำงานมาแล้วครบ 5 ปีบริบูรณ์ (ซึ่งเป็นเวลาทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์) เท่ากับเงินเดือนเดือนสุดท้าย 5 เดือน หรือ 150 วัน และเพิ่มขึ้นในอัตราจำนวนปีเวลาทำงาน 1 ปี ต่อเงินเดือน 1 เดือน แตกต่างจากบำเหน็จตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 47 ที่กำหนดให้พนักงานผู้ปฏิบัติงานในช่วงก่อนเกษียณอายุติดต่อกันครบ 5 ปี ขึ้นไป ได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน เป็นความแตกต่างทั้งคุณสมบัติผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จ อัตราเริ่มต้นบำเหน็จและอัตราบำเหน็จที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งบำเหน็จตามข้อ 4.1 และข้อ 5 ไม่ใช่เงินที่จำเลยต้องจ่ายเป็นค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้างพนักงานตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 45 ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามช่วงเวลาทำงานที่ติดต่อกันครบ 120 วัน ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีขึ้นไป ดังนั้นบำเหน็จที่จำเลยจ่ายให้บุคคลทั้งหกไปแล้วจึงไม่ใช่เงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 47 วรรคหนึ่ง และไม่ใช่เงินค่าชดเชยกรณีพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุที่จะนำมาหักออกจากเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามข้อ 47 วรรคสอง จำเลยจึงต้องจ่ายเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานให้โจทก์แต่ละคนเท่ากับเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3895/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนข้าราชการไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น ไม่ถือว่าออกจากราชการ จึงไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จจากเงินงบประมาณ
การที่จะถือว่าข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 มาตรา 112 เท่านั้น การที่จำเลยโอนจากการเป็นข้าราชการพลเรือนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว นอกจากนี้ การโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นของจำเลยยังคงนับอายุราชการต่อเนื่อง จำเลยไม่อาจขอสละสิทธิที่จะไม่นับอายุราชการต่อเนื่องเพื่อขอรับเงินบำเหน็จได้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ออกจากราชการ แม้ตาม พ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539 มาตรา 44 จะบัญญัติให้สมาชิกภาพของสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญสิ้นสุดลงเมื่อผู้นั้นออกจากราชการ และมาตรา 45 จะบัญญัติให้สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ ฯ เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง และตามมาตรา 3 (เดิม) จะมิได้บัญญัติให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่นอยู่ในบทนิยามของคำว่า "ข้าราชการ" อันจะเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวคงมีผลเพียงทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการของจำเลยสิ้นสุดลงอันจะมีสิทธิได้รับเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวซึ่งเป็นเงินที่จ่ายจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539 มาตรา 37 เท่านั้น หาได้มีผลทำให้สถานะความเป็นข้าราชการของจำเลยสิ้นสุดลงอันจะทำให้มีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จที่จะต้องจ่ายจากเงินงบประมาณด้วยไม่ แม้โจทก์ทั้งสองจะจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่จำเลยแล้ว แต่เมื่อจำเลยยังไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินบำเหน็จพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20658-21837/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทแรงงาน: การปรับอัตราค่าจ้าง, เงินบำเหน็จ, ดอกเบี้ย, และสภาพการจ้างโดยปริยาย
