พบผลลัพธ์ทั้งหมด 130 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1218/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิตโมฆียะจากข้อมูลเท็จเกี่ยวกับโรคประจำตัว
บริษัทจำเลยถือว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นอันตรายร้ายแรงที่จะไม่รับประกันชีวิต แต่ผู้ที่ชีวิตได้มีประกันให้ถ้อยคำต่อบริษัทจำเลยว่าไม่เคยป่วยด้วยโรคเช่นว่านั้นสัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้ที่ชีวิตได้มีประกันตายด้วยโรคนั้นหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ที่ขัดต่อกฎกระทรวงออกตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิตเป็นโมฆะ ผู้กู้ต้องคืนเงิน
กฎกระทรวงฉบับที่ 5 ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2510 ข้อ 7 ว่า 'การให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัทโดยมีผู้ค้ำประกันนั้น บริษัทจะให้กู้ยืมได้ไม่เกินร้อยละ สองของราคาสินทรัพย์ของบริษัทตามบัญชีงบดุลที่มีอยู่ในวันสิ้นปีบัญชีครั้งสุดท้าย จำนวนเงินที่ให้กู้ยืมแต่ละรายต้องไม่เกินหกเท่าของจำนวนเงินเดือนที่พนักงานผู้นั้นได้รับจากบริษัทในเดือนสุดท้ายก่อนเดือนที่จะให้กู้ยืม และไม่เกินสองหมื่นบาท ' ฉะนั้น การที่บริษัทโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัทโจทก์กู้ยืมเงินเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท นั้น จึงขัดต่อกฎกระทรวงดังกล่าว สัญญากู้ระหว่างบริษัทโจทก์และจำเลยจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดด้วยแต่จำเลยที่ 1 รับเงินไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นการทำให้โจทก์เสียเปรียบ จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 806/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนผันการชำระเบี้ยประกัน และผลกระทบต่อความมีผลบังคับของกรมธรรม์ประกันชีวิต
ป.ทำสัญญาประกันชีวิตไว้กับบริษัทจำเลย กำหนดชำระเบี้ยประกันปีละ 2 งวด หากไม่ชำระเบี้ยประกันตามกำหนด บริษัทจำเลยจะผ่อนเวลาให้อีก 30 วันโดยไม่คิดดอกเบี้ย ป.ชำระเบี้ยประกันแล้ว 3 งวด งวดที่ 4 ป.ไม่ได้ชำระภายในกำหนดหรือภายในเวลา 30 วันที่ผ่อนผันให้ตามกรมธรรม์ แต่ชำระให้หลังจากระยะเวลาที่ผ่อนผันให้นั้นล่วงเลยไปแล้ว 1 เดือนเศษ ทั้งยังชำระด้วยเช็คซึ่งลงวันที่ล่วงหน้าต่อไปอีก 1 เดือนเศษด้วย บริษัทจำเลยก็ยังตกลงรับเบี้ยประกันงวดนั้น ต่อมาในงวดที่ 5 ป.ก็ชำระหลังจากระยะเวลาที่ผ่อนผันให้นั้นล่วงเลยไปแล้วประมาณ 10 วัน และชำระด้วยเช็คซึ่งลงวันที่ล่วงหน้า 1 เดือนเศษ โดยชำระแก่ผู้แทนของบริษัทจำเลยเมื่อบริษัทจำเลยทราบมิได้ทักท้วงประการใด แม้ตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์จะระบุไว้ว่า ถ้าผู้เอาประกันไม่ชำระเบี้ยประกันภายในเวลาที่ผ่อนให้ กรมธรรม์ย่อมขาดอายุและไม่มีผลบังคับ แต่พฤติการณ์ดังกล่าวของบริษัทจำเลยนั้น เห็นได้ว่าบริษัทจำเลยมิได้ถือปฏิบัติเคร่งครัดตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ การที่บริษัทจำเลยไม่ทักท้วงในการที่ผู้แทนของบริษัทจำเลยรับชำระเบี้ยประกันงวดที่ 5 ที่ ป.ชำระด้วยเช็คลงวันที่ล่วงหน้าเช่นนี้ เท่ากับบริษัทจำเลยยอมสละเงื่อนไขดังกล่าวโดยผ่อนผันให้ ป.ชำระเบี้ยประกันงวดนี้ไปจนถึงวันที่ลงในเช็ค กรมธรรม์ประกันชีวิตจึงไม่ขาดอายุและยังมีผลบังคับอยู่ แม้ ป.จะตายก่อนที่เช็คนั้นจะถึงกำหนดชำระ ก็ไม่ทำให้กรมธรรม์ขาดอายุหรือไม่มีผลบังคับ บริษัทจำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 806/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนผันชำระเบี้ยประกัน และผลของการยอมรับชำระล่าช้า ทำให้กรมธรรม์ยังมีผลบังคับ
