พบผลลัพธ์ทั้งหมด 156 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2573/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงภาษีโดยการแสดงรายการเท็จ แม้ผู้กระทำจะเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือไม่ก็ตาม ถือเป็นความผิดตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 37 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 มาตรา 14 หาได้บัญญัติว่า ผู้ที่จะมีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่มีการหลีกเลี่ยงไม่ เมื่อจำเลยซึ่งจดทะเบียนการค้าเป็นผู้ประกอบกิจการโรงเลื่อยจักรยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ ภาษีการค้าจากการประกอบกิจการโรงเลื่อยจักรดังกล่าวเท็จ โดยแสดงรายได้ต่ำกว่าความเป็นจริงเห็นได้ว่าเพื่อให้มีการเสียภาษีต่ำกว่าที่ต้องเสียและได้เสียภาษีเงินได้ ภาษีการค้าขาดไปเพราะการแสดงรายการเป็นเท็จนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีเงินได้ ภาษีการค้าโดยความเท็จและโดยฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลจากการละเมิดประมวลรัษฎากรและการแยกความผิดแต่ละกรรม
เมื่อฟ้องโจทก์ตอนแรกได้บรรยายว่า จำเลยจัดให้มีการฉายภาพยนตร์ เพื่อเก็บเงินจากผู้ซื้อตั๋วเข้าชมภาพยนตร์จำเลยได้กระทำผิดกฎหมายหลายบทหลายกระทง และได้บรรยายการกระทำตามข้อ (ก)(ข)(ค)และ(ง) กับอ้างมาตราในประมวลรัษฎากร ซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดฟ้องโจทก์จึงได้บรรยายแล้วว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดตามฟ้องแต่ผู้เดียวและโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทุกกระทงความผิดดังนั้น แม้ฟ้องข้อ (ข) บรรยายว่าพนักงานของจำเลยที่ได้รับแต่งตั้งจากจำเลยเป็นผู้ฉีกตั๋วและข้อ (ค) บรรยายว่าพนักงานของจำเลยไม่นำกากตั๋วใส่ภาชนะโดยไม่กล่าวถึงจำเลยก็พอเห็นได้ว่าการกระทำของพนักงานของจำเลยผู้ได้รับแต่งตั้งจากจำเลย เป็นการกระทำของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของผู้จัดให้มีมหรสพและผู้รับผิดชอบดำเนินการมหรสพนั้นเอง ทั้งข้อเท็จจริงก็ ฟังได้ว่า จำเลยได้กระทำผิดโดยผู้ได้รับแต่งตั้งจากจำเลยให้คอยรับตั๋วจากผู้ดู ไม่ฉีกตั๋วที่ได้รับจากผู้ดูแล้วไม่นำกากตั๋วใส่ภาชนะ ทันที อันเป็นการฝ่าฝืนประมวลรัษฎากร โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้ จำเลยรับผิดทางอาญาได้
จำเลยจำหน่ายตั๋วเข้าชมภาพยนตร์โดยมิได้ปิดอากรมหรสพ 346ฉบับ ไม่ฉีกอากรมหรสพที่ปิดทับบนตั๋วให้ขาดเป็นสองตอน 7 ฉบับ และไม่นำกากตั๋วใส่ภาชนะทันที 143 ฉบับ เมื่อการเสียอากรมหรสพ ต้องเสียเป็นรายตัวผู้ดูตามประมวลรัษฎากร มาตรา 132 การกระทำของจำเลยดังกล่าวก็เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียอากรตั๋วทุก ๆ ฉบับแม้ จะกระทำต่อเนื่องในการฉายภาพยนตร์รอบเดียวก็ตามแต่ก็แยกการกระทำออกจากกันได้ตามตั๋วแต่ละฉบับ จึงเป็นความผิดหลายกรรม ต่างกันรวม 496 กระทง หาใช่เป็นความผิดเพียง 3 กระทงไม่
จำเลยจำหน่ายตั๋วเข้าชมภาพยนตร์โดยมิได้ปิดอากรมหรสพ 346ฉบับ ไม่ฉีกอากรมหรสพที่ปิดทับบนตั๋วให้ขาดเป็นสองตอน 7 ฉบับ และไม่นำกากตั๋วใส่ภาชนะทันที 143 ฉบับ เมื่อการเสียอากรมหรสพ ต้องเสียเป็นรายตัวผู้ดูตามประมวลรัษฎากร มาตรา 132 การกระทำของจำเลยดังกล่าวก็เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียอากรตั๋วทุก ๆ ฉบับแม้ จะกระทำต่อเนื่องในการฉายภาพยนตร์รอบเดียวก็ตามแต่ก็แยกการกระทำออกจากกันได้ตามตั๋วแต่ละฉบับ จึงเป็นความผิดหลายกรรม ต่างกันรวม 496 กระทง หาใช่เป็นความผิดเพียง 3 กระทงไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1618/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีสินค้าสำเร็จรูปและวัตถุดิบ: การตีความตามประมวลรัษฎากรและการวินิจฉัยสินค้าประเภทต่างๆ
