พบผลลัพธ์ทั้งหมด 152 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1536-1540/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษปรับและคำขอให้จำเลยออกจากพื้นที่ป่าในคดีครอบครองป่าโดยไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์แก้ไขเล็กน้อย ฎีกาไม่รับ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกันให้ปรับจำเลยเพียงแต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ ให้ยกคำขอที่สั่งให้จำเลยออกไปจากป่าที่จำเลยยึดถือครอบครองเสียเท่านั้น คำขอส่วนนี้เป็นวิธีการอุปกรณ์ของโทษ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 72 ตรี ซึ่งศาลมีอำนาจใช้ ดุลพินิจสั่งได้ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ข้อนี้ย่อมถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อย
ศาลอุทธรณ์มิได้แก้บทความผิดเพียงแต่แก้โทษปรับให้ต่ำกว่าที่ศาลชั้นต้นลงไว้ และมิได้วางโทษจำคุกแล้วรอไว้ดังที่ศาลชั้นต้นพิพากษา กับแก้ในข้อที่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยออกไปจากป่าที่จำเลยยึดถือครอบครองเป็นให้ยกเสีย ดังนี้ เป็นเพียงการแก้ไขเล็กน้อย
ศาลอุทธรณ์มิได้แก้บทความผิดเพียงแต่แก้โทษปรับให้ต่ำกว่าที่ศาลชั้นต้นลงไว้ และมิได้วางโทษจำคุกแล้วรอไว้ดังที่ศาลชั้นต้นพิพากษา กับแก้ในข้อที่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยออกไปจากป่าที่จำเลยยึดถือครอบครองเป็นให้ยกเสีย ดังนี้ เป็นเพียงการแก้ไขเล็กน้อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1230/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดพ.ร.บ.ป่าไม้: การพรางเรือนแพเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี ปรับ 2,000 บาทแต่ให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ลงโทษจำคุกจำเลยสถานเดียว แต่ไม่รอการลงโทษ จึงเป็นการแก้ไขมาก จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
ไม้ทุกชิ้นที่สร้างเรือนแพของจำเลยไม่ได้ไสกบเลย พื้นเรือนตีตะปูยึดกับตงไว้ที่หัวและท้ายเพียงบางแผ่นตงก็ใช้ไม้ขนาดเดียวกับไม้พื้น ชานเรือนใช้ไม้ปูซ้อนล้ำกันถึง 1 วา ฝากั้นห้องไม่เสมอกันและปล่อยยื่นออกมานอกเสา การตั้งวงกบประตูหน้าต่างก็เพียงแต่ตีชนกันไว้ ไม่ได้เข้าไม้ให้แน่นหนา หัวเสาที่รับอะเสไม่ได้บากหรือหยักหัวเสาให้รับกัน มีแต่ตะปูตีไว้ไม่มั่นคงแข็งแรง ลูกบวบที่รองรับเรือนแพก็ผูกไว้ไม่แน่นหนาสมกับจะเป็นที่อยู่อาศัย ดังนี้ ถือได้ว่าเป็น ไม้แปรรูปที่ทำขึ้นเพียงให้เป็นรูปเรือนแพเพื่อพรางหรือลวงโดยเจตนาหลีกเลี่ยงกฎหมาย และเพื่อสะดวกแก่การขนย้ายหาใช่เป็นไม้ที่อยู่ในสภาพของสิ่งปลูกสร้างตาม ความหมายแห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 มาตรา 4 ไม่
ไม้ทุกชิ้นที่สร้างเรือนแพของจำเลยไม่ได้ไสกบเลย พื้นเรือนตีตะปูยึดกับตงไว้ที่หัวและท้ายเพียงบางแผ่นตงก็ใช้ไม้ขนาดเดียวกับไม้พื้น ชานเรือนใช้ไม้ปูซ้อนล้ำกันถึง 1 วา ฝากั้นห้องไม่เสมอกันและปล่อยยื่นออกมานอกเสา การตั้งวงกบประตูหน้าต่างก็เพียงแต่ตีชนกันไว้ ไม่ได้เข้าไม้ให้แน่นหนา หัวเสาที่รับอะเสไม่ได้บากหรือหยักหัวเสาให้รับกัน มีแต่ตะปูตีไว้ไม่มั่นคงแข็งแรง ลูกบวบที่รองรับเรือนแพก็ผูกไว้ไม่แน่นหนาสมกับจะเป็นที่อยู่อาศัย ดังนี้ ถือได้ว่าเป็น ไม้แปรรูปที่ทำขึ้นเพียงให้เป็นรูปเรือนแพเพื่อพรางหรือลวงโดยเจตนาหลีกเลี่ยงกฎหมาย และเพื่อสะดวกแก่การขนย้ายหาใช่เป็นไม้ที่อยู่ในสภาพของสิ่งปลูกสร้างตาม ความหมายแห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 มาตรา 4 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ของกลางในคดีป่าไม้: แม้เจ้าของรถไม่รู้เห็น ก็ริบได้หากใช้เป็นพาหนะขนย้ายไม้ผิดกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีไม้หวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ไว้ในความครอบครอง อันยังมิได้แปรรูปไม่มีรอยตราค่าภาคหลวง หรือรอยตรารัฐบาลขายประทับไว้ และจำเลยได้ใช้รถยนต์ของกลางในการกระทำผิดขนย้ายไม้หวงห้ามดังกล่าวเช่นนี้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลย่อมสั่งริบรถยนต์ของกลางได้โดยโจทก์มิต้องนำสืบว่ารถยนต์ของกลางเป็นของจำเลยหรือเจ้าของรถยนต์ได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด ทั้งนี้เพราะรถยนต์ของกลางเป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำผิดอันเข้าข่ายต้องริบตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 74 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนในการบรรยายฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับป่าไม้ และข้อจำกัดในการอ้างพยานร่วมกระทำผิด
คำบรรยายฟ้องที่ไม่ถือว่าเคลือบคลุม.