ป. ทำสัญญาประกันชีวิตไว้กับบริษัทจำเลยกำหนดชำระเบี้ยประกันปีละ 2 งวด หากไม่ชำระเบี้ยประกันตามกำหนด บริษัทจำเลยจะผ่อนเวลาให้อีก 30 วันโดยไม่คิดดอกเบี้ย ป. ชำระเบี้ยประกันแล้ว 3 งวด งวดที่ 4 ป. ไม่ได้ชำระภายในกำหนดหรือภายในเวลา 30 วันที่ผ่อนผันให้ตามกรมธรรม์ แต่ชำระให้หลังจากระยะเวลาที่ผ่อนผันให้นั้นล่วงเลยไปแล้ว 1 เดือนเศษ ทั้งยังชำระด้วยเช็ค ซึ่งลงวันที่ล่วงหน้าต่อไปอีก 1 เดือนเศษด้วย บริษัทจำเลยก็ยังตกลงรับเบี้ยประกันงวดนั้น ต่อมาในงวดที่ 5 ป. ก็ชำระหลังจากระยะเวลาที่ผ่อนผันให้นั้นล่วงเลยไปแล้วประมาณ 10 วัน และชำระด้วยเช็คซึ่งลงวันที่ล่วงหน้า 1 เดือนเศษโดยชำระแก่ผู้แทนของบริษัทจำเลย เมื่อบริษัทจำเลยทราบก็มิได้ทักท้วงประการใด แม้ตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์จะระบุไว้ว่า ถ้าผู้เอาประกันไม่ชำระเบี้ยประกันภายในเวลาที่ผ่อนให้ กรมธรรม์ย่อมขาดอายุและไม่มีผลบังคับ แต่พฤติการณ์ดังกล่าวของบริษัทจำเลยนั้น เห็นได้ว่าบริษัทจำเลย มิได้ถือปฏิบัติเคร่งครัดตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์การที่บริษัทจำเลยไม่ทักท้วงในการที่ผู้แทนของบริษัทจำเลยรับชำระเบี้ยประกันงวดที่5 ที่ ป. ชำระด้วยเช็คลงวันที่ล่วงหน้าเช่นนี้เท่ากับบริษัทจำเลยยอมสละเงื่อนไขดังกล่าวโดยผ่อนผันให้ ป. ชำระเบี้ยประกันงวดนี้ไปจนถึงวันที่ลงในเช็คกรมธรรม์ประกันชีวิตจึงไม่ขาดอายุและยังมีผลบังคับอยู่ แม้ ป. จะตายก่อนที่เช็คนั้นจะถึงกำหนดชำระก็ไม่ทำให้กรมธรรม์ขาดอายุหรือไม่มีผลบังคับ บริษัทจำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 314/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบธุรกิจประกันชีวิตโดยไม่ได้รับอนุญาต: การพิจารณาว่ากิจการสงเคราะห์ฌาปนกิจเข้าข่ายประกันชีวิตตามกฎหมายหรือไม่
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการสมาคม ส. ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ทำการเป็นผู้รับประกันภัยโดยทำสัญญาประกันชีวิตและร่วมกันเป็นตัวแทนประกันชีวิตของสมาคม ส.โดยไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต จำเลยรับข้อเท็จจริงตามคำแถลงของเจ้าหน้าที่ที่โจทก์ส่งต่อศาลว่า สมาคม ส.จดทะเบียนถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยสมาคม ได้ออกระเบียบการโฆษณาหาสมาชิกโดยกำหนดในระเบียบการว่า สมาคมจะจ่ายเงินค่าฌาปนกิจสงเคราะห์ให้แก่ ่สมาชิกที่ถึงแก่กรรมจำนวนหนึ่งโดยสมาชิกผู้นั้นจะต้องเสียเงินค่าสมัครเป็นสมาชิกจำนวน 250 บาทและเงินค่าฌาปนกิจสงเคราะห์อีกศพละ 20 บาทให้แก่สมาคม ส.ข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ไม่พอวินิจฉัยได้ว่ากิจการสงเคราะห์ฌาปนกิจของสมาคม ส.เป็นการประกันชีวิตตามกฎหมายหรือไม่ จำเลยให้การปฏิเสธการกระทำผิด โจทก์มิได้นำสืบพยานให้ได้ความตามฟ้อง คดีจึงไม่มีทางลงโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องเงินประกันชีวิต: 10 ปี (ม.169) ไม่ใช่ 2 ปี (ม.882)
ตัวแทนรับเงินประกันชีวิตไว้แล้วไม่ส่งแก่บริษัทรับประกันภัยตัวการ อายุความมีกำหนด 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 ไม่ใช่ 2 ปีตามมาตรา 882 ซึ่งใช้ระหว่างผู้เอาประกันภัยกับผู้รับประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2278/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปิดเผยข้อมูลการรักษาพยาบาลก่อนทำสัญญาประกันชีวิต: ผลต่อโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 865
