คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บุตรบุญธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 139 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2359/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนบุตรบุญธรรมสมบูรณ์ตามกฎหมาย และอำนาจถอดถอนผู้จัดการมรดกเมื่อมีทายาทอันดับหนึ่ง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 (แก้ไขใหม่ มาตรา1598/25) ประกอบกับพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 22 บัญญัติแต่เพียงว่า การจดทะเบียนบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสเท่านั้น ไม่ได้บังคับว่าจะต้อง ลงลายมือชื่อด้วยตนเอง ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานได้บันทึกไว้ว่า คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมได้มีหนังสือให้ความยินยอมถึง คณะกรมการอำเภอย่อมเป็นการเพียงพอแล้ว การจดทะเบียนรับ บุตรบุญธรรมสมบูรณ์ตามกฎหมาย
การที่ศาลจะสั่งถอดถอนผู้จัดการมรดกได้ ไม่จำเป็นว่าผู้จัดการมรดกจะต้องมีความผิด เมื่อศาลตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกนั้นยังไม่ปรากฏทายาทอันดับหนึ่ง แต่เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องเป็นทายาทอันดับหนึ่งมีสิทธิรับมรดกแต่ผู้เดียว ผู้คัดค้านมิได้เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายและมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก จึงไม่มีสิทธิจัดการมรดกต่อไป ศาลมีอำนาจถอดถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารรับบุตรบุญธรรม: ลายพิมพ์นิ้วมือเพียงพอ ไม่ต้องมีพยานรับรอง
เอกสารรับบุตรบุญธรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือผู้รับบุตรบุญธรรมต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ ไม่ต้องมีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิมรดกของบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่าและการจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎหมายลักษณะมรดก บทที่ 12 บัญญัติให้บุตรบุญธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมในภาคญาติ แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมลักษณะมรดก ร.ศ. 121 บัญญัติให้ญาติของผู้มรณภาพตามที่กำหนดไว้เป็นชั้น ๆ ได้รับมรดกในภาคญาติ แต่สำหรับบุตรบุญธรรมไม่ได้กำหนดไว้ บุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่านับแต่ ร.ศ. 121 เป็นต้นมา จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม ต่อมาเมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และ 6 แล้ว บุตรบุญธรรมในบทบัญญัติมาตรา 1586 และ 1627 ก็หมายความเฉพาะบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนตามมาตรา 1585 เท่านั้น มิได้รวมถึงบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่าซึ่งใช้อยู่ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ด้วย เพราะพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4 บัญญัติไว้ว่า "บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ไม่กระทบกระเทือนถึง............(2) การรับบุตรบุญธรรมซึ่งมีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายบรรพนี้ หรือสิทธิและหนี้อันเกิดแต่การนั้น ๆ" ซึ่งมีความหมายว่า สิทธิและหน้าที่ของบุตรบุญธรรมมีอยู่ตามกฎหมายเก่าอย่างไร เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ใช้บังคับแล้วก็คงมีอยู่อย่างนั้น ดังนั้น บุตรบุญธรรมของเจ้ามรดกตามกฎหมายเก่าและมิได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิมรดกของบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่าหลังมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎหมายลักษณมรฎก บทที่ 12 บัญญัติให้บุตรบุญธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมในภาคญาติ แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมลักษณมรฎก ร.