คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผิดนัดชำระหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2605/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ การคำนวณดอกเบี้ย และผลของการผิดนัด
การที่ผู้ร้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามที่ได้รับการผ่อนผันตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่2และที่6โดยตามหลักฐานการชำระหนี้มิได้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนตามกำหนดระยะเวลาแต่ผู้คัดค้านก็ยอมรับชำระหนี้ในลักษณะนี้มาโดยตลอดโดยมิได้ทักท้วงย่อมถือได้ว่าผู้คัดค้านได้สละสิทธิที่จะถือเอาประโยชน์จากเงื่อนเวลาแล้วประกอบกับเมื่อผู้ร้องนำเงินมาชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่22เมษายน2534ยังเหลือหนี้ที่ต้องชำระอีก95,460.45บาทแต่ผู้คัดค้านยังไม่ถือว่าผู้ร้องผิดนัดโดยขยายเวลาให้ผู้ร้องนำเงินส่วนที่เหลือมาชำระภายในวันที่5มิถุนายน2534หากไม่นำมาชำระภายในกำหนดจึงจะถือว่าผิดนัดเมื่อผู้ร้องไม่ได้นำเงินไปชำระหนี้ที่เหลือภายในวันดังกล่าวเช่นนี้ถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2534ตามที่กำหนดไว้หาใช่ผิดนัดเมื่อครบ3ปีตามกำหนดระยะเวลาเดิมตามที่ผู้คัดค้านอนุมัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่2ไม่ มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ให้ยกเลิกมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6ได้ระบุไว้ไม่ให้กระทบถึงลูกหนี้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6และอยู่ในระหว่างผ่อนชำระอยู่แต่เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ลูกหนี้ก็ไม่อาจได้รับประโยชน์ในการผ่อนชำระหนี้นั้นตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6อยู่อีกต่อไปจึงต้องปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ข้อ1.3วรรคสองตอนท้ายโดยจะต้องชำระเงินต้นเต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ยทันทีนับแต่วันที่ยื่นคำร้องขอชำระหนี้นั้นเมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ได้รับสิทธิในการผ่อนผันชำระหนี้โดยไม่เสียดอกเบี้ยตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6จนผ่อนชำระเงินต้นไปรวมทั้งสิ้น149,600บาทยังคงค้างชำระอยู่อีก95,460.45บาทจึงตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อวันที่5มิถุนายน2534ฉะนั้นเงินต้นที่ค้างชำระที่ผู้ร้องจะต้องชำระทันทีตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ดังกล่าวจึงต้องคิดณวันที่มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12มีผลบังคับคือวันที่21กุมภาพันธ์2534มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้มีผลย้อนหลังไปลบล้างหรือยกเลิกผลการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ผู้ร้องได้ปฏิบัติมาแล้วตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่2และที่6ก่อนที่จะผิดนัดแต่อย่างใดผู้ร้องจะต้องชำระหนี้เฉพาะเงินต้นที่ยังคงค้างอยู่จำนวน95,460.45บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ19ต่อปีนับแต่วันที่ผู้ร้องผิดนัดอันเป็นเวลาที่ผู้ร้องไม่ได้รับการผ่อนผันอีกต่อไปคือตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2534 ผู้ร้องผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2534แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่23เมษายน2534เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไขจึงต้องบังคับไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่23เมษายน2534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2605/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ การคิดดอกเบี้ย และผลของการผิดนัด
การที่ผู้ร้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามที่ได้รับการผ่อนผันตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่2และที่6โดยตามหลักฐานการชำระหนี้มิได้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนตามกำหนดระยะเวลาแต่ผู้คัดค้านก็ยอมรับชำระหนี้ในลักษณะนี้มาโดยตลอดโดยมิได้ทักท้วงย่อมถือได้ว่าผู้คัดค้านได้สละสิทธิที่จะถือเอาประโยชน์จากเงื่อนเวลาแล้วประกอบกับเมื่อผู้ร้องนำเงินมาชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่22เมษายน2534ยังเหลือหนี้ที่ต้องชำระอีก95,460.45บาทแต่ผู้คัดค้านยังไม่ถือว่าผู้ร้องผิดนัดโดยขยายเวลาให้ผู้ร้องนำเงินส่วนที่เหลือมาชำระภายในวันที่5มิถุนายน2534หากไม่นำมาชำระภายในกำหนดจึงจะถือว่าผิดนัดเมื่อผู้ร้องไม่ได้นำเงินไปชำระหนี้ที่เหลือภายในวันดังกล่าวเช่นนี้ถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2534ตามที่กำหนดไว้หาใช่ผิดนัดเมื่อครบ3ปีตามกำหนดระยะเวลาเดิมตามที่ผู้คัดค้านอนุมัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่2ไม่ มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ให้ยกเลิกมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6ได้ระบุไว้ไม่ให้กระทบถึงลูกหนี้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6และอยู่ในระหว่างผ่อนชำระอยู่แต่เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ลูกหนี้ก็ไม่อาจได้รับประโยชน์ในการผ่อนชำระหนี้นั้นตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6อยู่อีกต่อไปจึงต้องปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ข้อ1.3วรรคสองตอนท้ายโดยจะต้องชำระเงินต้นเต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ยทันทีนับแต่วันที่ยื่นคำร้องขอชำระหนี้นั้นเมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ได้รับสิทธิในการผ่อนผันชำระหนี้โดยไม่เสียดอกเบี้ยตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6จนผ่อนชำระเงินต้นไปรวมทั้งสิ้น149,600บาทยังคงค้างชำระอยู่อีก95,460.45บาทจึงตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อวันที่5มิถุนายน2534ฉะนั้นเงินต้นที่ค้างชำระที่ผู้ร้องจะต้องชำระทันทีตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ดังกล่าวจึงต้องคิดณวันที่มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12มีผลบังคับคือวันที่21กุมภาพันธ์2534มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้มีผลย้อนหลังไปลบล้างหรือยกเลิกผลการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ผู้ร้องได้ปฏิบัติมาแล้วตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่2และที่6ก่อนที่จะผิดนัดแต่อย่างใดผู้ร้องจะต้องชำระหนี้เฉพาะเงินต้นที่ยังคงค้างอยู่จำนวน95,460.45บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ19ต่อปีนับแต่วันที่ผู้ร้องผิดนัดอันเป็นเวลาที่ผู้ร้องไม่ได้รับการผ่อนผันอีกต่อไปคือตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2534 ผู้ร้องผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2534แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่23เมษายน2534เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไขจึงต้องบังคับไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่23เมษายน2534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2220/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขาย: การผิดนัดชำระหนี้, สิทธิเลิกสัญญา, อายุความการฟ้องเรียกคืนเงินมัดจำ
ภรรยาฟ้องเรียกเงินมัดจำค่าซื้อที่ดินจากผู้จะขายตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินไม่ใช่การ จัดการสินสมรส ไม่อยู่ในข้อจำกัดที่ต้องได้รับ ความยินยอมจากสามีก่อน สัญญากำหนดวันชำระหนี้ไว้แน่นอนเมื่อฝ่ายหนึ่ง ผิดนัดอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิ เลิกสัญญาได้โดย ไม่ต้อง บอกกล่าว การ ฟ้องเรียกเงินมัดจำคืน กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่อง อายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีสิทธิฟ้องได้ภายในกำหนด อายุความ10ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2015/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายพิเศษจากการผิดนัดชำระหนี้ ผู้เสียหายต้องพิสูจน์การคาดเห็นถึงความเสียหายที่เพิ่มขึ้น
ค่าเสียหายที่ว่าถ้าจำเลยไม่ผิดนัดโจทก์จะได้ประโยชน์จากการเอาเงินที่จำเลยชำระไปให้ลูกค้ารายอื่นของโจทก์กู้ยืม โจทก์จะได้ดอกเบี้ยตามอัตราที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราที่โจทก์เรียกเก็บได้จากจำเลยนั้น เป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ และโจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบล่วงหน้า ทั้งจำเลยยังไม่ได้รับทราบหรือยินยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวแต่อย่างใด กรณีจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้คาดเห็นล่วงหน้าก่อนว่าการผิดนัดของจำเลยทำให้โจทก์เสียหายมากกว่าดอกเบี้ยในอัตราที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยขณะผิดนัด โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเพิ่มจากร้อยละ 15.5 ต่อปีเป็นร้อยละ 16.5 ต่อปี ร้อยละ 17 ต่อปี ร้อยละ 18.5 ต่อปี หลังจากครบกำหนดชำระเงินคืนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1716/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลมีสิทธิบังคับคดีตามจำนวนที่ฟ้อง
สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมมีใจความว่า จำเลยยอมชำระเงิน 75,000 บาท ให้แก่โจทก์ โดยแบ่งชำระเป็นงวด งวดแรกชำระเป็นเงิน 40,000 บาท ภายใน 5 เดือน นับแต่วันทำสัญญา งวดหลังชำระอีก 35,000 บาท ภายใน 4 เดือน โดยนับต่อจากงวดแรกหากจำเลยทั้งสองผิดนัดงวดใดให้โจทก์บังคับคดีได้ตามฟ้องทันที ข้อความตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมมีความหมายว่า จำเลยจะต้องชำระเงิน75,000 บาท ให้โจทก์โดยแบ่งชำระเป็นสองงวด แต่ละงวดจะต้องชำระเงินภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ หากจำเลยผิดนัดชำระเงินไม่ว่าในงวดใด จำเลยจะต้องถูกบังคับให้ชำระเงินตามที่โจทก์ฟ้อง จำนวน 150,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ย เมื่อจำเลยผิดนัดชำระเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความแก่โจทก์ตั้งแต่งวดแรก โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้จำนวน 150,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย แม้ต่อมาจำเลยได้นำเงินไปวางชำระหนี้ให้โจทก์จำนวน 78,202 บาทแต่เป็นการวางชำระหนี้ยังไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลดำเนินการบังคับคดียึดบ้านของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1716/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความผิดนัดชำระหนี้ ศาลบังคับคดีได้ตามฟ้องเดิม
สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมมีใจความว่าจำเลยยอมชำระเงิน35,000บาทให้แก่โจทก์โดยแบ่งชำระเป็นงวดงวดแรกชำระเป็นเงิน40,000บาทภายใน5เดือนนับแต่วันทำสัญญางวดหลังชำระอีก35,000บาทภายใน4เดือนโดยนับต่อจากงวดแรกหากจำเลยทั้งสองผิดนัดงวดใดให้โจทก์บังคับคดีได้ตามฟ้องทันทีข้อความตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมมีความหมายว่าจำเลยจะต้องชำระเงิน75,000บาทให้โจทก์โดยแบ่งชำระเป็นสองงวดแต่ละงวดจะต้องชำระเงินภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้หากจำเลยผิดนัดชำระเงินไม่ว่าในงวดใดจำเลยจะต้องถูกบังคับให้ชำระเงินตามที่โจทก์ฟ้องจำนวน150,000บาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยเมื่อจำเลยผิดนัดชำระเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความแก่โจทก์ตั้งแต่งวดแรกโจทก์จึงมีสิทธิร้องขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้จำนวน150,000บาทพร้อมดอกเบี้ยแม้ต่อมาจำเลยได้นำเงินไปวางชำระหนี้ให้โจทก์จำนวน78,202บาทแต่เป็นการวางชำระหนี้ยังไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษาตามยอมโจทก์จึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลดำเนินการบังคับคดียึดบ้านของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7014/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชำระหนี้ผูกพันจำเลยโดยตรง แม้จะอ้างทำแทนบริษัทอื่น การผิดนัดชำระหนี้ตามข้อตกลงจำเลยต้องรับผิด
หนังสือตกลงชำระหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญา-ประนีประนอมยอมความผ่อนผันการชำระค่าเสียหายซึ่งเกิดขึ้นจากการที่จำเลยผิดสัญญาส่งข้าวโพดทำให้โจทก์ต้องไปซื้อข้าวโพดราคาสูงขึ้น แต่ตกลงผ่อนผันกันตามข้อตกลงชำระหนี้ระหว่างคู่กรณีโดยคิดค่าเสียหายจากราคาหาบละ 177 บาท ซึ่งคิดคำนวณค่าเสียหายได้เพียง 240,000 บาท และให้ฝ่ายจำเลยผ่อนชำระค่าเสียหายเช่นนี้หนี้ตามสัญญาเดิมจึงระงับและมาบังคับกันตามข้อตกลงยอมชำระหนี้ดังกล่าวนี้ต่อไป
การที่จำเลยนำสืบว่าบริษัท ส. คือบริษัท ต. และจำเลยมาทำการแทนบริษัท ส.ในการทำข้อตกลงยอมชำระหนี้กับโจทก์เป็นการนำสืบนอกคำให้การ รับฟังไม่ได้
จำเลยเข้าทำข้อตกลงยอมชำระหนี้แก่โจทก์ตามข้อตกลงชำระหนี้ในนามตนเอง การที่จำเลยอ้างว่าทำแทนบริษัท ส.ซึ่งไม่มีตัวตน จำเลยจึงต้องรับผิดเป็นส่วนตัว และจำเลยผิดนัดต่อโจทก์โดยไม่ยอมผ่อนชำระหนี้ตามข้อตกลงจึงต้องรับผิดพร้อมทั้งดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5445/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าเช่า ณ ภูมิลำเนาเจ้าหนี้ และผลของการผิดนัดชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ตามสัญญาเช่าที่พิพาทระหว่างโจทก์และ ส. มิได้ระบุเรื่องสถานที่ชำระค่าเช่าไว้ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 324บัญญัติว่าต้องชำระหนี้ ณ สถานที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาปัจจุบันของเจ้าหนี้ ฉะนั้นแม้ทางปฏิบัติ ส. จะให้คนไปเก็บค่าเช่าก็เป็นเพียงข้อปฏิบัติระหว่างโจทก์และ ส. เท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาท ทำให้จำเลยทั้งสองมีฐานะเป็นผู้ให้เช่า ข้อปฏิบัติระหว่างโจทก์และ ส. หาโอนมาด้วยเพราะไม่ใช่สิทธิและหน้าที่ซึ่งเกิดขึ้นตามสัญญาเช่า การที่โจทก์นำค่าเช่าไปวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ชำระค่าเช่ายังภูมิลำเนาปัจจุบันของจำเลยแล้วโจทก์จึงผิดนัดชำระค่าเช่า สำนวนคดีที่สองซึ่งรวมพิจารณากับคดีนี้ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิพากษาคดีในส่วนที่เกี่ยวกับสำนวนคดีที่สองให้เป็นโทษแก่โจทก์คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับสำนวนคดีที่สอง จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5408/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม, การคิดดอกเบี้ย, และการผิดนัดชำระหนี้จากการเบิกเกินบัญชีและเงินกู้
แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่ามีการโอนบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยจากสาขาใดไปสาขาใดเพราะเหตุใด และใครเป็นผู้สั่งให้โอนแต่จำเลยให้การว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า เหตุใดจึงมีการโอนบัญชีและใครเป็นผู้สั่งโอนจึงเป็นการกล่าวลอย ๆ มิได้แสดงให้แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา จำเลยไม่สามารถต่อสู้คดีได้ฟ้องโจทก์จึงเคลือบคลุม ดังนี้ ตามคำให้การดังกล่าวเป็นการยอมรับว่าได้มีการโอนบัญชี ส่วนจะโอนเพราะเหตุใดและใครเป็นผู้สั่งให้โอนนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณา นอกจากนี้ไม่ว่าจำเลยจะเป็นหนี้โจทก์สาขาใดโจทก์ก็ฟ้องจำเลยได้อยู่แล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์จำเลยได้ตกลงเพิ่มวงเงินเบิกเกินบัญชีและต่ออายุสัญญากันอีกหลายครั้ง สัญญาครบกำหนดวันที่ 1 สิงหาคม 2529 ซึ่งในวันดังกล่าวปรากฏตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันว่าจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์เกินวงเงินที่อาจเบิกได้ไปแล้วหลังจากนั้นในวันที่22 สิงหาคม 2529 และวันที่ 26 กันยายน 2529 จำเลยยังได้เบิกเงินเกินบัญชีไปอีก 2 ครั้ง แต่จำเลยมิได้นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนอีกเลย ดังนี้เมื่อสัญญาครบกำหนดจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้หมดสิ้นตามสัญญา โจทก์ยังคงยอมให้จำเลยเป็นหนี้อยู่ต่อไป และยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีไปอีก 2 ครั้ง แสดงว่าคู่สัญญายังคงให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา และไม่ถือว่ามีการผิดนัดจนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระเงินคงเหลือแล้ว โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ลงวันที่16 มีนาคม 2530 กำหนดให้ชำระภายใน 30 วัน จำเลยได้รับหนังสือในวันที่ 19 มีนาคม 2530 แล้วไม่ชำระภายในกำหนด จำเลยจึงผิดนัดตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2530 เป็นต้นไป โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นในยอดเงินซึ่งค้างชำระเมื่อวันที่ 26 กันยายน2529 จนถึงวันผิดนัดและดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นนับแต่วันผิดนัดจนถึงวันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5267/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และสิทธิในการบังคับคดี
เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมกำหนดให้จำเลยทั้งสีผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์ภายในกำหนดวันที่ 30 ของทุกเดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 30สิงหาคม 2532 เป็นต้นไป หากผิดนัดสองงวดติดต่อกันให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด ให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน การที่จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้งวดแรกช้าไป 1 วัน และไม่ได้ชำระงวดที่ 2จำเลยทั้งสี่จึงผิดนัดสองงวดติดต่อกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204วรรคสอง โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้
จำเลยทั้งสี่มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์ถึง 44,714,52 .11 บาทและต้องผ่อนชำระทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยให้เสร็จภายใน 5 ปี จำเลยทั้งสี่ผ่อนชำระให้โจทก์เพียง 7 ครั้ง เป็นเงินเพียง 3,500,000 บาท การที่โจทก์ยอมรับชำระหนี้จากจำเลยทั้งสี่อีกต่อมาภายหลังที่จำเลยทั้งสี่ผิดนัดนั้นย่อมเป็นการบรรเทาภาระหนี้สินของจำเลยทั้งสี่ที่มีอยู่ต่อโจทก์ ซึ่งเป็นผลดีแก่จำเลยทั้งสี่ จำเลยทั้งสี่จะถือเอาเป็นการผูกมัดโจทก์ว่าโจทก์มิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสาระ-สำคัญหาได้ไม่ ทั้งโจทก์ได้คัดค้านปฏิเสธข้ออ้างดังกล่าวของจำเลยทั้งสี่ตลอดมา แม้จำเลยทั้งสี่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2533 ต่อมาวันที่ 10 กันยายน2533 โจทก์ก็ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี แสดงว่าโจทก์ยังถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสาระสำคัญต่อไป
of 18