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่18) พ.ศ.2504 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ขณะที่โจทก์นำหัวน้ำเชื้อสะระแหน่ หัวน้ำเชื้อมะนาว หัวน้ำเชื้อส้ม และขี้ผึ้งที่ได้จากพืชเข้ามาในราชอาณาจักร ได้บัญญัติจำกัดความคำว่า "สินค้าสำเร็จรูป" ไว้ในมาตรา 77 และในบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท 1 ชนิด 9 ก็ได้บัญญัติถึงสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูป อันเป็นการแสดงว่าเจตนารมณ์ของประมวลรัษฎากรในขณะนั้นต้องการเก็บภาษีการค้าสำหรับสินค้าสำเร็จรูป และสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปแตกต่างกัน กล่าวคือถ้าสินค้าที่นำเข้ามาเป็นสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปและกรณีต้องด้วยบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท 1 ชนิด 9 ก็ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้านั้น แต่ถ้านำสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปเข้ามาเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อขายแล้ว ก็ไม่ต้องเสียภาษีการค้าส่วนสินค้าสำเร็จรูปนั้นถ้ามีการนำเข้ามาก็จะต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าในทุกกรณีไม่ว่าจะนำเข้ามาเพื่อการใด (อ้างฎีกาที่ 1176/2521)
มาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวให้คำจำกัดความคำว่า "สินค้าสำเร็จรูป" ไว้ว่าหมายความว่าสินค้าซึ่งตามสภาพการอุปโภคบริโภคได้โดยไม่จำต้องเปลี่ยนหรือดัดแปลงหรือนำไปผสมกับสิ่งอื่น ฉะนั้น ในการพิจารณาว่าสินค้าใดเป็นสินค้าสำเร็จรูปหรือไม่ จึงจำต้องพิเคราะห์ถึงสภาพแห่งการใช้ของสินค้านั้น ๆ เป็นแต่ละชนิด ๆ ไปว่าสามารถนำไปอุปโภคหรือบริโภคได้ทันทีหรือไม่ เมื่อได้ความว่าหัวน้ำเชื้อสะระแหน่ หัวน้ำเชื้อมะนาว หัวน้ำเชื้อส้ม จะนำไปอุปโภคหรือบริโภคโดยไม่ผสมกับสิ่งอื่นไม่ได้ เพราะแรงไป หากนำไปบริโภคโดยไม่เจือปนจะกัดลิ้น ฉุนและจาม เป็นอันตรายแก่ร่างกายดังนี้ ต้องถือว่าหัวน้ำเชื้อทั้งสามชนิดไม่เป็นสินค้าสำเร็จรูป ส่วนขี้ผึ้งที่ได้จากพืชนั้นนำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องเปลี่ยนหรือดัดแปลงหรือผสมกับสิ่งใดอีก จึงถือได้ว่าเป็นสินค้าสำเร็จรูป
โจทก์สั่งขี้ผึ้งที่ได้จากพืชซึ่งเป็นสินค้าสำเร็จรูปเข้ามาผลิตสินค้าของโจทก์เองแม้จะมิได้สั่งเข้ามาเพื่อขายหรือยังมิได้ขาย โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า 1 การขายของชนิด 1 ก.(อ้างฎีกาที่ 1176/2521) ส่วนหัวน้ำเชื้อทั้ง 3 ชนิดซึ่งเป็นสินค้าสำเร็จรูปนั้น เมื่อโจทก์สั่งเข้ามาเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อขายโจทก์ก็ไม่ต้องเสียภาษีการค้า
มาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวให้คำจำกัดความคำว่า "สินค้าสำเร็จรูป" ไว้ว่าหมายความว่าสินค้าซึ่งตามสภาพการอุปโภคบริโภคได้โดยไม่จำต้องเปลี่ยนหรือดัดแปลงหรือนำไปผสมกับสิ่งอื่น ฉะนั้น ในการพิจารณาว่าสินค้าใดเป็นสินค้าสำเร็จรูปหรือไม่ จึงจำต้องพิเคราะห์ถึงสภาพแห่งการใช้ของสินค้านั้น ๆ เป็นแต่ละชนิด ๆ ไปว่าสามารถนำไปอุปโภคหรือบริโภคได้ทันทีหรือไม่ เมื่อได้ความว่าหัวน้ำเชื้อสะระแหน่ หัวน้ำเชื้อมะนาว หัวน้ำเชื้อส้ม จะนำไปอุปโภคหรือบริโภคโดยไม่ผสมกับสิ่งอื่นไม่ได้ เพราะแรงไป หากนำไปบริโภคโดยไม่เจือปนจะกัดลิ้น ฉุนและจาม เป็นอันตรายแก่ร่างกายดังนี้ ต้องถือว่าหัวน้ำเชื้อทั้งสามชนิดไม่เป็นสินค้าสำเร็จรูป ส่วนขี้ผึ้งที่ได้จากพืชนั้นนำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องเปลี่ยนหรือดัดแปลงหรือผสมกับสิ่งใดอีก จึงถือได้ว่าเป็นสินค้าสำเร็จรูป
โจทก์สั่งขี้ผึ้งที่ได้จากพืชซึ่งเป็นสินค้าสำเร็จรูปเข้ามาผลิตสินค้าของโจทก์เองแม้จะมิได้สั่งเข้ามาเพื่อขายหรือยังมิได้ขาย โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า 1 การขายของชนิด 1 ก.(อ้างฎีกาที่ 1176/2521) ส่วนหัวน้ำเชื้อทั้ง 3 ชนิดซึ่งเป็นสินค้าสำเร็จรูปนั้น เมื่อโจทก์สั่งเข้ามาเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อขายโจทก์ก็ไม่ต้องเสียภาษีการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีแทนบริษัทต่างประเทศไม่ใช่เงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร
เงินค่าสิทธิในกรรมวิธีผลิตตามมาตรา 40 (3) และดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตาม (5)(ก) กฎหมายบัญญัติว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน ไม่ได้บัญญัติรวมถึงภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยที่ผู้จ่ายเงินออกชำระแทนให้ผู้มีเงินได้อันจะถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน เช่นที่บัญญัติไว้ชัดแจ้งในมาตรา 40 (1) และ (2) ฉะนั้น เงินที่โจทก์ชำระแทนบริษัทต่างประเทศเป็นค่าภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยดังกล่าว จึงไม่ใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) และ (4)(ก)
โจทก์ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 74,747,567.84 บาท แทนบริษัทต่างประเทศ เป็นเงิน 18,096,689.72 บาท เต็มจำนวนภาษีเงินได้ที่ต้องชำระแล้ว กรมสรรพากรจำเลยอ้างว่าหากโจทก์หักภาษีเงินได้จำนวนดังกล่าวออกบริษัทในต่างประเทศจะได้รับเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยไปเพียง 56,650,878.12 บาท แต่โจทก์ชำระภาษีเงินได้แทนเป็นเหตุให้บริษัทในต่างประเทศได้รับเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยเกินไปเท่ากับจำนวนภาษีเงินได้ที่โจทก์ชำระแทน เงินจำนวนนี้จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสิทธิและดอกเบี้ยซึ่งโจทก์ผู้จ่ายเงินจะต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในต่างประเทศชำระภาษีเงินได้ ดังนี้ รังฟังไม่ได้ เพราะโจทก์ได้ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 74,747,767.84 บาท หาใช่ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 56,650,878.12 บาทไม่ หากโจทก์จะต้องรับผิดชำระภาษีเงินได้อีกก็เป็นการชำระภาษีซ้ำซ้อน แม้ในกรณีนี้ถ้าโจกท์มิได้นำส่งภาษีเงินได้ทั้งมิได้ชำระภาษีเงินได้แทน โจทก์ก็คงต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในต่างประเทศชำระภาษีเงินได้เท่าจำนวนที่มิได้หักและนำส่งตามมาตรา 54 วรรคแรกเท่านั้น
