คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผลบังคับใช้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 125 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการแรงงานสัมพันธ์มีผลบังคับใช้โดยไม่ต้องสืบพยาน เนื่องจากเป็นที่รับรู้โดยทั่วไป
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การแรงงานสัมพันธ์ ออกตามอำนาจในข้อ 4 และ 14 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103ซึ่งให้มีผลบังคับอย่างกฎหมาย ซึ่งรับกันว่ามีอยู่และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ถือว่าเป็นที่ทราบกันทั่วไป ไม่ต้องนำสืบพยาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมต้องมีพยานลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือครบถ้วนจึงมีผลบังคับใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีพยานลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือสองคนคู่สัญญาคนหนึ่งมาลงลายพิมพ์นิ้วมือให้ในภายหลังซึ่งพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือที่ได้ลงชื่อเป็นพยานไว้ก่อนไม่รู้เห็นด้วย จึงเป็นลายพิมพ์นิ้วมือที่ไม่มีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคน สัญญาประนีประนอมดังกล่าวไม่เป็นหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 851 ประกอบด้วย มาตรา 9 วรรค 3 จะใช้ฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้แม้เรื่องนี้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมา แต่ก็เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้ เมื่อเห็นสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสอด, สัญญาแปลงหนี้, และผลบังคับใช้สัญญา แม้ไม่มีการจดทะเบียนสมรส
อันสินสอดนั้นตามกฎหมายเป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรสและเมื่อมีข้อตกลงจะให้สินสอดแก่กันแล้ว การให้สินสอดภายหลังการสมรสย่อมทำได้เพราะไม่มีอะไรห้ามซึ่งต่างกับของหมั้นอันจะต้องให้กันในเวลาทำสัญญาหมั้นคือก่อนสมรส
บิดามารดาโจทก์จัดให้โจทก์และ ว. ทำพิธีแต่งงานกัน และโจทก์เต็มใจยอมสมรสมารดาโจทก์ได้เตือนให้โจทก์และ ว ไปจดทะเบียนสมรส แต่ทั้งสองคนละเลยไม่ดำเนินการจดทะเบียนโดยว่าจะไปจดวันหลังก็ได้ ครั้นอยู่ด้วยกัน 3 เดือนก็มีเหตุต้องเลิกร้างกันไปโดยไม่ได้จดทะเบียน ดังนี้จะถือว่าฝ่ายหญิงผิดสัญญาฝ่ายเดียวย่อมไม่ได้ ชายเรียกสินสอดคืนไม่ได้
จำเลยและ ว. บุตรชายตกลงหมั้นโจทก์และตกลงจะให้เงินจำนวนหนึ่งเป็นสินสอดแก่บิดามารดาโจทก์ในวันสมรส ถึงกำหนดจำเลยขอผัดให้เงินสินสอดภายหลัง มารดาโจทก์ยินยอมให้โจทก์แต่งงานกับ ว. เพื่อมิให้เสียพิธี แต่มิได้มีการจดทะเบียนสมรสกันหลังจากสมรสแล้วจำเลยขอทำสัญญากู้ให้มารดาโจทก์แทนเงินสินสอดที่ตกลงจะให้ มารดาโจทก์ต้องการเอาเงินนั้นให้โจทก์ จึงให้โจทก์ลงชื่อเป็นผู้ให้กู้ในสัญญากู้ ดังนี้ แม้โจทก์กับ ว. จะมิได้จดทะเบียนสมรสกันแต่เมื่อการที่มิได้จดทะเบียนสมรสนั้น จะถือว่าฝ่ายหญิงผิดสัญญาฝ่ายเดียวไม่ได้แล้ว ชายย่อมเรียกสินสอดคืนไม่ได้ สัญญากู้จึงมีมูลหนี้เนื่องมาจากเงินสินสอดอันเป็นมูลหนี้ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อบิดามารดาโจทก์ตกลงยกให้โจทก์ และจำเลยยินยอมทำสัญญากับโจทก์เพราะมูลหนี้นี้แล้ว จำเลยย่อมต้องถูกผูกพันให้รับผิดตามสัญญากู้ที่แปลงหนี้มานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลบังคับใช้กรมธรรม์ประกันภัยเริ่มต้นเมื่อบริษัทได้รับเงินเบี้ยประกันภัย
