พบผลลัพธ์ทั้งหมด 110 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1456/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดูหมิ่นศาลและผู้พิพากษา, การใส่ความหมิ่นประมาท, และการเพิ่มเติมฟ้องในคดีอาญา
ขณะที่ ก. ผู้พิพากษานั่งพิจารณาคดีอยู่ จำเลยกำลังนั่งฟังอยู่ข้างนอก ได้พูดกับผู้อื่นว่า " ไม่นึกเลยว่าสำนวนนี้จะมาตกอยู่แก่คนๆ นี้" รูปการณ์เช่นนี้บ่งชัดว่าหมายถึงสำนวนเรื่องนั้นตกแก่ ก. ซึ่งกำลังนั่งพิจารณาอยู่นั้น และศาลจะต้องพิจารณาพฤติการณ์ตามที่โจทก์นำสืบประกอบคำกล่าวของจำเลยต่อไป จึงจะชี้ชัดถึงเจตนาของจำเลยได้ (แม้คำฟ้องจะมิได้บรรยายถึงพฤติการณ์ต่างๆเหล่านั้นก็ตาม) เมื่อเห็นเจตนาว่า ที่จำเลยกล่าวข้อความนั้นเพราะไม่พอใจที่เห็นสำนวนความเรื่องนั้นตกแก่ ก. ผู้ซึ่งจำเลยเห็นว่าเป็นผู้พิพากษาที่พิจารณาความด้วยอคติไม่ให้ความยุติธรรม จึงได้กล่าวตำหนิ ก. เป็นนัยเช่นนั้น อันมีความหมายไปในทางไม่ดี เป็นที่ระคายเคืองแก่ศักดิ์ศรีของ ก. การกระทำของจำเลยก็เป็นการดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาคดีตามมาตรา 198 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยทำโทรเลขและหนังสือกล่าวโทษ ก. ผู้พิพากษาไปยังอธิบดีฯภาค อันเป็นการใส่ความหมิ่นประมาท (ผิดตามมาตรา 326) นั้น ต้องถือว่าเป็นการดูหมิ่น ก. ผู้พิพากษาไปในขณะเดียวกันด้วยว่า พิจารณาคดีไม่เที่ยงธรรม แม้จะมิได้ทำในขณะที่ ก. ทำการพิจารณาคดีอยู่ก็ดีก็นับได้ว่าได้หมิ่นผู้พิพากษาในการพิจารณาคดี ต้องตามมาตรา 198ด้วย เมื่อเป็นความผิดตามมาตรา 198 แล้ว ก็ไม่เป็นผิดตามมาตรา 136 อีก เพราะกฎหมายบัญญัติแยกความผิดฐานดูหมิ่นผู้พิพากษากับดูหมิ่นเจ้าพนักงานอื่นทั่วๆ ไปไว้ต่างหากจากกัน จึงต้องปรับบทแยกกัน (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2506เฉพาะข้อกฎหมายข้างต้นนี้)
การที่จำเลยกล่าวโทษ ก. ไปนั้น ถือว่าเป็นกรรมเดียวเป็นผิดต่อกฎหมายหลายบทโทษตามมาตรา 198 หนักกว่ามาตรา 326 จึงลงโทษตามมาตรา 198 เพียงบทเดียว
การยื่นคำแถลงโต้แย้งคำสั่งในระหว่างพิจารณาเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์เมื่อมีคำพิพากษาแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) ไม่มีกำหนดเวลาว่าต้องยื่นภายหลังทราบคำสั่งแล้วเพียงใดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196 ก็มิได้บัญญัติให้ต้องโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาไว้อย่างใด ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้อง ศาลสั่งไม่อนุญาตโจทก์ก็ยังไม่ยื่นคำแถลงโต้แย้งหรือคัดค้านคำสั่งแล้ว โจทก์ยังยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องเช่นเดียวกับฉบับแรกอีกแล้วจึงยื่นคำแถลงโต้แย้งหรือคัดค้านคำสั่งศาลตามคำร้องฉบับแรก ดังนี้ โจทก์ก็ชอบที่จะทำได้ ศาลอุทธรณ์จึงรับวินิจฉัยคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องได้
แม้เมื่อได้สืบพยานโจทก์ไปมากแล้ว ก็ยังไม่พ้นเวลาที่โจทก์จะขอเพิ่มฟ้อง การที่โจทก์ขอเพิ่มเติมความในฟ้องว่า "ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวแล้ว"และเพิ่มมาตรา 326 แห่งประมวลกฎหมายอาญาลงในคำขอท้ายฟ้อง โดยอ้างว่าเป็นรายละเอียดที่ยังบกพร่องไม่ครบถ้วนเนื่องจากผู้พิมพ์ฟ้องพิมพ์ตกไป ดังนี้ เป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดและอ้างบทขอให้ลงโทษตามฐานความผิดที่ได้บรรยายไว้ในฟ้องมาแต่ต้นแล้วไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบหรือหลงต่อสู้คดี ชอบที่จะอนุญาตให้เพิ่มเติมได้
จำเลยทำโทรเลขและหนังสือกล่าวโทษ ก. ผู้พิพากษาไปยังอธิบดีฯภาค อันเป็นการใส่ความหมิ่นประมาท (ผิดตามมาตรา 326) นั้น ต้องถือว่าเป็นการดูหมิ่น ก. ผู้พิพากษาไปในขณะเดียวกันด้วยว่า พิจารณาคดีไม่เที่ยงธรรม แม้จะมิได้ทำในขณะที่ ก. ทำการพิจารณาคดีอยู่ก็ดีก็นับได้ว่าได้หมิ่นผู้พิพากษาในการพิจารณาคดี ต้องตามมาตรา 198ด้วย เมื่อเป็นความผิดตามมาตรา 198 แล้ว ก็ไม่เป็นผิดตามมาตรา 136 อีก เพราะกฎหมายบัญญัติแยกความผิดฐานดูหมิ่นผู้พิพากษากับดูหมิ่นเจ้าพนักงานอื่นทั่วๆ ไปไว้ต่างหากจากกัน จึงต้องปรับบทแยกกัน (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2506เฉพาะข้อกฎหมายข้างต้นนี้)
การที่จำเลยกล่าวโทษ ก. ไปนั้น ถือว่าเป็นกรรมเดียวเป็นผิดต่อกฎหมายหลายบทโทษตามมาตรา 198 หนักกว่ามาตรา 326 จึงลงโทษตามมาตรา 198 เพียงบทเดียว
การยื่นคำแถลงโต้แย้งคำสั่งในระหว่างพิจารณาเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์เมื่อมีคำพิพากษาแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) ไม่มีกำหนดเวลาว่าต้องยื่นภายหลังทราบคำสั่งแล้วเพียงใดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196 ก็มิได้บัญญัติให้ต้องโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาไว้อย่างใด ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้อง ศาลสั่งไม่อนุญาตโจทก์ก็ยังไม่ยื่นคำแถลงโต้แย้งหรือคัดค้านคำสั่งแล้ว โจทก์ยังยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องเช่นเดียวกับฉบับแรกอีกแล้วจึงยื่นคำแถลงโต้แย้งหรือคัดค้านคำสั่งศาลตามคำร้องฉบับแรก ดังนี้ โจทก์ก็ชอบที่จะทำได้ ศาลอุทธรณ์จึงรับวินิจฉัยคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องได้
แม้เมื่อได้สืบพยานโจทก์ไปมากแล้ว ก็ยังไม่พ้นเวลาที่โจทก์จะขอเพิ่มฟ้อง การที่โจทก์ขอเพิ่มเติมความในฟ้องว่า "ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวแล้ว"และเพิ่มมาตรา 326 แห่งประมวลกฎหมายอาญาลงในคำขอท้ายฟ้อง โดยอ้างว่าเป็นรายละเอียดที่ยังบกพร่องไม่ครบถ้วนเนื่องจากผู้พิมพ์ฟ้องพิมพ์ตกไป ดังนี้ เป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดและอ้างบทขอให้ลงโทษตามฐานความผิดที่ได้บรรยายไว้ในฟ้องมาแต่ต้นแล้วไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบหรือหลงต่อสู้คดี ชอบที่จะอนุญาตให้เพิ่มเติมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาทและดูหมิ่นเจ้าพนักงาน: การใส่ความต่อบุคคลที่ 3 และการดูหมิ่นผู้พิพากษา
หนังสือใส่ความผู้อื่นนั้น แม้จะส่งไปถึงนายกรัฐมนตรี เพียงคนเดียว ก็ถือว่าใส่ความต่อบุคคลที่ 3 ตามมาตรา 326 แห่ง ประมวลกฎหมายอาญา
เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา และได้ร่วมเป็นองค์คณะตัดสินคดีที่ทำให้จำเลยแพ้และจำเลยได้กล่าวข้อความซึ่งเป็นการดูหมิ่น โจทก์ในฐานะที่เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา ย่อมเป็นความผิดต่อมาตรา 198ประมวลกฎหมายอาญา
เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา และได้ร่วมเป็นองค์คณะตัดสินคดีที่ทำให้จำเลยแพ้และจำเลยได้กล่าวข้อความซึ่งเป็นการดูหมิ่น โจทก์ในฐานะที่เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา ย่อมเป็นความผิดต่อมาตรา 198ประมวลกฎหมายอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 758/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดูถูกเหยียดหยามผู้พิพากษาในหน้าที่ ถือเป็นความผิดหมิ่นประมาทเจ้าพนักงานตามมาตรา 116
การที่จำเลยกล่าวหมิ่นประมาทผู้พิพากษาว่า'อ้ายผู้พิพากษานี่ปรับกูหมื่นห้าพันได้กูจะต้องเตะมึง' ดังนี้เป็นการดูถูกเหยียดหยามพาดพิงถึงตำแหน่งราชการทำให้ผู้พิพากษาคนนั้นได้รับความอับอายเสียหาย จึงมีผิดฐานหมิ่นประมาทเจ้าพนักงานเพราะเหตุได้กระทำการตามหน้าที่ตาม มาตรา116
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจรับรองฎีกาของผู้พิพากษาที่ไม่นั่งพิจารณาคดี
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ซึ่งไม่ใช่ผู้ที่นั่งพิจารณาคดี และไม่ได้ลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งไว้ ย่อมไม่มีอำนาจรับรองฎีกาตาม ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 248.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจรับรองฎีกาของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลที่ไม่นั่งพิจารณาคดี
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ซึ่งไม่ใช่ผู้ที่นั่งพิจารณาคดีและไม่ได้ลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งไว้ ย่อมไม่มีอำนาจรับรองฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาหลังเจ้าของสิทธิถึงแก่กรรม และการอนุญาตฎีกาของผู้พิพากษาที่ย้ายศาล
ผู้พิพากษาซึ่งเคยนั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น แม้จะถูกย้ายไปอยู่ศาลอื่นก็ตาม ถ้าหากยังคงเป็นผู้พิพากษาอยู่ ก็ย่อมอนุญาตให้คู่ความในคดีนั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221
คดีของโจทก์มีพยานเอกสารมากมาย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าพยานบุคคลรับฟังไม่ได้ แม้มีพยานเอกสารมาเจือสมก็ไม่มีผลดีแก่คดีของโจทก์แล้ว ศาลอุทธรณ์จะไม่พิจารณาพยานเอกสารนั้นๆ ต่อไปก็ได้ ไม่เป็นการผิดกฎหมาย
คดีลักทรัพย์ ถ้าปรากฏว่าจำเลยได้กระทำผิดก่อนเจ้าทรัพย์ถึงแก่กรรมทายาทหรือผู้จัดการมรดกของเจ้าทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องร้องเพราะไม่ใช่ผู้เสียหาย
ฟ้องโจทก์ได้กล่าวหาว่าจำเลยปลอมหนังสือสัญญากู้และกระทำพยานหลักฐานเท็จตั้งแต่ระยะเวลาก่อนผู้เสียหายถึงแก่กรรมตลอดมาจนภายหลังถึงแก่กรรม คดีไม่อาจชี้ได้ว่าจำเลยกระทำผิดในระยะใด คดีไม่มีทางที่จะรู้ได้ว่าโจทก์จะมีอำนาจฟ้องได้หรือไม่ เช่นนี้ในชั้นฎีกาก็ไม่จำเป็นต้องพิจารณาข้อเท็จจริงต่อไป
ในข้อหาที่ว่าจำเลยอ้างหลักฐานเท็จในคดีแพ่ง คือหาว่าจำเลยอ้างสัญญากู้ที่จำเลยทำปลอมขึ้นโดยเจตนาจะใช้แทนสัญญากู้ฉบับที่จำเลยกู้เงินจากผู้ตาย ดังนี้เมื่อเป็นคดีที่จำเลยฟ้องร้องกันเองในคดีแพ่ง โจทก์ซึ่งเป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ย่อมไม่ใช่เป็นผู้เสียหายในคดีนั้นจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาในข้อหาฐานอ้างหลักฐานเท็จ