การที่โจทก์ที่ 921 แก้ไขคำฟ้องโดยจำเลยมิได้ให้การแก้คดีเพิ่มเติม มีผลเพียงว่าจำเลยยอมรับว่ามีมติคณะรัฐมนตรีจริง ส่วนโจทก์ที่ 921 จะมีสิทธิได้รับการปรับอัตราค่าจ้างตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของมติคณะรัฐมนตรีนั้นด้วย เมื่อมติคณะรัฐมนตรีในการปรับค่าจ้างในอัตราไม่เกินร้อยละ 5 มีเงื่อนไขว่าเมื่อปรับค่าจ้างแล้วค่าจ้างที่ได้รับต้องไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งจะต้องจัดหารายได้เพิ่มเติมและหรือต้องลดค่าใช้จ่ายเพื่อให้เพียงพอรายจ่ายบุคลากรที่เพิ่มขึ้น กรณีจึงยังไม่อาจปรับค่าจ้างตามมติคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ให้แก่โจทก์ที่ 921 ได้
การที่มีบันทึกข้อตกลงในวันที่ 29 มิถุนายน 2525 ข้อ 17 ที่ระบุว่าการพิจารณาความดีความชอบประจำปีของเจ้าหน้าที่ขององค์การค้าของคุรุสภาในขณะใด ๆ ให้องค์การค้าของคุรุสภาพิจารณาโดยถือหลักเกณฑ์การพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรีหรือระเบียบของทางราชการที่กำหนดสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจในขณะนั้น ๆ มิใช่หมายความว่าเพียงแต่มีบันทึกข้อตกลงนั้นแล้วจะเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยปริยาย จะต้องปรากฏว่าได้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงมาอย่างต่อเนื่องด้วย เมื่อองค์การค้าของคุรุสภาไม่เคยให้เงินตอบแทนความดีความชอบแก่เจ้าหน้าที่องค์การค้าของคุรุสภาในลักษณะที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ลูกจ้างและพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ปฏิบัติงานช่วงเกษียณอายุติดต่อกับครบ 15 ปี ได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน มาก่อน เงินตอบแทนความชอบ จึงไม่เป็นสภาพการจ้างโดยปริยาย
ความเสียหายเป็นดอกเบี้ยสหกรณ์ที่จำเลยจ่ายเงินให้โจทก์ที่ 1191 ล่าช้าเป็นความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสอง โจทก์ที่ 1191 ต้องแสดงให้ปรากฏว่าจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นล่วงหน้าก่อนแล้วถึงพฤติการณ์ที่โจทก์ที่ 1191 จะได้รับความเสียหาย เมื่อโจทก์ที่ 1191 ไม่ได้แสดงให้ปรากฏว่าจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นล่วงหน้าถึงความเสียหายให้เพียงพอ การที่ศาลแรงงานกลางไม่กำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้จึงชอบแล้ว
การที่จำเลยปรับอัตราค่าจ้างให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในส่วนงานอื่นของจำเลย แต่ไม่ปรับอัตราค่าจ้างให้แก่โจทก์ทั้งหมดซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ขององค์การค้าของจำเลย ทั้งที่ลูกจ้างทั้งสองกลุ่มนี้ต่างก็ทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยด้วยกัน เป็นการปฏิบัติโดยไม่เท่าเทียมกัน ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยปรับอัตราค่าจ้างให้แก่โจทก์ทั้งหมดนั้น เป็นการพิจารณาถึงระดับค่าจ้างที่ไม่ได้รับการปรับขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีของโจทก์ทั้งหมดกับระดับค่าจ้างที่ได้รับการปรับขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีของพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นที่ไม่ใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ขององค์การค้าของจำเลย อันเป็นการพิจารณาเพื่อกำหนดให้เป็นธรรมแก่คู่ความทั้งสองฝ่ายโดยชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 48 แล้ว
เมื่อสหภาพแรงงานองค์การค้าของคุรุสภากับองค์การค้าของคุรุสภามีการปฏิบัติตามข้อตกลงมาจนกระทั่งมีสภาพเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยปริยายแล้ว หากจำเลยเห็นว่าการปฏิบัติตามข้อตกลงนี้ไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบันของจำเลย จำเลยก็สามารถดำเนินการให้ถูกต้องตามกระบวนการของ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ที่กำหนดไว้สำหรับการยื่นข้อเรียกร้องเพื่อเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หรือจำเลยตกลงกับลูกจ้างที่เกี่ยวข้องเพื่อเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเดิมได้ หรือลูกจ้างที่เกี่ยวข้องได้ให้ความยินยอมสำหรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยให้จำเลยต้องดำเนินการตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยปริยายที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับปฏิบัติต่อกันมาโดยตลอดนั้นเป็นการตีความตามมุ่งหมายในการทำข้อตกลงของทั้งสองฝ่ายโดยชอบ