กรมธรรม์ระบุว่า กรมธรรม์มีผลในวันที่บริษัทได้รับเงินเบี้ยประกันภัยตามเช็ค ผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยด้วยเช็คเมื่อวันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ เวลาธนาคารปิดรับเช็คแล้ว จึงเข้าบัญชีเรียกเก็บได้ในวันจันทร์ที่ 1 มีนาคม เกิดอุบัติเหตุเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ บริษัทไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2422/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลบังคับใช้สัญญาขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในอนาคต: สัญญาเป็นโมฆะหากเหตุการณ์ไม่เกิดขึ้น
จำเลยทำสัญญากู้ 3,000 บาท กับว่าจะจ่ายเงินสดอีก 2,000 บาท ในวันที่ศาลพิพากษาคดีที่บุตรจำเลยถูกฟ้องฐานขับรถโดยประมาททำให้บุตรโจทก์ตาย โจทก์ยื่นคำแถลงขอให้ศาลปราณีแก่จำเลยในคดีอาญา ศาลพิพากษาจำคุกบุตรจำเลย จำเลยไม่จ่ายเงิน ดังนี้ เป็นสัญญาที่มีผลบังคับได้ แต่ต้องเป็นเรื่องบุตรจำเลยไม่ถูกจำคุกด้วย จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงิน 5,000 บาทตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารยกทรัพย์สินระหว่างชีวิต ไม่ใช่พินัยกรรม หากไม่มีเจตนาให้มีผลบังคับใช้เมื่อเสียชีวิต
ผู้ตายทำเอกสารไว้ มีข้อความว่า "กระผม พระรัตน์ โอภาโสขอมอบถวายท่านเจ้าคุณพระสมุทรเมธาจารย์ เรื่องทรัพย์สมบัติทุกอย่างที่มีอยู่ในขณะเป็นพระนี้ทั้งหมดห้ามมิให้ญาติผู้ใดมาเกี่ยวข้องด้วยโดยเด็ดขาด" ไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่าเป็นการแสดงถึงเจตนาของผู้ตายในการกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินให้เกิดผลบังคับเมื่อได้ถึงแก่ความตายไปแล้วเลย จึงมิใช่พินัยกรรมคงเป็นเพียงหนังสือยกทรัพย์ให้ในระหว่างมีชีวิตเท่านั้น การที่ระบุห้ามมิให้ญาติผู้ใดมาเกี่ยวข้องด้วยโดยเด็ดขาดเป็นข้อความเขียนห้ามไว้ตามธรรมดา เพราะได้ยกให้ไปแล้วจะแปลเลยไปถึงว่ามีความหมายเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินที่จะให้เกิดผลบังคับเมื่อตายหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามพินัยกรรม จำเลยย่อมมีสิทธิปฏิเสธในเรื่องพินัยกรรมที่เป็นมูลฟ้อง อันเป็นการปฏิเสธเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1726/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการโอนกรมธรรม์ประกันภัย: การแสดงเจตนาต้องถึงผู้รับประกันก่อนเกิดเหตุ
จำเลยรับประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ไว้ โดยมีข้อสัญญาต่อกันว่าให้โจทก์เปลี่ยนรถคันใหม่เข้าประกันแทนรถคันเดิมได้แต่การโอนนี้จะมีผลเมื่อใดไม่มีข้อตกลงไว้แน่ชัด โจทก์มีหนังสือแจ้งไปยังจำเลยขอโอนกรมธรรม์ไปคุ้มครองรถคันใหม่ ระหว่างที่ยังไม่ได้รับคำตอบจากจำเลย คนขับรถของโจทก์ขับรถคันเดิมชนราวสะพานได้รับความเสียหาย หลังจากนั้นโจทก์จึงได้รับหนังสือสนองตอบจากจำเลยว่าได้สลักหลังกรมธรรม์และลงนามไว้เป็นสำคัญ ณ วันที่ตอบสนอง เห็นได้ว่าจำเลยมิได้ถือว่าการขอโอนกรมธรรม์มีผลก่อนวันที่ระบุไว้ในหนังสือตอบสนอง หรือตั้งแต่วันที่โจทก์มีหนังสือขอโอน การแสดงเจตนายอมรับการโอนการคุ้มครองรถย่อมมีผลเมื่อโจทก์ได้รับหนังสือสนองตอบของจำเลยอันเป็นเวลาหลังจากเกิดเหตุแล้ว จำเลยจึงไม่พ้นความรับผิด เพราะวินาศภัยที่เกิดขึ้นแก่รถคันที่เกิดเหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1726/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการโอนกรมธรรม์ประกันภัย: การแสดงเจตนาต้องถึงผู้รับประกันก่อนเกิดเหตุ
จำเลยรับประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ไว้ โดยมีข้อสัญญาต่อกันว่าให้โจทก์เปลี่ยนรถคันใหม่เข้าประกันแทนรถคันเดิมได้แต่การโอนนี้จะมีผลเมื่อใดไม่มีข้อตกลงไว้แน่ชัด โจทก์มีหนังสือแจ้งไปยังจำเลยขอโอนกรมธรรม์ไปคุ้มครองรถคันใหม่ ระหว่างที่ยังไม่ได้รับคำตอบจากจำเลย คนขับรถของโจทก์ขับรถคันเดิมชนราวสะพานได้รับความเสียหาย หลังจากนั้นโจทก์จึงได้รับหนังสือสนองตอบจากจำเลยว่าได้สลักหลังกรมธรรม์และลงนามไว้เป็นสำคัญณ วันที่ตอบสนอง เห็นได้ว่าจำเลยมิได้ถือว่าการขอโอนกรมธรรม์มีผลก่อนวันที่ระบุไว้ในหนังสือตอบสนอง หรือตั้งแต่วันที่โจทก์มีหนังสือขอโอน การแสดงเจตนายอมรับการโอนการคุ้มครองรถย่อมมีผลเมื่อโจทก์ได้รับหนังสือสนองตอบของจำเลยอันเป็นเวลาหลังจากเกิดเหตุแล้ว จำเลยจึงไม่พ้นความรับผิด เพราะวินาศภัยที่เกิดขึ้นแก่รถคันที่เกิดเหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1420/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารยกทรัพย์ให้มีผลทันที ไม่ใช่พินัยกรรมที่บังคับใช้เมื่อเสียชีวิต
เอกสารที่ผู้ตายทำไว้ไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงให้เห็นว่าเป็นพินัยกรรมหรือแสดงถึงเจตนาของผู้ตายในการ กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินว่า ให้เกิดผลบังคับเมื่อตนถึงแก่ความตายไปแล้วเลยแม้เอกสารดังกล่าวจะมีข้อความว่า 'เวลาทำหนังสือฉบับนี้มีสติสัมปชัญญะดีเป็นปกติดี' ก็ดี หรือ 'ขอเจตนาครั้งสุดท้าย' ก็ดีก็หาทำให้แปลความได้ว่าผู้ตายมีเจตนาที่จะยกทรัพย์ของตนให้เมื่อตนถึงแก่ความตายไปแล้วไม่ ข้อความในตอนท้ายของเอกสารที่ว่า 'ข้าพเจ้าขอยกให้ (ระบุชื่อผู้รับ) ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป'กลับแสดงแจ้งชัดว่าผู้ตายเจตนาที่จะยกทรัพย์ให้แก่ผู้รับทันทีในระหว่างที่ตนยังมีชีวิต เอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่พินัยกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 72/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสละมรดกที่ดิน: ความสมบูรณ์ของเอกสารและผลบังคับใช้เฉพาะทรัพย์สินที่ระบุ
เอกสาร ล.1 อยู่ในความอารักขาของทางอำเภอฉะนั้นสำเนาเอกสาร ล.1 ซึ่งนายอำเภอรับรองว่าถูกต้อง ย่อมรับฟังได้
ระเบียบพิธีการเกี่ยวกับการสละมรดกจะต้องทำอย่างไรและต้องเสียค่าธรรมเนียมทำหนังสือ ค่ารับมอบเก็บรักษาของอำเภอนั้นระเบียบเช่นว่านั้นไม่ใช่แบบบังคับเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของเอกสารหมาย ล.1 ซึ่งเป็นสัญญาแบ่งปันมรดก
ที่ดินและเรือนเป็นทรัพย์มรดก แต่เอกสาร ล.1 กล่าวถึงเฉพาะที่ดิน ไม่ใช่เรือนจึงมิใช่เอกสารสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 เพราะจะทำแต่เพียงบางส่วนไม่ได้ตามมาตรา 1613 อย่างไรก็ดี เอกสารหมายล.1 ก็เป็นหลักฐานแห่งสัญญาแบ่งปันมรดกซึ่งโจทก์ลงลายมือชื่อว่าโจทก์เป็นทายาทของเจ้ามรดก มีสิทธิรับมรดกที่ดินแต่โจทก์ไม่พึงประสงค์จะรับโอนมรดกต่อไปโจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยผู้เป็นภริยาของเจ้ามรดกเป็นผู้รับโอนไปแต่ผู้เดียวจึงมีผลบังคับเฉพาะที่ดินเท่านั้นไม่เกี่ยวกับเรือน
of 13