โจทก์ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 74,747,567.84 บาท แทนบริษัทต่างประเทศ เป็นเงิน 18,096,689.72 บาท เต็มจำนวนภาษีเงินได้ที่ต้องชำระแล้ว กรมสรรพากรจำเลยอ้างว่าหากโจทก์หักภาษีเงินได้จำนวนดังกล่าวออกบริษัทในต่างประเทศจะได้รับเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยไปเพียง 56,650,878.12 บาท แต่โจทก์ชำระภาษีเงินได้แทนเป็นเหตุให้บริษัทในต่างประเทศได้รับเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยเกินไปเท่ากับจำนวนภาษีเงินได้ที่โจทก์ชำระแทน เงินจำนวนนี้จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสิทธิและดอกเบี้ยซึ่งโจทก์ผู้จ่ายเงินจะต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในต่างประเทศชำระภาษีเงินได้ ดังนี้ รังฟังไม่ได้ เพราะโจทก์ได้ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 74,747,767.84 บาท หาใช่ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 56,650,878.12 บาทไม่ หากโจทก์จะต้องรับผิดชำระภาษีเงินได้อีกก็เป็นการชำระภาษีซ้ำซ้อน แม้ในกรณีนี้ถ้าโจกท์มิได้นำส่งภาษีเงินได้ทั้งมิได้ชำระภาษีเงินได้แทน โจทก์ก็คงต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในต่างประเทศชำระภาษีเงินได้เท่าจำนวนที่มิได้หักและนำส่งตามมาตรา 54 วรรคแรกเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 88/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีถึงที่สุดและการเป็นลูกหนี้ตามประมวลรัษฎากร การไม่อุทธรณ์ทำให้การประเมินมีผลผูกพัน
การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีจากกรมสรรพากรแล้ว แต่มิได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร นั้น จำเลยจะมายกขึ้นต่อสู้ในคดีที่ถูกกรมสรรพากรเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายเพราะเป็นหนี้ค่าภาษีดังกล่าวว่าการประเมินของเจ้าพนักงานไม่ชอบ เพราะเงินรายรับไม่ใช่ของจำเลยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียอากรแสตมป์สำหรับใบรับฝากของในห้องเย็น ไม่ถือเป็นคลังสินค้าตามประมวลรัษฎากร หากไม่ได้ปฏิบัติตามลักษณะการเก็บของในคลังสินค้า
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่มีรายการระบุว่าใบรับฝากของในการให้บริการเกี่ยวกับการเก็บสิ่งของในห้องเย็นจะต้องเสียอากร คงมีระบุไว้ในข้อ 19 ของบัญชีดังกล่าวว่า ใบรับรองคลังสินค้าจะต้องปิดอากรแสตมป์โดยให้นายคลังสินค้าเป็นผู้เสียอากรและขีดฆ่าแสตมป์นั้น ดังนั้นการให้บริการเกี่ยวกับการเก็บสิ่งของในห้องเย็นดั่งกรณีของโจทก์ซึ่งไม่ปรากฏว่าโจทก์ผู้รับฝากและผู้ฝากของให้เก็บรักษาในห้องเย็นได้ประพฤติปฏิบัติกันตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 14 ว่าด้วยการเก็บของในคลังสินค้าบังคับไว้ เช่นมีการออกใบรับของคลังสินค้าฉบับหนึ่งและประมวลสินค้าอีกฉบับหนึ่งให้แก่ผู้ฝากเมื่อผู้ฝากต้องการเป็นต้น โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องปิดอากรแสตมป์บนใบรับฝากตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 19
ภาษีการค้าและอากรแสตมป์มีบัญญัติไว้ในลักษณะ 2 ภาษีฝ่ายสรรพากรแต่แยกเป็นหมวด 4 กับหมวด 6 ต่างหากจากกัน โดยมิได้มีวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "คลังสินค้า" ไว้ให้ใช้ได้ทั่วไป จึงเอาความหมายของคลังสินค้าในหมวด 4 ว่าด้วยภาษีการค้ามาใช้ในหมวดอื่นหาได้ไม่ และภาษีประเภทคลังสินค้าที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าก็ยังจำแนกออกเป็น 3 รายการคือ การทำคลังสินค้า รับฝากทรัพย์ และการให้บริการเกี่ยวกับการเก็บสิ่งของต่าง ๆ ในห้องเย็น ซึ่งแต่ละรายการมีการดำเนินกิจการไม่เหมือนกัน เห็นได้ว่าการที่ประมวลรัษฎากรนำมารวมไว้เป็นภาษีประเภทคลังสินค้า ก็เพียงเพื่อกำหนดอัตราภาษีเป็นอย่างเดียวกันเท่านั้น มิได้หมายความว่า กิจการทั้ง 3 รายการที่จำแนกไว้นั้นเป็นการทำคลังสินค้าไปเสียทั้งหมด