คดีของโจทก์มีพยานเอกสารมากมาย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าพยานบุคคลรับฟังไม่ได้ แม้มีพยานเอกสารมาเจือสมก็ไม่มีผลดีแก่คดีของโจทก์แล้ว ศาลอุทธรณ์จะไม่พิจารณาพยานเอกสารนั้นๆ ต่อไปก็ได้ ไม่เป็นการผิดกฎหมาย
คดีลักทรัพย์ ถ้าปรากฏว่าจำเลยได้กระทำผิดก่อนเจ้าทรัพย์ถึงแก่กรรมทายาทหรือผู้จัดการมรดกของเจ้าทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องร้องเพราะไม่ใช่ผู้เสียหาย
ฟ้องโจทก์ได้กล่าวหาว่าจำเลยปลอมหนังสือสัญญากู้และกระทำพยานหลักฐานเท็จตั้งแต่ระยะเวลาก่อนผู้เสียหายถึงแก่กรรมตลอดมาจนภายหลังถึงแก่กรรม คดีไม่อาจชี้ได้ว่าจำเลยกระทำผิดในระยะใด คดีไม่มีทางที่จะรู้ได้ว่าโจทก์จะมีอำนาจฟ้องได้หรือไม่ เช่นนี้ในชั้นฎีกาก็ไม่จำเป็นต้องพิจารณาข้อเท็จจริงต่อไป
ในข้อหาที่ว่าจำเลยอ้างหลักฐานเท็จในคดีแพ่ง คือหาว่าจำเลยอ้างสัญญากู้ที่จำเลยทำปลอมขึ้นโดยเจตนาจะใช้แทนสัญญากู้ฉบับที่จำเลยกู้เงินจากผู้ตาย ดังนี้เมื่อเป็นคดีที่จำเลยฟ้องร้องกันเองในคดีแพ่ง โจทก์ซึ่งเป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ย่อมไม่ใช่เป็นผู้เสียหายในคดีนั้นจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาในข้อหาฐานอ้างหลักฐานเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 611/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้พิพากษาลงนามคำพิพากษา = ผู้ทำคำพิพากษา แม้ไม่ได้นั่งพิจารณา
เมื่อกฎหมายให้ผู้พิพากษาลงนามในคำพิพากษาได้แล้วก็ย่อมเป็นผู้ทำคำพิพากษาได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 611/2489
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงในการพิพากษาคดี แม้มิได้นั่งพิจารณา
เมื่อกฎหมายให้ผู้พิพากษาลงนามในคำพิพากษาได้แล้วก็ย่อมเป็นผู้ทำคำพิพากษาได้ด้วย
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงนั้น แม้มิได้นั่งพิจารณาก็มีอำนาจพิพากษาคดีเพียงคนเดียวได้
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2489
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงนั้น แม้มิได้นั่งพิจารณาก็มีอำนาจพิพากษาคดีเพียงคนเดียวได้
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2489
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีอาญาโดยผู้พิพากษาน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด ทำให้คำพิพากษาเป็นโมฆะ
คดีอาญาซึ่งอัตราโทษ+างสูงในกฎหมายกำหนด+ให้จำคุกเกินกว่า 3 ปี พิพากษาศาลชั้นต้นนายเดียวพิพากษาคดีนั้นมิได้ +คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีเกินอำนาจตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความใช้ถ้อยคำไม่เคารพ หมิ่นประมาทผู้พิพากษาในคำร้องคดี ถือผิดมรรยาททนายความ
ทนายความเขียนคำร้องคำแถลงว่า ผู้พิพากษาที่เซ็นสั่งมีสาเหตุกับตัวทนายแลว่าเขียนคำพิพากษาไม่ถูกต้องกับความจริงนั้นเป็นการใช้ถ้อยคำไม่เคารพแลหมิ่นประมาทผู้พิพากษา ต้องห้ามตามข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2458 ข้อ 1