ศ.121 บัญญัติให้ญาติของผู้มรณภาพตามที่กำหนดไว้เป็นชั้น ๆ ได้รับมรดกในภาคญาติ แต่สำหรับบุตรบุญธรรมไม่ได้กำหนดไว้ บุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่านับแต่ ร.ศ. 121 เป็นต้นมา จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม ต่อมาเมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5และ 6 แล้ว บุตรบุญธรรมในบทบัญญัติมาตรา 1586 และ 1627 ก็หมายความเฉพาะบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนตามมาตรา 1585 เท่านั้น มิได้รวมถึงบุตรบุยธรรมตามกฎหมายเก่าซึ่งใช้อยู่ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ด้วย เพราะพระราชบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ. 2477 มาตรา 4 บัญญัติไว้ว่า "บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ไม่กระทงกระเทือนถึง(2) การรับบุตรบุญธรรมซึ่งมีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายบรรพนี้ หรือสิทธิและหนี้อันเกิดแต่การนั้น ๆ " ซึ่งมีความหมายว่า สิทธิและหน้าที่ของบุตรบุญธรรมมีอยู่ตามกฎหมายเก่าอย่างไร เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับแล้วก็คงมีอยู่อย่างนั้น ดังนั้น บุตรบุญธรรมของเจ้ามรดกตามกฎหมายเก่าและมิได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1585 จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งถึงแก่กรรมหลังจากที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจยื่นคำร้องขอตั้งผู้ปกครองและการรับบุตรบุญธรรม ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ผู้รับบุตรบุญธรรมยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้ง บ.บุตรเขยเป็นผู้ปกครองบุตรบุญธรรมซึ่งเป็นผู้เยาว์ เมื่อผู้ร้องไม่ใช่ญาติหรือเป็นพนักงานอัยการ จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1556
เมื่อผู้รับบุตรบุญธรรมยังไม่ได้จดทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรมหรือถูกถอนอำนาจปกครอง ทั้งมารดาผู้เยาว์ยังมีชีวิตอยู่แม้ไม่ทราบที่อยู่ไม่อาจติดต่อได้ ก็ไม่ใช่กรณีที่จะจัดให้มีผู้ปกครองผู้เยาว์ได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1555 เมื่อไม่อาจตั้งผู้ปกครองได้การตั้งผู้ปกครองหลายคนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1559 จึงไม่อาจทำได้ บ. ยังไม่ได้รับความยินยอมจากมารดาผู้เยาว์ ย่อมรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการยื่นคำร้องขอตั้งผู้ปกครองและการรับบุตรบุญธรรมที่ต้องได้รับความยินยอมจากมารดา
ผู้รับบุตรบุญธรรมยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้ง บ. บุตรเขยเป็นผู้ปกครองบุตรบุญธรรมซึ่งเป็นผู้เยาว์ เมื่อผู้ร้องไม่ใช่ญาติหรือเป็นพนักงานอัยการ จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1556
เมื่อผู้รับบุตรบุญธรรมยังไม่ได้จดทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรมหรือถูกถอนอำนาจปกครอง ทั้งมารดาผู้เยาว์ยังมีชีวิตอยู่แม้ไม่ทราบที่อยู่ไม่อาจติดต่อได้ ก็ไม่ใช่กรณีที่จะจัดให้มีผู้ปกครองผู้เยาว์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1555 เมื่อไม่อาจตั้งผู้ปกครองได้การตั้งผู้ปกครองหลายคนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1559 จึงไม่อาจทำได้
บ. ยังไม่ได้รับความยินยอมจากมารดาผู้เยาว์ ย่อมรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดก: ทายาท, ผู้รับพินัยกรรม, และบุตรบุญธรรม