ภาษีการค้าและอากรแสตมป์มีบัญญัติไว้ในลักษณะ 2 ภาษีฝ่ายสรรพากรแต่แยกเป็นหมวด 4 กับหมวด 6 ต่างหากจากกัน โดยมิได้มีวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "คลังสินค้า" ไว้ให้ใช้ได้ทั่วไป จึงเอาความหมายของคลังสินค้าในหมวด 4 ว่าด้วยภาษีการค้ามาใช้ในหมวดอื่นหาได้ไม่ และภาษีประเภทคลังสินค้าที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าก็ยังจำแนกออกเป็น 3 รายการคือ การทำคลังสินค้า รับฝากทรัพย์ และการให้บริการเกี่ยวกับการเก็บสิ่งของต่าง ๆ ในห้องเย็น ซึ่งแต่ละรายการมีการดำเนินกิจการไม่เหมือนกัน เห็นได้ว่าการที่ประมวลรัษฎากรนำมารวมไว้เป็นภาษีประเภทคลังสินค้า ก็เพียงเพื่อกำหนดอัตราภาษีเป็นอย่างเดียวกันเท่านั้น มิได้หมายความว่า กิจการทั้ง 3 รายการที่จำแนกไว้นั้นเป็นการทำคลังสินค้าไปเสียทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 398/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไรและการเป็นผู้ประกอบการค้าภายใต้ประมวลรัษฎากร
คำว่าผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร มีความหมายกว้างกว่าคำว่า พ่อค้าในมาตรา 165(1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพราะคำว่าการค้าในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 หมายความรวมถึงการประกอบธุรกิจและอื่น ๆ อีกด้วย ดังนั้นปัญหาว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าที่ดินหรือไม่ จึงมิใช่จะอาศัยแต่เพียงโจทก์ไปซื้อที่ดิน แล้วขายไปเป็นปกติธุระหรือไม่ แต่ต้องอาศัยพฤติการณ์ทั่ว ๆ ไปของโจทก์ประกอบกัน
โจทก์ซื้อที่ดินไว้เป็นจำนวนถึงร้อยกว่าโฉนด โดยไม่ปรากฎว่าได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน และได้ขายไปเป็นจำนวนถึง 20 กว่าโฉนดในระยะเวลา 3 ปี มีกำไรทุกแปลงบางแปลงกำไรหลายเท่าตัว ส่วนมากขายให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมซึ่งโจทก์ซื้อที่ดินเหล่านั้นไว้ในระยะเวลาที่ทางการมีนโยบายจะให้ท้องที่นั้นเป็นย่านอุตสาหกรรม ดังนี้ ย่อมแสดงว่าโจทก์มีจุดมุ่งหมายในการซื้อที่ดินจำนวนมากเหล่านั้นไว้ เพื่อขายหากำไรเป็นสำคัญ การที่โจทก์ซื้อที่ดินไว้โดยมุ่งในทางการค้า หรือหากำไรมาแต่เดิม และได้ขายที่ดินดังกล่าวไปเป็นทางการค้าหรือหากำไร ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 11 และต้องเสียภาษีเงินได้จากรายรับ เพราะเงินที่โจทก์ได้รับจากการขายที่ดินเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ทั้งไม่เข้าข่ายที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ตามความในมาตรา 42(9)