กฎหมายห้ามมิให้โจทก์อ้างตัวจำเลยเป็นพยานโจทก์เท่านั้น. มิได้ห้ามโจทก์อ้างผู้ที่กระทำผิดเช่นเดียวกับจำเลยมาเป็นพยาน.
ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยแผ้วถางที่ดินที่ยังมีสภาพเป็นป่าอยู่โดยรอบ. จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้ถางที่ดินที่ยังมีสภาพเป็นป่า.เป็นการถางที่มีประโยชน์ที่ไม่มีสภาพเป็นป่า. ข้อเถียงดังนี้เป็นการเถียงข้อเท็จจริง. จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218.
กฎหมายห้ามมิให้โจทก์อ้างตัวจำเลยเป็นพยานโจทก์เท่านั้น. มิได้ห้ามโจทก์อ้างผู้ที่กระทำผิดเช่นเดียวกับจำเลยมาเป็นพยาน.
ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยแผ้วถางที่ดินที่ยังมีสภาพเป็นป่าอยู่โดยรอบ. จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้ถางที่ดินที่ยังมีสภาพเป็นป่า.เป็นการถางที่มีประโยชน์ที่ไม่มีสภาพเป็นป่า. ข้อเถียงดังนี้เป็นการเถียงข้อเท็จจริง. จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีป่าไม้และการไม่เคลือบคลุมของฟ้อง: การพิจารณาอัตราโทษและรายละเอียดการกระทำ
ความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 73พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 มาตรา 17 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000บาท ฉะนั้นจึงต้องถืออายุความฟ้องร้อง 10 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3)
ฟ้องโจทก์ซึ่งบรรยายว่า 'ฯลฯ ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม2506 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2507 ฯลฯ' ประกอบข้อความว่า'ฯลฯได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ป่าบางน้ำจืดบางส่วนในท้องที่ตำบลบางสน อำเภอปทิว จังหวัดชุมพร เป็นป่าคุ้มครอง และจำเลยได้ทำลายป่า และตัดฟันไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวนแห่งชาติรวมเนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 90 ตารางวา โดยมิได้รับอนุญาต ฯลฯ' ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ฟ้องโจทก์ซึ่งบรรยายว่า 'ฯลฯ ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม2506 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2507 ฯลฯ' ประกอบข้อความว่า'ฯลฯได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ป่าบางน้ำจืดบางส่วนในท้องที่ตำบลบางสน อำเภอปทิว จังหวัดชุมพร เป็นป่าคุ้มครอง และจำเลยได้ทำลายป่า และตัดฟันไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวนแห่งชาติรวมเนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 90 ตารางวา โดยมิได้รับอนุญาต ฯลฯ' ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีป่าไม้ และการวินิจฉัยฟ้องเคลือบคลุม: ป่าไม้, อายุความ 10 ปี, ฟ้องชัดเจน
ความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 73พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 มาตรา 17 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท ฉะนั้นจึงต้องถืออายุความฟ้องร้อง 10 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3)
ฟ้องโจทก์ซึ่งบรรยายว่า "ฯลฯระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2506 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2507 ฯลฯ" ประกอบข้อความว่า"ฯลฯได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ป่าบางน้ำจืดบางส่วนในท้องที่ตำบลบางสนอำเภอปทิว จังหวัดชุมพร เป็นป่าคุ้มครอง และจำเลยได้ทำลายป่า และตัดฟันไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวนแห่งชาติรวมเนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 90 ตารางวา โดยมิได้รับอนุญาต ฯลฯ" ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ฟ้องโจทก์ซึ่งบรรยายว่า "ฯลฯระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2506 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2507 ฯลฯ" ประกอบข้อความว่า"ฯลฯได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ป่าบางน้ำจืดบางส่วนในท้องที่ตำบลบางสนอำเภอปทิว จังหวัดชุมพร เป็นป่าคุ้มครอง และจำเลยได้ทำลายป่า และตัดฟันไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวนแห่งชาติรวมเนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 90 ตารางวา โดยมิได้รับอนุญาต ฯลฯ" ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีป่าไม้และการไม่เคลือบคลุมของฟ้อง: การพิจารณาโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
ความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 73พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 มาตรา 17 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี. หรือปรับไม่เกิน 20,000บาท. ฉะนั้นจึงต้องถืออายุความฟ้องร้อง 10 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3).
