พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5265/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลายต้องอาศัยเหตุที่ยกขึ้นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ การยกประเด็นใหม่ในคำร้องคัดค้านย่อมเป็นไปไม่ได้
การยื่นคำร้องต่อศาลตาม พ.ร.บ ล้มละลายฯ มาตรา 146 ต้องเป็นเรื่องที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างร้องขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจะยกประเด็นเรื่องอื่นขึ้นมากล่าวอ้างในคำร้องคัดค้านไม่ได้เพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้วินิจฉัยและมีคำสั่งในประเด็นดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินรวม: จำเลยไม่อาจยกประเด็นใหม่เพื่อเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทขายทอดตลาดที่ดินพิพาทนำเงินที่ได้มาแบ่งปันกันตามส่วนคดีถึงที่สุดแล้วแต่จำเลยทั้งห้าไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งปันกันตามส่วนตามคำพิพากษา คำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็น คู่ความในคดีให้ต้องปฏิบัติตาม การที่จำเลยที่ 1 มาร้อง ในคดีนี้ว่าจำเลยที่ 5 ได้ขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ จำเลยที่ 5 ให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่ดินส่วนนั้นมาจนที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1จึงขอให้ศาลไต่สวนคำฟ้องเพื่อมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 5 เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 นั้นย่อมเป็นการที่จำเลยที่ 1 ตั้งประเด็นขึ้นใหม่พิพาทกับจำเลยที่ 5 และมีผลเท่ากับขอให้ศาลแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ซึ่งไม่อาจกระทำได้ เพราะมิฉะนั้นแล้วคำพิพากษาของศาลแต่ละคดีก็จะไม่เป็นที่ยุติลงได้ กรณีเช่นนี้ หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าตนมีสิทธิในที่ดินพิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้อย่างไร หรือจำเลยที่ 1ถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายประการใด จำเลยที่ 1 ชอบที่จะไป ดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นคดีใหม่ต่างหาก การที่โจทก์ขอหมายบังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทขายทอดตลาดคดีนี้ เป็นการกำหนดวิธีแบ่งทรัพย์สิน ระหว่างเจ้าของรวมเท่านั้น โจทก์ก็ดี จำเลยก็ดี หาใช่เป็น เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกันและกันไม่กรณีจึงไม่ใช่เป็นการร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 จำเลยที่ 1จึงไม่อาจอ้างว่าคำร้องขอตนต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ได้ เพราะการร้องขอตามบทบัญญัติดังกล่าวจะต้องเป็นการร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด กรณีจึงไม่มีเหตุให้ต้องงดขายทอดตลาดที่ดินพิพาทและทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกประเด็นใหม่ในชั้นฎีกาที่ต่างจากที่ให้การไว้ในชั้นต้นและอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาของจำเลยทั้งสามในประเด็นที่ว่าคดีขาดอายุความแล้วปรากฏว่าในการชี้สองสถาน ศาลมิได้กำหนดเรื่องอายุความเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ และไม่ปรากฏว่าจำเลยโต้แย้งคำสั่งในการกำหนดประเด็นข้อพิพาท จึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัย ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้ จำเลยทั้งสามให้การว่า โจทก์มิได้มอบอำนาจให้ อ. ฟ้องคดีแต่ยกขึ้นเป็นประเด็นในชั้นฎีกาว่าหนังสือมอบอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะผู้รับมอบอำนาจมิได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้รับมอบอำนาจเหตุที่จำเลยทั้งสามยกขึ้นฎีกาจึงเป็นคนละเรื่องกับที่จำเลยทั้งสามให้การสู้คดีไว้ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การลอย ๆ ไม่ชัดเจน ศาลไม่ต้องวินิจฉัยประเด็นใหม่ที่ไม่ชัดเจนตาม ป.วิ.พ.
