คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประเมิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้จากการโอนกิจการและเงินได้ที่ซ่อนเร้น การประเมินและเงินเพิ่ม
เงินที่โจทก์ได้รับจาก อ. เป็นค่าตอบแทนส่วนหนึ่งในการโอนกิจการซื้อขายที่ดินรวมทั้งหนี้สินและทรัพย์สินตามสัญญาจ่ายเงิน 2 ฉบับ อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา40(8)
โจทก์ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินแล้ว แต่เสียภาษีไม่ถูกต้อง และยื่นรายการไม่ครบ โดยไม่ได้นำเงินเดือนที่ได้รับปีละ 6,000 บาท เข้าไปด้วย ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องปกปิดรายได้ของตนเพื่อหลีกเลี่ยงให้เสียภาษีน้อยลง จึงไม่สมควรลดเงินเพิ่มให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร: การประเมิน การอุทธรณ์ และการฟ้องร้อง ส่งผลต่อการสะดุดหยุดของอายุความ
โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลยื่นรายการเสียภาษีเงินได้ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ ทำให้จำนวนเงินค่าภาษีขาดไปต้องถือว่าหนี้ค่าภาษีที่ขาดไปนี้ได้ถึงกำหนดชำระแล้ว ตั้งแต่วันที่โจทก์ผู้เสียภาษีเงินได้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 65, 68 และ 69 คือภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแต่ละปี ภาษีรายพิพาทเป็นภาษีเงินได้สำหรับระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2495 ถึง 2500 ซึ่งถึงกำหนดชำระภายในวันที่ 30 พฤษภาคม 2496, 30 พฤษภาคม 2497, 30 พฤษภาคม 2498, 29 พฤษภาคม 2499, 30 พฤษภาคม 2500 และ 30 พฤษภาคม 2501 ตามลำดับ อายุความจึงเริ่มนับจากวันครบกำหนดชำระของแต่ละปีเป็นต้นไป เพราะเจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรจำเลยอาจใช้สิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันนั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งคำสั่งประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้เพิ่มเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2505 ซึ่งนับอายุความตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินอาจใช้สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีได้จนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินแล้วยังไม่เกิน 10 ปี และการที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งคำสั่งประเมินดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการทำการอื่นใดอันนับว่าดีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดี เพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้องดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เพราะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ถ้าผู้ต้องเสียภาษีไม่เสียภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะสั่งยึด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องเสียภาษี เพื่อนำเงินมาชำระค่าภาษีอากรค้างได้ โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลดังนั้น การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินยอมเป็นเหตุให้อายุความสุดุดหยุดลง ส่วนการที่โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2515 นั้น คำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ใช่คำสั่งประเมินเรียกเก็บภาษีเป็นเพียงข้อวินิจฉัยว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินถูกต้องหรือไม่เท่านั้น จะนับอายุความจากวันครบกำหนดชำระภาษีจนถึงวันที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่าเกิน 10 ปี ขาดอายุความหาได้ไม่ และกรณีที่โจทก์อุทธรณ์การประเมินดังกล่าว ทั้งฟ้องคดีต่อศาลเป็นคดีนี้สืบเนื่องกันมา ถือได้ว่าเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของกรมสรรพากรจำเลยที่ให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้รายพิพาทจึงไม่ขาดอายุความตามมาตรา 167
