คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พนักงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 132 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สภาพการจ้างพนักงานฝ่ายจัดการ, การลาออกโดยสมัครใจ, และการสละสิทธิเรียกร้องผลประโยชน์จากนายจ้าง
กฎและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ให้จำเลยจ่ายบำเหน็จและเป็นผู้ออกภาษีเงินได้ส่วนบุคคลให้นั้นระบุไว้ชัดเจนว่าสำหรับพนักงานประจำที่มิใช่ฝ่ายจัดการโจทก์เป็นพนักงานฝ่ายจัดการจะนำข้อบังคับนี้มาใช้ไม่ได้จึงไม่อาจอ้างสิทธิว่าจำเลยจะต้องออกภาษีเงินได้ให้จากข้อบังคับนี้ เงินสมทบกองทุนเงินสะสมเป็นข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างกฎหมายแรงงานมิได้บังคับให้ปฏิบัติโจทก์จำเลยมีสิทธิตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้หาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่เมื่อโจทก์ทำบันทึกขณะลาออกจากงานว่านอกจากเงินตอบแทนที่จำเลยให้โจทก์แล้วโจทก์จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเงินหรือผลประโยชน์อื่นใดจากจำเลยอีกโจทก์จึงต้องผูกพันตามเอกสารนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณภาษีเงินได้หักณที่จ่ายสำหรับพนักงานที่เข้าทำงานระหว่างปี: เกณฑ์การคำนวณจากเงินได้ที่ได้รับจริง
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา39เงินได้อันจะนำมาคำนวณภาษีนั้นไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นก็ต้องเป็นสิ่งที่ผู้มีเงินได้ได้รับมาแล้ว. การคำนวณภาษีเงินได้หักณที่จ่ายกฎหมายมุ่งประสงค์ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินหักภาษีไว้เท่าจำนวนที่ผู้มีเงินได้จะต้องเสียเท่านั้นคือต้องคำนวณจากเงินได้ที่ผู้มีเงินได้รับแล้วหรือเป็นที่แน่ชัดว่าควรจะได้รับต่อไปจนถึงเดือนสุดท้ายของปีเท่านั้นดังนั้นวิธีคำนวณภาษีเงินได้หักณที่จ่ายสำหรับผู้มีเงินได้ที่เข้าทำงานระหว่างปีที่ถูกต้องคือให้นำเงินเดือนเริ่มตั้งแต่เดือนที่จ่ายคำนวณล่วงหน้าจนถึงสิ้นปีเป็นเงินได้พึงประเมินสำหรับคำนวณภาษีตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้แล้วหารด้วยจำนวนเดือนที่จ่ายหักไว้เป็นภาษีแต่ละเดือน. ฟ้องของโจทก์ขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยเฉพาะ2รายการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินยืมทดรองจ่ายของพนักงานเพื่อประโยชน์ขององค์กร ไม่เข้าลักษณะสัญญาเงินยืม พนักงานไม่ต้องรับผิดคืน
โจทก์ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย การวินิจฉัยปัญหาเช่นว่านี้ ศาลฎีกาจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 640 และมาตรา 650 ลักษณะ 9 เรื่องยืม เป็นกรณีที่ผู้ให้ยืมให้ผู้ยืมใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมเพื่อประโยชน์ของผู้ยืมหาใช่เพื่อประโยชน์ของผู้ให้ยืมไม่ การที่โจทก์ผู้ให้ยืมให้จำเลยยืมเงินไปเป็นการทดรองเพื่อให้จำเลยนำไปใช้สอยในกิจการของโจทก์เป็นประโยชน์ของโจทก์ผู้ให้ยืมเอง รูปเรื่องจึงปรับเข้าด้วยลักษณะ 9 เรื่องยืมแห่งบทบัญญัติกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยจึงผูกพันกันในลักษณะอื่นโดยเฉพาะ ต้องพิจารณาเจตนารมณ์ระหว่างคู่กรณีมุ่งผูกพันกันแค่ไหนอย่างไร การที่จำเลยลงชื่อในใบยืมเงินทดรองของโจทก์นั้นได้กระทำไปโดยตำแน่งหน้าที่ของจำเลยในฐานะพนักงานของโจทก์ในขอบเขตแห่งหน้าที่ของตนตามระเบียบแบบแผนของโจทก์ที่วางไว้เพื่อใช้ดำเนินงานของโจทก์โดยมอบให้ จ.ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของโจทก์ไปดำเนินการต่อไปเพื่อให้งานของโจทก์ดำเนินไปโดยเรียบร้อย แม้จะมีข้อบังคับให้ผู้ยืมต้องนำใบสำคัญคู่จ่ายที่ถูกต้องพร้อมทั้งเงินที่เหลือจ่ายส่งใช้แก่โจทก์ตามกำหนด ก็เป็นเรื่องกำหนดความรับผิดชอบของผู้ยืมไว้เป็นการเฉพาะเป็นหลักปฏิบัติงานในหน่วยงานของโจทก์เมื่อจำเลยมิได้อยู่ในฐานะของผู้ยืมตามกฎหมาย แต่เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่โดยชอบจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดคืนเงินรายพิพาทแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2903/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายจากพนักงานที่ยักยอกทรัพย์สิน และการรับสภาพหนี้
วัสดุที่ขาดบัญชีอยู่ในครอบครองและรับผิดชอบของจำเลย หากจำเลยยักย้ายเอาทรัพย์สินของโจทก์ไปโจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336การที่โจทก์ขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ไม่ใช่เรื่องละเมิด จึงไม่มีอายุความในการฟ้องคดี เมื่อจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์ การที่รองผู้ว่าการไฟฟ้านครหลวงทำบันทึกให้จำเลยกับ ฉ. ร่วมกันชดใช้ราคาของที่หายและจำเลยเซ็นชื่อรับทราบคำสั่งในบันทึกดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับผิดตามบันทึกเพราะจำเลยเพียงแต่เซ็นชื่อรับทราบคำสั่งของรองผู้ว่าการไฟฟ้านครหลวงเท่านั้นโจทก์จะฟ้องร้องบังคับคดีให้จำเลยรับผิดตามบันทึกไม่ได้ และถือไม่ได้ว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับความเสียหายดังกล่าวตั้งหลักฐานขึ้นโดยประนีประนอมยอมความการที่จำเลยผ่อนชำระเงินให้โจทก์เป็นการรับสภาพต่อเจ้าหนี้ด้วยใช้เงินบางส่วน เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงเท่านั้น โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการจัดหาจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า หรือประกอบธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้ามิใช่บุคคลผู้เป็นพ่อค้าน้ำมันเบนซิน สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการที่จะเรียกเอาค่าน้ำมันเบนซินจากจำเลยจึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ต้องกระทำแก่เจ้าหนี้หรือผู้มีอำนาจ การชำระให้พนักงานไม่มีผลผูกพัน
การชำระหนี้จะต้องกระทำให้แก่ตัวเจ้าหนี้หรือบุคคลผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้
ท. เป็นเพียงพนักงานฝ่ายขายของโจทก์ มีหน้าที่เพียงนำรถยนต์ที่จำเลยสั่งซื้อทะเบียนและเอกสารต่างๆ ไปส่งมอบให้แก่จำเลยเท่านั้นไม่มีหน้าที่เก็บเงินหรือรับชำระหนี้แทนโจทก์ท. จึงมิใช่ผู้ที่มีอำนาจรับชำระหนี้แทนโจทก์การที่จำเลยชำระหนี้ค่ารถยนต์ให้แก่ ท. จึงไม่ถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบ ภาพถ่ายจากต้นฉบับใบเสร็จรับเงินซึ่งเก็บรักษาไว้ที่กองทะเบียนซึ่งท. นำไปขอเก็บเงินจากจำเลยก็มิใช่ใบเสร็จตามนัยของมาตรา 318 จึงถือได้ว่าจำเลยยังไม่ได้ชำระหนี้ค่ารถยนต์แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจอดรถไม่ใช่ค่าจ้าง: การจ่ายเหมาเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน
โจทก์ต้องเสียค่าจอดรถในการออกปฏิบัติงาน แม้จำเลยจะจ่ายค่าจอดรถให้โจทก์ประจำเป็นรายเดือน ก็เพราะค่าจอดรถเป็นรายจ่ายปลีกย่อยไม่สะดวกที่จะจ่ายตามความเป็นจริง เห็นได้ว่าเป็นการจ่ายเหมาเพื่อชดเชยการที่โจทก์ต้องเสียค่าจอดรถไป ค่าจอดรถจึงไม่เป็นค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3031/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินสมทบของพนักงาน: สิทธิในเงินสมทบและดอกเบี้ยยังเป็นของจำเลย แม้มีการตกลงนำฝากเข้าบัญชี
เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระบุชัดว่าให้จำเลยนำเงินสมทบเข้าฝากธนาคารในบัญชีเงินฝากสะสมของพนักงาน ซึ่งจำเลยได้ฝากเงินสะสมไว้ที่ธนาคาร ช. ในบัญชีเงินสำรองเลี้ยงชีพจำเลยก็ต้องฝากเงินสมทบเข้าบัญชีดังกล่าวที่ธนาคาร ช. จะฝากในนามจำเลยหรือฝากที่ธนาคารอื่นหาได้ไม่ และเมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเพียงแต่ให้จำเลยนำเงินสมทบเข้าฝากธนาคารเท่านั้น ข้อกำหนดอื่นจึงคงเป็นไปตามระเบียบเดิมที่กำหนดให้จำเลยจ่ายเงินสมทบแก่พนักงานเมื่อลาออกหรือเกษียณอายุ พนักงานที่ถูกลงโทษปลดออกไม่มีสิทธิได้รับเงินนี้ดังนั้น เงินสมทบจะตกเป็นของพนักงานเมื่อออกจากงานแล้วสิทธิในเงินสมทบยังเป็นของจำเลย ดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวจึงเป็นของจำเลย หาใช่เป็นของพนักงานไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพนักงานยักยอกเงินค่าธรรมเนียมไปรษณีย์ การกำหนดกระทงความผิดและบทลงโทษ
