พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลดอัตราเงินสมทบประกันสังคม: พิจารณาจากโครงสร้างเงินเดือนลูกจ้างทั้งระบบ
เมื่อปรากฏว่าสวัสดิการที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างในกรณีการตาย นั้น บางกรณีลูกจ้างได้รับประโยชน์สูงกว่าบางกรณีได้รับประโยชน์ต่ำกว่าประโยชน์ทดแทนกรณีตาย ตามพ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ดังนี้การจะพิจารณาว่าสวัสดิการของโจทก์ที่จัดให้แก่ลูกจ้างในกรณีการตาย อันมิใช่เนื่องมาจากการทำงานนั้น มีการจ่ายในอัตราสูงกว่าประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ หรือไม่ จะต้องพิจารณาจากโครงสร้างอัตราเงินเดือนของลูกจ้างทั้งระบบ มิใช่พิจารณาแต่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง กรณีนี้เมื่อพิจารณาโครงสร้างอัตราเงินเดือนของลูกจ้างทั้งระบบแล้วสวัสดิการของโจทก์ที่จัดให้แก่ลูกจ้างมีอัตราสูงกว่าประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ. ประกันสังคมฯ โจทก์จึงมีสิทธิขอลดส่วนอัตราเงินสมทบสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีตาย ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดอัตราเงินสมทบประกันสังคม: พิจารณาโครงสร้างเงินเดือนลูกจ้างทั้งระบบเพื่อเปรียบเทียบสวัสดิการนายจ้าง
การพิจารณาว่านายจ้างจัดสวัสดิการให้แก่ลูกจ้างในกรณีตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงานมีการจ่ายในอัตราสูงกว่าประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 55 หรือไม่จะต้องพิจารณาโครงสร้างอัตราเงินเดือนของลูกจ้างทั้งระบบมิใช่พิจารณาแต่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง เมื่อพิจารณาโครงสร้างอัตราเงินเดือนของลูกจ้างทั้งระบบแล้วสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างในกรณีการตายอันมิใช่เนื่องมาจากการทำงานนั้น มีการจ่ายในอัตราสูงกว่าประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ นายจ้างจึงมีสิทธิขอลดส่วนอัตราเงินสมทบสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีตายได้ในอัตราร้อยละ 0.06
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลดอัตราเงินสมทบประกันสังคม กรณีสวัสดิการของนายจ้างสูงกว่าประโยชน์ทดแทน
การพิจารณาการจัดสวัสดิการของโจทก์ให้แก่ลูกจ้างในกรณีตายนั้นจะต้องพิจารณาโครงสร้างอัตราเงินเดือนของลูกจ้างทั้งระบบมิใช่พิจารณาแต่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่งเมื่อลูกจ้างส่วนใหญ่ได้รับสวัสดิการรวมแล้วสูงกว่าประโยชน์ทดแทนในกรณีตายตามพระราชบัญญัติประกันสังคม ฯ โจทก์จึงมีสิทธิขอลดส่วนอัตราเงินเดือนสมทบสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีตายได้ในอัตราร้อยละ 0.06
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9484/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพตามอัตราเดิม แม้มีการเปลี่ยนแปลงประกาศอัตราผลประโยชน์
ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 77 ทวิ กำหนดว่าในกรณีที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบเดือนให้มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพตั้งแต่เดือนถัดจากเดือนที่อายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ เว้นแต่เมื่อมีอายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์และความเป็นผู้ประกันตนยังไม่สิ้นสุดลงตามมาตรา 38 หรือมาตรา 41 ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับตั้งแต่เดือนถัดจากเดือนที่ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง และในกรณีที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบไม่ครบหนึ่งร้อยแปดสิบเดือนและความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตามมาตรา 38 หรือมาตรา 41 ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ ดังนั้น สิทธิในการได้รับเงินบำเหน็จชราภาพของโจทก์จึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนที่ความเป็นผู้ประกันตนของโจทก์สิ้นสุดลงคือเดือนธันวาคม 2551 ซึ่งขณะที่ความเป็นผู้ประกันตนของโจทก์สิ้นสุดลงนั้นยังอยู่ภายใต้บังคับประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง กำหนดอัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพประจำปี พ.