คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้รับโอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 363 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6663/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ขาดตอนเมื่อเจ้าของเดิมขายให้ผู้ซื้อโดยสุจริต ทำให้ผู้ครอบครองปรปักษ์ไม่อาจอ้างสิทธิยันผู้รับโอนต่อมาได้
โจทก์อ้างว่าได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทของว. จนได้กรรมสิทธิ์แล้วแต่โจทก์มิได้ดำเนินการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนต่อมาค.ซื้อที่ดินพิพาทจากว. เมื่อไม่ปรากฏว่าได้ซื้อมาโดยสุจริตหรือไม่อย่างไรก็ย่อมเป็นไปตามข้อสันนิษฐานอันเป็นคุณต่อค. ผู้ซื้อว่ากระทำการโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6ถือว่าค. ซื้อที่ดินพิพาทจากว. โดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้วโจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิการครอบครองปรปักษ์ขึ้นใช้ยันค. ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1299วรรคสองหลังจากนั้นจำเลยได้รับโอนที่ดินพิพาทจากค. จำเลยจะรับโอนโดยสุจริตหรือไม่อย่างไรโจทก์ผู้ครอบครองปรปักษ์ก็ไม่อาจยกสิทธิของตนขึ้นใช้ยันจำเลยผู้รับโอนต่อมาได้เพราะสิทธิของโจทก์ผู้ครอบครองปรปักษ์ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่ผู้รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริตคนแรกแม้โจทก์จะยังคงครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาแต่การครอบครองในช่วงหลังที่ค. และจำเลยรับโอนกรรมสิทธิ์มายังไม่ครบ10ปีก็จะถือว่าการครอบครองปรปักษ์ต่อจำเลยครบเวลาได้กรรมสิทธิ์แล้วไม่ได้คดีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากค. โดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6190/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่า ผู้รับโอนไม่ต้องรับผิดชอบเงินประกันที่ไม่ใช่สาระสำคัญ
จำเลยวางเงินประกันการเช่าอาคารไว้แก่ผู้ให้เช่าเดิมการคืนเงินประกันให้จำเลยเมื่อมีการเลิกการเช่าเป็นเพียงสิทธิ และหน้าที่อื่นตามสัญญาเช่า ไม่ใช่สาระสำคัญเกี่ยวกับสัญญาเช่าจึงไม่ใช่หน้าที่ตามสัญญาเช่าที่โจทก์ในฐานะผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ให้เช่าจะต้องรับผิด โจทก์จึงไม่จำต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 วรรคสองที่จะต้องคืนเงินประกันให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5237/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างเหมา: สิทธิตกเป็นของผู้รับโอนก่อนอายัด
เงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างที่องค์การสุรา กรมสรรพสามิตจะต้องจ่ายให้แก่จำเลยเป็นสิทธิเรียกร้องที่พึงโอนให้แก่กันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 303จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยในเงินจำนวนดังกล่าวไปยังผู้ร้องก่อนวันที่จำเลยจะทำสัญญาว่าจ้างโจทก์และก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดไปยังองค์การสุรากรมสรรพสามิตถึงสองปีเศษ ทั้งการโอนสิทธิเรียกร้องได้ปฏิบัติครบถ้วนและถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 แล้ว สิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินค่าจ้างเหมาได้ตกเป็นของผู้ร้องและขาดจากการเป็นสิทธิหรือทรัพย์สินของจำเลยแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลอายัดเงินจำนวนดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5237/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างเหมาก่อสร้าง: สิทธิเรียกร้องตกเป็นของผู้รับโอนก่อนถูกอายัด
เงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างที่องค์การสุรากรมสรรพสามิตจะต้องจ่ายให้แก่จำเลยเป็นสิทธิเรียกร้องที่พึงโอนให้แก่กันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา303จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยในเงินจำนวนดังกล่าวไปยังผู้ร้องก่อนวันที่จำเลยจะทำสัญญาว่าจ้างโจทก์และก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดไปยังองค์การสุรากรมสรรพสามิตถึงสองปีเศษทั้งการโอนสิทธิเรียกร้องได้ปฏิบัติครบถ้วนและถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306แล้วสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินค่าจ้างเหมาได้ตกเป็นของผู้ร้องและขาดจากการเป็นสิทธิหรือทรัพย์สินของจำเลยแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลอายัดเงินจำนวนดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4835-4836/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน, การยกที่ดินให้สร้างวัด, และสิทธิในการฟ้องขับไล่ของผู้รับโอน
