คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พฤติการณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 790 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8366/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการทำร้ายด้วยอาวุธมีด ศาลพิจารณาจากบาดแผลและพฤติการณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ.มาตรา 288, 80, 83 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 295, 83 ผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานนี้ จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220
จำเลยที่ 2 ได้ใช้อาวุธมีดปลายแหลมแทงโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมได้รับบาดเจ็บ มีบาดแผลถูกแทงบริเวณหน้าท้อง กว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 3เซนติเมตร ลึกเข้าช่องท้อง กระเพาะอาหารและลำไส้ฉีกขาด ขณะนำส่งโรงพยาบาลโจทก์ร่วมมีอาการช็อกเนื่องจากเสียเลือดในช่องท้อง หากรักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้บาดแผลดังกล่าวใช้เวลารักษาประมาณ 3 เดือน นอกจากนี้โจทก์ร่วมยังมีบาดแผลถูกแทงที่บริเวณต้นแขนซ้าย ขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 1 เซนติเมตร อันเป็นบาดแผลที่เกิดหลังจากจำเลยที่ 2 แทงโจทก์ร่วมที่หน้าท้อง แล้วจำเลยที่ 2 ได้แทงซ้ำแต่โจทก์ร่วมหลบได้ทันจึงถูกที่แขนซ้ายดังกล่าว การที่จำเลยที่ 2 ใช้มีดปลายแหลมแทงโจทก์ร่วมที่ท้องซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ คมมีดลึกเข้าช่องท้องถูกกระเพาะอาหารและลำไส้ฉีกขาด เห็นได้ว่าเป็นการแทงโดยแรงและยังแทงซ้ำอีก แต่โจทก์ร่วมเอี้ยวตัวหลบเสียได้จึงถูกที่บริเวณต้นแขนซ้าย ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: ความขัดแย้งระหว่างผู้จัดการมรดกที่เป็นคู่กรณีในคดีอาญา และพฤติการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจ
ในระหว่างที่ผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ ม. มารดาผู้ตายเป็นผู้ดูแลให้การอุปการะแก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสามของผู้ตายมาโดยตลอด หลังจากผู้ตายตายได้เพียงไม่กี่วันญาติผู้คัดค้านได้รับ ตัวบุตรผู้เยาว์ทั้งสามของผู้ตายไป ทั้ง ๆ ที่ผู้คัดค้านอ้างว่า ขณะนั้นยังไม่ทราบข่าวการตายของผู้ตาย แสดงให้เห็นว่า ผู้คัดค้านไม่เป็นบุคคลที่สมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยลำพังแต่ผู้เดียว นอกจากนั้นยังได้ความว่าในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องผู้คัดค้านเป็นจำเลยในข้อหาฆ่าผู้ตาย คดีอยู่ระหว่าง พิจารณานั้น ผู้ร้องได้คัดค้านการขอประกันตัวต่อของผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าว ในเมื่อคดีมีผู้ร้องกับผู้คัดค้าน เพียงสองคนเท่านั้นขอเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อคำนึงถึงสาเหตุ การตายของผู้ตายและพฤติการณ์ของผู้คัดค้านที่ปรากฏในคดีอาญา แล้วถือว่าคนทั้งสองเป็นปฏิปักษ์ต่อกันในระหว่างที่คดีอาญา ยังไม่ถึงที่สุดถ้าจะให้จัดการมรดกร่วมกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726 การจัดการมรดก คงจะไม่เป็นผลดีแก่กองมรดกและแก่ประโยชน์ของทายาท ผู้ตายเพราะจะทำให้การดำเนินการจัดการรวบรวมทรัพย์เพื่อ จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกหรือทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและ แบ่งปันมรดกล่าช้าได้ แม้ผู้ร้องมีอายุมาก พูดและเขียนภาษาไทยไม่สะดวก ก็ไม่เป็นเหตุต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกจึงสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพียงคนเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8083/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฆ่าโดยไม่มีไตร่ตรองไว้ก่อน: พฤติการณ์วิวาทก่อนการกระทำความผิด
