คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้จัดการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 156 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนของผู้จัดการสินสมรสและเจ้าของกรรมสิทธิ์ในฐานะผู้รับประเมิน
จำเลยเป็นผู้ยื่นประเมินภาษีโรงเรือนต่อเทศบาลสำหรับโรงเรือนอันเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและภริยาจำเลย โดยมิได้ระบุว่าจำเลยกระทำการแทนผู้ใด เมื่อจำเลยได้รับแจ้งการประเมินยังยอมรับว่าค้างชำระค่าภาษีอยู่จริง โดยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งถือว่าการประเมินภาษีนั้นถูกต้องแล้ว โรงเรือนนั้นเป็นสินสมรสจำเลยย่อมเป็นเจ้าของร่วมในโรงเรือนนั้นด้วย จำเลยอยู่ในฐานะผู้จัดการสินบริคณห์ และได้กระทำไปในฐานะเป็นผู้รับประเมินจึงเป็นผู้มีหน้าที่พึงชำระค่าภาษีค้างชำระนั้นให้เทศบาลจะผลักภาระการชำระค่าภาษีให้ตกแก่ภริยาจำเลยหาได้ไม่เพราะภริยาจำเลยไม่ใช่ผู้รับประเมินซึ่งมีหน้าที่ชำระค่าภาษีต่อเทศบาล
ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1466 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส หากจำเลยจะกล่าวอ้างเป็นอย่างอื่น เช่นว่า เป็นสินส่วนตัวของภริยาจำเลยจำเลยจำต้องยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้งมิฉะนั้นแล้วจำเลยก็ไม่มีประเด็นสืบ
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 40 วางหลักว่า เจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้เสียค่าภาษีเท่ากับต้องรับภาระภาษีโดยตรง เจ้าของจะผลักภาระภาษีให้ผู้เช่าหรือผู้ครองทรัพย์สินเสียไม่ได้ หาใช่ข้อตัดสิทธิมิให้เทศบาลเรียกร้องเอาค่าภาษีจากจำเลยผู้รับประเมินแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้แทนโดยชอบธรรมผู้เสียหาย vs. ผู้จัดการแทนผู้บาดเจ็บสาหัส
บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของ ว. ผู้ตาย เป็นโจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทชนรถจักรยานยนต์ซึ่ง ว. ขับขี่ และมี ป. นั่งซ้อนท้ายเป็นเหตุให้ ว. ถึงแก่ความตาย และ ป.บาดเจ็บสาหัส ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกและประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 300, 390 ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนี้รวมกับคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดอย่างเดียวกัน แล้วพิพากษายกฟ้อง โจทก์คดีนี้อุทธรณ์ ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า เหตุที่รถชนกันเกิดจากความประมาทของจำเลยฝ่ายเดียว แต่โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก จึงไม่มีอำนาจฟ้องก็จะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 300, 390 แล้วปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 291ซึ่งเป็นบทหนักไม่ได้ เพราะโจทก์มิใช่ผู้จัดการแทนผู้เสียหายในความผิดที่จำเลยกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ ป. ได้รับบาดเจ็บสาหัสต้องพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 291 บทเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายผูกพันบริษัท แม้ไม่มีการลงชื่อกรรมการครบถ้วน หากผู้จัดการลงนามในนามบริษัท
แม้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจะมิได้ลงชื่อกรรมการ 2 นาย และประทับตราบริษัทช้อบังคับ แต่มีข้อความระบุคู่สัญญาไว้ชัดเจนว่าเป็นที่ทำขึ้นระหว่าง ล.ผู้ขายฝ่ายหนึ่ง กับบริษัทโจทก์โดย ส.เป็นผู้จัดการ ผู้ซื้อฝ่ายหนึ่ง ดังนี้ แสดงว่า ส.ทำสัญญาในนามบริษัทโจทก์นั่นเอง หาได้ทำเป็นส่วนตัวไม่ ถือได้ว่าโจทก์เป็นคู่สัญญา สัญญาจะซื้อจะขายผูกพันบริษัทโจทก์ (อ้างฎีกาที่ 362/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่บริษัทลงนามโดยผู้จัดการ แม้ไม่เป็นไปตามข้อบังคับ ก็ผูกพันบริษัทได้
หนังสือสัญญาจะซื้อขายระบุว่าบริษัทโจทก์โดย ส. ผู้จัดการเป็นผู้ซื้อ แสดงว่า ส. ทำสัญญาในนามบริษัทโจทก์โจทก์จึงเป็นคู่สัญญา แม้หนังสือสัญญานั้น กรรมการของบริษัทโจทก์ 2 นาย จะไม่ได้ลงชื่อ และไม่ได้ประทับตราของบริษัทตามข้อบังคับ สัญญาก็ผูกพันบริษัทโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จัดการโรงพิมพ์ต่อเงินขาดบัญชีจากลูกจ้างที่ยักยอกเงิน
ตามฟ้องของโจทก์ตั้งประเด็นให้จำเลยรับผิดใช้เงินในฐานะเป็นลูกจ้างและตัวแทนของโจทก์ ซึ่งมีผลเท่ากับกล่าวว่าจำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน โดยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้ตกลงจ้าง ทำให้เงินของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างขาดหายไปหรือจำเลยผิดสัญญาตัวแทน โดยทำให้โจทก์ซึ่งเป็นตัวการเสียหาย แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องไม่ชัดเจนว่าจำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานหรือผิดสัญญาตัวแทน แต่เมื่อโจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาให้เป็นที่เข้าใจตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไรแล้ว ก็ตกเป็นหน้าที่ของศาลที่จะนำตัวบทกฎหมายมาปรับแก่คดีได้ โจทก์หาได้ตั้งประเด็นฟ้องจำเลยว่ากระทำละเมิดต่อโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ใช่เรื่องฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิด
ระเบียบการปฏิบัติงานของโจทก์กำหนดหน้าที่ของผู้จัดการโรงพิมพ์ข้อ 3 มีว่า "ผู้จัดการเป็นผู้อำนวยการและรับผิดชอบในกิจการทั่วไป" นอกจากนี้ก็ได้วางระเบียบแบ่งงานไว้เป็นหมวดต่าง ๆ มีหมวดกลาง หมวดคลัง และหมวดโรงงาน ซึ่งทุกหมวดจะต้องอยู่ในอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาและควบคุมดูแลของผู้จัดการทั้งสิ้น โดยได้บัญญัติไว้ในระเบียบข้อ 45 ว่า "ให้ผู้จัดการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งกำหนดวิธีปฏิบัติงานในโรงพิมพ์การศาสนาเป็นการภายในได้โดยไม่ขัดแย้งต่อระเบียบนี้" ในเรื่องระเบียบเกี่ยวแก่การเงินได้บัญญัติไว้ในระเบียบข้อ 18 ว่า "เงินรายได้ของโรงพิมพ์เมื่อได้รับเกินกว่า 2,000 บาทขึ้นไป ให้นำส่งกองศาสนสมบัติ กรมการศาสนา" และได้บัญญัติวิธีรักษาเงินไว้ในข้อ 21 ว่า "เงินของโรงพิมพ์การศาสนาให้เก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยโดยมีผู้จัดการหรือผู้ทำการแทนผู้จัดการ หัวหน้าหมวดคลัง และหัวหน้าหมวดโรงงานเป็นคณะกรรมการรักษากุญแจตู้นิรภัยร่วมกัน เมื่องบบัญชีเงินสดประจำวันให้มีการตรวจนับตัวเงิน เมื่อตรวจนับถูกต้องตามบัญชีเงินสดแล้ว ให้นำเก็บไว้ในตู้นิรภัย แล้วตีตราประตูห้องเก็บตู้นิรภัยไว้ด้วย ฯลฯ" ดังนี้ จะเห็นได้ว่าโจทก์ได้กำหนดหน้าที่ของผู้จัดการไว้ให้มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลเกี่ยวกับการเงินของโจทก์โดยใกล้ชิดด้วย เช่น ต้องมีการตรวจบัญชีเงินสด และนับตัวเงินสดทุกวัน เป็นต้น ดังนั้น การที่ พ. สมุหบัญชีรับเงินเป็นตัวเงินสดไว้ถึง 124,552 บาทแล้วไม่นำส่งโจทก์ได้นั้น ย่อมแสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่โจทก์จ้าง กล่าวคือไม่ควบคุมตรวจบัญชีเงินสด เป็นการกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามจำนวนเงินของโจทก์ที่ขาดหายไปได้
กรณีที่โจทก์ฟ้องเป็นเรื่องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่ลูกหนี้ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215 ซึ่งเป็นบทบัญญัติของลักษณะหนี้ หาใช่เป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จัดการโรงพิมพ์ฐานละเลยหน้าที่ควบคุมการเงิน ทำให้เงินขาดหายไป ถือเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน
ตามฟ้องของโจทก์ตั้งประเด็นให้จำเลยรับผิดใช้เงินในฐานะเป็นลูกจ้างและตัวแทนของโจทก์ ซึ่งมีผลเท่ากับกล่าวว่าจำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน โดยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้ตกลงจ้างทำให้เงินของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างขาดหายไปหรือจำเลยผิดสัญญาตัวแทน โดยทำให้โจทก์ซึ่งเป็นตัวการเสียหาย แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องไม่ชัดเจนว่า จำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานหรือผิดสัญญาตัวแทน แต่เมื่อโจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาให้เป็นที่เข้าใจตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไรแล้ว ก็ตกเป็นหน้าที่ของศาลที่จะนำตัวบทกฎหมายมาปรับแก่คดีได้ โจทก์หาได้ตั้งประเด็นฟ้องจำเลยว่ากระทำละเมิดต่อโจทก์ฟ้องของโจทก์จึงไม่ใช่เรื่องฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิด
ระเบียบการปฏิบัติงานของโจทก์กำหนดหน้าที่ของผู้จัดการโรงพิมพ์ข้อ 3 มีว่า 'ผู้จัดการเป็นผู้อำนวยการและรับผิดชอบในกิจการทั่วไป'นอกจากนี้ก็ได้วางระเบียบแบ่งงานไว้เป็นหมวดต่าง ๆ มีหมวดกลางหมวดคลัง และหมวดโรงงาน ซึ่งทุกหมวดจะต้องอยู่ในอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาและควบคุมดูแลของผู้จัดการทั้งสิ้น โดยได้บัญญัติไว้ในระเบียบข้อ 45 ว่า 'ให้ผู้จัดการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งกำหนดวิธีปฏิบัติงานในโรงพิมพ์การศาสนาเป็นการภายในได้โดยไม่ขัดแย้งต่อระเบียบนี้' ในเรื่องระเบียบเกี่ยวแก่การเงินก็ได้บัญญัติไว้ในระเบียบข้อ 18 ว่า 'เงินรายได้ของโรงพิมพ์เมื่อได้รับไว้เกินกว่า 2,000 บาทขึ้นไป ให้นำส่งกองศาสนสมบัติกรมการศาสนา' และได้บัญญัติวิธีรักษาเงินไว้ในข้อ 21 ว่า 'เงินของโรงพิมพ์การศาสนาให้เก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยโดยมีผู้จัดการหรือผู้ทำการแทนผู้จัดการ หัวหน้าหมวดคลัง และหัวหน้าหมวดโรงงานเป็นคณะกรรมการรักษากุญแจตู้นิรภัยร่วมกัน เมื่องบบัญชีเงินสดประจำวันให้มีการตรวจนับตัวเงินเมื่อตรวจนับถูกต้องตามบัญชีเงินสดแล้ว ให้นำเก็บไว้ในตู้นิรภัย แล้วตีตราประตูห้องเก็บตู้นิรภัยไว้ด้วย ฯลฯ'ดังนี้ จะเห็นได้ว่าโจทก์ได้กำหนดหน้าที่ของผู้จัดการไว้ให้มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลเกี่ยวกับการเงินของโจทก์โดยใกล้ชิดด้วย เช่นต้องมีการตรวจบัญชีเงินสดและนับตัวเงินสดทุกวัน เป็นต้น ดังนั้นการที่ พ. สมุหบัญชีรับเงินเป็นตัวเงินสดไว้ถึง124,552 บาทแล้วไม่นำส่งโจทก์ได้นั้น ย่อมแสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่โจทก์จ้าง กล่าวคือไม่ควบคุมตรวจบัญชีเงินสดเป็นการกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามจำนวนเงินของโจทก์ที่ขาดหายไปได้
กรณีที่โจทก์ฟ้องเป็นเรื่องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่ลูกหนี้ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215 ซึ่งเป็นบทบัญญัติของลักษณะหนี้ หาใช่เป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1317/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของภรรยาผู้จัดการห้างหุ้นส่วน: ความยินยอมโดยปริยายของสามี
การที่หญิงมีสามีได้กระทำกิจการค้าด้วยความรู้เห็นของสามีนั้น ย่อมถือได้ว่าสามีได้อนุญาตแล้วโดยปริยาย ฉะนั้นหญิงมีสามี จึงฟ้องคดีในฐานะเป็นผู้จัดการห้างหุ้นส่วนได้ หาจำต้องได้รับอนุญาตจากสามีอีกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการธนาคารออมสิน: ผู้อำนวยการเท่านั้นที่มีอำนาจดำเนินคดีแทนธนาคาร
ตามพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ.2489 ซึ่งก่อตั้งธนาคารออมสินเป็นนิติบุคคลมีบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งในมาตรา16 ว่าให้ผู้อำนวยการเป็นผู้จัดการธนาคารออมสิน มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ และข้อบังคับของธนาคารออมสิน โดยไม่มีมาตราอื่นใดให้อำนาจแก่ประธานกรรมการที่จะเข้ามาดำเนินกิจการอย่างเดียวกับผู้อำนวยการได้ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า พระราชบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจผู้อำนวยการแต่ผู้เดียวที่จะเป็นผู้จัดการทำการแทนธนาคารออมสินซึ่งเป็นนิติบุคคลรวมตลอดถึงการดำเนินคดี ประธานกรรมการหามีอำนาจไม่