โจทก์ทั้งหมดฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงโดยปรับอัตราค่าจ้างตามมติคณะรัฐมนตรีแก่โจทก์ทั้งหมด เป็นการกล่างอ้างว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 12 เมื่อจำเลยยังไม่ได้ปรับเงินเดือนค่าจ้างของโจทก์ทั้งหมดตามมติคณะรัฐมนตรีเงินที่จะได้รับจากการปรับอัตราค่าจ้างตามที่โจทก์ทั้งหมดฟ้องนั้นจึงยังไม่มีสถานะเป็นสินจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 และยังไม่มีสถานะเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 สิทธิเรียกร้องให้จำเลยดำเนินการดังกล่าวจึงมิได้ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) แต่เป็นกรณีจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ทั้งหมดซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
เงินที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิที่จะได้รับจากการปรับอัตราค่าจ้างตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยปริยายยังไม่มีสภาพเป็นค่าจ้าง จึงมิใช่ค่าจ้างที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แต่เป็นหนี้เงินที่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งหมดทวงถามให้จำเลยจ่ายค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจากการปรับอัตราค่าจ้างและเงินบำเหน็จส่วนที่จ่ายไม่ครบเมื่อใด จำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5597/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้บริการรับส่งเอกสารไม่ถือเป็นการขนส่ง หากบำเหน็จที่ได้รับไม่ใช่ค่าระวางพาหนะ จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ป.รัษฎากร มาตรา 77/2 บัญญัติให้การให้บริการในราชอาณาจักรโดยผู้ประกอบการอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งคำว่า "บริการ" ตามมาตรา 77/1 (10) หมายความว่าการกระทำใดๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่การขายสินค้า แต่ถ้าการให้บริการนั้นเป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรก็ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ณ) การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรตาม ป.รัษฎากร มิได้ให้ความหมายไว้ จึงต้องถือตาม ป.พ.พ. มาตรา 608 และมาตรา 610 การให้บริการขนส่งจึงหมายถึงการรับขนของหรือคนโดยสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเพื่อบำเหน็จคือค่าระวางพาหนะเป็นทางค้าปกติของผู้ขนส่ง หากบำเหน็จที่ได้รับมิใช่ค่าระวางพาหนะ การให้บริการนั้นก็ไม่ถือเป็นการให้บริการขนส่ง คดีนี้บำเหน็จที่โจทก์ได้รับจากลูกค้าเป็นค่าตอบแทนการที่โจทก์ส่งพนักงานไปส่งเอกสารให้ลูกค้าตามที่ลูกค้าสั่ง เป็นค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับเป็นรายเดือนจำนวนแน่นอนตามที่ตกลงในสัญญาจ้างบริการและมิได้คำนึงถึงระยะทาง ความยากง่าย และระยะเวลาขนส่งในแต่ละคราวเป็นสำคัญ ค่าบำเหน็จที่โจทก์ได้รับจึงไม่เป็นค่าระวางพาหนะ การให้บริการของโจทก์จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการให้บริการขนส่ง และไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 81 (1) (ณ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5597/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้บริการขนส่งเพื่อยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องมีลักษณะเป็นการรับขนส่งเพื่อบำเหน็จที่เป็นค่าระวางพาหนะ