เงินค่าภาษีที่โจทก์ชำระให้แก่กรมสรรพากรจำเลยไปตามที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินและกรมสรรพากรจำเลยไม่ยอมให้ทุเลาการชำระ ซึ่งฝ่ายจำเลยถือว่ามีสิทธิเรียกเก็บได้ตามกฎหมาย และโต้เถียงเช่นนั้นตลอดมา ย่อมไม่ใช่เรื่องที่จำเลยได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าภาษีดังกล่าวคืน จึงไม่ใช่ฟ้องเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้อันอยู่ในบังคับที่จะใช้อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
โจทก์ได้เสียภาษีเพิ่มสำหรับรอบระยะบัญชี 2495 และ 2496 ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน โดยจำเลยไม่ยอมให้ทุเลาการชำระ แต่ต่อมาคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มน้อยกว่าที่ชำระไปแล้ว โจทก์จึงชำระภาษีเกินกว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไปเป็นเงิน 727,340.86 บาท ดังนี้ กรมสรรพากรจำเลยต้องคืนเงินภาษีจำนวนที่โจทก์ชำระเกินไปดังกล่าวให้โจทก์คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้นำภาษีที่โจทก์ชำระเกินไว้เป็นเครดิตหักออกจากภาษีที่โจทก์จะต้องชำระสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2497 และ 2498 ได้ เพราะประมวลรัษฎากรไม่ได้บัญญัติให้อำนาจไว้เช่นที่บัญญัติในมาตรา 18 ทวิ, 60 ทวิ คือให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการและภาษีที่เรียกเก็บ
ให้ถือเป็นเครดิตของผู้ต้องเสียภาษีในการคำนวณภาษี และการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบ ถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ ทั้งสิทธิเรียกร้องในหนี้ยังมีข้อต่อสู้อยู่จะหักกลบลบหนี้กันไม่ได้ จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าภาษีดังกล่าวให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรต้องมีการอุทธรณ์การประเมินก่อน หากมิได้อุทธรณ์ถือเป็นขาดอำนาจฟ้อง
กรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไม่ได้หักและนำส่งเงินภาษีเงินได้ของลูกจ้าง หรือหักและนำส่งเงินภาษีเงินได้ของลูกจ้างแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง โจทก์จะต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในภาษีเงินได้ที่ไม่ได้หักหรือนำส่งตามจำนวนที่ขาดแล้วแต่กรณีตามประมวลรัษฎากร มาตรา54 วรรคแรก จึงถือได้ว่าโจทก์มีหน้าที่เสียภาษีเช่นเดียวกับลูกจ้างของโจทก์ ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีคำสั่งให้โจทก์เสียภาษีเงินได้และเงินเพิ่ม หากโจทก์เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างไร ก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่งตามมาตรา 30 เสียก่อน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องโดยไม่ได้อุทธรณ์การประเมินเสียก่อนย่อมไม่ชอบด้วยมาตรา 30 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 88/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยื่นอุทธรณ์การประเมินภาษีทำให้การประเมินถึงที่สุด และจำเลยต้องรับผิดหนี้ภาษีตามกฎหมาย
การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีจากกรมสรรพากรแล้วแต่มิได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 30 แห่ง ประมวลรัษฎากรนั้น จำเลยจะมายกขึ้นต่อสู้ในคดีที่ถูกกรมสรรพากรเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายเพราะเป็นหนี้ค่าภาษีดังกล่าวว่าการประเมินของเจ้าพนักงานไม่ชอบ เพราะเงินรายรับไม่ใช่ของจำเลยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 733/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดของบุคคลโรคจิตเภท: การประเมินความสามารถในการรู้ผิดชอบ
จำเลยอายุ 19 ปี เป็นโรคจิตเภท ลักรถยนต์ในเวลารู้ผิดชอบอยู่บ้าง ศาลลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรค 2คงจำคุก 8 เดือน และรอการลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีเงินได้และภาษีการค้า: การประเมินและแจ้งประเมินภายใน 10 ปี
