คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พยาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 670 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6654/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ถามค้านพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 89 วรรคแรก (ข) ต้องเกี่ยวข้องกับการกระทำของผู้ที่ถึงแก่ความตาย
กรณีที่คู่ความซึ่งมีหน้าที่นำสืบพยานภายหลังต้องถามค้านพยานของฝ่ายที่นำสืบก่อนไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 89 วรรคแรก (ข) นั้น หมายความว่าเพื่อพิสูจน์ข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งอันเกี่ยวด้วยการกระทำหรือถ้อยคำหรือหนังสือซึ่งพยานที่มาเบิกความได้กระทำขึ้น ดังนั้น พยานที่รับเงินสดจากโจทก์ที่ธนาคาร ก. สาขาบางโพ ก็คือนาย ว. แต่คดีนี้นาย ว. มิได้มาเบิกความเป็นพยานเนื่องจากถึงแก่ความตายไปก่อน ส่วนพยานจำเลยปากอื่นก็มิได้รู้เห็นเกี่ยวข้องกับการชำระเงินสดของนาย ว. ทั้งตัวจำเลยก็มิได้มาเบิกความต่อศาล จึงมิใช่กรณีที่โจทก์ต้องถามค้านพยานไว้ก่อนตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6526/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงและข้อห้ามการนำสืบพยานเพิ่มเติม
แม้โจทก์จะฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องเกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท แต่ประเด็นข้อพิพาทในเรื่องขับไล่ได้ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว คงพิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเฉพาะค่าเช่าเท่านั้น เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 มีสิทธินำสืบว่า โจทก์ไม่จัดการแก้ไขปรับปรุงเครื่องปรับอากาศภายในอาคารพิพาท และไม่ขับไล่แผงลอยหน้าอาคารตามข้อตกลงขณะทำสัญญาได้นั้น เมื่อข้อตกลงเรื่องจัดการซ่อมแซมเครื่องปรับอากาศและจัดการเรื่องแผงลอยไม่มีระบุในสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์การที่จำเลยที่ 1 นำสืบพยานบุคคลว่ามีข้อตกลงดังกล่าวจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข) เพราะเป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6526/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องทุนทรัพย์และข้อห้ามนำสืบพยานเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงสัญญา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องเกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทแต่ประเด็นข้อพิพาทในเรื่องขับไล่ได้ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วคงพิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเฉพาะค่าเช่าเท่านั้นเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาในส่วนของค่าเช่าไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง ข้อตกลงเรื่องจัดการซ่อมแซมเครื่องปรับอากาศและจัดการขับไล่แผงลอยหน้าอาคารที่เช่าไม่มีระบุในสัญญาเช่าอาคารซึ่งเป็นสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ฉะนั้นการที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่ามีข้อตกลงดังกล่าวจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)เพราะเป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6290/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมพิมพ์ลายนิ้วมือ: การรับรองลายพิมพ์นิ้วมือโดยพยาน
พินัยกรรมมีข้อความว่า ผู้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินที่มีอยู่ในขณะทำพินัยกรรม และที่จะมีขึ้นภายหน้าให้เป็นกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิแก่ผู้คัดค้านแต่เพียงผู้เดียว และผู้ทำพินัยกรรมได้พิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าพยานทั้งหมด 3 คน แม้ลายมือชื่อของพยานดังกล่าวจะไม่ได้ระบุว่าเป็นผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ทำพินัยกรรมไว้ด้วยก็ตาม พยานผู้ลงลายมือชื่อดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ทำพินัยกรรมด้วย และย่อมสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5966/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานให้การเท็จช่วยเหลือจำเลย, ความผิดฐานให้การเท็จ
จำเลยที่ 3 ทราบว่าโจทก์ทั้งสองไม่ได้กระทำผิดฐานฉ้อโกงและยักยอกทรัพย์ แต่กลับมาให้การเป็นพยานด้วยข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวนเพื่อช่วยเหลือจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 592/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าโดยความยินยอมต้องมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อยสองคน หากไม่ครบถ้วน ฟ้องบังคับหย่าไม่ได้
ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ปรากฎว่าหนังสือที่โจทก์จำเลยสมัครใจจะหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาโดยจะไปจดทะเบียนหย่าที่สำนักงานเขตต่อไปนั้นมีพยานลงลายมือชื่อเพียงคนเดียวจึงไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1514วรรคสองโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยให้หย่าขาดจากโจทก์ตามหนังสือดังกล่าวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 584/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยที่อ้างตนเองเป็นพยาน ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายเรียกตนเอง และไม่ได้รับค่าป่วยการ/พาหนะ
