พบผลลัพธ์ทั้งหมด 269 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่วางเงินค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 แม้ไม่มีการฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับคำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลย เท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้พิจารณาใหม่ต่อไป จึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ดังกล่าว จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาข้อกฎหมายนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9190/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ศาลฎีกาพิพากษายืนฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 กรณีประเด็นสิทธิมรดกซ้ำกับคดีเดิม
แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้เป็นโจทก์หรือจำเลยในคดีเดิม แต่จำเลยที่ 4 ก็เป็นทนายความของจำเลยที่ 2 ในคดีเดิม ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) บัญญัติว่าคู่ความหมายความรวมถึงทนายความของโจทก์หรือจำเลยด้วย จึงถือว่าจำเลยที่ 4 เป็นคู่ความในคดีเดิมเช่นกัน
คู่ความในคดีเดิมกับคู่ความในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกัน มรดกที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายรายเดียวกัน คำขอของโจทก์ในคดีหลังที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกันจดทะเบียน โอนทรัพย์มรดกที่พิพาทให้แก่โจทก์ ซึ่งมีข้อต้องวินิจฉัยเบื้องแรกว่ามีพินัยกรรมของผู้ตายฉบับโจทก์อ้าง หรือไม่ก่อน แล้วจึงจะวินิจฉัยถึงเหตุที่จำเลยทั้งสี่สมคบกันปิดบังพินัยกรรมดังกล่าว อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และโอนทรัพย์มรดกที่พิพาทให้แก่โจทก์ต่อไปได้ คดีเดิมกับคดีนี้ต่างมีประเด็นอย่างเดียวกันว่า ในระหว่างโจทก์ กับจำเลยที่ 2 ใครเป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย เมื่อในคดีเดิมศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดวินิจฉัยว่าไม่มีพินัยกรรม ของผู้ตายฉบับที่โจทก์อ้าง การที่โจทก์กลับนำคดีนี้มารื้อร้องฟ้องกันว่ามีพินัยกรรมฉบับดังกล่าวอีก ฟ้องของโจทก์ จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คู่ความในคดีเดิมกับคู่ความในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกัน มรดกที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายรายเดียวกัน คำขอของโจทก์ในคดีหลังที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกันจดทะเบียน โอนทรัพย์มรดกที่พิพาทให้แก่โจทก์ ซึ่งมีข้อต้องวินิจฉัยเบื้องแรกว่ามีพินัยกรรมของผู้ตายฉบับโจทก์อ้าง หรือไม่ก่อน แล้วจึงจะวินิจฉัยถึงเหตุที่จำเลยทั้งสี่สมคบกันปิดบังพินัยกรรมดังกล่าว อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และโอนทรัพย์มรดกที่พิพาทให้แก่โจทก์ต่อไปได้ คดีเดิมกับคดีนี้ต่างมีประเด็นอย่างเดียวกันว่า ในระหว่างโจทก์ กับจำเลยที่ 2 ใครเป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย เมื่อในคดีเดิมศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดวินิจฉัยว่าไม่มีพินัยกรรม ของผู้ตายฉบับที่โจทก์อ้าง การที่โจทก์กลับนำคดีนี้มารื้อร้องฟ้องกันว่ามีพินัยกรรมฉบับดังกล่าวอีก ฟ้องของโจทก์ จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8887/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม ศาลไม่รับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีและหนี้เงินกู้อื่นโดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันและจำนอง จำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยให้แก่บุคคลภายนอกแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 ยังมิได้เบิกเงินเกินวงเงินที่ตกลงไว้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ผิดสัญญา แต่โจทก์ไม่ยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เงินเพื่อชำระค่าเช่าที่ดินและขุดบ่อเลี้ยงปลาให้แก่บุคคลภายนอก จึงให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยแก่บุคคลภายนอกแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับฟ้องโจทก์ ดังนั้น ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6721/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 204 และ 206
โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2543 จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การภายในกำหนด ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ยื่นคำให้การ ศาลจึงต้องดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ภาค 2 ลักษณะ 2 หมวด 2 การพิจารณาโดยขาดนัดซึ่งบัญญัติใหม่ตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2543 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2543 แก่คดีที่ยื่นฟ้องตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ
ศาลมีคำสั่งนัดชี้สองสถานหรือสืบพยานโจทก์วันที่ 13 กันยายน 2543 จำเลยที่ 1 ทราบนัดแล้วไม่มาศาล จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 วรรคหนึ่ง ศาลชอบที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียวตามมาตรา 204 เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์จนแล้วเสร็จก็ย่อมที่จะมีอำนาจพิพากษาคดีไปเสียทีเดียว กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 206 วรรคสาม และวรรคสี่ (1) ที่ให้สิทธิแก่คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณานำพยานเข้าสืบได้หากมาศาลยังไม่พ้นเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบ เพราะจำเลยที่ 1 มิได้มาศาลในวันสืบพยานฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีเสร็จการพิจารณาและมีคำพิพากษาในวันนั้นจึงหาเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณา ผิดระเบียบตาม มาตรา 27 ประกอบมาตรา 88 ไม่
ศาลมีคำสั่งนัดชี้สองสถานหรือสืบพยานโจทก์วันที่ 13 กันยายน 2543 จำเลยที่ 1 ทราบนัดแล้วไม่มาศาล จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 วรรคหนึ่ง ศาลชอบที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียวตามมาตรา 204 เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์จนแล้วเสร็จก็ย่อมที่จะมีอำนาจพิพากษาคดีไปเสียทีเดียว กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 206 วรรคสาม และวรรคสี่ (1) ที่ให้สิทธิแก่คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณานำพยานเข้าสืบได้หากมาศาลยังไม่พ้นเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบ เพราะจำเลยที่ 1 มิได้มาศาลในวันสืบพยานฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีเสร็จการพิจารณาและมีคำพิพากษาในวันนั้นจึงหาเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณา ผิดระเบียบตาม มาตรา 27 ประกอบมาตรา 88 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5993/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาขอพิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208: ความชอบด้วยกฎหมาย
ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่อันเป็นเวลาก่อนวันที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมป.วิ.พ. (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2543 ใช้บังคับ แบ่งการขอพิจารณาใหม่เป็นสองกรณีกรณีแรกเป็นเรื่องขอพิจารณาใหม่ในกรณีปกติ ให้ยื่นคำขอต่อศาลภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษา กรณีที่สองเป็นเรื่องขอพิจารณาใหม่ในกรณีมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ให้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง
จำเลยทราบฟ้องโจทก์แล้วตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2541อันเป็นวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดทรัพย์จำเลย แต่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2541 จึงล่วงพ้นกำหนดสิบห้าวันไปแล้ว ทั้งในกรณีปกติและกรณีที่อ้างว่ามีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม)
ปัญหาว่าคำขอให้พิจารณาใหม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
จำเลยทราบฟ้องโจทก์แล้วตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2541อันเป็นวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดทรัพย์จำเลย แต่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2541 จึงล่วงพ้นกำหนดสิบห้าวันไปแล้ว ทั้งในกรณีปกติและกรณีที่อ้างว่ามีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม)
ปัญหาว่าคำขอให้พิจารณาใหม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5896/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ในคดีอาญาต้องเป็นไปตาม ป.วิ.อ. ไม่อาจใช้ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ โดยอนุโลมได้
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายเรื่องกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 54 (2) ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 มีผลเท่ากับจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อ
ศาลฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง คำสั่งดังกล่าวไม่ถึงที่สุด จำเลยจึงชอบที่จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยก็ดี ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยก็ดี ล้วนเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อสำนวนขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
คดีอาญา การใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน
ป.วิ.อ. ภาค 4 ลักษณะ 1 โดยมาตรา 193 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้ ชอบที่จะต้องยกคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกานั้นเสียและศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคสอง แล้วดำเนินการต่อไป
ศาลฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง คำสั่งดังกล่าวไม่ถึงที่สุด จำเลยจึงชอบที่จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยก็ดี ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยก็ดี ล้วนเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อสำนวนขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
คดีอาญา การใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน
ป.วิ.อ. ภาค 4 ลักษณะ 1 โดยมาตรา 193 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้ ชอบที่จะต้องยกคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกานั้นเสียและศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคสอง แล้วดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการตรวจสอบและชี้ขาด หากไม่เป็นไปตามตกลง ถือเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)