ป.รัษฎากรมิได้บัญญัติว่า การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรหมายความว่าอย่างไร จึงต้องถือความหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 608 และมาตรา 610 จากบทบัญญัติดังกล่าว การให้บริการขนส่งจึงหมายถึงการรับขนส่งของหรือคนโดยสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเพื่อบำเหน็จคือค่าระวางพาหนะเป็นทางค้าปกติของผู้ขนส่ง ฉะนั้น หากบำเหน็จที่ได้รับมิใช่ค่าระวางพาหนะแล้ว การให้บริการนั้นก็ไม่ถือเป็นการให้บริการขนส่ง ซึ่งค่าระวางพาหนะจะมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับระยะทาง ความยากง่ายและระยะเวลาขนส่งเป็นสำคัญ เมื่อบำเหน็จที่โจทก์ได้รับจากลูกค้าเป็นค่าตอบแทนการที่โจทก์ส่งพนักงานไปส่งเอกสารให้ลูกค้าตามที่ลูกค้าสั่ง เป็นค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับเป็นรายเดือนจำนวนแน่นอนตามที่ตกลงในสัญญาจ้างบริการโดยมิได้คำนึงถึงระยะทาง ความยากง่ายและระยะเวลาขนส่งในแต่ละคราวเป็นสำคัญ ค่าบำเหน็จที่โจทก์ได้รับจึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นค่าระวางพาหนะ การให้บริการของโจทก์ในลักษณะดังกล่าวจึงไม่ถือเป็นการให้บริการขนส่งอันจะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 81 (1) (ณ) แม้จะเป็นการให้บริการในราชอาณาจักรก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6943/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างฐานประพฤติผิดวินัยร้ายแรง และสิทธิในการได้รับเงินบำเหน็จของลูกจ้าง
ข้อบังคับองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ.2519 (ฉบับประมวลแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 9) ได้กำหนดบำเหน็จไว้ในหมวด 4 การสงเคราะห์เมื่อออกจากงาน ข้อ 10 ว่าพนักงานซึ่งได้ทำงานในองค์การมานับอายุงานได้สิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป เมื่อออกจากงานเพราะตายหรือเพราะเหตุอื่นให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จเท่ากับค่าจ้างเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีที่ผู้นั้นได้ทำงานในองค์การ การกำหนดดังกล่าวใช้กับพนักงานที่ออกจากงานเพราะตายหรือเพราะเหตุอื่นที่มิใช่เหตุตามข้อ 15 ซึ่งระบุว่า พนักงานไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยเลี้ยงชีพหรือบำเหน็จถ้าถูกออกจากงานเพราะกระทำความผิดดังต่อไปนี้ 15.1 กระทำการทุจริตต่อหน้าที่ 15.2 กระทำการฝ่าฝืนข้อบังคับระเบียบหรือคำสั่งขององค์การอันเป็นเหตุให้องค์การได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง...15.6 ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจวัตถุประสงค์ในการรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์แก่ประชาชนโดยทั่วไป โจทก์ได้รับมอบหมายให้ทำงานอยู่ในห้องศูนย์บริการลูกค้าของจำเลย ได้รับโทรศัพท์ว่าจ้างงานจากบริษัท บ. แล้ว โจทก์มิได้ส่งงานต่อหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบของจำเลย แต่กลับส่งงานที่รับไว้ดังกล่าวให้สหกรณ์เครือกระจายสินค้าและพัสดุภัณฑ์ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจการค้าเช่นเดียวกับจำเลยซึ่งโจทก์เป็นสมาชิกผู้ถือหุ้นและต่อมาในปี 2545 ได้เข้าเป็นกรรมการในคณะกรรมการดำเนินการและมีประโยชน์เกี่ยวข้องรับงานนั้นไปทำ ทั้งที่โจทก์เป็นพนักงานของจำเลยมีหน้าที่ต้องสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล และจำเลยมีหน้าที่ปฏิบัติงานให้เกิดผลดีและควมเจริญก้าวหน้าแก่จำเลย จำเลยมีรายได้หลักจากค่าจ้างในการรับขนส่งเพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายสำนักงาน ค่าจ้าง และสวัสดิการแก่พนักงานทุกคน จึงเป็นหน้าที่ของพนักงานทุกคนจะต้องรักษาประโยชน์ของจำเลยหากได้รับการติดต่อจากลูกค้าที่ว่าจ้างให้ทำการขนส่ง จะต้องแจ้งหรือส่งงานให้หน่วยงานของจำเลยที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลรับผิดชอบต่อไป แต่โจทก์กลับลักลอบเอางานของจำเลยจากสำนักงานของจำเลยไปให้นิติบุคคลอื่น จึงเป็นการกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการดำเนินงานของจำเลยอย่างร้ายแรง ส่งผลให้จำเลยขาดประโยชน์จากการดำเนินงานหลัก และลูกค้าผู้ติดต่อจำเลยอาจเข้าใจและเชื่อว่าเป็นการรับขนส่งของจำเลย จำเลยมีโอกาสได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงในด้านการให้การบริการได้ และโจทก์ทำงานประจำห้องศูนย์บริการลูกค้าของจำเลย มีโอกาสที่จะรับการติดต่อจากลูกค้าที่โทรศัพท์เข้ามาว่าจ้างใช้บริการของจำเลยได้ตลอดเวลาทุกวัน