จำเลยที่ 3 อ้างตนเองเป็นพยาน จึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลออกหมายเรียกตนเองมาเป็นพยานได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 106 แม้ตามคำขอให้ศาลออกหมายเรียกจะระบุว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขอแต่เพียงผู้เดียว แต่คำขอก็ระบุรวม ๆ กันว่า ขอให้หมายเรียกพยานจำเลยซึ่งทนายจำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงชื่อในคำร้อง และจำเลยที่ 3 ก็เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 3 มาศาลจึงไม่ใช่พยานซึ่งมาศาลตามหมายเรียกศาลไม่มีอำนาจกำหนดให้จำเลยที่ 3 ได้รับค่าป่วยการและค่าพาหนะตามตาราง 4ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ค่าป่วยการและค่าพาหนะที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จ่ายให้แก่จำเลยที่ 3 จึงไม่ใช่ค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคสอง โจทก์ทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 584/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกความตนเองของจำเลยในฐานะพยาน: สิทธิในการเบิกค่าป่วยการและค่าพาหนะ
จำเลยที่3อ้างตนเองเป็นพยานจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลออกหมายเรียกตนเองมาเป็นพยานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา106แม้ตามคำขอให้ศาลออกหมายเรียกจะระบุว่าจำเลยที่1เป็นผู้ขอแต่เพียงผู้เดียวแต่คำขอก็ระบุรวมๆกันว่าขอให้หมายเรียกพยานจำเลยซึ่งทนายจำเลยที่3เป็นผู้ลงชื่อในคำร้องและจำเลยที่3ก็เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาจำเลยที่1การที่จำเลยที่3มาศาลจึงไม่ใช่พยานซึ่งมาศาลตามหมายเรียกศาลไม่มีอำนาจกำหนดให้จำเลยที่3ได้รับค่าป่วยการและค่าพาหนะตามตาราง4ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งค่าป่วยการและค่าพาหนะที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จ่ายให้แก่จำเลยที่3จึงไม่ใช่ค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา161วรรคสองโจทก์ทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ให้แก่จำเลยที่1และที่3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5600/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดนายจ้างต่อความเสียหายจากรถยนต์, การแปลเลขทะเบียน, และการนำสืบพยาน
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่าจำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุและเป็นนายจ้างหรือตัวการที่ใช้ให้ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยขับรถยนต์คันเกิดเหตุเพื่อผลประโยชน์ของจำเลย และลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยได้ขับรถด้วยความประมาทชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย จำเลยในฐานะนายจ้างหรือตัวการต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้น คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ส่วนคนขับรถยนต์คันเกิดเหตุจะเป็นใครชื่ออะไร หรือมีรูปพรรณสัณฐานอย่างไรเป็นรายละเอียดไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ เมื่อรถยนต์คันเกิดเหตุเป็นของจำเลย จำเลยในฐานะนายจ้างหรือตัวการย่อมต้องรับผิดอยู่แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าจะอ้างกรมธรรม์ประกันภัยต่อศาลในชั้นพิจารณา โจทก์มิได้ส่งสำเนากรมธรรม์ประกันภัยมาท้ายฟ้องด้วย ดังนั้นคำให้การของจำเลยที่ว่าขอปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงของเอกสารท้ายฟ้องของโจทก์ทุกฉบับว่าไม่อาจรับฟังได้ตามกฎหมายเนื่องจากเป็นเพียงสำเนาเอกสารจึงเป็นการคัดค้านเฉพาะสำเนาเอกสารท้ายฟ้องเท่านั้น ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้คัดค้านสำเนากรมธรรม์ประกันภัยด้วย และเมื่อโจทก์ส่งสำเนากรมธรรม์ประกันภัยต่อศาลจำเลยก็มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารนั้นแต่อย่างใด ถือได้ว่าจำเลยยอมรับว่าสำเนากรมธรรม์ประกันภัยนั้นถูกต้องแล้ว ศาลมีอำนาจรับฟังได้
ตามเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยระบุเลขหมายทะเบียนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยเป็นภาษาอังกฤษว่า 9 CH - 1935 แต่เนื่องจากภาษาอังกฤษอ่านออกเสียงพยัญชนะตัว "ช" และ "ฉ" คล้ายกันและพยัญชนะทั้งสองตัวนี้เมื่อเทียบกับพยัญชนะภาษาอังกฤษแล้วก็อาจใช้ตัว "CH" แทนได้ทั้งสองตัว ทั้งตามคำฟ้องโจทก์ก็ใช้พยัญชนะตัว "ฉ" ดังนั้น ที่โจทก์แปลว่า 9 CH -1935 คือ 9 ช - 1935 จึงเป็นเรื่องแปลผิดไป โจทก์มีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าเป็น 9 ฉ - 1935 เพราะเป็นการสืบอธิบายว่าโจทก์แปลพยัญชนะจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยผิดไปจากความเป็นจริง จึงมิใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการรับพยานเพิ่มเติมแม้สั่งงดสืบไปแล้วเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องนำพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติมจะเรียกอะไรมาเป็นพยานหลักฐานเพื่อประกอบคดีอีกก็ได้แม้จะเป็นพยานหลักฐานของคู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่นำสืบก่อนซึ่งศาลสั่งงดสืบพยานไปแล้วก็ตาม
of 67