ข้อความจริงอย่างไรจะถือว่าอาจจูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น หรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 นั้น ต้องถือตามความเห็นของวิญญูชนทั่วไปเป็นหลัก จะถือว่าถ้ามีการปกปิดความจริงไม่ว่าประการใดๆ แล้ว จะทำให้สัญญาเป็นโมฆียะไปเสียทั้งหมดหาได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 715/2513)
ขณะที่ ถ.ขอเอาประกันชีวิตกับจำเลยถ.มีสุขภาพดี แพทย์ผู้ตรวจไม่พบโรคไต แสดงว่าโรคไตของ ถ.อาจหายแล้วหรือไม่อยู่ในขั้นร้ายแรง ถ.ถึงแก่กรรมเพราะเส้นโลหิตแตกในสมอง มิใช่โรคไต ฉะนั้น ที่ ถ.มิได้เปิดเผยเรื่องที่เคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมาก่อนขอเอาประกันภัยให้จำเลยทราบนั้น จึงไม่อาจอนุมานเอาได้ว่า ถ้าได้เปิดเผยข้อความจริงเช่นนั้น จะจูงใจจำเลยให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญาอันจะทำให้สัญญาเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865
ขณะที่ ถ.ขอเอาประกันชีวิตกับจำเลยถ.มีสุขภาพดี แพทย์ผู้ตรวจไม่พบโรคไต แสดงว่าโรคไตของ ถ.อาจหายแล้วหรือไม่อยู่ในขั้นร้ายแรง ถ.ถึงแก่กรรมเพราะเส้นโลหิตแตกในสมอง มิใช่โรคไต ฉะนั้น ที่ ถ.มิได้เปิดเผยเรื่องที่เคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมาก่อนขอเอาประกันภัยให้จำเลยทราบนั้น จึงไม่อาจอนุมานเอาได้ว่า ถ้าได้เปิดเผยข้อความจริงเช่นนั้น จะจูงใจจำเลยให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญาอันจะทำให้สัญญาเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 68/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปิดเผยข้อเท็จจริงในสัญญาประกันชีวิต และสิทธิบอกล้างสัญญาเมื่อมีข้อมูลเท็จ
หน้าที่เปิดเผยข้อความจริงของผู้เอาประกันภัยมิได้สิ้นสุดลงเพียงในชั้นยื่นคำเสนอขอเอาประกันภัยโดยกรอกคำตอบในแบบคำขอนั้นเท่านั้น แต่ยังคงมีอยู่ตลอดเวลาในระหว่างนั้นเรื่อยไปจนถึงเวลาที่ผู้รับประกันภัยสนองตอบรับจนเกิดเป็นสัญญาขึ้นแล้วระหว่างคู่กรณี ฉะนั้น ในกรณีประกันชีวิต แม้ผู้เอาประกันภัยจะได้กรอกแบบคำขอเอาประกันชีวิตแล้ว โดยเฉพาะในข้อถามที่ 7ว่า ตนไม่เคยเป็นโรคกระเพาะอักเสบ โรคตับอักเสบ ฯลฯ ยื่นส่งแก่บริษัทประกันภัยไปแล้วก็ตาม ถ้าภายหลังนั้นผู้เอาประกันภัยเกิดป่วยต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคกระเพาะอาหารและโรคตับแข็งซึ่งเป็นผลให้ข้อความจริงซึ่งได้แถลงไปแล้วแต่แรกนั้นคลาดเคลื่อนไม่ตรงต่อความเป็นจริง และผู้เอาประกันภัยย่อมทราบว่ายังอยู่ในระหว่างเวลาที่บริษัทยังพิจารณาคำขอ และยังมิได้ออกกรมธรรม์ตอบรับมา ทั้งข้อถามต่างๆ ในแบบคำขอนั้นผู้เอาประกันภัยเองก็ได้ทราบและรับรองไว้ว่าเป็นข้อความจริงอันเป็นมูลฐานและสารสำคัญแห่งการออกกรมธรรม์ของฝ่ายผู้รับประกันภัยดังนี้ ย่อมมีผลให้สัญญาไม่สมบูรณ์เป็นโมฆียะ ผู้รับประกันภัยมีสิทธิบอกล้างและคืนแต่ค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ให้แก่ทายาทของผู้เอาประกันภัยเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 68/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างสัญญาประกันชีวิตเนื่องจากผู้เอาประกันภัยปกปิดข้อมูลสุขภาพที่เป็นสาระสำคัญ