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำแหน่งนายไปรษณีย์โทรเลขอำเภอฝางและเป็นพนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้รับเอาเงินค่าธรรมเนียมฝากส่งจดหมายแต่ละวันเป็นเวลา 7 วัน รวม 7ครั้งไว้โดยมิได้ปิดตราไปรษณียากรที่ซองจดหมายหรือมิได้จ่ายตราไปรษณียากรให้ผู้ฝากปิดเองตามระเบียบ แล้วเบียดบังเงินค่าธรรมเนียมและกักจดหมายดังกล่าวแต่ละวันไว้ เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยยักยอกเอาเงินดังกล่าวแต่ละครั้งแต่ละวันไปอันเป็นความผิดหลายกรรมรวม 7 กรรม เมื่อพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 มาตรา15 บัญญัติให้พนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้น จึงถือได้ว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 จะปรับบทลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 หาได้ไม่ และเมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา147 แล้ว ก็ไม่จำต้องปรับบทด้วยมาตรา 157 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2794/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษตามข้อบังคับธนาคารอาคารสงเคราะห์ แม้ผู้กู้พ้นสภาพการเป็นพนักงาน โจทก์ไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยโดยไม่ได้รับความยินยอม
เดิมจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์โดยเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ12 ต่อปีต่อมาจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของโจทก์ได้เข้าเป็นลูกหนี้ร่วมและได้สิทธิลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือร้อยละ 8 ต่อปี ตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ เมื่อข้อบังคับดังกล่าวและบันทึกต่อท้ายสัญญากู้เงินกับสัญญาจำนองมิได้กำหนดให้สิทธิโจทก์ที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 8 ต่อปีเพราะเหตุที่จำเลยที่ 2 พ้นสภาพการเป็นพนักงานโจทก์ให้ออกจากงานแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยโดยจำเลยมิได้ยินยอม และการที่จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 8 ต่อปีโดยไม่ยอมชำระร้อยละ 12 ต่อปีจึงไม่เป็นการผิดสัญญาและไม่เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงตามพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 มาตรา 31 (ข)โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระจากจำเลยคืนทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2794/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการลดอัตราดอกเบี้ยตามข้อบังคับธนาคาร กรณีผู้กู้พ้นสภาพการเป็นพนักงาน ธนาคารไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยโดยไม่ได้รับความยินยอม
เดิมจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์โดยเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ12 ต่อปี ต่อมาจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของโจทก์ได้เข้าเป็นลูกหนี้ร่วมและได้สิทธิลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือร้อยละ 8 ต่อปีตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ เมื่อข้อบังคับดังกล่าวและบันทึกต่อท้ายสัญญากู้เงินกับสัญญาจำนองมิได้กำหนดให้สิทธิโจทก์ที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 8 ต่อปีเพราะเหตุที่จำเลยที่ 2 พ้นสภาพการเป็นพนักงานโจทก์ให้ออกจากงานแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยโดยจำเลยมิได้ยินยอม และการที่จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 8 ต่อปีโดยไม่ยอมชำระร้อยละ 12 ต่อปี จึงไม่เป็นการผิดสัญญาและไม่เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงตามพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 มาตรา 31(ข) โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระจากจำเลยคืนทั้งหมด
of 14