คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประกันภัยรถยนต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยรถยนต์: “ถูกขโมยทั้งคัน” ครอบคลุมการปล้นทรัพย์ด้วย
สัญญาประกันภัยรถยนต์ซึ่งบริษัทจำเลยจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ผู้เอาประกันภัยมีข้อความ รวมถึงกรณีรถถูกขโมยทั้งคันด้วย คำว่า "ถูกขโมยทั้งคัน" ตามสัญญาประกันภัยดังกล่าวนอกจากมีความหมายถึงการที่รถถูกคนร้ายลักไปแล้ว ย่อมหมายความรวมถึงการที่รถถูกคนร้ายปล้นเอาไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยรถยนต์: การยกเว้นความรับผิดเมื่อผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาตถูกต้อง
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์มีข้อความยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยในกรณีที่ผู้ขับขี่รถยนต์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ถูกต้องตามกฎหมายอันสามารถใช้ขับขี่ยานยนต์เอาประกันภัยผู้ขับรถมีแต่ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ตาม พระราชบัญญัติรถยนต์ แต่ไม่มีใบอนุญาตตาม พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2982/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์: ข้อยกเว้นค่าขาดประโยชน์ vs. หน้าที่เร่งรัดซ่อมแซม & การประพฤติผิดสัญญา
โจทก์ได้ประกันภัยรถยนต์ไว้กับจำเลย ต่อมารถยนต์คันที่เอาประกันภัยเกิดอุบัติเหตุถูกชนเสียหายมากชำรุดใช้การไม่ได้ ปัญหาที่ว่าจำเลยจะต้องชดใช้ค่าที่โจทก์ขาดประโยชน์ในการให้เช่ารถระหว่างรถเข้าอู่ซ่อมเพียงไรหรือไม่นั้น เมื่อปรากฏตามสำเนากรมธรรม์ท้ายฟ้องตรงกับคู่ฉบับกรมธรรม์ที่จำเลยอ้างระบุข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยไว้ว่าไม่ต้องผูกพันรับผิดต่อสิทธิเรียกร้องใดๆอันเกี่ยวกับการขาดประโยชน์ ผลจึงเท่ากับโจทก์ผู้เอาประกันภัยยอมรับตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ สละสิทธิเรียกร้องในเหตุดังกล่าวแล้วโจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในค่าขาดประโยชน์ในการให้เช่ารถของโจทก์ได้ และปัญหาข้อนี้ไม่จำต้องวินิจฉัยจากการสืบพยานจำเลยเพราะอาจวินิจฉัยได้ตามความในเอกสารกรมธรรม์อยู่แล้ว
ตามกรมธรรม์ระบุไว้ว่า ในกรณียานยนต์เสียหาย จำเลยผูกพันรับผิดเพียงที่จะต้องซ่อมให้ ณ โรงซ่อมที่จำเลยเห็นสมควรจนอยู่ในสภาพใช้การได้ จำเลยได้จัดสรรอู่ซ่อมรถให้โจทก์แล้วตามใบสั่งซ่อมมีหมายเหตุว่า ใบสั่งซ่อมนี้กำหนดใช้ภายใน 60 วันนับแต่วันสั่งซ่อม จำเลยจึงมีหน้าที่เร่งรัดให้ซ่อมรถโจทก์ให้เสร็จเรียบร้อยภายใน 60 วันตามที่หมายเหตุไว้ เมื่อจำเลยเพิกเฉยเสียปล่อยให้อู่ทำการซ่อมชักช้า และไม่จัดการเลิกจ้างแล้วเปลี่ยนอู่ซ่อมให้ใหม่ทำให้โจทก์ต้องเสียประโยชน์ต้องถือว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาแล้ว ชอบที่โจทก์จะนำรถไปให้อู่แห่งอื่นซ่อมแล้วเรียกร้องให้จำเลยใช้ค่าซ่อมให้เพราะเงื่อนไขดังกล่าวไม่เป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะป้องกันสิทธิของตน แต่โจทก์จะเรียกร้องเอาค่าขาดประโยชน์หาได้ไม่เพราะเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่อาจบังคับเอาแก่จำเลยได้ตามกรมธรรม์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2982/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์: ข้อยกเว้นค่าขาดประโยชน์ vs. ความรับผิดสัญญาซ่อมแซมชำรุด