ศ.2550 ที่กำหนดให้โจทก์มีสิทธิได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพในอัตราร้อยละ 6.30 ต่อปี ของเงินสมทบสุทธิ แม้ต่อมาจะมีการออกประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง กำหนดอัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพประจำปี พ.ศ.2551 ในวันที่ 26 มกราคม 2552 ที่กำหนดอัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพเป็นร้อยละ 0.10 ต่อปี และโจทก์ยื่นคำขอรับเงินบำเหน็จชราภาพในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 ซึ่งเป็นวันหลังจากจำเลยออกประกาศเรื่อง กำหนดอัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพประจำปี พ.ศ.2551 ก็ตาม แต่เมื่อประกาศดังกล่าว ข้อ 4 กำหนดว่าผู้ใดมีสิทธิได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับอยู่เพียงใด ก็ให้มีสิทธิได้รับผลประโยชน์ตอบแทนนั้นต่อไปตามสิทธิ ดังนั้น เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพในอัตราร้อยละ 6.30 อยู่ก่อนวันที่มีประกาศของจำเลยประจำปี พ.ศ.2551 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าวต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาลจากประกันสังคมเมื่อสถานพยาบาลตามสิทธิปฏิเสธการรักษา
วันที่ 5 มกราคม 2551 โจทก์ปวดท้องน้อยด้านซ้ายจึงไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลตามสิทธิ แพทย์แนะนำให้ผ่าตัดและให้ยาแก้ปวดมารับประทานแล้วให้โจทก์กลับบ้าน วันที่ 6 มกราคม 2551 โจทก์ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล ศ. เนื่องด้วยปวดท้องน้อยด้านซ้าย แพทย์สันนิษฐานว่าเป็นเนื้องอกยื่นออกจากมดลูกหรือเป็นเนื้องอกของรังไข่ด้านซ้าย แพทย์นัดใหม่วันที่ 9 มกราคม 2551 ในวันที่ 6 และวันที่ 9 มกราคม 2551 โจทก์โทรศัพท์สอบถามขอรับการผ่าตัดจากสถานพยาบาลตามสิทธิแต่ไม่มีคำตอบที่ชัดเจน เพียงแต่ได้รับแจ้งว่ายังไม่ได้รับอนุมัติจากจำเลยที่ 1 หรือห้องผ่าตัดไม่ว่าง ถึงวันที่ 9 มกราคม 2551 ซึ่งเป็นวันนัดโจทก์ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล ศ. และรับการผ่าตัดในวันที่ 10 มกราคม 2551 โดยเสียค่ารักษาพยาบาลไป 67,332 บาท
เมื่อแพทย์ของสถานพยาบาลตามสิทธิวินิจฉัยแล้วว่าต้องรักษาโจทก์ด้วยการผ่าตัดแต่กลับไม่ดำเนินการรับโจทก์ไว้รักษาหรือวางแผนการรักษาทันที โดยอ้างว่าอาการของโจทก์ไม่รุนแรงและไม่ฉุกเฉิน การผ่าตัดรอได้ เพียงแต่ให้ยาแก้ปวดไปรับประทานที่บ้าน เป็นการไม่ให้การรักษาที่จำเป็นและสมควรแก่อาการป่วยของโจทก์ โจทก์โทรศัพท์สอบถามขอรับการผ่าตัดจากสถานพยาบาลตามสิทธิถึง 2 ครั้ง ก่อนที่จะได้รับการผ่าตัดจากโรงพยาบาล ศ. แต่ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนจนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล ศ. เป็นกรณีโจทก์ใช้ความพยายามที่จะขอรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลตามสิทธิโดยปฏิบัติตามเงื่อนไขของ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 และตามที่จำเลยที่ 1 กำหนดไว้อย่างเต็มที่เท่าที่ตนจะพึงทำได้แล้ว ถือเป็นเหตุสมควรที่โจทก์ไม่สามารถรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลตามสิทธิได้ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 59 วรรคสอง จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องจัดให้โจทก์ได้รับบริการทางการแพทย์และตามสัญญา เมื่อสถานพยาบาลตามสิทธิไม่ให้การรักษา จึงเป็นกรณีจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ไม่ครบถ้วนถูกต้อง จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ตามจำนวนที่โจทก์เสียไปคืนแก่โจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้ได้รับความคุ้มครองสิทธิประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงานจากการเป็นผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นทั้งหมดเพื่อให้ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิตามกฎหมายหรือไม่ เพียงใด ทั้ง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 เป็นกฎหมายมหาชนที่ศาลต้องบังคับใช้ให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมยิ่งกว่าข้อจำกัดของวิธีพิจารณาความเช่นที่ใช้ในคดีแพ่งทั่วไป ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจยกเหตุตามมาตรา 59 ขึ้นวินิจฉัยได้แม้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยทั้งสองโดยอ้างเหตุว่าอาการเจ็บป่วยของโจทก์เป็นกรณีฉุกเฉินเท่านั้น
แม้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 2 ด้วยเหตุผลว่าเพราะโจทก์ไม่สามารถไปรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลตามสิทธิได้ ซึ่งเป็นคนละเหตุกับที่จำเลยทั้งสองวินิจฉัยว่าอาการเจ็บป่วยของโจทก์ไม่ใช่กรณีฉุกเฉินและจำเป็นที่ต้องรับการรักษาในทันทีในสถานพยาบาลอื่นนอกจากสถานพยาบาลตามสิทธิ ก็เป็นเรื่องที่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์และต้องสั่งให้จำเลยที่ 1 จ่ายเงินทดแทนแก่โจทก์ จึงต้องเพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวเพื่อไม่ให้ขัดแย้งกับผลของคำพิพากษา
เมื่อแพทย์ของสถานพยาบาลตามสิทธิวินิจฉัยแล้วว่าต้องรักษาโจทก์ด้วยการผ่าตัดแต่กลับไม่ดำเนินการรับโจทก์ไว้รักษาหรือวางแผนการรักษาทันที โดยอ้างว่าอาการของโจทก์ไม่รุนแรงและไม่ฉุกเฉิน การผ่าตัดรอได้ เพียงแต่ให้ยาแก้ปวดไปรับประทานที่บ้าน เป็นการไม่ให้การรักษาที่จำเป็นและสมควรแก่อาการป่วยของโจทก์ โจทก์โทรศัพท์สอบถามขอรับการผ่าตัดจากสถานพยาบาลตามสิทธิถึง 2 ครั้ง ก่อนที่จะได้รับการผ่าตัดจากโรงพยาบาล ศ. แต่ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนจนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล ศ. เป็นกรณีโจทก์ใช้ความพยายามที่จะขอรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลตามสิทธิโดยปฏิบัติตามเงื่อนไขของ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 และตามที่จำเลยที่ 1 กำหนดไว้อย่างเต็มที่เท่าที่ตนจะพึงทำได้แล้ว ถือเป็นเหตุสมควรที่โจทก์ไม่สามารถรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลตามสิทธิได้ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 59 วรรคสอง จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องจัดให้โจทก์ได้รับบริการทางการแพทย์และตามสัญญา เมื่อสถานพยาบาลตามสิทธิไม่ให้การรักษา จึงเป็นกรณีจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ไม่ครบถ้วนถูกต้อง จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ตามจำนวนที่โจทก์เสียไปคืนแก่โจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้ได้รับความคุ้มครองสิทธิประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงานจากการเป็นผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นทั้งหมดเพื่อให้ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิตามกฎหมายหรือไม่ เพียงใด ทั้ง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 เป็นกฎหมายมหาชนที่ศาลต้องบังคับใช้ให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมยิ่งกว่าข้อจำกัดของวิธีพิจารณาความเช่นที่ใช้ในคดีแพ่งทั่วไป ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจยกเหตุตามมาตรา 59 ขึ้นวินิจฉัยได้แม้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยทั้งสองโดยอ้างเหตุว่าอาการเจ็บป่วยของโจทก์เป็นกรณีฉุกเฉินเท่านั้น