คู่ความตกลงกันให้ศาลตั้งผู้เชี่ยวชาญ 1 คน โจทก์ตั้ง 1 คน และจำเลยตั้ง 1 คน ร่วมกันตรวจสอบชี้ขาดว่าสามารถซ่อมแซมเสาเข็มต้นที่ 167 ให้ได้ดีเป็นปกติได้มาตรฐานเหมือนเสาเข็มต้นอื่นที่โจทก์ส่งมอบงานให้จำเลยแล้วหรือไม่ ถ้าเสียงข้างมากบอกว่าซ่อมไม่ได้โจทก์จะถอนฟ้อง หากเสียงข้างมากบอกว่าซ่อมได้ จำเลยจะจ่ายเงินประกันผลงานให้โจทก์ เมื่อเสียงข้างมากของผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าซ่อมไม่ได้ โจทก์จึงต้องถอนฟ้องไปตามข้อตกลง การที่โจทก์ไม่ถอนฟ้องภายในเวลาที่ศาลกำหนด จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดไว้ อันเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการพิจารณาคดีตาม ป.วิ.พ. เกี่ยวกับการส่งสำเนาอุทธรณ์เพื่อแก้อุทธรณ์ ทำให้ต้องย้อนสำนวน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันรับผิดฐานละเมิด เนื่องจากจำเลยที่ 1 ผู้เยาว์ขับรถบรรทุกน้ำมันโดยประมาทเลินเล่อชนท้ายรถโจทก์ได้รับความเสียหาย โดยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมรับผิดในฐานะบิดามารดาผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 ร่วมรับผิดในฐานะนายจ้างจำเลยที่ 1 จำเลยทั้งห้าให้การต่อสู้และบรรยายในคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมทั้งสองเข้ามาเป็นคู่ความว่าเหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยร่วมที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยร่วมที่ 2 และขอให้ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมทั้งสองเข้ามาเป็นคู่ความ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) เพื่อวินิจฉัยว่าความประมาทเลินเล่อเกิดจากฝ่ายใด และเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้หมายเรียกแล้ว จำเลยร่วมที่ 2 ให้การปฏิเสธว่า จำเลยร่วมที่ 1 ไม่ได้ประมาทเลินเล่อ เหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 แต่เพียงผู้เดียว ในขณะเดียวกันก็ให้การต่อสู้โจทก์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ซึ่งเป็นการโต้แย้งทั้งโจทก์และจำเลยทั้งห้า แสดงให้เห็นว่าทั้งสามฝ่ายต่างโต้แย้งเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งห้าและจำเลยร่วมทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งห้ายังคงอุทธรณ์อ้างว่า เหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยร่วมที่ 1 ส่วนจำเลยร่วมที่ 2 อุทธรณ์ว่า เหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 แต่ฝ่ายเดียว จำเลยร่วมที่ 2 ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย อุทธรณ์ของจำเลยทั้งห้าและจำเลยร่วมที่ 2 นอกจากจะโต้แย้งโจทก์แล้วยังโต้แย้งและเป็นปฏิปักษ์ต่อกันและกันด้วย ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แต่ละฝ่ายแก้อุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งห้าและจำเลยร่วมที่ 2 โดยไม่สั่งให้จำเลยแต่ละฝ่ายส่งสำเนาให้อีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อยื่นคำแก้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 235 เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณา ศาลฎีกาชอบที่จะยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วย้อนสำนวนให้กลับไปดำเนินการใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2), 247 และปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้มีการยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งห้าก็มีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2193/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดเนื่องจากราคาต่ำกว่าความเป็นจริง: คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ
การที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลย เนื่องจากราคาที่ เจ้าพนักงานบังคับคดีอนุมัติให้ขายเป็นราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริง เป็นกรณีที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ซึ่งคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าววรรคสุดท้าย ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์จำเลย คำพิพากษานั้นย่อมเป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ชนะคดีในการรับเงินค่าธรรมเนียมที่จำเลยวางศาลเพื่อเป็นประกันค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
เงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาที่ผู้อุทธรณ์นำมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เป็นเงินที่วางเพื่อเป็นประกันว่าหากในที่สุดศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้อุทธรณ์ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมแทนคู่ความที่ชนะคดีแล้ว ชนะคดีจะมีสิทธิได้รับค่าธรรมเนียมที่ได้ออกใช้ก่อนจากเงินที่ผู้อุทธรณ์วางไว้ได้โดยผู้ชนะคดีไม่จำต้องดำเนินการบังคับคดี เมื่อศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์เป็นผู้ชนะคดีและให้จำเลยผู้อุทธรณ์รับผิดในค่าธรรมเนียมแล้วโจทก์มีสิทธิขอรับเงินค่าธรรมเนียมที่จำเลยวางไว้ต่อศาลเพื่อชำระค่าธรรมเนียมที่จำเลยต้องใช้ให้แก่ตนได้