คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 312 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: การพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 140 วรรคท้าย
พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ไม่มีบทบัญญัติถึงวันที่ให้ถือว่าเป็นวันที่พิพากษาหรือมีคำสั่งคดีนั้นแต่มาตรา153บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมกรณีจึงอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา140วรรคท้ายซึ่งบัญญัติว่าเมื่อศาลได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งตามบทบัญญัติในมาตรานี้วันใดให้ถือว่าวันนั้นเป็นวันที่พิพากษาหรือมีคำสั่งคดีนั้นจึงต้องถือว่าวันที่4พฤศจิกายน2531เป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวไม่ใช่วันที17ตุลาคม2531ซึ่งร่างคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวยังอยู่ที่อธิบดีผู้พิพากษาภาค1และไม่สามารถอ่านในวันดังกล่าวได้ตามที่นัดไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2437/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 304: เพียงแจ้งการยึดและส่งสำเนาหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ก็ถือเป็นการยึดตามกฎหมาย
เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับสำเนาหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยที่3แล้วจึงได้แจ้งการยึดที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างต่อจำเลยที่3ทั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียังได้แจ้งการยึดให้นายอำเภอในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินทราบแล้วด้วยจึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการยึดอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา304วรรคหนึ่งการกระทำของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบด้วยกฎหมายแล้วโดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไปยึดยังที่ดินและปิดประกาศการยึดไว้หรือไม่เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1937/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาใหม่และการอุทธรณ์คำสั่งศาล: คำสั่งพิจารณาใหม่หลังพิพากษาถึงที่สุดแล้วไม่อาจอุทธรณ์ได้
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้พิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา208เป็นคำสั่งภายหลังเมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาคดีแล้วไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาแต่เป็นคำสั่งชี้ขาดใดๆซึ่งอยู่ในบังคับของการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดซึ่งต้องยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด1เดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งดังกล่าวให้คู่ความฟังตามมาตรา223และ229เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้พิจารณาใหม่ภายใน1เดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงถึงที่สุดแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์อีกแม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์โดยชอบโจทก์จะยกขึ้นฎีกาต่อมาไม่ได้มาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8065/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความต้องมีคำขอบังคับชัดเจนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองโดยอ้างมูลคดีว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันที่โจทก์กับจำเลยทั้งสองทำกันไว้ส่วนผู้ร้องขอเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามโดยอ้างนิติสัมพันธ์ตามสัญญาซื้อขายที่ผู้ร้องกับจำเลยที่1มีต่อกันเป็นคำร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1)ซึ่งเป็นคำฟ้องตามมาตรา172วรรคสองที่ต้องแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับแต่คำร้องของผู้ร้องมิได้มีคำขอบังคับโดยชัดแจ้งหรือมีคำขอบังคับอยู่ในตัวว่าอย่างไรเป็นคำร้องที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7844/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเลื่อนการพิจารณาคดีเนื่องจากป่วยและการดำเนินการตามขั้นตอนของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนการพิจารณาและถือว่าจำเลยไม่มีพยานมาศาลแล้วยกคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลย โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่ต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ไปวินิจฉัยว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา โดยไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่ามีเหตุสมควรที่จะให้จำเลยเลื่อนการพิจารณาและศาลชั้นต้นควรจะไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยต่อไปหรือไม่เป็นการไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ ย่อมไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142ประกอบด้วยมาตรา 246 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 41ถ้ามีการเลื่อนการพิจารณาโดยอ้างว่าผู้ใดไม่สามารถมาศาลได้เพราะเจ็บป่วยหากศาลไม่เชื่อว่าเป็นความจริงก็จะต้องมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานไปตรวจและรายงานให้ศาลทราบเสียก่อน จึงจะสั่งให้อนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เลื่อนการพิจารณา การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องขอเลื่อนการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยแล้วมีคำสั่งว่า ไม่น่าเชื่อว่าจำเลยป่วยไม่สามารถมาศาลได้เป็นการข้ามขั้นตอน จึงไม่ชอบด้วยมาตรา 41

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 746-750/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแพ่ง: ผลกระทบจาก พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534 และความรับผิดทางละเมิดร่วมกัน