แม้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 2 ด้วยเหตุผลว่าเพราะโจทก์ไม่สามารถไปรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลตามสิทธิได้ ซึ่งเป็นคนละเหตุกับที่จำเลยทั้งสองวินิจฉัยว่าอาการเจ็บป่วยของโจทก์ไม่ใช่กรณีฉุกเฉินและจำเป็นที่ต้องรับการรักษาในทันทีในสถานพยาบาลอื่นนอกจากสถานพยาบาลตามสิทธิ ก็เป็นเรื่องที่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์และต้องสั่งให้จำเลยที่ 1 จ่ายเงินทดแทนแก่โจทก์ จึงต้องเพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวเพื่อไม่ให้ขัดแย้งกับผลของคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4373/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนประกันสังคมกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน การพิจารณาความจำเป็นทางการแพทย์เมื่อโรงพยาบาลตามสิทธิไม่สามารถให้บริการได้
อาการป่วยของโจทก์ไม่ได้เกิดขึ้นโดยปัจจุบันทันด่วน เพราะมีการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ว. อันเป็นโรงพยาบาลตามสิทธิมาระยะหนึ่งแล้ว แต่อาการของโจทก์ไม่ดีขึ้นมีแต่จะทรุดลงจนเมื่อแพทย์ตรวจวินิจฉัยได้ข้อสรุปว่าน่าจะเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี จำเป็นต้องทำการเอ็กซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องเอ็กซเรย์ของโรงพยาบาลตามสิทธิก็ชำรุด แพทย์ผู้ทำการรักษาต้องสั่งให้นำตัวโจทก์ไปเอ็กซเรย์ที่ศูนย์ประชาชื่นโดยกำหนดนัดไว้แล้ว ก็ไม่อาจดำเนินการได้เพราะติดขัดที่ขั้นตอนอนุมัติของผู้อำนวยการโรงพยาบาลตามสิทธิ และไม่มีการนัดไปทำการเอ็กซเรย์ที่ศูนย์ประชาชื่นอีก ในขณะที่โจทก์ยังคงมีอาการเจ็บปวดมากขึ้นไม่มีความหวังว่าจะได้รับการรักษาต่อไปอย่างไร เสี่ยงต่อความตายหรือไม่ จนไม่อาจรอรับการรักษาจากโรงพยาบาลตามสิทธิอีกต่อไป โดยแพทย์ผู้ทำการรักษาโจทก์ที่โรงพยาบาล ธ. ก็ให้ความเห็นว่า อาการป่วยของโจทก์มีความจำเป็นต้องรักษารีบด่วน หากมิได้รับการรักษาพยาบาลทันทีทันใดอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ดังนี้ ถือได้แล้วว่าเป็นกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลเป็นการด่วน และมีความจำเป็นเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการรักษาของโรงพยาบาลตามสิทธิชำรุด โจทก์มีเหตุผลสมควรที่ไม่สามารถรับบริการทางการแพทย์จากโรงพยาบาลตามสิทธิได้ โจทก์มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีเจ็บป่วย ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 59
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ม.39 จากการขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือน และไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งเตือน
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ไม่มีบทบัญญัติกำหนดให้สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือเตือนผู้ประกันตนที่ผิดนัดชำระเงินสมทบเสียก่อนจึงจะถือว่าขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้ประกันตามมาตรา 39
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 39 ไม่สามารถส่งเงินสมทบเป็นเวลา 3 เดือนติดต่อกันไม่ว่าด้วยเหตุผลใด ย่อมมีผลให้สถานะความเป็นผู้ประกันตนของโจทก์สิ้นสุดลงทันทีตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 41 (4) เนื่องจากไม่มีบทกฎหมายกำหนดข้อยกเว้นให้ผู้ประกันตนที่ไม่มีรายได้จะส่งเงินสมทบยังคงรักษาสถานะความเป็นผู้ประกันตนต่อไปได้ เพราะความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 เป็นเรื่องความสมัครใจของผู้ประกันตนที่จะส่งเงินสมทบ อีกทั้งไม่เป็นธรรมที่รัฐจะต้องนำเงินภาษีอากรของประชาชนมาจ่ายเงินสมทบเพื่อประโยชน์ของผู้ประกันตนที่ผิดข้อตกลงหรือผิดหน้าที่ส่งเงินสมทบ