โจทก์ซื้อที่ดินไว้เป็นจำนวนถึงร้อยกว่าโฉนด โดยไม่ปรากฎว่าได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน และได้ขายไปเป็นจำนวนถึง 20 กว่าโฉนดในระยะเวลา 3 ปี มีกำไรทุกแปลงบางแปลงกำไรหลายเท่าตัว ส่วนมากขายให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมซึ่งโจทก์ซื้อที่ดินเหล่านั้นไว้ในระยะเวลาที่ทางการมีนโยบายจะให้ท้องที่นั้นเป็นย่านอุตสาหกรรม ดังนี้ ย่อมแสดงว่าโจทก์มีจุดมุ่งหมายในการซื้อที่ดินจำนวนมากเหล่านั้นไว้ เพื่อขายหากำไรเป็นสำคัญ การที่โจทก์ซื้อที่ดินไว้โดยมุ่งในทางการค้า หรือหากำไรมาแต่เดิม และได้ขายที่ดินดังกล่าวไปเป็นทางการค้าหรือหากำไร ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 11 และต้องเสียภาษีเงินได้จากรายรับ เพราะเงินที่โจทก์ได้รับจากการขายที่ดินเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ทั้งไม่เข้าข่ายที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ตามความในมาตรา 42(9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการแก้ไขเงินเพิ่มภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 26 โดยคำนึงถึงเจตนาผู้เสียภาษี
ศาลมีอำนาจวินิจฉัยเกี่ยวกับการเสียเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 26 ได้(อ้างฎีกาที่ 989-993/2498) เมื่อเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจประเมินและวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มขึ้น 2 เท่า ของจำนวนเงินภาษีอากร ดังนี้ เมื่อได้ความว่าโจทก์มีเจตนาจะเสียภาษีเงินได้ของตนให้น้อยลงกว่าที่จะต้องเสียตามกฎหมายโดยผลักภาระการเสียภาษีเงินได้ของตนให้บริษัทที่ตนตั้งขึ้นเป็นผู้ชำระแทนมิได้ตั้งใจจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีเงินได้เสียทีเดียว ศาลย่อมมีอำนาจให้โจทก์เสียเงินเพิ่มเพียง 1 เท่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1164/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบนำเข้าที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร
แม้โจทก์จดทะเบียนประกอบการค้าไว้ในฐานะผู้นำเข้าและผู้ผลิตก็ตามแต่เมื่อได้ความว่าโจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตเป็นสินค้าเพื่อขาย มิได้นำมาเพื่อขายในขณะที่เป็นวัตถุดิบ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 คือโจทก์ไม่ต้องเสียการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีที่ให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1606/2512) และเมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อขายโดยเฉพาะ ก็จะถือว่าการที่โจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตสินค้าเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79 ทวิ (3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบในฐานะผู้นำเข้า
โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้า แต่โจทก์ได้นำส่งเงินเป็นภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้านั้นไว้ต่อกรมสรรพากรจำเลย ดังนี้ถือว่าโจทก์ได้ชำระไปโดยการเก็บภาษีการค้าของจำเลยซึ่งเป็นการเก็บโดยอาศัยกฎหมายบัญญัติให้เก็บ หาใช่เก็บโดยไม่มีมูลที่จะอ้างได้ตามกฎหมายไม่ จึงไม่อยู่ในลักษณะลาภมิควรได้ ทั้งกรณีเช่นนี้ไม่มีการประเมินเรียกเก็บ โจทก์จึงไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกคืนเงินภาษีการค้าที่ชำระไปได้ภายในอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 และเมื่อมิใช่ลาภมิควรได้กรณีจึงไม่เข้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 412, 419 กรมสรรพากรจำเลยจึงจะอ้างว่ากรณีที่โจทก์ชำระไปแล้วเป็นรายได้ของรัฐ รัฐได้ใช้จ่ายหมดไปทุกปีตามงบประมาณโดยสุจริตไม่มีสิทธิเรียกคืนหาได้ไม่
โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้า แต่โจทก์ได้นำส่งเงินเป็นภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้านั้นไว้ต่อกรมสรรพากรจำเลย ดังนี้ถือว่าโจทก์ได้ชำระไปโดยการเก็บภาษีการค้าของจำเลยซึ่งเป็นการเก็บโดยอาศัยกฎหมายบัญญัติให้เก็บ หาใช่เก็บโดยไม่มีมูลที่จะอ้างได้ตามกฎหมายไม่ จึงไม่อยู่ในลักษณะลาภมิควรได้ ทั้งกรณีเช่นนี้ไม่มีการประเมินเรียกเก็บ โจทก์จึงไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกคืนเงินภาษีการค้าที่ชำระไปได้ภายในอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 และเมื่อมิใช่ลาภมิควรได้กรณีจึงไม่เข้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 412, 419 กรมสรรพากรจำเลยจึงจะอ้างว่ากรณีที่โจทก์ชำระไปแล้วเป็นรายได้ของรัฐ รัฐได้ใช้จ่ายหมดไปทุกปีตามงบประมาณโดยสุจริตไม่มีสิทธิเรียกคืนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้ากรณีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้า: การตีความ 'ขาย' ตามประมวลรัษฎากร
โจทก์จดทะเบียนการค้าประเภทการขายของประเภท 1 ชนิด 1(ก)ในฐานะผู้ผลิตสินค้าซิเมนต์ เหล็ก อิฐ ได้สั่งกระดาษม้วน ด้าย และเทปกระดาษเข้ามาเพื่อผลิตเป็นถุงกระดาษบรรจุปูนซิเมนต์ ดังนี้ ไม่ว่าโจทก์จะขายถุงปูนซิเมนต์โดยคำนวณต้นทุนผลิตรวมกันไปกับปูนซิเมนต์หรือไม่ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์สั่งสินค้าดังกล่าวเข้ามาใช้ผลิตเพื่อขายซึ่งสินค้าที่โจทก์ได้ประกอบการค้าอยู่ สินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าที่มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัว ซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร ทั้งมิใช่โจทก์นำมาขายหรือผลิตเพื่อขายแล้ว จึงถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าซึ่งได้ขายสินค้านี้ และให้ถือมูลค่าของสินค้าเป็นรายรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ (1) ต้องเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 อัตราร้อยละ 5 ของรายรับ
โจทก์สั่งลวดเหล็กเข้ามาใช้เป็นวัสดุเพื่อผลิตเป็นสินค้าตะปูหรือสินค้าเหล็กและสั่งโลหะผสมแร่เข้ามาใช้เป็นวัสดุเพื่อผลิตเป็นสินค้าเหล็กของโจทก์เพื่อขายต่อไป ดังนี้เมื่อโจทก์มิได้สั่งลวดเหล็กและโลหะผสมแร่เข้ามาเพื่อขาย โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้า ตามมาตรา 78 วรรคแรก และไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรค 2 และเมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าลวดเหล็กและโลหะผสมแร่ ก็จะถือว่าการนำสินค้าดังกล่าวเข้ามาสำหรับผลิตสินค้าเท่ากับนำสินค้าไปใช้ เป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79 ทวิ (3)ไม่ได้ด้วย
โจทก์สั่งลวดเหล็กเข้ามาใช้เป็นวัสดุเพื่อผลิตเป็นสินค้าตะปูหรือสินค้าเหล็กและสั่งโลหะผสมแร่เข้ามาใช้เป็นวัสดุเพื่อผลิตเป็นสินค้าเหล็กของโจทก์เพื่อขายต่อไป ดังนี้เมื่อโจทก์มิได้สั่งลวดเหล็กและโลหะผสมแร่เข้ามาเพื่อขาย โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้า ตามมาตรา 78 วรรคแรก และไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรค 2 และเมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าลวดเหล็กและโลหะผสมแร่ ก็จะถือว่าการนำสินค้าดังกล่าวเข้ามาสำหรับผลิตสินค้าเท่ากับนำสินค้าไปใช้ เป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79 ทวิ (3)ไม่ได้ด้วย