โจทก์ได้ประกันภัยรถยนต์ไว้กับจำเลย ต่อมารถยนต์คันที่เอาประกันภัยเกิดอุบัติเหตุถูกชนเสียหายมากชำรุดใช้การไม่ได้ ปัญหาที่ว่าจำเลยจะต้องชดใช้ค่าที่โจทก์ขาดประโยชน์ในการให้เช่ารถระหว่างรถเข้าอู่ซ่อมเพียงไรหรือไม่นั้น เมื่อปรากฏตามสำเนากรมธรรม์ท้ายฟ้องตรงกับคู่ฉบับกรมธรรม์ที่จำเลยอ้างระบุข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยไว้ว่าไม่ต้องผูกพันรับผิดต่อสิทธิเรียกร้องใดๆอันเกี่ยวกับการขาดประโยชน์ ผลจึงเท่ากับโจทก์ผู้เอาประกันภัยยอมรับตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ สละสิทธิเรียกร้องในเหตุดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในค่าขาดประโยชน์ในการให้เช่ารถของโจทก์ได้ และปัญหาข้อนี้ไม่จำต้องวินิจฉัยจากการสืบพยานจำเลยเพราะอาจวินิจฉัยได้ตามความในเอกสารกรมธรรม์อยู่แล้ว
ตามกรมธรรม์ระบุไว้ว่า ในกรณียานยนต์เสียหาย จำเลยผูกพันรับผิดเพียงที่จะต้องซ่อมให้ ณ โรงซ่อมที่จำเลยเห็นสมควรจนอยู่ในสภาพใช้การได้ จำเลยได้จัดสรรอู่ซ่อมรถให้โจทก์แล้วตามใบสั่งซ่อมมีหมายเหตุว่า ใบสั่งซ่อมนี้กำหนดใช้ภายใน 60 วันนับแต่วันสั่งซ่อม จำเลยจึงมีหน้าที่เร่งรัดให้ซ่อมรถโจทก์ให้เสร็จเรียบร้อยภายใน 60 วันตามที่หมายเหตุไว้ เมื่อจำเลยเพิกเฉยเสียปล่อยให้อู่ทำการซ่อมชักช้า และไม่จัดการเลิกจ้างแล้วเปลี่ยนอู่ซ่อมให้ใหม่ทำให้โจทก์ต้องเสียประโยชน์ ต้องถือว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาแล้ว ชอบที่โจทก์จะนำรถไปให้อู่แห่งอื่นซ่อมแล้วเรียกร้องให้จำเลยใช้ค่าซ่อมให้ เพราะเงื่อนไขดังกล่าวไม่เป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะป้องกันสิทธิของตน แต่โจทก์จะเรียกร้องเอาค่าขาดประโยชน์หาได้ไม่เพราะเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่อาจบังคับเอาแก่จำเลยได้ตามกรมธรรม์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยรถยนต์: ความคุ้มครองกรณีชิงทรัพย์ระหว่างการเดินทาง
โจทก์นำรถยนต์เอาประกันวินาศภัยไว้กับจำเลย ตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัยระบุไว้ว่า "การสูญหรือเสียหายแก่ยานพาหนะที่ระบุไว้ในตารางแห่งกรมธรรม์นี้รวมทั้งเครื่องอุปกรณ์ในระหว่างที่ยังติดประจำอยู่อันเกิดจาก(ก)ไฟไหม้ฯลฯหรือลักทรัพย์หรือ(ข) การกลั่นแกล้งหรือ (ค) ระหว่างเดินทางโดยทางถนน รถไฟ ฯลฯ" เมื่อรถยนต์ของโจทก์ถูกคนร้ายชิงเอาไปขณะเดินทางโดยทางถนนจึงเป็นกรณีที่โจทก์สูญเสียยานพาหนะที่เอาประกันภัยไว้ในความผิดฐานชิงทรัพย์ ซึ่งมีการกระทำที่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์อยู่ในตัวถือได้ว่าโจทก์ต้องสูญเสียรถ เพราะมีการลักรถนั้นไป กรณีต้องตามเงื่อนไขในสัญญากรมธรรม์ประกันภัย จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 977/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยรถยนต์แบบค้ำจุน: อำนาจฟ้อง, ความรับผิด, และการตั้งอนุญาโตตุลาการ
โจทก์เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ไว้กับจำเลย ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยแบบประเภทบุคคลที่สาม ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 เรียกว่า ประกันภัยแบบค้ำจุน คือ ผู้รับประกันภัยตกลงจะใช้เงินค่าสินไหมทดแทนในนามผู้เอาประกันภัย เมื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่อีกบุคคลหนึ่ง และซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ โดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า คนขับรถของโจทก์ขับรถมาเกิดอุบัติเหตุชนกับรถยนต์ของผู้อื่นเสียหายและคนตาย ผู้เสียหายฟ้องให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหาย โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบแล้ว โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินจากจำเลยตามกรมธรรม์ประกันภัย ดังนี้ถือว่าฟ้องของโจทก์ชัดเจนและครบถ้วนตามกฎหมายแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ผู้เอาประกันภัยฟ้องเรียกเงินจากผู้รับประกันภัยแบบค้ำจุน เพื่อจะเอาเงินไปเฉลี่ยให้แก่ผู้เสียหายซึ่งฟ้องเรียกเอาจากผู้เอาประกันภัย นั้น ไม่ใช่เป็นการฟ้องแทนผู้เสียหาย จึงไม่ต้องมีอำนาจฟ้องตามกรมธรรม์ประกันภัยอยู่แล้ว
กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความระบุว่า ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยที่จะต้องรับผิดต่อบุคคลที่สามอันเกิดขึ้นจากการใช้ยานยนต์ที่ระบุในตารางแห่งกรมธรรม์นี้ ย่อมหมายความว่า การที่ผู้เอาประกันภัยใช้รถยนต์ไปเกิดเหตุขึ้น และผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดต่อบุคคลที่สามซึ่งรวมถึงความประมาทเลินเล่อของฝ่ายผู้เอาประกันภัยด้วย ดังนี้ ผู้รับประกันภัยย่อมต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลที่สามในนามของผู้เอาประกันภัย ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบกรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขระบุว่า เมื่อเกิดกรณีพิพาทขึ้นแล้ว คู่กรณีจะได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นแต่กรณีนี้ผู้รับประกันภัยมิได้เสนอตั้งอนุญาโตตุลาการ และยังบอกปัดปฏิเสธความรับผิดโดยสิ้นเชิง ดังนี้ ผู้เอาประกันภัยย่อมนำคดีมาฟ้องศาลโดยไม่ต้องตั้งอนุญาโตตุลาการได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 977/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยรถยนต์บุคคลที่สาม: ผู้รับประกันภัยต้องชดใช้ค่าเสียหายในนามผู้เอาประกันภัย แม้เกิดจากความประมาทของผู้เอาประกันภัย
โจทก์เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ไว้กับจำเลย ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยแบบประเภทบุคคลที่สาม ซึ่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 เรียกว่า ประกันภัยแบบค้ำจุน คือผู้รับประกันภัยตกลงจะใช้เงินค่าสินไหมทดแทนในนามผู้เอาประกันภัย เมื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่อีกบุคคลหนึ่ง และซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ โดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า คนขับรถของโจทก์ขับรถมาเกิดอุบัติเหตุชนกับรถยนต์ของผู้อื่นเสียหายและคนตายผู้เสียหายฟ้องให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหาย โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบแล้ว โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินจากจำเลยตามกรมธรรม์ประกันภัย ดังนี้ถือว่าฟ้องของโจทก์ชัดเจนและครบถ้วนตามกฎหมายแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ผู้เอาประกันภัยฟ้องเรียกเงินจากผู้รับประกันภัยแบบค้ำจุนเพื่อจะเอาเงินไปเฉลี่ยให้แก่ผู้เสียหายซึ่งฟ้องเรียกเอาจากผู้เอาประกันภัย นั้น ไม่ใช่เป็นการฟ้องแทนผู้เสียหายจึงไม่ต้องมีการมอบอำนาจให้ฟ้องเพราะผู้เอาประกันมีอำนาจฟ้องตามกรมธรรม์ประกันภัยอยู่แล้ว
กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความระบุว่า ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยที่จะต้องรับผิดต่อบุคคลที่สามอันเกิดขึ้นจากการใช้ยานยนต์ที่ระบุในตารางแห่งกรมธรรม์นี้ ย่อมหมายความว่า การที่ผู้เอาประกันภัยใช้รถยนต์ไปเกิดเหตุขึ้น และผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดต่อบุคคลที่สามซึ่งรวมถึงความประมาทเลินเล่อของฝ่ายผู้เอาประกันภัยด้วย ดังนี้ ผู้รับประกันภัยย่อมต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลที่สามในนามของผู้เอาประกันภัย ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบ
กรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขระบุว่า เมื่อเกิดกรณีพิพาทขึ้นแล้ว คู่กรณีจะได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้น แต่กรณีนี้ผู้รับประกันภัยมิได้เสนอตั้งอนุญาโตตุลาการ และยังบอกปัดปฏิเสธความรับผิดโดยสิ้นเชิง ดังนี้ผู้เอาประกันภัยย่อมนำคดีมาฟ้องศาลโดยไม่ต้องตั้งอนุญาโตตุลาการได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความคุ้มครองประกันภัยรถยนต์: 'อุบัติเหตุ' รวมถึงความประมาท
ตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ว่าผู้รับประกันจะยอมรับใช้เงินให้ในกรณีมีอุบัติเหตุนั้น คำว่า 'อุบัติเหตุ' ก็คือเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่ทันคิดหรือความบังเอิญเป็นซึ่งหมายความว่าเป็นเหตุที่เกิดหรือเป็นขึ้นโดยมิได้จงใจฉะนั้น จึงรวมถึงเหตุที่เกิดขึ้นโดยประมาทด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยรถยนต์: การซ่อมแซมไม่สมบูรณ์ ผู้รับประกันต้องรับรถและชำระค่าสินไหมทดแทน
รับประกันภัยรถยนต์แบบประกันสิ้นเชิง โดยตีราคาไว้เป็นเงินจำนวนหนึ่งเมื่อรถยนต์ประสพอุปัทวเหตุเสียหายยับเยินไม่อาจซ่อมให้คืนใช้การได้ดีดังเดิมผู้รับประกันต้องรับเอารถไว้ และใช้ราคาตามจำนวนเงินที่เอาประกันไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9402/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับประกันภัยรถยนต์: วงเงินคุ้มครอง, การไล่เบี้ย, และดอกเบี้ยค้างชำระ
บ. ซึ่งนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์คันที่บริษัท ว. เป็นผู้รับประกันภัยตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต โดยเหตุเกิดจากจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยด้วยความประมาทเลินเล่อ โจทก์ที่ 1 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ บ. ผู้ประสบภัยจึงมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง บริษัท ว. จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 50,000 บาท แล้ว เมื่อเหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 บริษัท ว. มีสิทธิเรียกเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 ขับ ตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว เช่นนี้จำเลยที่ 2 ชอบที่จะกันเงิน 50,000 บาท ไว้เพื่อคืนแก่บริษัท ว. ดังนั้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ที่ 1 ตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจึงเหลือเพียง 50,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 2 วางเงินชำระต่อศาลชั้นต้นไว้แล้ว 50,000 บาท เมื่อรวมกับเงิน 50,000 บาท ที่ต้องกันไว้เพื่อคืนบริษัท ว. แล้ว เป็นเงิน 100,000 บาท เต็มวงเงินคุ้มครองผู้ประสบภัย 100,000 บาท ต่อหนึ่งคน สำหรับการเสียชีวิตแล้ว จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระเงิน 50,000 บาท แก่โจทก์ที่ 1 ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 อีก แต่เนื่องจากจำเลยที่ 2 วางเงินต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระแก่โจทก์ที่ 1 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2550 ช่วงเวลาก่อนหน้านั้น จำเลยที่ 2 ยังคงมีความรับผิดในดอกเบี้ยของต้นเงิน 50,000 บาท จนกว่าจะชำระหนี้เสร็จ จำเลยที่ 2 จึงต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 50,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่ 27 พฤษภาคม 2550
of 11