คำให้การของจำเลยที่ 4 ในข้อ 2 จำเลยที่ 4 ให้การลอย ๆ ไว้แต่เพียงว่าจำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 เนื่องจากทำขึ้นโดยขัดต่อระเบียบข้อบังคับของโจทก์เท่านั้น จึงเป็นคำให้การที่ไม่แสดงให้แจ้งชัดถึงเหตุแห่งการปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยว่า ที่ ห. ทำสัญญาแลกเช็คเป็นเงินสดตามเอกสารหมาย จ.4 ให้โจทก์ในฐานะเป็นตัวแทนหรือกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินความรับผิดทางละเมิดและการแบ่งความรับผิดระหว่างคู่กรณี รวมถึงข้อจำกัดในการฎีกาประเด็นใหม่
จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าขณะเกิดเหตุ ป. เป็นคนขับรถของโจทก์มิใช่ ว. แต่จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีว่า รถชนเกิดจากความประมาทของฝ่ายโจทก์ ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีในเรื่องผู้ใดเป็นคนขับรถของโจทก์ จึงไม่มีประเด็นข้อนี้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในข้อนี้ จึงเป็นการนอกประเด็นและถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 2 ข้อนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 จำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายละเมิด ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์สองในสามของค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับ เนื่องจากฝ่ายโจทก์มีส่วนประมาทอยู่ด้วย จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าจะต้องนำค่าเสียหายของจำเลยที่ 2 มารวมคิดคำนวณด้วยนั้น จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฟ้องแย้ง จึงไม่อาจนำมาคิดคำนวณให้ได้ การกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนอีกฝ่ายหนึ่งและจำนวนเท่าใด เป็นดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งตามที่เห็นสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3778/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามประเด็นใหม่ & สิทธิยึดหน่วงไม่ขาดอายุความเมื่อเจ้ามรดกเสียชีวิต
จำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ผิดสัญญาอย่างไรจำเลยมิได้กล่าวไว้ คำให้การของจำเลยไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ไม่มีประเด็นว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อนี้ไว้และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ ก็เป็นการไม่ชอบ ถือไว้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามฎีกา
โจทก์ยึดถือครอบครองที่พิพาทในฐานะเป็นผู้จะซื้อตลอดมาตามสัญญาจะซื้อขายที่ทำไว้กับบิดาจำเลย แม้สิทธิครอบครองจะยังไม่โอนมาเป็นของโจทก์ เพราะคู่สัญญาประสงค์จะให้มีการโอนทางทะเบียนก็ตาม แต่โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงที่พิพาทไว้จนกว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ได้ด้วย ดังนั้นการที่เจ้ามรดกตายมาแล้วเกิน 1 ปี ย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงที่จะใช้สิทธิบังคับให้จำเลยในฐานะผู้รับพินัยกรรมโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189 และ มาตรา 241
โจทก์ยึดถือครอบครองที่พิพาทในฐานะเป็นผู้จะซื้อตลอดมาตามสัญญาจะซื้อขายที่ทำไว้กับบิดาจำเลย แม้สิทธิครอบครองจะยังไม่โอนมาเป็นของโจทก์ เพราะคู่สัญญาประสงค์จะให้มีการโอนทางทะเบียนก็ตาม แต่โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงที่พิพาทไว้จนกว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ได้ด้วย ดังนั้นการที่เจ้ามรดกตายมาแล้วเกิน 1 ปี ย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงที่จะใช้สิทธิบังคับให้จำเลยในฐานะผู้รับพินัยกรรมโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189 และ มาตรา 241
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3461/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินหลังสมรส: สิทธิของคู่สมรสในทรัพย์สินที่ได้มาหลังจดทะเบียนสมรส และขอบเขตการยกประเด็นใหม่ในคดี
คู่ความท้ากันให้ศาลวินิจฉัยข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวโดยไม่สืบพยานว่าจำเลยมีสิทธิจะไม่ขายที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายเพราะไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยร่วมหรือไม่โดยคู่ความแถลงรับกันว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2524 จำเลยจดทะเบียนสมรสกับจำเลยร่วมเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2525 อันถือได้ว่าคู่ความสละประเด็นข้ออื่นในคดีแล้ว การที่จำเลยและจำเลยร่วมยกข้อโต้แย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกันมาในฐานะหุ้นส่วน จำเลยร่วมจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยนั้น เป็นการตั้งประเด็นใหม่อีกหาอาจกระทำได้ไม่ ข้อโต้แย้งของจำเลยและจำเลยร่วมดังกล่าวอยู่นอกคำท้าศาลไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาประเด็นใหม่ & การคำนวณค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ
ปัญหาที่ว่าโจทก์นำรถคันที่เช่าซื้อ ออกขายทอดตลาดโดย ไม่สุจริต ราคาต่ำ กว่าความเป็นจริงนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้าม ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระเงินค่าติดตามรถ แก่โจทก์โดย ที่โจทก์มิได้ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยทั้งสองให้ชำระเงินจำนวนนี้ เป็นการพิพากษาเกินคำขอ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากประเด็นที่ยกขึ้นใหม่ มิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
หลักจากศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดให้แก่โจทก์แล้วจำเลยยื่นคำร้องคัดค้านว่าโจทก์เสนอราคาต่ำไปขอให้เลื่อนการขาย ศาลชั้นต้นสั่งรวมสำนวน จำเลยอุทธรณ์เพียงว่าโจทก์เสนอราคาต่ำไปและไม่มีบุคคลภายนอกเข้าสู้ราคาศาลอุทธรณ์พิพากษายืน การที่จำเลยฎีกาว่าศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องโดยไม่ไต่สวนก่อนไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง นั้น เป็นปัญหาที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลอุทธรณ์ และไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อุทธรณ์ประเด็นใหม่ในฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยหากไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
หลังจากศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านว่าโจทก์เสนอราคาต่ำไปขอให้เลื่อนการขาย ศาลชั้นต้นสั่งรวมสำนวน จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์เสนอราคาต่ำไปและไม่มีบุคคลภายนอกเข้าสู้ราคา ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน การที่จำเลยฎีกาว่าศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องโดยไม่ไต่สวนก่อนไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสองนั้น เป็นปัญหาที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลอุทธรณ์ และไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย