คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ถือหุ้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้น: กรณีบริษัทไม่ดำเนินการเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้จัดการมรดก
โจทก์กล่าวมาในฟ้องแต่เพียงว่าตั้งแต่ ป.ถึงแก่ความตายจนถึงปัจจุบันนี้ ยังไม่มีกรรมการบริษัทหรือผู้ถือหุ้นได้เรียกให้ผู้จัดการมรดกของ ป.ส่งทรัพย์สินต่าง ๆ คืนให้แก่บริษัท ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าบริษัทไม่ยอมฟ้องร้องแต่อย่างใด โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวหาได้ไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องผู้ถือหุ้น: กรณีบริษัทไม่ฟ้องเอง ผู้ถือหุ้นฟ้องแทนทำได้หรือไม่
โจทก์กล่าวมาในฟ้องแต่เพียงว่าตั้งแต่ ป. ถึงแก่ความตายจนถึงปัจจุบันนี้ ยังไม่มีกรรมการบริษัทหรือผู้ถือหุ้นได้เรียกให้ ผู้จัดการมรดกของ ป. ส่งทรัพย์สินต่าง ๆ คืนให้แก่บริษัทตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าบริษัทไม่ยอมฟ้องร้องแต่อย่างใด โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวหาได้ไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้น: กรณีบริษัทไม่ฟ้องกรรมการที่ทำให้เกิดความเสียหาย
โจทก์กล่าวมาในฟ้องแต่เพียงว่าตั้งแต่ ป. ถึงแก่ความตายจนถึงปัจจุบันนี้ ยังไม่มีกรรมการบริษัทหรือผู้ถือหุ้นได้เรียกให้ผู้จัดการมรดกของ ป.ส่งทรัพย์สินต่าง ๆ คืนให้แก่บริษัทตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าบริษัทไม่ยอมฟ้องร้องแต่อย่างใด โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวหาได้ไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้น: การฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้จัดการมรดกกรณีกรรมการกระทำผิด
โจทก์กล่าวมาในฟ้องแต่เพียงว่าตั้งแต่ป. ถึงแก่ความตายจนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่มีกรรมการบริษัทหรือผู้ถือหุ้นได้เรียกให้ผู้จัดการมรดกของป.ส่งทรัพย์สินต่างๆคืนให้แก่บริษัทตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าบริษัทไม่ยอมฟ้องร้องแต่อย่างใดโจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวหาได้ไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 179-180/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นไม่ชอบตามข้อบังคับบริษัท ทำให้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ขณะที่มีการโอนหุ้นจำเลยที่ 1 มีกรรมการ 5 คน และตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1ระบุว่า การประชุมกรรมการจะต้องมีคณะกรรมการเข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุมปรึกษากิจการได้ ดังนั้น การที่กรรมการของจำเลยที่ 1 เพียง 2 คน ลงชื่ออนุมัติในการโอนหุ้นย่อมถือไม่ได้ว่าคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 เห็นชอบในการโอนหุ้นเมื่อการที่จำเลยที่ 2 โอนหุ้นให้แก่จำเลยที่ 3 เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยข้อบังคับของจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3ได้เข้าร่วมประชุมและออกเสียงในที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับของจำเลยที่ 1 และย่อมส่งผลให้การประชุมและมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ในครั้งดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ไปด้วยชอบที่จะให้เพิกถอนมติที่ประชุมของจำเลยที่ 1 นั้นเสีย
ข้อฎีกาที่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7516/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจที่ประชุมผู้ถือหุ้นในการรับรอง/ยกเลิกความรับผิดของกรรมการ และขอบเขตการเพิกถอนมติ
ตามรายงานการประชุมมีลักษณะเป็นการรับรองหรือให้ความเห็นชอบต่อการกระทำของกรรมการที่ได้กระทำไปในรอบปีที่ผ่านมาและมีอำนาจที่จะลงมติเช่นนั้นได้ไม่ปรากฏว่าที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นยกเลิกความรับผิดชอบของกรรมการที่ได้กระทำไปโดยชอบที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นได้ลงมติปลดหรือยกเลิกการกระทำของกรรมการที่ได้กระทำความผิดหรือกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายหรือข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่1แต่อย่างใดและไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะ22บัญญัติห้ามมิให้ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นลงมติเช่นนี้ได้การที่ที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีของบริษัทจำเลยที่1ลงมติเช่นนี้จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1195

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6063/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นหลังการแปรสภาพบริษัทเป็นบริษัทมหาชนจำกัด
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้คัดค้านที่เลือกตั้งกรรมการของบริษัทผู้คัดค้าน และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้คัดค้าน ซึ่งลงมติให้ ส. พ. และ ช.เป็นกรรมการ เมื่อปรากฏตามฎีกาของผู้คัดค้านและคำแก้ฎีกาของผู้ร้องว่าได้มีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของผู้คัดค้านที่ประชุมลงมติให้แปรสภาพบริษัทผู้คัดค้านเป็นบริษัทมหาชน จำกัด และกรรมการของบริษัทผู้คัดค้านทุกคนหมดสภาพไปตามการลงมติเป็นบริษัทมหาชน จำกัด พร้อมทั้งที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เลือกตั้งกรรมการชุดใหม่แล้ว จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาของผู้คัดค้านต่อไป เพราะคำร้องของผู้ร้องไม่อยู่ในวิสัยที่จะบังคับคดีให้เป็นไปได้ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5276/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกชำระค่าหุ้นค้างชำระ การริบหุ้น และการขายทอดตลาดหุ้นของผู้ถือหุ้น
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1119 และ 1120 เมื่อได้ชำระเงินค่าหุ้นงวดแรกแล้ว เงินค่าหุ้นยังค้างชำระอยู่อีกเท่าใด กรรมการมีอำนาจเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งชำระให้ครบถ้วนทีเดียว หรือจะแบ่งออกเป็นงวดให้ส่งเมื่อใดก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังดำรงอยู่ เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่จะได้วินิจฉัยให้ทำอย่างอื่น เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังค้างชำระเงินค่าหุ้นอีกหุ้นละ 75 บาท จำนวน 4,500 หุ้นดังนั้น กรรมการของโจทก์จึงมีอำนาจเรียกให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้นที่ยังค้างส่งเมื่อใดก็ได้แล้วแต่ดุลพินิจของกรรมการ และปรากฏว่าโจทก์ได้เรียกเงินค่าหุ้นจากผู้ถือหุ้นคนอื่นด้วย แม้จำเลยได้ฟ้องกรรมการผู้จัดการของโจทก์ขอแบ่งเงินค่าตอบแทนจากโจทก์ คดียังไม่ถึงที่สุด โจทก์จึงได้ฟ้องเรียกค่าหุ้นจากจำเลยเป็นคดีนี้ ก็จะถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตกลั่นแกล้งฟ้องจำเลยไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกฎหมาย
ประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดเกี่ยวกับคำบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้น การริบหุ้น การขายทอดตลาดหุ้น และความรับผิดของจำเลยนั้น ในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่า จำเลยไม่ได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ชำระเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระ ซึ่งโจทก์ได้แจ้งจำเลยล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 21 วัน หนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้นพร้อมดอกเบี้ยและข้อแถลงถึงการริบหุ้น กับหนังสือบอกกล่าวถึงการริบหุ้นของจำเลย ซึ่งโจทก์ได้ส่งให้จำเลยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามเอกสารหมาย จ.1 จ.2 จ.3จึงต้องถือว่าจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวทั้ง 3 ฉบับ แล้วจำเลยเพิกเฉย ตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ถือได้ว่า โจทก์ได้ดำเนินการตาม ป.พ.พ.มาตรา 1121, 1123,1124 แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิริบหุ้นของจำเลยออกขายทอดตลาดได้ตามมาตรา 1125
ป.พ.พ.มาตรา 1125 บัญญัติแต่เพียงว่า หุ้นซึ่งริบแล้วให้เอาออกขายทอดตลาดโดยไม่ชักช้า เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้โฆษณาบอกการขายทอดตลาดแล้ว และโจทก์เป็นผู้ขายทอดตลาดหุ้น แม้ผู้เข้าสู้ราคาจะเป็นเครือญาติของกรรมการผู้จัดการของโจทก์ ก็ไม่ได้ความว่าเป็นการกระทำแทนโจทก์ จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 512 ที่ห้ามมิให้ผู้ขายเข้าสู้ราคาเอง และไม่ปรากฏว่าโจทก์ขายทอดตลาดหุ้นของจำเลยโดยมีพฤติการณ์ไม่สุจริตอย่างไร จึงฟังได้ว่าโจทก์ได้ขายทอดตลาดหุ้นของจำเลยโดยชอบแล้ว และเมื่อขายทอดตลาดได้เงินน้อยกว่าเงินค่าหุ้นและดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเอาจากจำเลยผู้ถือหุ้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5276/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกชำระค่าหุ้น, การริบหุ้น, การขายทอดตลาดหุ้น และความรับผิดของผู้ถือหุ้นค้างชำระ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1119และ1120เมื่อได้ชำระเงินค่าหุ้นงวดแรกแล้วเงินค่าหุ้นยังค้างชำระอยู่อีกเท่าใดกรรมการมีอำนาจเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งชำระให้ครบถ้วนทีเดียวหรือจะแบ่งออกเป็นงวดให้ส่งเมื่อใดก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังดำรงอยู่เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่จะได้วินิจฉัยให้ทำอย่างอื่นเมื่อปรากฏว่าจำเลยยังค้างชำระเงินค่าหุ้นอีกหุ้นละ75บาทจำนวน4,500หุ้นดังนั้นกรรมการของโจทก์จึงมีอำนาจเรียกให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้นที่ยังค้างส่งเมื่อใดก็ได้แล้วแต่ดุลพินิจของกรรมการและปรากฏว่าโจทก์ได้เรียกเงินค่าหุ้นจากผู้ถือหุ้นคนอื่นด้วยแม้จำเลยได้ฟ้องกรรมการผู้จัดการของโจทก์ขอแบ่งเงินค่าตอบแทนจากโจทก์คดียังไม่ถึงที่สุดโจทก์จึงได้ฟ้องเรียกค่าหุ้นจากจำเลยเป็นคดีนี้ก็จะถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตกลั่นแกล้งฟ้องจำเลยไม่ได้เพราะเป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกฎหมาย ประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดเกี่ยวกับคำบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้นการริบหุ้นการขายทอดตลาดหุ้นและความรับผิดของจำเลยนั้นในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่าจำเลยไม่ได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ชำระเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระซึ่งโจทก์ได้แจ้งจำเลยล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า21วันหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้นพร้อมดอกเบี้ยและข้อแถลงถึงการริบหุ้นกับหนังสือบอกกล่าวถึงการริบหุ้นของจำเลยซึ่งโจทก์ได้ส่งให้จำเลยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามเอกสารหมายจ.1จ.2จ.3จึงต้องถือว่าจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวทั้ง3ฉบับแล้วจำเลยเพิกเฉยตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าถือได้ว่าโจทก์ได้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1121,1123,1124แล้วโจทก์จึงมีสิทธิริบหุ้นของจำเลยออกขายทอดตลาดได้ตามมาตรา1125 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1125บัญญัติแต่เพียงว่าหุ้นซึ่งริบแล้วให้เอาออกขายทอดตลาดโดยไม่ชักช้าเมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้โฆษณาบอกกล่าวขายทอดตลาดแล้วและโจทก์เป็นผู้ขายทอดตลาดหุ้นแม้ผู้เข้าสู้ราคาจะเป็นเครือญาติของกรรมการผู้จัดการของโจทก์ก็ไม่ได้ความว่าเป็นการกระทำแทนโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา512ที่ห้ามมิให้ผู้ขายเข้าสู้ราคาเองและไม่ปรากฏว่าโจทก์ขายทอดตลาดหุ้นของจำเลยโดยมีพฤติการณ์ไม่สุจริตอย่างไรจึงฟังได้ว่าโจทก์ได้ขายทอดตลาดหุ้นของจำเลยโดยชอบแล้วและเมื่อขายทอดตลาดได้เงินน้อยกว่าเงินค่าหุ้นและดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเอาจากจำเลยผู้ถือหุ้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1910/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีล้มละลายของผู้ถือหุ้น: กรณีกรรมการยักยอกเงิน
ปกติเมื่อกรรมการผู้ใดทำให้บริษัทเสียหาย บริษัทย่อมเป็นผู้ฟ้องเรียกให้กรรมการผู้นั้นชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัท ส่วนผู้ถือหุ้นจะเป็นผู้ฟ้องตามป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคแรก ต้องเป็นการฟ้องแทนหรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัทเฉพาะกรณีที่บริษัทไม่ยอมฟ้อง และเป็นการฟ้องเพื่อเรียกร้องเอาสินไหมทดแทนเท่านั้น
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่งของบริษัท ก.นำหนี้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำเลยในฐานะกรรมการบริษัท ก.ที่ยักยอกเงินของบริษัท ก.และต้องรับผิดต่อบริษัท ก.มาฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลาย หาใช่เป็นกรณีการฟ้องเพื่อเรียกร้องเอาสินไหมทดแทนจากจำเลยแทนหรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัท ก.ไม่ โจทก์ซึ่งเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของบริษัท ก.จึงมิได้อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่จะฟ้องจำเลยให้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 ได้
of 26