คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ค้ำประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6895/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในวงเงินค้ำประกัน แม้จำเลยที่ 1 มีหนี้มากกว่า และแก้ไขสัญญาด้วยวาจาไม่ได้
จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดในหนี้สินของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมในวงเงินค้ำประกัน หมายความว่าแม้จำเลยที่ 1 จะมีหนี้อยู่มากกว่านี้ จำเลยที่ 2 คงต้องรับผิดเพียงวงเงินที่ค้ำประกันไว้เท่านั้นเมื่อจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่มากกว่าวงเงินที่ค้ำประกัน จำเลยที่ 2ต้องร่วมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันที่ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในวงเงินค้ำประกัน สัญญาค้ำประกันมิได้มีข้อความระบุว่าถ้าจำเลยที่ 1 ชำระเงินเท่าใดจะให้จำเลยที่ 2 รับภาระหนี้ที่ค้ำประกันอยู่ลดลงตามจำนวนหนี้ที่ชำระมาแล้ว จำเลยที่ 2 จะนำสืบพยานบุคคลว่าโจทก์เคยมีข้อตกลงดังกล่าวกับจำเลยที่ 2 มาแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาค้ำประกันไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6829/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลดหนี้ผู้ค้ำประกันไม่กระทบความรับผิดของลูกหนี้รายอื่นในหนี้ตามคำพิพากษา
แม้นางสาวสุพรรณีกับจำเลย และผู้ค้ำประกันคนอื่น ๆ จะร่วมกันค้ำประกันหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คของบริษัทถุงกระดาษไทย จำกัด ด้วยกัน และโจทก์จะได้รับชำระหนี้จากนางสาวสุพรรณีบางส่วน กระทั่งโจทก์ปลดหนี้ให้โดยได้ถอนฟ้องนางสาวสุพรรณีในคดีแพ่งดังกล่าวด้วย การที่โจทก์ได้นำหนี้ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 23817/2532 ที่พิพากษาตามสัญญายอม โดยนางสาวสุพรรณีมิได้ร่วมเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วย มาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายเป็นคดีนี้ นางสาวสุพรรณีจึงมิได้เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยในหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้อง แม้โจทก์จะปลดหนี้ให้แก่นางสาวสุพรรณีก็ไม่ใช่กรณีที่โจทก์ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ร่วมกับจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340 และมาตรา 293

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5872/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวแทน ผู้ซื้อ และผู้ค้ำประกัน ในการชำระภาษีธุรกิจเฉพาะ
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในการซื้อและขายที่ดินรวม 5 โฉนด หลังจากทำการซื้อขายที่ดินดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยยื่นคำร้องของดเบี้ยปรับและผ่อนชำระภาษี โดยมีจำเลยที่ 2 ทำสัญญารับสภาพหนี้ และจำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ ต่อมาโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คที่จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายมอบให้แก่โจทก์ในงวดที่ 8 ถึง 12 ไม่ได้ โจทก์จึงแจ้งจำเลยทั้งสามให้นำเงินมาชำระ แต่จำเลยทั้งสามเพิกเฉย ตลอดระยะเวลาที่จำเลยทั้งสามติดต่อโจทก์ ไม่ว่าในขณะที่จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือในชั้นที่เจ้าพนักงานของโจทก์ตรวจสอบภาษีของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังนั้นแม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ซื้อที่ดินแทนจำเลยที่ 3 แล้วขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 อันเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระหนี้ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ เงินเพิ่มเบี้ยปรับและภาษีส่วนท้องถิ่นแก่โจทก์
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ จำเลยที่ 2ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ระบุยอมรับชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 เต็มจำนวนส่วนจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการผ่อนชำระภาษีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เมื่อจำเลยที่ 1 ยังชำระหนี้ให้แก่โจทก์ไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงรับผิดต่อโจทก์ด้วย โดยจำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ แต่ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 ทำกับโจทก์มิได้ระบุให้จำเลยที่ 3 รับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1จึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยที่ 3 รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5872/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนซื้อขายที่ดินและขอบเขตความรับผิดของตัวแทน ผู้รับสภาพหนี้ และผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในการซื้อและขายที่ดินรวม 5 โฉนด หลังจากทำการซื้อขายที่ดินดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 1 ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยยื่นคำร้องของดเบี้ยปรับและผ่อนชำระภาษี โดยมีจำเลยที่ 2 ทำสัญญารับสภาพหนี้และจำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ ต่อมาโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คที่จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายมอบให้แก่โจทก์ในงวดที่ 8 ถึง 12 ไม่ได้โจทก์จึงแจ้งจำเลยทั้งสามให้นำเงินมาชำระ แต่จำเลยทั้งสามเพิกเฉยตลอดระยะเวลาที่จำเลยทั้งสามติดต่อโจทก์ ไม่ว่าในขณะที่จำเลยที่ 1ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือในชั้นที่เจ้าพนักงานของโจทก์ตรวจสอบภาษีของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2และที่ 3 ดังนั้นแม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ซื้อที่ดินแทนจำเลยที่ 3แล้วขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 อันเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 2และที่ 3 ก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระหนี้ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะเงินเพิ่มเบี้ยปรับและภาษีส่วนท้องถิ่นแก่โจทก์
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะจำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ระบุยอมรับชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 เต็มจำนวน ส่วนจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการผ่อนชำระภาษีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ยังชำระหนี้ให้แก่โจทก์ไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงรับผิดต่อโจทก์ด้วยโดยจำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ แต่ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 ทำกับโจทก์มิได้ระบุให้จำเลยที่ 3รับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยที่ 3รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4286/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกร้องหนี้ผู้ค้ำประกันหลังลูกหนี้ถึงแก่กรรม: การทวงถามหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมายและการสันนิษฐานเรื่องหนี้สินล้นพ้นตัว
ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันแก่โจทก์ถ้าลูกหนี้ชั้นต้นไม่ชำระหนี้ โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้รวมสามครั้ง แต่ในการทวงถามสองครั้งแรก ยังไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ชั้นต้นไม่ชำระหนี้ตามขั้นตอนในคำพิพากษาศาลฎีกา ดังนั้น จำเลยชอบที่จะ ปฏิเสธไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามหนังสือทวงถามทั้งสองครั้งได้ กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือทวงถามโดยชอบเพียงครั้งเดียวยังไม่เข้าข้อสันนิษฐานว่า มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4183/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิและหน้าที่ของผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกัน การชำระหนี้แทนลูกหนี้ และสิทธิไล่เบี้ย
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ภาษีอากรหรือภาษีอากรเพิ่มรวมกับเงินเพิ่มตลอดจนหนี้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่โจทก์ที่ 1 อาจจะต้องเสียแก่กรมศุลกากรโดยไม่ได้มีข้อตกลงให้สิทธิโจทก์ทั้งสองที่จะยกเลิกสัญญาค้ำประกันหรือมีสิทธิที่จะสั่งระงับมิให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าภาษีอากรและภาษีอากรเพิ่มรวมทั้งเงินเพิ่มตลอดจนหนี้อุปกรณ์อื่น ๆ ตามกฎหมายได้ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิที่จะสั่งให้จำเลยที่ 1 ระงับการจ่ายเงินให้แก่กรมศุลกากร เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือให้ไปชำระค่าภาษีอากร เนื่องจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ของกรมศุลกากรผิดนัด กรมศุลกากรซึ่งเป็นเจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่จะต้องชำระเงินจำนวนที่ค้ำประกันไว้ให้แก่กรมศุลกากร เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้แล้ว ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากโจทก์ที่ 1 ลูกหนี้เพื่อต้นเงินกับดอกเบี้ยและเพื่อการที่ต้องสูญหายหรือเสียหายไปอย่างใด ๆ เพราะการค้ำประกันนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องจากบริษัทเอกชนจำกัดเป็นมหาชนจำกัด, อายุความ, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