การลักลอบเอางานของจำเลยไปให้ผู้อื่นทำย่อมทำให้จำเลยได้รับความเสียหายขาดรายได้จากการขนส่งรายนั้นๆ หากมีลูกจ้างเช่นโจทก์ในนิติบุคคลใดย่อมส่งผลให้การประกอบกิจการของนิติบุคคลนั้นประสบปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่ายถึงกิจการล่มได้ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรงต่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ.2519 (ฉบับประมวลแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 9) ข้อ 15.1 และข้อ 15.6 และตามข้อบังคับองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุว่าด้วยวินัยพนักงาน พ.ศ.2512 (ฉบับประมวลแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2) ข้อ 15 วรรคสาม ระบุ "ห้ามมิให้พนักงานเป็นตัวแทนหรือกระทำการในนามนิติบุคคลอื่น อันมีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจการค้าอย่างเดียวกับองค์การ หรือกระทำการใดๆ อันเป็นการขัดกับผลประโยชน์ขององค์การ ทั้งนี้ ไม่ว่ากระทำเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่น ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง" ดังนั้น เมื่อโจทก์กระทำการซึ่งขัดกับผลประโยชน์ของจำเลยจึงเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับดังกล่าว และส่งผลให้จำเลยขาดประโยชน์และมีผลกระทบต่อชื่อเสียงของจำเลยดังที่วินิจฉัยมาข้างต้น โจทก์จึงกระทำการฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งขององค์การเป็นเหตุให้องค์การได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ตามข้อบังคับองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ.2519 (ฉบับประมวลแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 9) ข้อ 15.2 ด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จตามข้อบังคับองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ.2519 (ฉบับประมวลแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 9) ข้อ 15 นี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6943/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อผลประโยชน์ของนายจ้าง และการปฏิบัติอันเป็นวินัยร้ายแรง ทำให้สิทธิในการได้รับบำเหน็จสิ้นสุดลง
โจทก์ได้รับมอบหมายให้ทำงานในห้องศูนย์บริการลูกค้าขององค์การ ร. ได้รับโทรศัพท์ว่าจ้างงานจากบริษัท อ. แล้วมิได้ส่งงานต่อหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบขององค์การ ร. แต่กลับส่งงานที่รับไว้ให้สหกรณ์ ค. อันเป็นหน่วยงานอื่นที่มีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจการค้าเช่นเดียวกับองค์การ ร. และโจทก์มีหุ้นอยู่ในสหกรณ์ ค. ด้วยจึงเป็นการกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการดำเนินงานขององค์การ ร. อย่างร้ายแรง การกระทำของโจทก์จึงเป็นการประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรงต่อองค์การ ร. ซึ่งเป็นนายจ้าง จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานขององค์การ ร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1810/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพ้นจากตำแหน่งผู้จัดการสหกรณ์ตามข้อบังคับ และการจ่ายค่าจ้าง/บำเหน็จที่ถูกต้อง
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2536 ต่อมาจำเลยได้กำหนดการจ่ายเงินบำเหน็จแก่พนักงานหรือลูกจ้างตามระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน จำกัด ว่าด้วยพนักงาน และลูกจ้าง พ.ศ. 2539 จึงถือได้ว่าจำเลยตกลงจ่ายเงินบำเหน็จให้โจทก์ตามระเบียบฉบับดังกล่าวแล้ว ระเบียบนี้จึงกลายเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ผูกพันโจทก์และจำเลย ทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างต้องปฏิบัติตาม
ตามระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายเงินบำเหน็จตั้งแต่ระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน จำกัด ว่าด้วยพนักงานสหกรณ์และการปฏิบัติงาน พ.ศ. 2544 จนถึงระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน จำกัด ว่าด้วยเจ้าหน้าที่ ลูกจ้าง และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน พ.ศ. 2560 พนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยจะมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จต่อเมื่อลาออก ซึ่งต่างจากระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน จำกัด ว่าด้วยพนักงาน และลูกจ้าง พ.ศ. 2539 ที่กำหนดให้พนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเมื่อออกจากตำแหน่ง ซึ่งหมายความว่าพนักงานหรือลูกจ้างคนใดพ้นจากตำแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใด เว้นแต่เป็นการพ้นจากตำแหน่งเพราะถูกลงโทษไล่ออกหรือเลิกจ้างและมีสิทธิได้รับเงินชดเชยตามข้อยกเว้นตอนท้ายของระเบียบปีดังกล่าวข้อ 32 ย่อมมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จทั้งสิ้น เช่นนี้ ถือว่าจำเลยแก้ไขระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตั้งแต่ระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน จำกัด ว่าด้วยพนักงานสหกรณ์และการปฏิบัติงาน พ.ศ. 2544 จนถึงระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน จำกัด ว่าด้วยเจ้าหน้าที่ ลูกจ้าง และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน พ.ศ. 2560 ที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เมื่อไม่ปรากฏว่าการแก้ไขได้รับความยินยอมจากโจทก์ ระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน จำกัด ว่าด้วยเจ้าหน้าที่ ลูกจ้าง และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน พ.ศ. 2560 ข้อ 51 จึงไม่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์
พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 43 บัญญัติว่า "ข้อบังคับของสหกรณ์อย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้ (1) ... (10) การแต่งตั้ง การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้จัดการ" ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวเห็นว่าได้ให้ความสำคัญต่อตำแหน่งผู้จัดการสหกรณ์ โดยจะต้องให้สหกรณ์ออกข้อบังคับกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการแต่งตั้ง การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง ตลอดจนอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้จัดการไว้ในข้อบังคับ เมื่อตามข้อบังคับสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน จำกัด พ.ศ. 2560 ข้อ 95 (4) กำหนดให้ผู้จัดการจำเลยพ้นจากตำแหน่งเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อครบกำหนดตามสัญญาจ้าง การพ้นจากตำแหน่งของผู้จัดการจึงต้องบังคับตามข้อบังคับดังกล่าวซึ่งออกโดยอาศัยหลักเกณฑ์ที่ พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 บัญญัติไว้ ส่วนระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน จำกัด ว่าด้วยเจ้าหน้าที่ ลูกจ้าง และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน พ.ศ. 2560 หมวด 11 ข้อ 45 (3) ที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่สหกรณ์เกษียณอายุ 60 ปี ตามปีบัญชีสหกรณ์จำเลย โดยข้อ 9 ของระเบียบดังกล่าวกำหนดไว้ว่า ปีบัญชีสหกรณ์คือ 1 มกราคม สิ้นสุด 31 ธันวาคม ของทุกปีนั้น เป็นระเบียบที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามข้อบังคับสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน จำกัด พ.ศ. 2560 ข้อ 79 (8) และข้อ 107 (12) ซึ่งให้อำนาจคณะกรรมการดำเนินการตามข้อบังคับสหกรณ์กำหนดระเบียบต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์คงมีอำนาจหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ รวมถึงวัตถุประสงค์แห่งข้อบังคับเท่านั้น ไม่อาจกำหนดระเบียบในส่วนของการแต่งตั้ง การดำรงตำแหน่งหรือการพ้นจากตำแหน่งของผู้จัดการให้แตกต่างไปจากข้อบังคับสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน จำกัด พ.ศ. 2560 ได้ จึงต้องแปลว่าระเบียบนี้ใช้บังคับกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับตั้งแต่เจ้าหน้าที่ระดับผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ เท่านั้น แต่ไม่รวมถึงตำแหน่งผู้จัดการจำเลยด้วย
of 9