พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาตามยอมและการเพิกถอนสัญญาประนีประนอม
ทนายความของจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามอำนาจที่ระบุไว้ในใบแต่งทนายความและในวันทำสัญญาดังกล่าวจำเลยก็มาศาลและทราบเงื่อนไขต่าง ๆ ในสัญญาด้วย หลังจากที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอม-ยอมความกับโจทก์และศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วยเหตุที่อ้างว่าโจทก์และทนายจำเลยฉ้อฉลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138(1)จนล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ และโจทก์ทำการยึดทรัพย์ที่จำนองของจำเลยแล้ว คำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 147วรรคหนึ่ง และผูกพันโจทก์จำเลยตามมาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6367/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเท็จจริงในคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง: จำนวนจักรเย็บผ้าที่รับซื้อ
ในคดีอาญา ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบในคดีดังกล่าวเกี่ยวกับจำนวนทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 รับซื้อไว้ว่าจำเลยที่ 1 ซื้อจักรเย็บผ้ายี่ห้อจูกิจำนวน 8 หลัง และจักรโพ้งยี่ห้อชีรูบ้า จำนวน4 หลัง รวมเป็นจักร 12 หลัง แล้วจึงวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาในการกระทำความผิดทางอาญา คดีถึงที่สุด ถือได้ว่าข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 รับซื้อจักรเย็บผ้าของโจทก์ไว้จำนวน 12 หลัง จริงหรือไม่ เป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาดังกล่าวฟ้องจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งว่า ร่วมกันรับซื้อจักรเย็บผ้าในจำนวนเดียวกับที่เคยฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความเดียวกันในคดีอาญาเป็นคดีนี้อีกและมีประเด็นโต้เถียงอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันรับซื้อจักรเย็บผ้าของโจทก์ไว้จำนวนกี่หลังศาลจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วในคดีอาญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6367/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนวนทรัพย์ในคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง: ศาลแพ่งต้องใช้ข้อเท็จจริงที่ศาลอาญาได้วินิจฉัยไว้แล้ว
ในคดีอาญา ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบในคดีดังกล่าวเกี่ยวกับจำนวนทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 รับซื้อไว้ว่าจำเลยที่ 1ซื้อจักรเย็บผ้ายี่ห้อจุกิจำนวน8หลังและจักรโพ้งยี่ห้อซีรูบ้า จำนวน 4 หลัง รวมเป็นจักร 12 หลัง แล้วจึงวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาในการกระทำความผิดทางอาญาคดีถึงที่สุด ถือได้ว่าข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1รับซื้อจักรเย็บผ้าของโจทก์ไว้จำนวน 12 หลัง จริงหรือไม่เป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญา เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาดังกล่าวฟ้องจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นสามีจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งว่า ร่วมกันรับซื้อจักรเย็บผ้าในจำนวนเดียวกับที่เคยฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความเดียวกันในคดีอาญาเป็นคดีนี้อีกและมีประเด็นโต้เถียงอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันรับซื้อจักรเย็บผ้าของโจทก์ไว้จำนวนกี่หลัง ศาลจึงถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วในคดีอาญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5349/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนาทางตัวแทน: การยอมให้คู่สมรสทำหน้าที่แทนในการจัดการที่ดินและผลผูกพันที่เกิดขึ้น
ทางพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่จำเลยที่ 1 สามีของจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ต่อมาจำเลยที่ 1 แบ่งแยกที่ดินส่วนที่อยู่ทางทิศใต้ของทางพิพาทออกเป็น 10 แปลง เนื้อที่แปลงละ 50 ตารางวา โจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 จำนวน 1 แปลง และผ่อนชำระเงินจนครบถ้วนแล้ว โจทก์และผู้ซื้อที่ดินรายอื่นใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะ การที่ต่อมาจำเลยที่ 2 ทำบันทึกยกทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะคิดค่าตอบแทนจากโจทก์และผู้ซื้อที่ดินรายอื่นเป็นเงินรายละ 20,000 บาท โดยบางครั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับชำระค่าที่ดินนั้นการที่จำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 เก็บเงินค่าผ่อนชำระราคาที่ดินจากผู้ซื้อและรับชำระเงินค่าผ่อนที่ดินแทน และฝ่ายจำเลยที่ 1 เพิ่งจะไม่ยอมตกลงยกทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะหลังจากจำเลยที่ 2 ตกลงทำบันทึกยกทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะแล้วถึง 20 กว่าวัน เป็นการแสดงออกของจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 2ออกเป็นตัวแทน หรือยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับที่ดินของจำเลยที่ 1 ตลอดมาได้ว่าจำเลยที่ 1 เชิดให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนไปทำบันทึกยกทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยคิดค่าตอบแทนจากโจทก์และผู้ซื้อที่ดินรายอื่นแล้ว จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าการตั้งตัวแทนไม่ได้ทำเป็นหนังสือหรือไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ตาม ป.พ.พ.มาตรา798 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 485/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินงอกริมตลิ่ง: คำสั่งศาลเดิมผูกพันหรือไม่เมื่อมีสิทธิดีกว่า
