คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ป่าสงวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4095/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินของผู้ไม่รู้เห็นเป็นใจในความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนฯ ต้องไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ผู้ร้องมีสิทธิขอคืนรถ
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 35มิได้มุ่งหมายให้ริบทรัพย์สินของบุคคลอื่นที่มิได้รู้เห็น เป็นใจในการกระทำผิดด้วย เมื่อคดีฟังได้ว่ารถจักรยานยนต์ของกลางเป็นของผู้ร้องซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลย ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอจักรยานยนต์ของกลางคืนได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ต้นไม้ในเขตป่าสงวน: ความแตกต่างระหว่างข้ออ้างกับข้อเท็จจริงส่งผลให้ต้องยกฟ้อง
ต้นไม้ของกลางขึ้นเองตามธรรมชาติในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่ผู้เสียหายครอบครองทำประโยชน์อยู่ ย่อมเป็นของรัฐไม่ใช่ของผู้เสียหาย แต่โจทก์ฟ้องว่าเป็นของผู้เสียหาย ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงต่างกับฟ้องในข้อสาระสำคัญ ต้องยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ไม้ขบดงในป่าสงวน: ความแตกต่างระหว่างฟ้องกับข้อเท็จจริงนำไปสู่การยกฟ้อง
ไม้ขบดง ซึ่งขึ้นเองตามธรรมชาติในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่ผู้เสียหายครอบครองทำประโยชน์อยู่ ย่อมเป็นของรัฐไม่ใช่ของผู้เสียหาย แต่โจทก์ฟ้องว่าเป็นของผู้เสียหายถูกจำเลยตัดและนำไปแปรรูปเป็นไม้ของกลาง ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงต่างกับฟ้องในข้อสาระสำคัญ ต้องยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ไม้ในป่าสงวน: การฟ้องลักทรัพย์ต้องระบุเจ้าของที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ต้นไม้ของกลางขึ้นเองตามธรรมชาติในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่ผู้เสียหายครอบครองทำประโยชน์อยู่ ย่อมเป็นของรัฐไม่ใช่ของผู้เสียหาย แต่โจทก์ฟ้องว่าเป็นของผู้เสียหาย ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงต่างกับฟ้องในข้อสาระสำคัญ ต้องยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3322/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวน: การสละสิทธิเมื่อไม่แสดงตนภายใน 90 วันหลังประกาศ
แม้จำเลยได้ยึดถือครอบครองที่ดินมาก่อนที่กฎกระทรวงกำหนดให้ป่าดงขุนดำ เป็นป่าสงวนแห่งชาติก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้ทราบประกาศให้ที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นป่าสงวนแห่งชาติแล้ว จำเลยไม่ยื่นแสดงสิทธิของจำเลยว่ามีสิทธิอยู่ในเขตป่าสงวนได้ภายใน90 วัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงดังกล่าวใช้บังคับ จึงถือว่า จำเลยได้สละสิทธิหรือประโยชน์นั้นแล้ว ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯมาตรา 12 วรรคแรก จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดถือครอบครองที่ดินดังกล่าวเมื่อป่าไม้อำเภอแจ้งว่า จำเลยบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติให้ออกไป จำเลยไม่ยอมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปโดยยังคงยึดถือครอบครองที่ดินนั้นต่อไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3322/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินหลังประกาศเป็นป่าสงวน: การสละสิทธิจากการไม่แสดงเจตนาภายในกำหนด
จำเลยยึดถือครอบครองที่ดินมาก่อนที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ แต่เมื่อจำเลยได้ทราบประกาศให้ที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นป่าสงวนแห่งชาติแล้ว จำเลยไม่ยื่นแสดงสิทธิของจำเลยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่ามีสิทธิอยู่ในเขตป่าสงวนได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงใช้บังคับ จึงถือว่าจำเลยได้สละสิทธิหรือประโยชน์นั้นแล้วตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 มาตรา 12 วรรคแรก จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดถือครอบครองที่ดินดังกล่าว เมื่อป่าไม้อำเภอแจ้งว่าจำเลยบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติให้ออกไป จำเลยไม่ยอมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกโดย ยังคงยึดถือครอบครองที่ดินนั้นต่อไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 14,31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3063/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินในเขตอุทยานฯ และป่าสงวนฯ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่
จำเลยทั้งสองให้การว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติจำเลยที่ 2 ได้รับอนุญาตให้ครอบครองที่ดินพิพาท เป็นการต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้ จำเลยอาศัยสิทธิของกรมป่าไม้จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิที่จะร้องขอให้เรียกกรมป่าไม้เข้ามาเป็นจำเลยร่วมได้ ก่อนที่จะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินเขาแหลมหญ้าตำบลเพ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ให้เป็นอุทยานแห่งชาติออกใช้บังคับเมื่อปี พ.ศ. 2524 ที่ดินพิพาทก็อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 893(2523) ออกตามความในพระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 มาตรา 16(1) ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองที่ดิน รวมตลอดถึงก่นสร้างแผ้วถางหรือเผาป่า โจทก์ไม่เคยยื่นคำร้องขอกันที่พิพาทออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติหรืออุทยานแห่งชาติ ดังนั้นการที่โจทก์เข้ายึดถือครอบครองที่ดิน ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ โจทก์จึงไม่ได้สิทธิครอบครอง แม้จะรับโอนมาจากผู้ที่ครอบครองอยู่ก่อนนานเท่าใดก็ตามเพราะเป็นที่ดินที่ไม่อาจโอนกันได้ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย ซึ่งมารบกวนการครอบครองที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2899/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่? เมื่อสถานะที่ดินเปลี่ยนแปลงจากป่าสงวนเป็นที่ดินว่างเปล่า สัญญาประนีประนอมยังบังคับได้
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมรับว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ และจำเลยตกลงจะซื้อที่พิพาทจากโจทก์โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว แต่ศาลวินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติ โดยไม่ได้วินิจฉัยประเด็นอื่น ต่อมาทางราชการได้รับรองว่าที่พิพาทอยู่นอกเขตป่าสงวนแห่งชาติโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้อีก ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะคดีก่อนศาลยังมิได้วินิจฉัยประเด็นที่เป็นเนื้อหาแห่งคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2899/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำหลังศาลตัดสินว่าที่ดินเป็นป่าสงวนฯ แต่ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงสถานะที่ดิน ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องได้อีก
คดีก่อนศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่พิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกคืนจากจำเลยทั้งสองได้ จึงพิพากษายกฟ้องซึ่งเป็นการให้ยกฟ้องเพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ต่อมาทางราชการได้รับรองว่าที่พิพาทอยู่นอกเขตป่าสงวนแห่งชาติ ทำให้โจทก์ยึดถือครอบครองที่พิพาทได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ให้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความบังคับให้จำเลยที่ 1 ซื้อและชำระราคาที่ดินพิพาทแก่โจทก์ในราคาที่เป็นธรรมหากไม่ยอมซื้อก็ให้จำเลยทั้งสองรื้อสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่พิพาทได้อีก เพราะคดีก่อนศาลยังมิได้วินิจฉัยประเด็นที่เป็นเนื้อหาแห่งคดี ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5351/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานทำไม้และมีไม้หวงห้ามในป่าสงวน: การแยกความผิดเป็นกรรมต่างกัน และการใช้บทกฎหมายที่มีโทษหนักสุด
การที่จำเลยทั้งสามทำไม้สักในเขตป่าสงวนแห่งชาติและมีไม้สักที่มิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง แม้ไม้สักที่จำเลยทั้งสามทำและมีไว้ในครอบครองจะเป็นจำนวนเดียวกันก็ตาม แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันซึ่งต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ส่วนการทำไม้สักในเขตป่าสงวนแห่งชาติอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 11,73 วรรคสอง มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาท และโทษตามพ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 14,31 วรรคสอง มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท ถือว่าโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 11,73วรรคสอง หนักกว่าโทษตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 14,31วรรคสอง จึงลงโทษจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ มาตรา 11,73วรรคสอง อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90.
of 18