ส่วนเรื่องที่รัฐจะนิรโทษกรรมการผิดข้อตกลงไม่จ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตนและให้ถือว่าไม่ขาดจากการเป็นผู้ประกันตนหรือยินยอมให้ผู้ประกันตนสามารถเข้าเป็นผู้ประกันตนต่อไปได้ ก็เป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกับผลทางกฎหมายของมาตรา 41 และเป็นเรื่องที่รัฐจะต้องใช้อำนาจตรากฎหมายขึ้นมาอีกส่วนหนึ่งซึ่งขณะนี้ยังไม่มี
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 39 ไม่สามารถส่งเงินสมทบเป็นเวลา 3 เดือนติดต่อกันไม่ว่าด้วยเหตุผลใด ย่อมมีผลให้สถานะความเป็นผู้ประกันตนของโจทก์สิ้นสุดลงทันทีตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 41 (4) เนื่องจากไม่มีบทกฎหมายกำหนดข้อยกเว้นให้ผู้ประกันตนที่ไม่มีรายได้จะส่งเงินสมทบยังคงรักษาสถานะความเป็นผู้ประกันตนต่อไปได้ เพราะความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 เป็นเรื่องความสมัครใจของผู้ประกันตนที่จะส่งเงินสมทบ อีกทั้งไม่เป็นธรรมที่รัฐจะต้องนำเงินภาษีอากรของประชาชนมาจ่ายเงินสมทบเพื่อประโยชน์ของผู้ประกันตนที่ผิดข้อตกลงหรือผิดหน้าที่ส่งเงินสมทบ
ส่วนเรื่องที่รัฐจะนิรโทษกรรมการผิดข้อตกลงไม่จ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตนและให้ถือว่าไม่ขาดจากการเป็นผู้ประกันตนหรือยินยอมให้ผู้ประกันตนสามารถเข้าเป็นผู้ประกันตนต่อไปได้ ก็เป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกับผลทางกฎหมายของมาตรา 41 และเป็นเรื่องที่รัฐจะต้องใช้อำนาจตรากฎหมายขึ้นมาอีกส่วนหนึ่งซึ่งขณะนี้ยังไม่มี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นายจ้างนำส่งเงินสมทบประกันสังคม แม้มีคำสั่งทบทวนสิทธิลูกจ้าง
แม้ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 85 บัญญัติให้นายจ้าง ผู้ประกันตน หรือบุคคลอื่นใดซึ่งไม่พอใจคำสั่งของเลขาธิการหรือของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งการตาม พ.ร.บ.นี้มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว แต่ก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่ห้ามเลขาธิการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาทบทวนและเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งคำวินิจฉัยนั้น
เดิมสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 4 มีคำสั่งว่าโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไม่จำต้องนำส่งเงินสมทบทั้งในส่วนของลูกจ้างและของนายจ้างอีกต่อไปนับแต่งวดเดือนมีนาคม 2552 เนื่องจากโจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์เป็นนายจ้างของพนักงานขาย SA โจทก์จึงไม่ได้นำส่งเงินสมทบนับแต่งวดเดือนมีนาคม 2552 ถึงงวดเดือนสิงหาคม 2552 ต่อมาสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 4 แจ้งให้โจทก์ทราบความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาทบทวนคำสั่งเดิมและยกเลิกคำสั่งเดิมแล้วมีคำสั่งใหม่เนื่องจากมติของคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงแรงงานซึ่งเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมให้ความเห็นชอบ โดยมีคำสั่งใหม่ว่าให้พิจารณานิติสัมพันธ์ความเป็นลูกจ้างของโจทก์เป็นราย ๆ ไป และก่อนที่จะวินิจฉัยนิติสัมพันธ์ความเป็นลูกจ้างของโจทก์แต่ละราย ให้โจทก์ส่งเงินสมทบให้แก่พนักงานขาย SA นับแต่งวดเดือนมีนาคม 2552 เป็นต้นไปก่อน โจทก์และลูกจ้างของโจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งต่อไปได้ ดังนี้การพิจารณาทบทวนคำสั่งเดิม ยกเลิกคำสั่ง และออกคำสั่งใหม่ของสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 4 จึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 4 ยังไม่ได้ปลดชื่อพนักงานขาย SA ออกจากการเป็นผู้ประกันตน ซึ่งมีพนักงานขาย SA จำนวน 10 คน ยื่นขอรับและได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมกรณีเจ็บป่วย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร และชราภาพ อันเป็นการใช้สิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนได้ในฐานะผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 และเมื่อโจทก์กับพนักงานขาย SA มีนิติสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง โจทก์จึงมีหน้าที่หักค่าจ้างนำส่งเป็นเงินสมทบในส่วนของลูกจ้างและนำส่งเงินสมทบในส่วนของนายจ้างให้แก่จำเลยตั้งแต่งวดเดือนมีนาคม 2552 เป็นต้นไป ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 46 และมาตรา 47
เดิมสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 4 มีคำสั่งว่าโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไม่จำต้องนำส่งเงินสมทบทั้งในส่วนของลูกจ้างและของนายจ้างอีกต่อไปนับแต่งวดเดือนมีนาคม 2552 เนื่องจากโจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์เป็นนายจ้างของพนักงานขาย SA โจทก์จึงไม่ได้นำส่งเงินสมทบนับแต่งวดเดือนมีนาคม 2552 ถึงงวดเดือนสิงหาคม 2552 ต่อมาสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 4 แจ้งให้โจทก์ทราบความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาทบทวนคำสั่งเดิมและยกเลิกคำสั่งเดิมแล้วมีคำสั่งใหม่เนื่องจากมติของคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงแรงงานซึ่งเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมให้ความเห็นชอบ โดยมีคำสั่งใหม่ว่าให้พิจารณานิติสัมพันธ์ความเป็นลูกจ้างของโจทก์เป็นราย ๆ ไป และก่อนที่จะวินิจฉัยนิติสัมพันธ์ความเป็นลูกจ้างของโจทก์แต่ละราย ให้โจทก์ส่งเงินสมทบให้แก่พนักงานขาย SA นับแต่งวดเดือนมีนาคม 2552 เป็นต้นไปก่อน โจทก์และลูกจ้างของโจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งต่อไปได้ ดังนี้การพิจารณาทบทวนคำสั่งเดิม ยกเลิกคำสั่ง และออกคำสั่งใหม่ของสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 4 จึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 4 ยังไม่ได้ปลดชื่อพนักงานขาย SA ออกจากการเป็นผู้ประกันตน ซึ่งมีพนักงานขาย SA จำนวน 10 คน ยื่นขอรับและได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมกรณีเจ็บป่วย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร และชราภาพ อันเป็นการใช้สิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนได้ในฐานะผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 และเมื่อโจทก์กับพนักงานขาย SA มีนิติสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง โจทก์จึงมีหน้าที่หักค่าจ้างนำส่งเป็นเงินสมทบในส่วนของลูกจ้างและนำส่งเงินสมทบในส่วนของนายจ้างให้แก่จำเลยตั้งแต่งวดเดือนมีนาคม 2552 เป็นต้นไป ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 46 และมาตรา 47
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1441/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเที่ยวเป็นค่าจ้าง เงินสมทบประกันสังคม นายจ้างต้องจ่ายเงินเพิ่มแม้ศาลเคยตัดสินว่าไม่ใช่ค่าจ้าง
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 49 บัญญัติให้นายจ้างซึ่งนำส่งเงินสมทบไม่ครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 47 ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่ เป็นการบัญญัติหน้าที่และจำนวนเงินที่ต้องจ่ายเงินเพิ่มไว้โดยชัดแจ้งและเคร่งครัด สามารถคำนวณเงินเพิ่มได้แน่นอน และไม่มีข้อยกเว้นไม่ว่านายจ้างจะมีเหตุผลอันสมควรหรือไม่