เมื่อโจทก์แปรสภาพจากบริษัทเอกชนจำกัดเดิมมาเป็นบริษัทมหาชนจำกัด โจทก์ย่อมต้องรับโอนไปซึ่งทรัพย์สิน หนี้สิน สิทธิ และความรับผิดต่าง ๆ จากบริษัทเอกชนเดิมทั้งสิ้น ตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 185 จึงเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย มิใช่การโอนสิทธิเรียกร้องโดยนิติกรรมระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนในอันที่จะต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
เมื่อสำเนาคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต เลตเตอร์ออฟเครดิตและตั๋วแลกเงินเอกสารท้ายคำฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง มีข้อความปรากฏชัดว่า บริษัท บ. ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ภายในประเทศเพื่อประโยชน์แก่บริษัท ย. ในการซื้อสินค้าจากบริษัท ย. พอเข้าใจได้ว่า บริษัท บ. ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตต่อธนาคารโจทก์เพื่อซื้อสินค้าใด โจทก์จ่ายสินค้าใด ให้ผู้ใด และเป็นเงินจำนวนเท่าใด และที่จำเลยที่ 2 สามารถให้การต่อสู้คดีได้นั้น แสดงว่าโจทก์ได้บรรยายคำฟ้องประกอบกับเอกสารท้ายคำฟ้องดังกล่าวชัดแจ้งพอให้จำเลยที่ 2 ได้เข้าใจข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
หนังสือชำระหนี้แทน ที่จำเลยที่ 3 ทำไว้ต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้แทนบริษัท บ. ไม่มีข้อความตอนใดอาจแปลไปได้เลยว่าจะให้หนี้เดิมของบริษัท บ. ระงับไป จึงเป็นเพียงสัญญาที่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ซึ่งยอมชำระหนี้แทนบริษัท บ. เท่านั้น มิใช่การแปลงหนี้ใหม่ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันหนี้ของบริษัท บ. ย่อมไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
ส่วนในเรื่องอายุความ หากจำเลยไม่ได้ตั้งประเด็นในเรื่องอายุความไว้ โจทก์ย่อมไม่จำเป็นต้องนำสืบ และการที่อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ลูกหนี้เช่นนี้ ย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 692 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้สำหรับการใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ ยังไม่เกินกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2278/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชดใช้ค่าเสียหายจากยักยอกทรัพย์: โจทก์ฟ้องทั้งจำเลยและผู้ค้ำประกัน ศาลฎีกาเห็นควรให้ปรับและคุมความประพฤติ
ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจให้จำเลยต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินที่ได้ยักยอกไปแก่โจทก์ร่วมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 แต่เมื่อได้ความว่าการที่จำเลยต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไปให้แก่โจทก์ร่วมคดีนี้ เป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายที่ผู้ค้ำประกันจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระให้แก่โจทก์ร่วมในคดีแพ่งดังกล่าวแล้ว โจทก์ร่วมก็ไม่มีสิทธิที่จะขอบังคับเอาได้ทั้งสองทาง ความรับผิดของจำเลยในส่วนนี้เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาใน ชั้นบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8462/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าไฟฟ้า, สัญญาค้ำประกัน, วงเงินความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกัน
พ.ร.บ.การไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 มาตรา 6 บัญญัติว่า"ให้จัดตั้งการไฟฟ้าขึ้นเรียกว่า "การไฟฟ้านครหลวง" มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้...(2) จัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าและ (3) ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องหรือที่เป็นประโยชน์แก่การไฟฟ้านครหลวง" จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการไฟฟ้านครหลวงหรือโจทก์ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าและดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า ประกอบกับป.พ.พ.มาตรา 193/34 (1) ได้เปลี่ยนคำว่า "พ่อค้า" ตามมาตรา 165 (1) เดิมเป็นคำว่า "ผู้ประกอบการค้า" ซึ่งมีความหมายกว้างขึ้น โจทก์ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจึงตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 193/34 (1) การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าไฟฟ้าที่ขาดจำนวนไปจากจำเลยจึงเป็นการที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าฟ้องเรียกร้องเอาค่าการงานที่ได้ทำ ย่อมมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (1)
การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าไฟฟ้าที่ขาดจำนวนไปในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2531 ถึงเดือนมกราคม 2533 ซึ่งขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าว ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (1) ยังไม่ได้ออกมาใช้บังคับ หากโจทก์จะฟ้องคดีตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าไฟฟ้าได้ ซึ่งตามมาตรา 165 (1) เดิม ไม่ถือว่าโจทก์เป็นพ่อค้า จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 165 (1) ดังกล่าว แต่โจทก์อาจฟ้องได้ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม ซึ่งในกรณีเช่นนี้มี พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 มาตรา 14 บัญญัติว่า"บรรดาระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์...ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับวันที่ 8 มิถุนายน 2535)หากระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ และระยะเวลาที่กำหนดขึ้นตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้าย พ.ร.บ.นี้แตกต่างกับระยะเวลาที่กำหนดไว้เดิม ให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ" เมื่อกำหนดอายุความตามมาตรา 164 เดิม แตกต่างและมีระยะเวลายาวกว่ากำหนดอายุความตามมาตรา 193/34 (1) ที่ได้ตรวจชำระใหม่การฟ้องคดีของโจทก์จึงต้องบังคับตามกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยังไม่สิ้นสุดลงคดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
แม้เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 บกพร่องโดยเดินช้าผิดปกติเนื่องจากความผิดพลาดของพนักงานของโจทก์ผู้ติดตั้งเองโดยฝ่ายจำเลยมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เป็นเหตุให้แสดงค่าน้อยกว่าจำนวนกระแสไฟฟ้าที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้ไปจริงก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 สัญญาต่อโจทก์ว่าจะชำระค่าไฟฟ้าตามอัตราที่โจทก์กำหนดตลอดไป ซึ่งแปลความหมายได้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมชำระค่าไฟฟ้าตามที่ตนได้ใช้ไปจริงจำเลยที่ 1 จึงยังคงมีหน้าที่ตามที่ได้สัญญาไว้ดังกล่าวที่ต้องชำระค่าไฟฟ้าตามที่ตนได้ใช้ไปจริง
ธนาคารจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ค่าไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 ในวงเงินจำนวนรวม 290,000 บาท ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.1 และหนังสือเพิ่มวงเงินค้ำประกันและต่ออายุสัญญาเอกสารหมาย จ.2 หลังจากครบอายุหนังสือสัญญาค้ำประกันแล้ว ได้มีการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.5 ต่อมาตามลำดับ ข้อความในเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.5 ได้อ้างถึงหนังสือสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.1ทุกฉบับ วงเงินค้ำประกันในเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.5 ก็เป็นไปตามเอกสารหมายจ.1 และ จ.2 คือจำนวน 260,000 บาท และเพิ่มวงเงินค้ำประกันอีกจำนวน30,000 บาท รวมเป็นจำนวน 290,000 บาท ทุกฉบับ และเอกสารหมาย จ.3ถึง จ.5 ได้ระบุข้อความตรงกันทั้ง 3 ฉบับ ว่า ข้อความและเงื่อนไขอื่น ๆ ในหนังสือสัญญาค้ำประกันไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ เห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ขอต่ออายุหนังสือสัญญาค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 ไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ทำเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.5 เป็นสัญญาฉบับใหม่ขึ้นมาเพื่อให้ตนรับผิดเพิ่มเติมต่างหากจากสัญญาตามเอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 ส่วนที่ปรากฏว่าการต่ออายุหนังสือสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ต้องปิดอากรแสตมป์ทุกฉบับและมีการเก็บค่าธรรมเนียมทุกครั้งด้วย ก็เป็นเรื่องของกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่กำหนดให้กระทำ จะให้แปลความหมายเลยไปถึงว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในวงเงินทุกฉบับรวมกันอันขัดต่อข้อความในหนังสือสัญญาไม่ได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ในวงเงินจำนวนเพียง 290,000 บาท เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8072/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการประนีประนอมยอมความกับผู้ค้ำประกันกระทบสิทธิเรียกร้องจากเช็ค – คดีเลิกกัน
หลังจากโจทก์ฟ้องจำเลยแล้ว ผู้เสียหายได้นำมูลหนี้ตามเช็คพิพาทไปฟ้องเฉพาะ น. ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้จำเลยตามเช็คพิพาทให้ชดใช้เงินตามคดีแพ่งผู้เสียหายและ น.ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว แม้จำเลยจะมิได้เป็นคู่ความในคดีแพ่งด้วยก็ตาม แต่ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 852 เมื่อหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คตามฟ้องเพื่อใช้เงิน และ น.เป็นผู้ค้ำประกันการชำระเงินดังกล่าวเป็นอันสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 7
of 58