จำเลยที่1ต้องโทษจำเลยจำคุกอยู่ในเรือนจำจังหวัดสงขลาเรือนจำดังกล่าวมิใช่ท้องที่ที่จำเลยที่1มีถิ่นที่อยู่จึงไม่อาจถือว่าเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่1ขณะฟ้องโจทก์ทั้งห้าจะฟ้องจำเลยที่1ต่อศาลชั้นต้นมิได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(2)เดิมโจทก์ทั้งห้าต้องฟ้องต่อศาลที่จำเลยที่1มีภูมิลำเนาคือศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาแต่เนื่องจากขณะคดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค3ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่12)พ.ศ.2534ซึ่งใช้บังคับแล้วแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา4(1)บัญญัติว่า"คำฟ้องให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่"เช่นนี้จึงทำให้โจทก์ทั้งห้ามีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดได้ด้วยศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจรับฟ้องโจทก์ทั้งห้าไว้พิจารณา จำเลยที่2ต้องเสียค่าบริการให้จำเลยที่3เป็นรายวันเพื่อตอบแทนการนำรถเข้าร่วมแล่นกับจำเลยที่3การเดินรถคันเกิดเหตุจึงเป็นกิจการร่วมกันระหว่างจำเลยที่2และที่3ฉะนั้นการที่จำเลยที่1ขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุในขณะเกิดเหตุโดยรับจ้างจำเลยที่2จึงเป็นการกระทำของลูกจ้างในทางการที่จ้างของจำเลยที่3ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6086/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้กฎหมายใหม่กับการอุทธรณ์คดีแพ่ง: ผลกระทบจากพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534
การที่จะพิจารณาว่าคดีใดต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่จะต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการยื่นอุทธรณ์โจทก์ยื่นอุทธรณ์เมื่อ20มีนาคม2535จึงต้องใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224ที่แก้ไขใหม่ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่27ตุลาคม2534เป็นต้นไป แม้ว่าจำเลยจะได้เคยยื่นอุทธรณ์มาแล้วและศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้พิจารณาและพิพากษาใหม่โดยอุทธรณ์ของจำเลยไม่ต้องห้ามแต่ก็เป็นการยื่นอุทธรณ์ในขณะที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224ที่แก้ไขใหม่ยังไม่มีผลบังคับเมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224ที่แก้ไขใหม่มีผลบังคับแล้วกรณีจะไม่บังคับใช้แก่กรณีที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยยกเว้นไม่ให้ย้อนหลังหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5470/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ต้องห้ามในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 แก้ไขใหม่ และผลของการกำหนดราคาทรัพย์สิน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ที่แก้ไขใหม่โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534 ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 2 ว่า ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2534 ดังนั้นจึงมีผลบังคับตั้งแต่วันที่27 ตุลาคม 2534 เป็นต้นไป การยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2534 เป็นต้นไปจึงต้องอยู่ภายใช้บังคับของมาตรา 224 ที่แก้ไขใหม่ด้วย แม้การยื่นฟ้องในศาลชั้นต้นจะได้ยื่นก่อนที่กฎหมายใหม่จะมีผลบังคับก็หาใช่สาระสำคัญไม่ทั้งการนำกฎหมายวิธีพิจารณาความมาใช้บังคับไม่ใช่กรณีลงโทษทางอาญา จึงไม่ต้องนำหลักกฎหมายไม่มีผลบังคับย้อนหลังมาใช้ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทเพื่อให้จำเลยที่ 2 โอนที่ดินพิพาทคืนแก่จำเลยที่ 1 หรือโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกเอาที่ดินพิพาทมาเป็นของโจทก์ด้วยนั่นเองซึ่งถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี โจทก์ย่อมได้ที่ดินพิพาทจึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ทั้งกรณีตามคำฟ้องโจทก์ก็ไม่ได้พิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัวแต่อย่างใดคดีโจทก์จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5470/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 และการบังคับใช้กฎหมายใหม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224ที่แก้ไขใหม่โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่12)พ.ศ.2534ได้บัญญัติไว้ในมาตรา2ว่าให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด60วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่27สิงหาคม2534ดังนั้นจึงมีผลบังคับตั้งแต่วันที่27ตุลาคม2534เป็นต้นไปการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นตั้งแต่วันที่27ตุลาคม2534เป็นต้นไปจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา224ที่แก้ไขใหม่ด้วยแม้การยื่นฟ้องในศาลชั้นต้นจะได้ยื่นก่อนที่กฎหมายใหม่จะมีผลบังคับก็หาใช่สาระสำคัญไม่ทั้งการนำกฎหมายวิธีพิจารณาความมาใช้บังคับไม่ใช่กรณีลงโทษทางอาญาจึงไม่ต้องนำหลักกฎหมายไม่มีผลบังคับย้อนหลังมาใช้ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทเพื่อให้จำเลยที่2โอนที่ดินพิพาทคืนแก่จำเลยที่1หรือโจกท์ถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกเอาที่ดินพิพาทมาเป็นของโจทก์ด้วยนั่นเองซึ่งถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโจทก์ย่อมได้ที่ดินพิพาทจึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ทั้งกรณีตามคำฟ้องโจทก์ก็ไม่ได้พิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัวแต่อย่างใดคดีโจทก์จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5470/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 และผลของกฎหมายใหม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224ที่แก้ไขใหม่โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่12)พ.ศ.2534ได้บัญญัติไว้ในมาตรา2ว่าให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด60วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่27สิงหาคม2534ดังนั้นจึงมีผลบังคับตั้งแต่วันที่27ตุลาคม2534เป็นต้นไปการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นตั้งแต่วันที่27ตุลาคม2534เป็นต้นไปจึงต้องอยู่ภายใช้บังคับของมาตรา224ที่แก้ไขใหม่ด้วยแม้การยื่นฟ้องในศาลชั้นต้นจะได้ยื่นก่อนที่กฎหมายใหม่จะมีผลบังคับก็หาใช่สาระสำคัญไม่ทั้งการนำกฎหมายวิธีพิจารณาความมาใช้บังคับไม่ใช่กรณีลงโทษทางอาญาจึงไม่ต้องนำหลักกฎหมายไม่มีผลบังคับย้อนหลังมาใช้ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทเพื่อให้จำเลยที่2โอนที่ดินพิพาทคืนแก่จำเลยที่1หรือโจทก์ถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกเอาที่ดินพิพาทมาเป็นของโจทก์ด้วยนั่นเองซึ่งถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโจทก์ย่อมได้ที่ดินพิพาทจึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ทั้งกรณีตามคำฟ้องโจทก์ก็ไม่ได้พิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัวแต่อย่างใดคดีโจทก์จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
of 32