พบผลลัพธ์ทั้งหมด 752 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขู่เข็ญทำให้ผู้อื่นตกใจกลัว ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392
ขณะที่จำเลยทั้งสองพูดว่า "ถ้ามึงแน่จริงมึงออกมาทำไมไม่ออกมา ออกมาโดน แน่" นั้น จำเลยทั้งสองอยู่ที่หน้าบ้าน ของผู้เสียหาย แสดงว่าเป็นการบังคับขู่เข็ญไม่ให้ผู้เสียหาย ออกไปจากบ้าน หากขืนออกไปจะถูกจำเลยทั้งสองทำร้าย หาใช่เป็นเพียงคำท้าให้ออกไปต่อสู้กันไม่ คำพูดเช่นนี้ใช้กับ ผู้ใดโดยปกติแล้วผู้นั้นย่อมตกใจกลัว เมื่อข้อเท็จจริง ฟังได้ว่าผู้เสียหายเกิดความกลัวหรือความตกใจโดยการขู่เข็ญการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขู่คุกคามทำให้เกิดความกลัวเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392
ขณะที่ผู้เสียหายอยู่ในบ้านกับเด็กหญิง จ. บุตรสาวจำเลยที่ 1 มาร้องเรียกผู้เสียหายที่หน้าบ้านว่า"เฮ้ยมึงไม่แน่จริงนี่หว่าเฮ้ยถ้ามึงแน่จริงมึงออกมาซิวะมึงทำไมไม่ออกมาวะออกมาโดนแน่" ขณะนั้นจำเลยที่ 2ยืนอยู่หน้าบ้านตนเองซึ่งอยู่เยื้องบ้านผู้เสียหายพูดว่า "ให้มันอยู่แต่ในบ้านอย่าให้มันออกมา ถ้ามันออกมาเอาแม่มันเลย" คำพูดของจำเลยทั้งสองดังกล่าวประกอบการกระทำ และสถานที่ เป็นการบังคับขู่เข็ญไม่ให้ผู้เสียหายออกไปจากบ้าน หากขืนออกไปจะถูกจำเลยทั้งสองทำร้าย หาใช่เป็นเพียง คำท้าให้ออกไปต่อสู้กันเท่านั้นไม่ เมื่อผู้เสียหายเกิดความกลัว หรือความตกใจโดยการขู่เข็ญ การกระทำของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392,83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขู่คุกคามทำให้ตกใจกลัว ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392
ขณะที่ผู้เสียหายอยู่ในบ้านกับบุตรสาว จำเลยที่ 1มาร้องเรียกผู้เสียหายที่หน้าบ้านว่า "เฮ้ยมึงไม่แน่จริงนี่หว่าเฮ้ยถ้ามึงแน่จริงมึงออกมาซิวะ*มึงทำไมไม่ออกมาวะออกมาโดนแน่"ขณะนั้นจำเลยที่ 2 ยืนอยู่หน้าบ้านตนเองซึ่งอยู่เยื้องบ้านผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 พูดว่า "ให้มันอยู่แต่ในบ้าน อย่าให้มันออกมา ถ้ามันออกมา เอาแม่มันเลย" คำพูดของจำเลยทั้งสองดังกล่าวประกอบการกระทำและสถานที่เห็นได้ว่า เป็นการบังคับขู่เข็ญไม่ให้ผู้เสียหายออกไปจากบ้าน หากขืนออกไปจะถูกจำเลยทั้งสองทำร้าย หาใช่เป็นเพียงคำท้าให้ออกไปต่อสู้กันเท่านั้นไม่ เมื่อผู้เสียหายเกิดความกลัว หรือความตกใจโดยการขู่เข็ญ การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษคดีอาญาต่างสำนวน และข้อยกเว้นการนับโทษเกิน 50 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มิได้บัญญัติห้ามว่า การนับโทษจำคุกของจำเลยคดีหนึ่งต่อจากโทษจำคุกในคดีอื่นของจำเลยที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไปเมื่อนับรวมกันแล้วจะเกินกำหนดในมาตรา 91 ไม่ได้ การขอให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีหนึ่งต่อจากโทษจำคุก ของจำเลยคดีอื่น เป็นการขอให้ศาลกล่าวไว้ในคำพิพากษา เป็นอย่างอื่นเกี่ยวกับการเริ่มนับโทษจำคุกของจำเลยใน คดีนั้นว่าจะให้เริ่มนับแต่เมื่อใด ซึ่งหากไม่ได้กล่าวไว้เป็นอย่างอื่นก็จะต้องเริ่มแต่วันมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 วรรคหนึ่ง อันขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลว่าสมควรให้นับต่อหรือไม่ เพียงใด และมิได้อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 คดีทั้งสองสำนวนนี้ศาลชั้นต้นให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน เมื่อฟังว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองสำนวนเป็นหลายกระทงจึงต้องอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ที่ต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิด อันเป็นการนับโทษจำคุกของจำเลยทุกกระทงในสองสำนวนติดต่อกัน แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ว่า เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดในมาตรา 91 ดังนั้นเมื่อมีการลงโทษจำคุกทุกกรรมเป็นกระทงความผิดในคดีทั้งสองสำนวนดังกล่าวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ไปแล้ว จึงไม่อาจนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาเรื่องอื่นของศาลชั้นต้นต่อกัน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 