จ. เป็นสามี ล. มีบุตรด้วยกัน 6 คน รวมทั้งผู้ร้องทั้งสามด้วยเมื่อ ล. ตายแล้ว จ. จดทะเบียนสมรสกับ ฉ. ไม่มีบุตรด้วยกันแต่ ฉ. ได้จดทะเบียนรับผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมส่วนผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 เป็นน้องร่วมบิดาของ ฉ. ต่อมา ฉ. ตายไปโดยมิได้ทำพินัยกรรม และบิดามารดาของ ฉ. ก็ตายไปก่อนแล้วศาลตั้งให้ จ. เป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. แต่จัดการมรดกยังไม่ทันเสร็จ จ. ก็ตายไป ก่อนตาย จ. ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้ผู้ร้องทั้งสามกับพี่น้องแม้ผู้ร้องทั้งสามไม่ใช่ทายาทของ ฉ.ผู้ร้องทั้งสามก็มีส่วนได้รับทรัพย์ที่ จ. จะได้รับแบ่งจากกองมรดกของ ฉ.ในฐานะคู่สมรสทรัพย์สินต่างๆในกองมรดกของฉ.ยังมิได้แบ่งแยก คงบริคณห์ปนกันอยู่กับทรัพย์สินส่วนของ จ. เมื่อผู้ร้องทั้งสามเป็นทายาทและผู้รับพินัยกรรมของ จ. ย่อมถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของ ฉ. จึงมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นทายาทอันดับ 1 มีสิทธิได้รับมรดกของ ฉ. ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 เป็นทายาทลำดับ 4 ของ ฉ. จึงไม่มีสิทธิรับมรดกแม้จะมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหลายโฉนดร่วมกัน ฉ. ก็ไม่ใช่ส่วนได้เสียโดยตรงในกองมรดก เมื่อมีผู้อื่นที่สมควรกว่าเป็นผู้จัดการมรดกได้ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 ก็ไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดกผู้ร้องกับผู้คัดค้านต่างขอให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. และมีคดีพิพาทกันอยู่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกของ ฉ. ฝ่ายใดเป็นผู้จัดการมรดกฝ่ายเดียวอาจทำความเสียหายแก่กองมรดกและอีกฝ่ายหนึ่งได้ศาลย่อมตั้งให้ผู้ร้องทั้งสามกับผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ.ร่วมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้รับบุตรบุญธรรม กรณีผู้เยาว์ถูกละเมิดถึงแก่ความตาย
ขณะที่ผู้ตายถูกทำละเมิดถึงตาย ผู้ตายเป็นบุตรบุญธรรมของโจทก์ที่ 2 และผู้ตายยังเป็นผู้เยาว์อยู่ โจทก์ที่ 2 ผู้รับบุตรบุญธรรมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ย่อมมีอำนาจฟ้อง ผู้ทำละเมิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้รับบุตรบุญธรรม: ผู้รับบุตรบุญธรรมมีอำนาจฟ้องแทนผู้เยาว์ที่ถูกละเมิด แม้ไม่ได้เรียกร้องมรดก
ขณะที่ผู้ตายถูกทำละเมิดถึงตาย ผู้ตายเป็นบุตรบุญธรรมของโจทก์ที่ 2 และผู้ตายยังเป็นผู้เยาว์อยู่ โจทก์ที่ 2 ผู้รับบุตรบุญธรรมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2398/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมที่ไม่สมบูรณ์เนื่องจากความยินยอมจากคู่สมรสที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
คำว่า "คู่สมรส" ของผู้รับบุตรบุญธรรมที่จะต้องให้ความยินยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 นั้นหมายถึงสามีหรือภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ถ้าผู้ให้ความยินยอมในการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเป็นภรรยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้อง ว. ผู้เยาว์เป็นจำเลย แต่ใส่ไว้ในช่องคู่ความว่า "เด็กชาย ว. โดย ก. บิดาผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลย" นั้นหมายความว่า ก. เป็นผู้ดำเนินคดีแทนจำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 เท่านั้นเองหาใช่โจทก์ฟ้อง ก. เป็นจำเลยไม่
เมื่อการจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลตามกฎหมายแล้วบิดาโดยกำเนิดของจำเลยยังเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลยอยู่ และอยู่ในฐานะที่จะดำเนินคดีแทนจำเลยผู้เยาว์ได้
การที่จำเลยอ้างสิทธิเป็นบุตรบุญธรรมของผู้ตายซึ่งเป็นสามีโจทก์ และไปขอรับบำเหน็จตกทอดของผู้ตายด้วย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คดีโจทก์ฟ้องขอให้แสดงว่าการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมไม่สมบูรณ์ เพราะฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584ไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 1590 ที่จะต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปีแต่มิได้มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164
of 14