โจทก์มีเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในระหว่างปีภาษี พ.ศ. 2500 ถึง 2506 แต่โจทก์ยื่นรายการเงินได้ไม่ถูกต้องต่ำกว่าความจริงและลงรายการไม่ครบถ้วนทำให้จำนวนเงินภาษีเงินได้ขาดไป เจ้าพนักงานประเมินได้ไต่สวนแล้วมีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้รวมทั้งเงินเพิ่มของปีดังกล่าวให้โจทก์ชำระ ดังนี้ หนี้ค่าภาษีเงินได้ที่ขาดไปนั้นได้ถึงกำหนดชำระแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 56, 57 จัตวา คือภายในเดือนกุมภาพันธ์ทุก ๆ ปี ที่มีเงินได้พึงประเมินในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมา และเจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีเงินได้ถัดจากวันที่ครบกำหนดชำระเป็นต้นไป คือเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2501
สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ. 2500 และวันที่ 1 มีนาคมในปีถัดไป สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ. 2501 ถึง 2506 ของแต่ละปีตามลำดับ เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีเงินได้ปี พ.ศ. 2500, 2501 ให้โจทก์ชำระเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2510 และภาษีเงินได้ปี พ.ศ. 2502 ถึง 2506 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2501 ซึ่งนับอายุความตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินอาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้ถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินแล้วยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องค่าภาษีเงินได้จึงไม่ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 167
สำหรับภาษีการค้านั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับรายรับเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2502 เดือนธันวาคม 2502 และกันยายน 2503 ภายในเวลาตามที่กำหนดไว้ตามประมวลรัษฎากร ตาม 84, 85 ดังนี้ มูลหนี้ค่าภาษีการค้าได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษีที่โจทก์มีรายรับโดยถือเอาวันที่ 15 ของเดือนถัดไปเป็นวันที่ครบกำหนดชำระภาษีเดือนนั้น ๆ และเจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีการค้าถัดจากวันที่ครบกำหนดชำระเป็นต้นไป เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีการค้าให้โจทก์ชำระในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2511 อันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าภาษีการค้าภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินอาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีเงินได้และภาษีการค้า: การประเมินและแจ้งการประเมินภายใน 10 ปี
โจทก์มีเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในระหว่างปีภาษี พ.ศ.2500 ถึง 2506 แต่โจทก์ยื่นรายการเงินได้ไม่ถูกต้องต่ำกว่าความจริงและลงรายการไม่ครบถ้วนทำให้จำนวนเงินภาษีเงินได้ขาดไป เจ้าพนักงานประเมินได้ไต่สวนแล้วมีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้รวมทั้งเงินเพิ่มของปีดังกล่าวให้โจทก์ชำระ ดังนี้ หนี้ค่าภาษีเงินได้ที่ขาดไปนั้นได้ถึงกำหนดชำระแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 56,57 จัตวา คือภายในเดือนกุมภาพันธ์ทุก ๆ ปี ที่มีเงินได้พึงประเมินในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมา และเจ้าพนักงานประเมินมี สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีเงินได้ถัดจากวันที่ครบกำหนดชำระเป็นต้นไปคือเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2501
สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ.2500 และวันที่ 1 มีนาคม ในปีถัดไป สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ.2501 ถึง 2506 ของแต่ละปีตามลำดับเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีเงินได้ปี พ.ศ.2500,2501 ให้โจทก์ชำระเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2510 และภาษีเงินได้ปี พ.ศ.2502 ถึง2506 เมื่อวันที่ 19กุมภาพันธ์ 2511 ซึ่งนับอายุความตั้งแต่วันที่ เจ้าพนักงานประเมินอาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้ถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินแล้วยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องค่าภาษีเงินได้จึงไม่ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167
สำหรับภาษีการค้านั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับรายรับเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2502 เดือนธันวาคม 2502 และกันยายน 2503 ภายในเวลาตามที่กำหนดไว้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84,85 ดังนี้มูลหนี้ค่าภาษีการค้าได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษีที่โจทก์มีรายรับโดยถือเอาวันที่ 15 ของเดือนถัดไปเป็นวันที่ครบกำหนดชำระภาษีเดือนนั้น ๆ และเจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีการค้าถัดจากวันที่ครบกำหนดชำระเป็นต้นไป เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีการค้าให้โจทก์ชำระในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2511 อันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าภาษีการค้าภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินอาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบการค้าข้าวส่งออก: นายหน้า vs. ผู้ขาย การประเมินภาษีค่านายหน้า
ห้างโจทก์มีวัตถุประสงค์จำหน่ายข้าวสารและเป็นนายหน้าและตัวแทนค้าต่างในกิจการทุกประเภทในการติดต่อขายข้าวให้กับผู้ซื้อในต่างประเทศทางห้างโจทก์เสนอราคาขายข้าวโดยบวกค่าระวางบรรทุก ค่าประกันและค่านายหน้ารวมเข้าไปด้วย แต่โจทก์ไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้ส่งข้าวออกไปขายต่างประเทศ และไม่ได้ขออนุญาตต่อทางราชการได้ความว่าโรงสีเป็นผู้ขออนุญาตส่งข้าวไปขายต่างประเทศเป็นผู้ขออนุญาตนำเงินตราต่างประเทศเท่าราคาข้าวที่ขายเข้ามาในประเทศ ทั้งเป็นผู้ปฏิบัติตามพิธีการส่งออกของกรมศุลกากร เสียภาษีศุลกากร ค่าพรีเมี่ยม และภาษีการค้าข้าว กระสอบบรรจุข้าวส่งไปขายต่างประเทศก็มีตราของผู้ซื้อประทับอยู่ แสดงว่าโรงสีรู้อยู่แล้วว่ามีผู้ซื้อตัวจริงในต่างประเทศโจทก์อ้างว่าโรงสีขายข้าวให้โจทก์ แต่การซื้อขายไม่มีการวางมัดจำหรือทำสัญญาซื้อขายข้าวกันโจทก์ไม่มีโกดังเก็บข้าวเองเมื่อโรงสีส่งมอบข้าวแล้วโจทก์ยังไม่ชำระเงินค่าข้าวประกอบกับเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ผู้ซื้อในต่างประเทศส่งมาชำระค่าข้าวนั้นโจทก์จะรับเอาทั้งหมดไม่ได้คงรับได้เฉพาะส่วนที่เป็นผลประโยชน์ของโจทก์เองเท่านั้นพฤติการณ์เหล่านี้แสดงว่าโจทก์เพียงแต่ทำการเป็นนายหน้าหรือตัวแทน หรือรับจัดธุรกิจจัดการให้โรงสีและผู้ซื้อในต่างประเทศได้ซื้อขายกันแม้บางเดือนมีการขาดทุนเพราะคำนวณค่าใช้จ่ายผิดพลาดบ้างการกระทำของโจทก์ก็เข้าลักษณะเป็นการประกอบการค้าประเภทนายหน้าตามประมวลรัษฎากรหาใช่โจทก์เป็นผู้ขายข้าวส่งต่างประเทศเองไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1388/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายได้จากการรับเหมาช่วงและการจ่ายเงินแทนผู้เช่า: กำหนดระยะเวลาประเมินภาษี
บริษัทโจทก์มีวัตถุประสงค์รับเหมาก่อสร้างทำสัญญารับปรับปรุงที่ดินปลูกสร้างอาคารเรียกเก็บเงินจากผู้เช่า โจทก์จ่ายเงินแก่ผู้รับช่วงจากเจ้าของที่ดิน 30,100,000 บาท เป็นเงินที่โจทก์จ่ายเงินที่เก็บจากผู้เช่าบางส่วน แล้วโจทก์ให้ผู้เช่าชำระเงินจำนวนนี้แก่ผู้รับช่วงจากเจ้าของที่ดินเอง เท่ากับโจทก์รับเงินจากผู้เช่าไปจ่ายนั่นเอง โจทก์จึงมีรายรับ 30,100,000 บาท ซึ่งต้องเสียภาษีการค้า โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการค้าว่าไม่มีรายรับ จำเลยประเมินเรียกเก็บได้ในกำหนด 10 ปี ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 88ทวิ(2) ไม่ใช่ 5 ปี ตาม มาตรา 88 ทวิ(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1553-1555/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการละเมิด: การประเมินค่าใช้จ่ายทำศพและค่าขาดไร้อุปการะ
กรณีละเมิดทำให้ถึงตาย โจทก์นำสืบค่าใช้จ่ายในการทำศพได้ไม่แน่นอน ศาลกำหนดให้ได้ตามสมควร ส่วนค่าขาดไร้อุปการะนั้นเป็นสิทธิที่จะได้รับเป็นค่าเสียหาย ไม่ต้องคำนึงถึงว่าโจทก์ยากไร้อย่างการเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยตรง
คดีซึ่งโจทก์เรียกค่าเสียหายฐานละเมิดจากจำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1420,000 บาท แก่โจทก์ที่ 2,3 204,000 บาท แก่โจทก์ที่ 4 ผู้รับประกันภัยที่ได้รับช่วงสิทธิ 48,375 บาทกับดอกเบี้ยนั้น เฉพาะโจทก์ที่ 4 ทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
of 13