ได้อีก เป็นการลงโทษจำคุกจำเลยเกินกำหนดที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 บัญญัติไว้ โจทก์มีคำขอให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีสองสำนวนที่ ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาที่เกิดขึ้นนอกเขตอำนาจศาลชั้นต้น แม้เป็นกรณีที่จำเลยกระทำผิดในข้อหาเดียวกับข้อหาที่จำเลยถูกลงโทษในคดีทั้งสองสำนวนของศาลชั้นต้นที่รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันนี้ก็ตาม เมื่อในทางปฏิบัติก็ไม่อาจยื่นฟ้องคดีดังกล่าวต่อศาลชั้นต้น และไม่อาจรวมพิจารณาพิพากษากับคดีทั้งสองสำนวนของศาลชั้นต้น จึงเป็นคดีที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไป กรณีไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ถึงแม้ศาลจะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในคดีดังกล่าวมีกำหนด 50 ปี เต็มตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) ศาลก็ชอบที่จะนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีทั้งสองสำนวนของศาลชั้นต้นนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22วรรคหนึ่ง ได้ ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยถูกฟ้องต่อศาลชั้นต้นอีก1 สำนวน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุก 7 ปี 6 เดือน จึงต้องพิพากษารวมโทษของจำเลยทั้งสองสำนวนนี้กับโทษของจำเลยในคดีดังกล่าวเป็นจำคุก 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91(3) นั้น แต่ตามฎีกาจำเลยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าคดีดังกล่าวมีความเกี่ยวพันกับคดีนี้อย่างไร หรือไม่ ในอัน ที่จะวินิจฉัยว่าจะต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3)หรือไม่ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ประกอบ มาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลาง: แม้ไม่ลงโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ ยังริบได้ตาม ป.อ.มาตรา 32
ของกลางวัตถุออกฤทธิ์ที่ศาลจะสั่งริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 116 ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ได้นั้น ต้องเป็นกรณีมีการลงโทษตามมาตรา 89 แต่คดีนี้ศาลพิพากษายกฟ้อง จึงไม่อาจริบเมทแอมเฟตามีนของกลางอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ให้แก่กระทรวงสาธารณสุข ตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ แต่เมื่อการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเป็นความผิด ซึ่งตาม ป.อ.มาตรา 32 ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าเป็นของผู้กระทำความผิดและมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ดังนี้ ศาลย่อมมีอำนาจริบเมทแอมเฟตามีนของกลาง ตาม ป.อ.มาตรา 32
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางประเภทวัตถุออกฤทธิ์ตามกฎหมาย และอำนาจริบตามประมวลกฎหมายอาญา แม้ไม่มีโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์
ของกลางวัตถุออกฤทธิ์ที่ศาลจะสั่งริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 116 ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ได้นั้นต้องเป็นกรณีมีการลงโทษตามมาตรา 89 แต่คดีนี้ศาลพิพากษายกฟ้อง จึงไม่อาจริบเมทแอมเฟตามีนของกลางอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ให้แก่กระทรวงสาธารณสุข ตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ แต่เมื่อการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเป็นความผิดซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าเป็นของผู้กระทำความผิดและมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ดังนี้ ศาลย่อมมีอำนาจริบเมทแอมเฟตามีนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6583/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายสุราปลอมและใช้ฉลากเครื่องหมายการค้าผู้อื่น การกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญาและพ.ร.บ.สุรา
จำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าสุราของกลางที่จำเลยทั้งสองนำส่งออกไปขายแก่ผู้ซื้อต่างประเทศนั้นเป็นสุราปลอมซึ่งบรรจุขวดและปิดฉลากที่มีชื่อ รูป รอยประดิษฐ์และข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วม เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเป็นสินค้าสุราที่แท้จริงของโจทก์ร่วม เป็นความผิดฐานจำหน่ายสินค้าที่มีชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 275 และเป็นความผิดฐานขายสุราที่รู้ว่าทำขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 31แต่ความผิดฐานเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ ทำให้ปรากฏที่สินค้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272(1) นั้น จำเลยกว้านซื้อสุราของกลางมาจากร้านค้าแล้วนำส่งออกไปขายแก่ผู้ซื้อในต่างประเทศไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองทำสุราปลอมเองหรือบรรจุขวดเป็นสินค้าของจำเลยเองแต่มีการปิดฉลากปลอม จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้เอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้กับสินค้าของตนเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6496/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขู่ด้วยอาวุธปืน แม้ยังอยู่ในซองปืน ก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392
ผู้เสียหายกับจำเลยต่างมีเรื่องบาดหมางกันมาก่อน ทั้งก่อนเกิดเหตุคดีนี้เล็กน้อยผู้เสียหายกับจำเลยก็ยังมีปากเสียงโต้เถียงกัน ต่อมาเมื่อผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ตามไปทันมารดาผู้เสียหาย จำเลยเดินเข้าไปหาผู้เสียหาย แล้วจำเลยชักอาวุธปืนสั้นซึ่งยังใส่อยู่ในซองปืนออกจากเอวเล็งไปทางผู้เสียหายขณะอยู่ห่างกันประมาณ 2 เมตร ทั้งจำเลยยังพูดอีกด้วยว่า "มึงจะลองกับกูหรือ มึงอยากตายหรือไง" ลักษณะกิริยาอาการตลอดจนคำพูดของจำเลยแสดงแจ้งชัดอยู่ในตัวว่า จำเลยใช้อาวุธปืนขู่เข็ญผู้เสียหาย การที่จำเลยใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงใช้ประหัตประหาร แม้จะยังอยู่ในซองปืน กระทำการดังกล่าวแล้วตามวิสัยวิญญูชนผู้ตกอยู่ในภาวะอันมิได้คาดคิดมาก่อน ย่อมจะต้องตกใจกลัว ผู้เสียหายซึ่งประสบเหตุการณ์เช่นนี้ก็มิได้พูดอะไรกับจำเลย ทั้งที่ก่อนหน้านั้นยังโต้เถียงกับจำเลย แต่ผู้เสียหายกลับขับรถจักรยานยนต์ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจทันที แสดงว่าผู้เสียหายกลัวภัยที่จะเกิดขึ้นแก่ตนแล้วตามวิสัยปุถุชนทั่วไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามป.อ.มาตรา 392
การที่จำเลยพาอาวุธปืนติดตัวอยู่ในที่ดินซึ่งตนมีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย หาใช่เป็นการพาอาวุธปืนติดตัวไปในหมู่บ้านดังที่ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา8 ทวิ, 72 ทวิ ประสงค์ให้เป็นความผิดไม่
การที่จำเลยพาอาวุธปืนติดตัวอยู่ในที่ดินซึ่งตนมีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย หาใช่เป็นการพาอาวุธปืนติดตัวไปในหมู่บ้านดังที่ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา8 ทวิ, 72 ทวิ ประสงค์ให้เป็นความผิดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6178/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษจำคุกจากดุลพินิจของศาลชั้นต้น และการพิจารณาโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 76, 78
จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงโทษจำคุกจำเลยที่ได้อ่านคำพิพากษาในครั้งแรกให้จำคุกจำเลยคนละ 2 ปี มาเป็นจำคุกคนละ 6 ปีเพราะเป็นการเพิ่มโทษจำเลยโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ทำได้ เป็นการแก้ไขคำพิพากษาโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นกระบวนพิจารณาอันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย เมื่อปรากฏตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ดังกล่าวให้ ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว ซึ่งเป็นอุทธรณ์ที่มิได้ต้องห้ามตามกฎหมายคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(6)ประกอบมาตรา 215 ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(1) และมาตรา 247 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5ในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้างรวม 3 กรรมต่างกันโดยระบุในคำฟ้องข้อ 1 ก. ข้อ 1 ข. และข้อ 1 ค.สำหรับความผิดแต่ละกรรม ดังนี้คือ วันที่ 28 กรกฎาคม 2539เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 24 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 7,680 บาทของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต วันที่ 8 สิงหาคม 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 10 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 3,250 บาท ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้าง ไปโดยทุจริต และวันที่ 14 สิงหาคม 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 12 กิโลกรัม ปลาหมึกหอมจำนวน 25 กิโลกรัม และเนื้ออกไก่จำนวน 6 กิโลกรัม คิดเป็นเงินรวม 7,882 บาทของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต จำเลยที่ 1ที่ 4 และที่ 5 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนี้เท่ากับจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 รับว่าได้กระทำความผิดทั้งสามกรรมดังกล่าวจริง ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ทั้ง 3 กรรมเป็นกระทงความผิดไปได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำเลยฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่า การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ทั้งสามกรรมตามฟ้อง ทรัพย์ที่จำเลยลักไปมีราคา เป็นเงิน 7,680 บาท 3,250 บาทและ 7,882 บาทซึ่งล่างทั้งสองพิพากษายืนโดยใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลย เท่ากันทุกกระทงความผิดอันเป็นโทษที่หนักเกินไปและไม่เหมาะสมกับสภาพความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดในแต่ละกรรม ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลย ให้เหมาะสมแก่สภาพความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดแต่ละกระทงตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5710/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเพลิงเผาทรัพย์ที่จำเลยเป็นเจ้าของร่วม ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 217 และ 218
จำเลยซึ่งเป็นผู้จุดไฟจนเกิดไฟไหม้บ้านเป็นเจ้าของ บ้านเกิดเหตุรวมอยู่ด้วยและเนื่องจากบทบัญญัติมาตรา 218 แห่งประมวลกฎหมายอาญา เป็นเหตุฉกรรจ์ของมาตรา 217 โดย มาตรา 218 บัญญัติให้ผู้กระทำความผิดต่อทรัพย์ที่ระบุไว้ ในมาตรา 218(1) ถึง (6) ต้องได้รับโทษหนักขึ้น ดังนั้น การกระทำอันมิได้เป็นความผิดตามมาตรา 217 แม้กระทำต่อ ทรัพย์ที่ระบุในมาตรา 218 ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิดเช่นกัน เมื่อมาตรา 217 บัญญัติไว้แต่เพียงว่า การวางเพลิงเผาทรัพย์ ของผู้อื่นเป็นความผิดโดยไม่มีข้อความว่า "หรือผู้อื่น เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย" ก็เป็นความผิดแล้ว จึงต้อง ตีความคำว่า "ทรัพย์ของผู้อื่น" โดยเคร่งครัด เพราะเป็น การตีความบทกฎหมายที่มีโทษทางอาญา มิอาจตีความขยายความ ออกไปให้รวมถึงทรัพย์ที่ผู้อื่นมีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เพื่อให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยหรือผู้ต้องหาได้ ฉะนั้น เมื่อจำเลยเป็นเจ้าของบ้านเกิดเหตุรวมอยู่ด้วย การกระทำของ จำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 217 และย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 218(1) เช่นเดียวกัน การที่โจทก์ฎีกาว่าหากศาลฎีกาฟังว่าจำเลยไม่มีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 218(1) ก็เป็นความผิดตาม มาตรา 220 วรรคสอง แต่เมื่อพิจารณาความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 220 แล้ว กรณีจะต้องเป็นการกระทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่วัตถุใด ๆ แม้เป็นของผู้กระทำเองจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์ของผู้อื่นซึ่งโจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้อง จึงต้องห้ามมิให้พิพากษาลงโทษตามบทบัญญัติดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคหนึ่ง