หน้าที่เปิดเผยข้อความจริงของผู้เอาประกันภัย มิได้สิ้นสุดลงเพียงในชั้นยื่นคำเสนอขอเอาประกันภัยโดยกรอกคำตอบในแบบคำขอนั้นเท่านั้น แต่ยังคงมีอยู่ตลอดเวลาในระหว่างนั้นเรื่อยไปจนถึงเวลาที่ผู้รับประกันภัยสนองตอบรับจนเกิดเป็นสัญญาขึ้นแล้วระหว่างคู่กรณี ฉะนั้น ในกรณีประกันชีวิต แม้ผู้เอาประกันภัยจะได้กรอกแบบคำขอเอาประกันชีวิตแล้ว โดยเฉพาะในข้อถามที่ 7 ว่า ตนไม่เคยเป็นโรคกระเพาะอักเสบ โรคตับอักเสบ ฯลฯ ยื่นส่งแก่บริษัทประกันภัยไปแล้วก็ตาม ถ้าภายหลังนั้นผู้เอาประกันภัยเกิดป่วยต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคกระเพาะอาหารและโรคตับแข็งซึ่งเป็นผลให้ข้อความจริงซึ่งได้แถลงไปแล้วแต่แรกนั้นคลาดเคลื่อนไม่ตรงต่อความเป็นจริง และผู้เอาประกันภัยย่อมทราบว่ายังอยู่ในระหว่างเวลาที่บริษัทยังพิจารณาคำขอ และยังมิได้ออกกรมธรรม์ตอบรับมา ทั้งข้อถามต่างๆ ในแบบคำขอนั้น ผู้เอาประกันภัยเองก็ได้ทราบและรับรองไว้ว่าเป็นข้อความจริงอันเป็นมูลฐานและสารสำคัญแห่งการออกกรมธรรม์ของฝ่ายผู้รับประกันภัยดังนี้ ย่อมมีผลให้สัญญาไม่สมบูรณ์เป็นโมฆียะ ผู้รับประกันภัยมีสิทธิบอกล้างและคืนแต่ค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ให้แก่ทายาทของผู้เอาประกันภัยเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิตนายจ้างกับลูกจ้าง: สิทธิเรียกร้องเงินประกันเต็มจำนวน แม้ไม่มีมูลค่าความเสียหายที่แท้จริง
1. โจทก์เอาประกันชีวิตลูกจ้างซึ่งขับรถยนต์บรรทุกน้ำมันของโจทก์นั้นเห็นได้ว่าจะต้องรับผิดต่อการกระทำละเมิดในทางการที่จ้างของลูกจ้าง และยังต้องรับผิดจ่ายเงินให้แก่ทายาทผู้อยู่ใต้อุปการะของลูกจ้างผู้ตายตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ประกอบกับการขับรถยนต์บรรทุกน้ำมันย่อมต้องอาศัยบุคคลที่มีความชำนาญและไว้วางใจ เช่นนี้ ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนได้เสียที่จะเอาประกันชีวิตลูกจ้างดังกล่าวนี้ได้
2. สัญญาประกันอุบัติเหตุของบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยถึงชีวิตถือว่าเป็นสัญญาประกันชีวิต เพราะอาศัยความมรณะเป็นเงื่อนไขการใช้เงินตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 889 3. สัญญาประกันชีวิตมิใช่สัญญาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังเช่นสัญญาประกันวินาศภัย แต่เป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงใจใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ โดยอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง ฉะนั้น เมื่อโจทก์นายจ้างเอาประกันชีวิตของลูกจ้างในกรณีอุบัติเหตุไว้กับจำเลยเป็นจำนวนเงินหนึ่งแสนบาท โดยโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์และลูกจ้างที่ระบุในกรมธรรม์ได้ประสพอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิตระหว่างอายุสัญญา จำเลยก็ต้องจ่ายเงินให้โจทก์ตามเงื่อนไขแห่งสัญญา
(ข้อ 1 และ 3 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 34/2515)
2. สัญญาประกันอุบัติเหตุของบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยถึงชีวิตถือว่าเป็นสัญญาประกันชีวิต เพราะอาศัยความมรณะเป็นเงื่อนไขการใช้เงินตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 889 3. สัญญาประกันชีวิตมิใช่สัญญาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังเช่นสัญญาประกันวินาศภัย แต่เป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงใจใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ โดยอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง ฉะนั้น เมื่อโจทก์นายจ้างเอาประกันชีวิตของลูกจ้างในกรณีอุบัติเหตุไว้กับจำเลยเป็นจำนวนเงินหนึ่งแสนบาท โดยโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์และลูกจ้างที่ระบุในกรมธรรม์ได้ประสพอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิตระหว่างอายุสัญญา จำเลยก็ต้องจ่ายเงินให้โจทก์ตามเงื่อนไขแห่งสัญญา
(ข้อ 1 และ 3 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 34/2515)