ฟ้องโจทก์ซึ่งบรรยายว่า 'ฯลฯระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม2506 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2507 ฯลฯ' ประกอบข้อความว่า'ฯลฯได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ป่าบางน้ำจืดบางส่วนในท้องที่ตำบลบางสนอำเภอปทิว จังหวัดชุมพร เป็นป่าคุ้มครอง. และจำเลยได้ทำลายป่า และตัดฟันไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวนแห่งชาติรวมเนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 90 ตารางวา. โดยมิได้รับอนุญาต ฯลฯ'. ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม.
ฟ้องโจทก์ซึ่งบรรยายว่า 'ฯลฯระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม2506 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2507 ฯลฯ' ประกอบข้อความว่า'ฯลฯได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ป่าบางน้ำจืดบางส่วนในท้องที่ตำบลบางสนอำเภอปทิว จังหวัดชุมพร เป็นป่าคุ้มครอง. และจำเลยได้ทำลายป่า และตัดฟันไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวนแห่งชาติรวมเนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 90 ตารางวา. โดยมิได้รับอนุญาต ฯลฯ'. ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'ผ่าน' ใน พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ จำเลยเพียงนำไม้เข้าเขตด่านป่าไม้ ไม่ถือว่า 'ผ่าน' ด่าน
พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ มาตรา 41 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดนำไม้หรือของป่าผ่านด่านป่าไม้ในระหว่างเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ตกถึงเวลาพระอาทิตย์ขึ้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ฯลฯ แต่พระราชบัญญัติป่าไม้ไม่มีวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "ผ่าน" ก็ต้องตีความหมายธรรมดา (ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน) หมายถึงกิริยาที่ล่วงพ้นไป ตัดไป ลัดไป หรือข้ามไป ฉะนั้น เมื่อคดีได้ความว่าจำเลยเพียงแต่นำไม้เข้ามาในเขตด่านป่าไม้จะแปลว่าจำเลยได้นำไม้ผ่านด่านป่าไม้ไม่ได้ จำเลยไม่มีความผิดตามมาตรา 41.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1420/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีป่าไม้ต้องระบุรายละเอียดการเคลื่อนย้ายไม้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ เพื่อให้มีองค์ความผิดตามกฎหมาย
ฟ้องไม่ได้บรรยายข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติป่าไม้ ฯ มาตรา 38 ข้อ 1 หรือข้อ 2 ที่ว่า นำไม้หรือของป่าที่ทำออกตามใบอนุญาตไปถึงที่อันระบุไว้ในใบอนุญาตแล้ว หรือ.... ฯลฯ ซึ่งขาดองค์ความผิด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) ลงโทษฐานนำของป่าเคลื่อนที่โดยไม่มีใบเบิกทางตามมาตรา 39,71 ไม่ได้(อ้างนัยฎีกาที่ 341/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำไม้ในป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต การบรรยายฟ้อง และขอบเขตการบังคับใช้มาตรา 39 พ.ร.บ.ป่าไม้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "ฯลฯ จำเลยนี้บังอาจทำไม้โดยตัดฟัน ฯลฯ ไม้เต็ง ฯลฯ อันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ.2505 ฯลฯ โดยมิได้รับอนุญาต ฯลฯ" ถือได้ว่าครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว หาจำต้องบรรยายโดยใช้คำว่า "ในป่า" ประกอบคำว่า "ทำไม้" หรือ"ตัดฟันไม้" ด้วยไม่
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 39 นั้น บังคับเฉพาะการนำไม้ที่ทำออกตามใบอนุญาตเคลื่อนที่ภายหลังที่ได้นำไปถึงที่อันระบุไว้ในใบอนุญาต หรือการนำไม้ที่ทำออกโดยไม่ต้องรับอนุญาตเคลื่อนที่ภายหลังไปถึงด่านป่าไม้ด่านแรกตามความในมาตรา 38 เท่านั้น ส่วนการนำไม้หวงห้ามที่ทำโดยไม่ได้รับอนุญาตเคลื่อนที่ หาเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39 ไม่ (อ้างฎีกาที่ 1018/2496 และฎีกาที่ 341/2498)
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 39 นั้น บังคับเฉพาะการนำไม้ที่ทำออกตามใบอนุญาตเคลื่อนที่ภายหลังที่ได้นำไปถึงที่อันระบุไว้ในใบอนุญาต หรือการนำไม้ที่ทำออกโดยไม่ต้องรับอนุญาตเคลื่อนที่ภายหลังไปถึงด่านป่าไม้ด่านแรกตามความในมาตรา 38 เท่านั้น ส่วนการนำไม้หวงห้ามที่ทำโดยไม่ได้รับอนุญาตเคลื่อนที่ หาเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39 ไม่ (อ้างฎีกาที่ 1018/2496 และฎีกาที่ 341/2498)