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145(2)บัญญัติข้อยกเว้นไว้ว่าคำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใดๆเป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าคดีนี้โจทก์นำพยานมาสืบได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทยังไม่ครบ10ปีจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองเมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งจากที่ดินของโจทก์โจทก์จึงเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1308โจทก์พิสูจน์ได้ว่าโจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลยคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวจึงใช้ยันโจทก์ไม่ได้ คำพิพากษาที่ระบุไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145(2)นั้นมิได้หมายถึงเฉพาะกรณีคำพิพากษาในคดีที่มีคู่ความตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปเท่านั้นดังนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีไม่มีข้อพิพาทที่สั่งว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ร้องขอในคดีดังกล่าวมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองจึงอยู่ในบังคับบทบัญญัติมาตรา145(2)ด้วย โจทก์มิได้เป็นคู่ความในคดีที่จำเลยร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินกับจำเลยจึงถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145(2)และการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ก็เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4796/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องสัญญาเช่า: แม้ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่คู่สัญญาต้องผูกพันตามสัญญาเช่า
โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยตามสัญญาเช่าซึ่งโจทก์จำเลยทำไว้ต่อกัน แม้ที่ดินพิพาทจะมิใช่ทรัพย์สินของโจทก์ แต่เมื่อจำเลยยอมทำสัญญาเช่ากับโจทก์แล้ว ทั้งสองฝ่ายย่อมต้องผูกพันตามสัญญา แม้จะมีผู้เช่าที่ดินพิพาทคนใหม่จากเจ้าของเดิมบอกกล่าวขับไล่โจทก์จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยก็มิใช่ข้อสำคัญ เพราะกรณีนี้เป็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาในสัญญาเช่าเท่านั้น มิใช่เป็นเรื่องการพิพาทระหว่างเจ้าของที่ดินพิพาทหรือผู้เช่าที่ดินพิพาทคนใหม่กับจำเลยผู้เช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์อีกทั้งเจ้าของที่ดินพิพาทที่เช่าก็มิได้โต้แย้งอำนาจของโจทก์ในการให้จำเลยเช่าที่ดินแต่ประการใด ฉะนั้น เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4626/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความ การฟ้องซ้ำเรื่องมรดกขัดแย้งการให้การเดิม
ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์แบ่งที่ดินส่วนที่เป็นของ ม.ให้จำเลยทั้งสอง การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวของจำเลยทั้งสองเป็นการได้มาโดยผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ไม่ใช่ได้มาโดยทางมรดกในฐานะที่เป็นทายาทของ ม.ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาของศาลฎีกาการแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นแต่เพียงขั้นตอนของการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาเท่านั้น โจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวย่อมต้องผูกพันตามคำพิพากษานั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ขณะที่ ม. ถึงแก่กรรม ทายาทที่มีสิทธิรับมรดก ม.มีจำเลยทั้งสอง ป. และ พ. รวม 4 คน เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นฟ้องโจทก์ในคดีก่อนอ้างว่ามรดกของ ม. ตกได้แก่จำเลยทั้งสองเท่านั้น โดยขณะนั้น ป. บิดาโจทก์ถึงแก่กรรมแล้วโจทก์ให้การในคดีก่อนแต่เพียงว่า ม.ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์และโจทก์ได้ครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้ว ดังนั้น คดีก่อนจึงเป็นเรื่องให้ศาลวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาททั้งหมดเป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่จำเลยทั้งสองเท่านั้นหรือไม่ การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ม. ตกได้แก่ ป.และต่อมาตกเป็นของโจทก์ และขอให้บังคับจำเลยทั้งสองแบ่งให้โจทก์ ย่อมเป็นการขัดกับคำให้การของโจทก์ในคดีก่อนและเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทั้งคำฟ้องโจทก์คดีนี้ก็เป็นเรื่องที่ให้ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ม. ทั้งหมดหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องให้วินิจฉัยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144วรรคหนึ่ง ยิ่งกว่านั้นเมื่อคดีก่อนศาลฎีกาพิพากษาแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองตั้งแต่ พ.ศ. 2525 โจทก์ต้องผูกพันตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองแบ่งโดยอ้างว่าเป็นมรดกของ ป. และ พ.ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3604/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยฟ้องแย้งหลังยกฟ้องคดีหลัก และหลักการผูกพันตามคำพิพากษาถึงที่สุด
เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม ให้สิทธิแก่จำเลยที่จะฟ้องแย้งเข้ามาในคำให้การได้ ถ้าข้ออ้างตามฟ้องแย้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมแล้ว ศาลย่อมจะต้องรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณา เมื่อโจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 178 แล้วย่อมเกิดประเด็นข้อพิพาทที่จะนำไปสู่ประเด็นแห่งคดีที่ศาลจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดให้คู่ความแพ้หรือชนะกัน ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2)และมาตรา 133 บัญญัติไว้ ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องของโจทก์แล้ววินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องแย้งของจำเลยร่วมที่ 2 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาคดีที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แล้ว โจทก์และจำเลยร่วมที่ 2 มีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นนั้นต่อไปได้ ตามมาตรา 223 ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหน้าที่จะต้องชี้ขาดตัดสินอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยร่วมที่ 2 ตามประเด็นแห่งคดีที่คู่ความได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ดังที่มาตรา 131(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ มาตรา 240 บัญญัติไว้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์แล้วเห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นถูกต้อง แต่ไม่วินิจฉัยในประเด็นข้ออุทธรณ์ของจำเลยร่วมที่ 2 โดยอ้างว่า เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ ทำให้ฟ้องแย้งของจำเลยร่วมที่ 2 ต้องตกไป จึงเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบ เพราะไม่เข้ากรณีที่ศาลจะไม่ต้องวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่องนั้นตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 บัญญัติไว้และไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดสนับสนุนคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสละสิทธิในโครงการลาออกโดยสมัครใจ: มีผลผูกพันและตัดสิทธิเรียกร้องเพิ่มเติม
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างสมัครใจเข้าร่วมโครงการลาออกด้วยความสมัครใจของจำเลยผู้เป็นนายจ้าง ซึ่งมีข้อความว่า ข้าพเจ้าขอสละสิทธิและขอปลดเปลื้องบริษัทจากข้อเรียกร้องทั้งปวง ความรับผิด ข้อเรียกร้อง และมูลคดีที่ข้าพเจ้าหรือบุคคลอื่นโดยการเรียกร้องผ่านข้าพเจ้า ซึ่งเคยมี กำลังมี หรืออาจเรียกร้องให้มีได้ในอนาคตต่อบริษัท ฯลฯ ทั้งยังมีข้อความตามบันทึกอีกว่าเงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ตามโครงการดังกล่าวเป็นเงินทุกประเภทที่จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ย่อมหมายความว่า การที่จำเลยยอมจ่ายเงินให้โจทก์ตามโครงการลาออกด้วยความสมัครใจนั้นได้รวมเงินทุกประเภทที่โจทก์อาจเรียกร้องจากจำเลยได้อยู่แล้วข้อตกลงที่ว่าโจทก์จะไม่เรียกร้องผลประโยชน์ใด ๆ จากจำเลยอีกเพราะจำเลยได้จ่ายเงินที่โจทก์พึงจะได้รับตามกฎหมายให้แก่โจทก์หมดแล้วซึ่งไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมมีผลบังคับระหว่างโจทก์กับจำเลยได้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องเรียกผลประโยชน์ใด ๆ จากจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสละสิทธิในโครงการลาออกด้วยความสมัครใจมีผลผูกพัน หากครอบคลุมค่าชดเชยตามกฎหมายแล้ว
การที่โจทก์สมัครใจเข้าร่วมโครงการลาออกด้วยความสมัครใจของจำเลยโดยในเอกสารมีข้อความว่าข้าพเจ้าขอสละสิทธิและขอปลดเปลื้องบริษัทจากข้อเรียกร้องทั้งปวงความรับผิดข้อเรียกร้องและมูลคดีที่ข้าพเจ้าซึ่งเคยมีกำลังมีหรืออาจเรียกร้องให้มีได้ในอนาคตต่อบริษัทฯลฯทั้งยังมีข้อความว่าเงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ตามโครงการดังกล่าวเป็นเงินทุกประเภทที่จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ย่อมหมายความว่าการที่จำเลยยอมจ่ายเงินให้โจทก์จำนวน590,894.91บาทตามโครงการลาออกด้วยความสมัครใจได้รวมเงินทุกประเภทที่โจทก์อาจเรียกร้องจากจำเลยได้อยู่แล้วดังนั้นข้อตกลงที่ว่าโจทก์จะไม่เรียกร้องผลประโยชน์ใดๆจากจำเลยอีกเพราะจำเลยได้จ่ายเงินที่โจทก์พึงจะได้รับตามกฎหมายให้แก่โจทก์หมดแล้วซึ่งไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนมีผลบังคับระหว่างโจทก์กับจำเลยได้โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องเรียกผลประโยชน์ใดๆจากจำเลยอีก