โจทก์ (นายจ้าง) ไม่นำค่าเที่ยวซึ่งเป็นค่าจ้างของลูกจ้างรวมเข้าเป็นฐานคำนวณเงินสมทบ จึงนำส่งเงินสมทบให้แก่จำเลยไม่ครบจำนวน โจทก์ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่
โจทก์ (นายจ้าง) ไม่นำค่าเที่ยวซึ่งเป็นค่าจ้างของลูกจ้างรวมเข้าเป็นฐานคำนวณเงินสมทบ จึงนำส่งเงินสมทบให้แก่จำเลยไม่ครบจำนวน โจทก์ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7366/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีประกันสังคมและการพิจารณาความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างตามกฎหมาย
จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเนื่องจากโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ คณะกรรมการอุทธรณ์จึงเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ จำเลยมิได้เป็นผู้มีคำวินิจฉัยจึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ อันเป็นประเด็นแห่งคดีซึ่งศาลแรงงานกลางจะต้องมีคำวินิจฉัย แต่ศาลแรงงานกลางยังมิได้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ลักษณะ 2 หมวด 1 บัญญัติให้เรื่องการเป็นผู้ประกันตนอยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของสำนักงานประกันสังคมจำเลย และยังให้สิทธิว่าหากไม่พอใจคำสั่งของเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมหรือของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมที่สั่งการตามกฎหมายฉบับนี้ ให้มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่งตามมาตรา 85 คณะกรรมการอุทธรณ์ที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 86 ก็เป็นคณะกรรมการของจำเลยโดยผู้แทนสำนักงานประกันสังคมเป็นกรรมการและเลขานุการเพื่อต้องการให้คณะกรรมการอุทธรณ์ได้ตรวจสอบคำสั่งของเลขาธิการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมอีกชั้นหนึ่ง ดังนั้นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์จึงเป็นคำสั่งในหน่วยงานของจำเลย นอกจากนี้มาตรา 87 วรรคท้าย ยังได้บัญญัติรับรองสิทธิไว้อีกว่า คำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์นั้น ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่พอใจให้มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย ดังนี้ เมื่อจำเลยแจ้งยกเลิกการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ของโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ และคณะกรรมการอุทธรณ์ของจำเลยมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์ของโจทก์ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
การที่จะพิจารณาความสัมพันธ์ของบุคคลว่าเป็นนายจ้างและลูกจ้างกันหรือไม่ นอกจากจะพิจารณาว่าบุคคลทั้งสองฝ่ายมีความสัมพันธ์ดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 5 แล้ว ยังต้องปรากฏข้อเท็จจริงด้วยว่าบุคคลที่เป็นลูกจ้างอยู่ในอำนาจบังคับบัญชาโดยต้องปฏิบัติตามคำสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบุคคลที่เป็นนายจ้าง ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ตามความเป็นจริงของความเป็นนายจ้างและลูกจ้างดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 583 ด้วย เมื่อโจทก์มีอิสระในการทำงาน ไม่ต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชา และไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับในการทำงานของบริษัท ต. ไม่ต้องลงเวลาทำงาน สามารถตัดสินใจในกิจการของบริษัทได้โดยลำพังไม่ต้องปรึกษาผู้ใด โดยโจทก์มีหน้าที่ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าของบริษัท และงบดุลของบริษัท ไม่ปรากฏว่าบริษัทดังกล่าวมีรายได้จากการขายสินค้าแต่อย่างใด