พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 429/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้พื้นที่เช่าเพื่อการค้าหรือไม่ และผลกระทบต่อความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากสถานที่เช่าโดยอ้างเหตุว่าสัญญาเช่าสิ้นอายุ จำเลยต่อสู้ว่าได้รับความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯลฯ เพราะจำเลยใช้เป็นที่อยู่อาศัย แต่โจทก์เถียงว่าจำเลยใช้เป็นที่ทำการค้าดังนี้ แม้ในฟ้องโจทก์จะมิได้บรรยายว่าจำเลยได้ใช้สถานที่เช่าทำการค้าก็ดีคดีย่อมมีประเด็นที่คู่ความจะต้องนำสืบว่าเป็นที่อยู่อาศัยหรือทำการค้า
เมื่อจำเลยใช้อาคารเพื่อการค้า จึงไม่เป็นเคหะตามความหมายแห่ง พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า 2488 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดี จำเลยย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า 2486และไม่อาจยกพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าปี 2489 มาใช้บังคับเพราะเป็นกฎหมายที่เพิ่งใช้ภายหลังเวลาที่จำเลยได้ครอบครองอาคารมาอย่างละเมิดฉะนั้น พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าปี 2490 ก็จะนำมาย้อนหลังบังคับไม่ได้ในกรณีเช่นนี้
เมื่อจำเลยใช้อาคารเพื่อการค้า จึงไม่เป็นเคหะตามความหมายแห่ง พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า 2488 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดี จำเลยย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า 2486และไม่อาจยกพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าปี 2489 มาใช้บังคับเพราะเป็นกฎหมายที่เพิ่งใช้ภายหลังเวลาที่จำเลยได้ครอบครองอาคารมาอย่างละเมิดฉะนั้น พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าปี 2490 ก็จะนำมาย้อนหลังบังคับไม่ได้ในกรณีเช่นนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 77/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้กฎหมายที่ขัดแย้งกัน: พ.ร.บ.ค่าโคกระบือฯ 2481 ย่อมเลิกใช้ พ.ร.บ.ค่าโคกระบือ ร.ส. 119
เมื่อมีราชกริสดีกาไห้ไช้ พ.ร.บ. ค่าโคกะบือฯ พ.ส. 2481 ไนห้องที่ได แล้ว พ.ร.บ. ค่าโคกระบือ ร.ส. 119 ซึ่งขัดแย้งกันก็ถูกยกเลิก.
ฟ้องขอไห้ลงโทสตาม พ.ร.บ.ค่าโคกะบือ ร.ส. 119 พิจารนาได้ความว่าการกะทำเปนผิดตาม พ.ร.บ.ค่าโคกะบือ พ.ส. 2481 ดังนี้ ต้องยกฟ้อง.
ฟ้องขอไห้ลงโทสตาม พ.ร.บ.ค่าโคกะบือ ร.ส. 119 พิจารนาได้ความว่าการกะทำเปนผิดตาม พ.ร.บ.ค่าโคกะบือ พ.ส. 2481 ดังนี้ ต้องยกฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20741/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องฐานมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ยังไม่มีกฎกระทรวงออกตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์
ตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 มาตรา 3 บัญญัติว่า ในพระราชบัญญัตินี้ เลื่อยโซ่ยนต์หมายความว่า เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกล และให้หมายความรวมถึงส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีกำหนดในกฎกระทรวง บทบัญญัติดังกล่าว ให้ความหมายของเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ชัดเจนแล้วว่า เลื่อยโซ่ยนต์ หมายถึง เครื่องมือใช้สำหรับตัดไม้ หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกล และมาตรา 2 ของพระราชบัญญัตินี้ยังบัญญัติให้กฎหมายมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ซึ่งมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2545 และสอดคล้องกับความในมาตรา 14 ที่บัญญัติให้ผู้ที่มีเลื่อยโซ่ยนต์อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้ามาขอรับใบอนุญาตภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้นั้นไม่มีความผิดตามมาตรา 4 เมื่อขณะที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 6 ในความผิดฐานร่วมกันมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตยังไม่มีกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 3 ดังกล่าวออกมา ไม่ว่ากฎกระทรวงจะมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่ กรณีไม่มีเหตุที่โจทก์ต้องบรรยายฟ้องถึงลักษณะของเลื่อยโซ่ยนต์ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงตามที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 6 ยกขึ้นอ้างในฎีกา คำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7366/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของ พ.ร.บ.ล้างมลทินต่อการเพิ่มโทษทางอาญา แม้คดีถึงที่สุดแล้ว
ศาลชั้นต้นลงโทษและเพิ่มโทษจำเลย คดีถึงที่สุดแล้ว ภายหลังปรากฏว่ามี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มาตรา 4 ที่บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ ดังนั้น แม้คดีจะถึงที่สุดแล้ว จำเลยก็ยังได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติดังกล่าว ถือว่าจำเลยไม่เคยถูกลงโทษในคดีที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุเพิ่มโทษ จึงมิอาจเพิ่มโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 92 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7677/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกอบธุรกิจนำเที่ยวโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดตาม พรบ.ธุรกิจนำเที่ยวฯ แม้มีวัตถุประสงค์บริษัทเกี่ยวข้อง
จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ใช้ชื่อว่า บริษัท ด. จำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน จำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการให้บริการรับจองตั๋วเครื่องบิน ที่พัก สถานที่ท่องเที่ยว รวมทั้งกิจการอื่นที่เกี่ยวข้อง ถือได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามบทนิยามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551 แล้ว เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวจากนายทะเบียน แต่ได้ร่วมกันขายโปรแกรมการท่องเที่ยวและจัดบริการให้แก่ผู้เสียหาย เพื่อนำเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตและกระบี่ และผู้เสียหายได้โอนเงินเข้าบัญชีจำเลยทั้งสอง แต่ความจริงแล้วจำเลยทั้งสองไม่ได้ติดต่อซื้อตั๋วเครื่องบิน หรือจองที่พักให้แก่จำเลยทั้งสองเลย นอกจากความผิดฐานฉ้อโกงแล้ว การกระทำของจำเลยทั้งสองยังเป็นความผิดฐานร่วมกันประกอบธุรกิจนำเที่ยวโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 80 ด้วยอีกกระทงหนึ่ง