การขออนุญาตสร้างวัดเป็นเรื่องการแสดงเจตนาของบุคคลที่ประสงค์จะสร้างวัดและเป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุคคลไม่ใช่เกิดจากนิติกรรมหรือกฎหมายจึงไม่อาจบังคับให้บุคคลไปขออนุญาตสร้างวัดได้ กฎกระทรวงฉบับที่1(พ.ศ.2507)ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์พ.ศ.2505มาตรา6,32หมายความว่าบุคคลใดประสงค์จะให้ที่ดินเพื่อสร้างวัดต้องทำสัญญากับนายอำเภอและเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอท้องที่ที่จะสร้างวัดและเมื่อทางราชการอนุญาตให้ตั้งวัดแล้วก็ต้องโอนที่ดินให้แก่วัดหากไม่ดำเนินการนายอำเภอและเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องบังคับให้โอนได้ส่วนการกล่าวด้วยวาจายกที่ดินให้สร้างวัดหามีผลอย่างใดไม่เมื่อโจทก์ที่2และที่3ไม่ได้ทำหนังสือสัญญายกที่ดินให้สร้างวัดกับนายอำเภอและเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอที่ดินดังกล่าวยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่2ซึ่งมีสิทธิโดยสมบูรณ์ที่จะโอนขายให้แก่โจทก์ที่1ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3280/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: การโอนที่ดินโดยผู้ไม่มีสิทธิทำให้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิที่ดีกว่าผู้โอน
โจทก์ทั้งสามฟ้องว่า โจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 2239 โดยสืบสิทธิครอบครองมาหลายทอดจาก ล.เจ้าของเดิม จำเลยที่ 1และที่ 2 ขอให้ศาลตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของ ล.โดยอ้างว่าที่ดินตาม น.ส.3 ก.ดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกของ ล.เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ขอแบ่งที่ดินตาม น.ส.3 ก. แปลงนั้นออกเป็น 7 ส่วน และโอนขายที่ดินที่แบ่งแยกออกเป็น น.ส.3 ก. เลขที่ 3145เนื้อที่ 8 ไร่ ให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 และโอนขายที่ดินที่แบ่งแยกออกเป็นน.ส.3 ก. เลขที่ 3146 เนื้อที่ 4 ไร่ ให้แก่จำเลยที่ 5 โดยจำเลยที่ 3 ที่ 4และที่ 5 ทราบดีว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์ทั้งสาม ขอให้พิพากษาว่าที่ดินทั้งหมดเป็นสิทธิของโจทก์ทั้งสาม และเพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 และกับจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นการฟ้องเรียกคืนทรัพย์สินจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ และที่ดินที่โจทก์ทั้งสามเรียกคืนจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 เนื้อที่ 8 ไร่ ราคาไม่เกิน50,000 บาท และเรียกคืนจากจำเลยที่ 5 เนื้อที่ 4 ไร่ ราคาไม่เกิน 50,000 บาทเช่นกัน คดีของโจทก์ทั้งสามกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 และกับจำเลยที่ 5 จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้ถือตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247
เมื่อที่พิพาทแปลง น.ส.3 ก. เลขที่ 2239 ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ล. จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ล.ก็ไม่มีอำนาจขอแบ่งแยกที่พิพาทแปลงนี้ออกเป็น น.ส.3 ก. เลขที่ 3145 และ 3146 และไม่มีอำนาจโอนขายที่ดิน น.ส.3 ก. เลขที่ 3145 ให้แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 และโอนขายที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 3146 ให้แก่จำเลยที่ 5 จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ผู้รับโอนจึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้โอนซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินดังกล่าว และย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ในกรณีเช่นนี้แม้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5เข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวก็ต้องถือว่าเป็นการครอบครองแทนโจทก์ทั้งสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท: การได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผลกระทบต่อผู้รับโอน
ห. เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมิได้ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องและนำสืบพยานหลักฐานเท็จต่อศาลชั้นต้นในคดีแพ่งว่าได้ครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งแสดงว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1คดีถึงที่สุด คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีที่มีผลเป็นอย่างเดียวกับคำพิพากษาและเป็นคดีฝ่ายเดียวโจทก์ในฐานะทายาทของ ห. มิได้เป็นคู่ความในคดีนั้น จึงเป็นบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิพิสูจน์ได้ว่ามีสิทธิดีกว่าจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 การที่จำเลยที่ 1โอนที่ดินพิพาทที่ตนไม่มีกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่ 2 จึงไม่ก่อให้เกิดกรรมสิทธิ์ขึ้นมาเป็นของจำเลยที่ 2 ผู้รับโอน แม้จำเลยที่ 2จะเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตก็ตามจำเลยที่ 2 ก็ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามกฎหมายอันจะอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 มาต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ ห. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินหลังการขอให้ล้มละลาย สิทธิผู้รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ดอกเบี้ยผิดนัด
ผู้คัดค้านที่3และที่4ซึ่งรับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทจากผู้คัดค้านที่1จะอ้างว่าได้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนต่อเมื่อได้รับโอนมาก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯมาตรา116เมื่อรับโอนมาภายหลังมีการขอให้จำเลยล้มละลายแล้วไม่ว่าผู้คัดค้านที่3และที่4จะได้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทเพียงครึ่งหนึ่งเฉพาะส่วนของจำเลยย่อมเป็นผลให้ทรัพย์สินดังกล่าวเฉพาะส่วนของจำเลยกลับคืนเป็นของจำเลยทันทีนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนผู้คัดค้านที่1ที่3และที่4ต้องชดใช้ราคาแทนในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนหากทรัพย์สินนั้นไม่สามารถโอนกลับคืนมาได้และหากไม่ชำระราคาต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนผู้ร้องจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในราคาที่ต้องใช้แทนนับแต่วันดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายต่างตอบแทน: สิทธิของผู้รับโอนที่ดินเมื่อไม่มีการแปลงหนี้ใหม่ และนิติสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญา
สัญญาจะซื้อขายระหว่างจำเลยที่1และจำเลยที่3เป็นสัญญาต่างตอบแทนผู้จะซื้อเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ผู้จะซื้อจะโอนสิทธิของตนตามบทบัญญัติของการโอนสิทธิเรียกร้องธรรมดาไม่ได้ต้องทำเป็นแปลงหนี้ใหม่มีผู้จะขายเข้ามาเป็นคู่สัญญากับผู้รับโอนด้วยผู้รับโอนจึงจะมีสิทธิฟ้องบังคับผู้จะขายได้เมื่อไม่มีการแปลงหนี้ใหม่โจทก์ผู้รับโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายจากจำเลยที่1ก็ไม่อาจฟ้องบังคับจำเลยที่3ผู้จะขายได้เพราะมีมีนิติสัมพันธ์ต่อกันเมื่อโจทก์ผู้รับโอนไม่อาจฟ้องจำเลยที่3ผู้จะขายได้และจำเลยที่1ก็มิได้มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินที่จะขอจดทะเบียนโอนที่ดินได้จึงไม่อาจบังคับจำเลยที่1ให้ร่วมกับจำเลยที่3จดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291-1292/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมที่ดินจัดสรร: ผู้รับโอนต้องผูกพันตามภารจำยอมเดิม แม้มีการแบ่งแยกโฉนด
จำเลยที่4ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมาในขณะที่ติดภารจำยอมเป็นถนนในหมู่บ้านจัดสรรและสระว่ายน้ำซึ่งเป็นภารจำยอมที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายเป็นทรัพยสิทธิที่ติดไปกับตัวทรัพย์และผูกพันแก่บุคคลที่เป็นเจ้าของภารยทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1387แม้ที่ดินที่เป็นถนนจะถูกแยกไปภารจำยอมก็ยังคงมีอยู่ทุกส่วนที่แยกออกจำเลยที่4ในฐานะผู้รับโอนก็ต้องรับภารจำยอมที่แต่เดิมมีอยู่ไปด้วยทั้งต้องบำรุงรักษาให้คงสภาพตลอดไปตามมาตรา1394และประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286ข้อ30จำเลยที่4จะอ้างว่าได้รับโอนไปโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริตเพื่อให้พ้นความรับผิดดังกล่าวหาได้ไม่ การจัดสรรตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286หมายความว่าการจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่10แปลงขึ้นไปไม่ว่าด้วยวิธีใดจึงไม่จำเป็นว่าที่ดินที่นำมาจัดสรรต้องเป็นแปลงเดียวกันและต้องเป็นของบุคคลคนเดียวกัน จำเลยที่1และที่2ได้ร่วมกันจัดสรรที่ดินมีจำนวนตั้งแต่10แปลงขึ้นไปต้องตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286แม้จะมีการโอนที่ดินโฉนดหนึ่งซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดสรรที่ดินให้แก่จำเลยที่3ในภายหลังและจำเลยที่3ได้จัดการแบ่งที่ดินเป็นแปลงย่อย8แปลงแล้วขายที่ดิน1แปลงที่สร้างโรงรถกับโอนสระว่ายน้ำให้จำเลยที่4ในเวลาต่อมาก็ไม่ทำให้ที่ดินที่เป็นโรงรถและสระว่ายน้ำนั้นไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวและคงเป็นภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์เมื่อจำเลยที่4ได้สร้างโรงรถบนที่ดินภารจำยอมอันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงถือว่าจำเลยที่4ทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420
of 37