แสดงว่าลักษณะการทำงานของโจทก์นั้น โจทก์จะทำงานอย่างไรก็ได้ ไม่ว่าจะมีผลงานหรือไม่มีผลงาน ก็ไม่มีการให้คุณให้โทษแก่โจทก์ อันแสดงให้เห็นว่าการทำงานของโจทก์มิได้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของบริษัท ต. ดังนั้น นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับบริษัท ต. จึงมิได้อยู่ในฐานะเป็นนายจ้างและลูกจ้างกัน อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเข้าเป็นผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 33 ได้
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ลักษณะ 2 หมวด 1 บัญญัติให้เรื่องการเป็นผู้ประกันตนอยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของสำนักงานประกันสังคมจำเลย และยังให้สิทธิว่าหากไม่พอใจคำสั่งของเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมหรือของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมที่สั่งการตามกฎหมายฉบับนี้ ให้มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่งตามมาตรา 85 คณะกรรมการอุทธรณ์ที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 86 ก็เป็นคณะกรรมการของจำเลยโดยผู้แทนสำนักงานประกันสังคมเป็นกรรมการและเลขานุการเพื่อต้องการให้คณะกรรมการอุทธรณ์ได้ตรวจสอบคำสั่งของเลขาธิการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมอีกชั้นหนึ่ง ดังนั้นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์จึงเป็นคำสั่งในหน่วยงานของจำเลย นอกจากนี้มาตรา 87 วรรคท้าย ยังได้บัญญัติรับรองสิทธิไว้อีกว่า คำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์นั้น ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่พอใจให้มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย ดังนี้ เมื่อจำเลยแจ้งยกเลิกการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ของโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ และคณะกรรมการอุทธรณ์ของจำเลยมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์ของโจทก์ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
การที่จะพิจารณาความสัมพันธ์ของบุคคลว่าเป็นนายจ้างและลูกจ้างกันหรือไม่ นอกจากจะพิจารณาว่าบุคคลทั้งสองฝ่ายมีความสัมพันธ์ดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 5 แล้ว ยังต้องปรากฏข้อเท็จจริงด้วยว่าบุคคลที่เป็นลูกจ้างอยู่ในอำนาจบังคับบัญชาโดยต้องปฏิบัติตามคำสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบุคคลที่เป็นนายจ้าง ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ตามความเป็นจริงของความเป็นนายจ้างและลูกจ้างดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 583 ด้วย เมื่อโจทก์มีอิสระในการทำงาน ไม่ต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชา และไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับในการทำงานของบริษัท ต. ไม่ต้องลงเวลาทำงาน สามารถตัดสินใจในกิจการของบริษัทได้โดยลำพังไม่ต้องปรึกษาผู้ใด โดยโจทก์มีหน้าที่ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าของบริษัท และงบดุลของบริษัท ไม่ปรากฏว่าบริษัทดังกล่าวมีรายได้จากการขายสินค้าแต่อย่างใด แสดงว่าลักษณะการทำงานของโจทก์นั้น โจทก์จะทำงานอย่างไรก็ได้ ไม่ว่าจะมีผลงานหรือไม่มีผลงาน ก็ไม่มีการให้คุณให้โทษแก่โจทก์ อันแสดงให้เห็นว่าการทำงานของโจทก์มิได้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของบริษัท ต. ดังนั้น นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับบริษัท ต. จึงมิได้อยู่ในฐานะเป็นนายจ้างและลูกจ้างกัน อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเข้าเป็นผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 33 ได้