เมื่อประธานกรรมการเข้ามาดำเนินการต่อสู้คดีแทนธนาคารออมสินซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลย โดยแต่งตั้งทนายดำเนินคดี มีการพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จสิ้นแล้ว และในตอนหลังธนาคารออมสินโดยผู้อำนวยการซึ่งเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการตามกฎหมายก็ได้แต่งทนายเป็นการถูกต้อง โดยแต่งตั้งทนายคนเดียวกันกับประธานกรรมการและมิได้โต้แย้งคัดค้านกระบวนพิจารณาที่ได้กระทำมาแล้วแต่ประการใด ย่อมมีเหตุสมควรที่ศาลจะพิพากษาคดีไปตามกระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินมาแล้วโดยไม่จำต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาเดิม ทั้งนี้ อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 66 ซึ่งให้ศาลสอบสวนถึงอำนาจของผู้แทนนิติบุคคล ถึงแม้ผู้นั้นจะไม่มีอำนาจหรืออำนาจบกพร่อง ศาลจะยกฟ้องหรือมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จัดการ-ผู้ช่วยจัดการต่อการขาดหายของสินค้าบริษัทจากการประมาทเลินเล่อ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการบริษัทโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ช่วยผู้จัดการ มีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อจัดการเกี่ยวกับกิจการค้า ทำบัญชีรักษาผลประโยชน์และทรัพย์สินของบริษัทโจทก์ ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ได้ทำให้สินค้าบุหรี่ของบริษัทโจทก์ขาดหายไป ทั้งนี้ เป็นด้วยการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลยทั้งสอง ละเลยมิได้จัดการควบคุมดูแลรักษาตามหน้าที่ จำเลยทั้งสองให้การว่า สินค้าบุหรี่ของบริษัทโจทก์มิได้ขาดหาย หรืออาจจะขาดหายไปก่อนจำเลยเข้ารับตำแหน่งหน้าที่ซึ่งจำเลยไม่รับรู้ดังนี้ คำให้การของจำเลยเป็นข้อต่อสู้ในตัวว่าจำเลยทั้งสองมิได้ประมาทเลินเล่อทำให้บุหรี่ของบริษัทโจทก์ขาดหาย
บุหรี่ของบริษัทโจทก์ขาดหายไปเนื่องจากความทุจริตของเจ้าหน้าที่ในบริษัทโจทก์ หากผู้จัดการและผู้ช่วยผู้จัดการบริษัทโจทก์ไม่ปล่อยปละละเลยต่อหน้าที่ ก็ย่อมจะทราบได้ว่าบุหรี่ขาดหายไปจากบัญชี การปล่อยปละละเลยเช่นนี้ถือได้ว่า เป็นการประมาทเลินเล่อทำให้บริษัทโจทก์เสียหาย ผู้จัดการและผู้ช่วยผู้จัดการบริษัทโจทก์ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จัดการและผู้ช่วยผู้จัดการต่อการขาดหายของสินค้า หากละเลยหน้าที่ตรวจสอบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการบริษัทโจทก์จำเลยที่ 2 เป็นผู้ช่วยผู้จัดการ มีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องรับผิดชอบร่วมกันเพื่อจัดการเกี่ยวกับกิจการค้าทำบัญชีรักษาผลประโยชน์และทรัพย์สินของบริษัทโจทก์ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ได้ทำให้สินค้าบุหรี่ของบริษัทโจทก์ขาดหายไป ทั้งนี้ เป็นด้วยการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลยทั้งสองละเลยมิได้จัดการควบคุมดูแลรักษาตามหน้าที่จำเลยทั้งสองให้การว่า สินค้าบุหรี่ของบริษัทโจทก์มิได้ขาดหายหรืออาจจะขาดหายไปก่อนจำเลยเข้ารับตำแหน่งหน้าที่ซึ่งจำเลยไม่รับรู้ ดังนี้ คำให้การของจำเลยเป็นข้อต่อสู้ในตัวว่าจำเลยทั้งสองมิได้ประมาทเลินเล่อทำให้บุหรี่ของบริษัทโจทก์ขาดหาย
บุหรี่ของบริษัทโจทก์ขาดหายไปเนื่องจากความทุจริตของเจ้าหน้าที่ในบริษัทโจทก์ หากผู้จัดการและผู้ช่วยผู้จัดการบริษัทโจทก์ไม่ปล่อยปละละเลยต่อหน้าที่ก็ย่อมจะทราบได้ว่าบุหรี่ขาดหายไปจากบัญชี การปล่อยปละละเลยเช่นนี้ถือได้ว่า เป็นการประมาทเลินเล่อทำให้บริษัทโจทก์เสียหายผู้จัดการและผู้ช่วยผู้จัดการบริษัทโจทก์ต้องรับผิด
of 16