จำเลยทั้งสามเป็นคนร้ายร่วมกันฆ่าผู้ตาย แต่โจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยทั้งสามไตร่ตรองไว้ก่อน และไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามตั้งใจมาแต่ต้นว่าจะมาฆ่าผู้ตาย การที่จำเลยทั้งสามสมคบกันมาหาเรื่องวิวาทกับผู้ตาย เพราะเคยมีเรื่องบาดหมางกันมาก่อน ที่จำเลยที่ 1 เตรียมอาวุธปืนมาด้วยเพื่อใช้ในการวิวาท ก็เพราะฝ่ายจำเลยทราบดีว่าผู้ตายซึ่งเป็นยามรักษาความปลอดภัยมีอาวุธปืนประจำตัว และเมื่อจำเลยทั้งสามมาพบผู้ตาย ฝ่ายจำเลยก็หาได้ยิงหรือทำร้ายผู้ตายในทันทีทันใดไม่ แต่ได้หาเรื่องก่อการวิวาทขึ้นก่อน พฤติการณ์เช่นนี้ยังไม่พอฟังว่า การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันฆ่าผู้ตายเป็นการกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แม้จำเลยทั้งสามมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกาโดยตรง ศาลฎีกาก็วินิจฉัยได้เองเพราะเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตามป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
อาวุธปืนขนาด 9 มม. ที่จำเลยใช้ยิงผู้ตายเป็นของผู้ตายเองดังนั้น กระสุนปืน หัวกระสุนปืน ปลอกกระสุนปืน ขนาด 9 มม. จึงไม่ใช่ทรัพย์ที่พึงริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7733/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการใช้อาวุธปืนยิง การพิสูจน์เจตนาจากพฤติการณ์และบาดแผล
พยาน 3 ปากเบิกความยืนยันสอดคล้องกันว่าไม่มีกรณีป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ เบิกความว่าผู้เสียหายคุยกับจำเลย ห่างประมาณ 1 ศอก แล้วจำเลยชักอาวุธปืนออกมาจากเอวด้านหลังพร้อมทั้งใช้อาวุธปืนนั้นยิงผู้เสียหาย จำเลยมอบตัวต่อเจ้าพนักงานตำรวจหลังเกิดเหตุให้การรับสารภาพโดยไม่ได้กล่าวอ้างข้อต่อสู้ป้องกันตัว ข้อเท็จจริงรับฟังได้โดยปราศจากสงสัยว่าจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย1 นัด อันปราศจากเหตุที่จะอ้างว่าป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ปืนเป็นอาวุธร้ายแรง เมื่อใช้อาวุธปืนยิงผู้อื่นหากไม่มีเหตุผลพิเศษอันควรรับฟัง ย่อมแสดงว่ายิงด้วยมีเจตนาฆ่า จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายที่ท้อง กระสุนปืนถูกอวัยวะสำคัญภายในฉีกขาด คือลำไส้ใหญ่และม้าม นับว่าเป็นบาดแผลฉกรรจ์ เห็นได้ว่าจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาฆ่า การที่ ไม่ได้ยิงซ้ำทั้ง ๆ ที่ยังมีกระสุนปืนอีก 1 นัด ได้ความว่าอาวุธปืนของจำเลยยิงได้ทีละนัด หากจะยิงซ้ำต้องหักลำกล้องเอาปลอกกระสุนเก่าออกแล้วใส่กระสุนใหม่ ดังนี้แม้จำเลย ประสงค์จะยิงซ้ำก็ไม่อาจทำได้โดยง่าย ลำพังข้อเท็จจริงที่ยิงเพียงนัดเดียวหาได้แสดงว่าไม่มีเจตนาฆ่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากพฤติการณ์ใช้มีดดาบฟันซ้ำ และการลดโทษจากอายุและรับสารภาพ
มีดที่จำเลยใช้ฟันผู้เสียหายมีความยาวประมาณ50 เซนติเมตร แสดงว่าเป็นมีดดาบขนาดใหญ่พอสมควรสามารถใช้เป็นอาวุธประทุษร้ายผู้อื่นถึงแก่ชีวิตได้บาดแผลของผู้เสียหายที่ 1 ปรากฏว่ากระดูกบริเวณหัวไหล่หักหากไม่นำตัวมารักษาอาจถึงแก่ความตายได้ ส่วนผู้เสียหายที่ 2มีบาดแผล 2 แห่ง ที่บริเวณศีรษะและบริเวณต้นคอขวาหากบาดแผลลึกอีกเพียงเล็กน้อยอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้เนื่องจากเป็นอวัยวะสำคัญ แสดงว่าโอกาสที่ฟัน จำเลยฟันโดยเลือกฟันอวัยวะสำคัญ เมื่อพิจารณารวมถึง มูลเหตุโกรธเคืองระหว่างจำเลยกับผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งทะเลาะวิวาทกันมาก่อนเกิดเหตุ และพฤติการณ์ของ จำเลยที่ฟันผู้เสียหายที่ 1 แสดงว่าจำเลยฟันผู้เสียหายทั้งสอง โดยมีเจตนาฆ่า ประกอบกับพฤติการณ์ที่จำเลยใช้มีดดาบ ฟันผู้เสียหายที่ 1 ขณะนั่งอยู่บนรถจักรยานยนต์ครั้งหนึ่งแล้ว และขณะผู้เสียหายที่ 1 กำลังวิ่งหนีไปบ้านภริยา ก็ถูกจำเลยตามไล่ฟันอีกครั้ง หากผู้เสียหายที่ 1 วิ่งหนีเข้าบ้านภริยาไม่ทันก็อาจถูกจำเลยฟันซ้ำ ถึงแก่ความตายได้ โดยปรากฏว่าจำเลยยังได้ฟันอีกครั้งแต่พลาด ข้อเท็จจริงจึงมีเหตุผลเชื่อได้ว่าจำเลยกระทำผิดโดยเจตนาฆ่าผู้เสียหายทั้งสอง จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6990/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาโดยปริยายจากพฤติการณ์ของคู่สัญญาและการขาดการติดต่อ
ตามหนังสือข้อตกลงดังกล่าวข้อ 17 ระบุถึงการเลิกข้อตกลงว่า ถ้าผู้รับโครงการไม่ดำเนินการใด ๆ หรือดำเนินการไม่เป็นไปตามข้อผูกพันในข้อตกลงแม้แต่ข้อหนึ่งข้อใดภายในกำหนด 90 วัน ถือว่าข้อตกลงนี้สิ้นสุดลง โดยมิต้องบอกกล่าวให้ผู้รับโครงการทราบ คุรุสภาจะสรรหาผู้จะรับเป็นผู้รับโครงการอื่นต่อไป หลังจากจำเลยไม่ยอมโอนบ้านตัวอย่างพร้อมที่ดินให้โจทก์แล้ว ต่อมาโครงการเคหะสงเคราะห์ดังกล่าวประสบความล้มเหลว โจทก์ได้จัดให้ ผู้อื่นเข้าดำเนินโครงการ ส่วนจำเลยได้นำป้ายโครงการออกแล้วใช้ชื่อหมู่บ้านเดชาดำเนินการต่อมา และตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2530 ถึงเดือนมกราคม 2535 โจทก์และจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้ติดต่อกันทางเอกสารเลย รวมเป็นระยะเวลาประมาณ 5 ปี พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่า ทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างไม่ติดใจที่จะปฏิบัติตามหนังสือข้อตกลงต่อไป หนังสือข้อตกลงดังกล่าวย่อมยกเลิกกันโดยปริยาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามหนังสือข้อตกลงที่เลิกกันไปแล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6611/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชุมนุมประท้วงทำลายทรัพย์สิน: ลดโทษจำเลยวัยรุ่นเนื่องจากเหตุผลและพฤติการณ์
ตามพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องชาวบ้านมาชุมนุมกันประมาณ 600 ถึง 800 คนเพื่อขอให้ย้ายสถานีทดลองยางออกไปจากพื้นที่เกิดเหตุ เนื่องมาจากได้รับความเดือดร้อนไม่มีที่เลี้ยงสัตว์ แสดงว่าประชาชนที่มาชุมนุมนั้นได้ใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์บางส่วนที่จะใช้เป็นสถานีทดลองยางเป็นที่ดินสำหรับเลี้ยงสัตว์อยู่แล้ว ในวันเกิดเหตุมีเจ้าพนักงานตำรวจประมาณ 150 คน เมื่อประชาชนพูดโจมตีด้วยเครื่องขยายเสียงเจ้าพนักงานตำรวจจึงให้หัวหน้าสถานีทดลองยางไปแก้ข้อกล่าวหาต่อประชาชนที่มาชุมนุมแต่เจรจาตกลงกันไม่ได้ ระหว่างเจรจามีประชาชนคนหนึ่งนำไม้ไปตีตุ่มน้ำและเสาของโรงเรือนเอนกประสงค์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น หลังจากนั้นก็เริ่มมีความวุ่นวายโดยประชาชนเริ่มปาสิ่งของแล้วจุดคบเพลิงปาไปที่หลังคาจาก ซึ่งก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้เริ่มก่อเหตุวุ่นวายขึ้น จำเลยเพียงร่วมอยู่ในกลุ่มประชาชนที่มาชุมนุมและร่วมกับประชาชนอื่นอีกเป็นจำนวนมากก่อเหตุร้าย ผลของความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงเกิดจากผู้คนเป็นจำนวนมาก มิได้เกิดจากการกระทำของจำเลยเพียงคนเดียว ทั้งจำเลยอายุเพียง17 ปีเศษ อยู่ในเหตุการณ์ที่ประชาชนจำนวนมากได้รับความเดือดร้อนในที่เลี้ยงสัตว์และไม่พอใจทางราชการย่อมเป็นการยากที่จะใช้สติในวัยเช่นนั้นยับยั้งชั่งใจไม่ร่วมกับเหตุการณ์หรือห้ามปรามประชาชนไม่ให้ก่อเหตุร้าย จึงมีเหตุสมควรลงโทษจำเลยสถานเบา โดยกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยในขั้นต่ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6558/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนจากการแสดงตนเป็นชู้: พิจารณาจากความเสียหาย สถานะคู่สมรส และพฤติการณ์แห่งคดี
การที่จำเลยกับป. สามีโจทก์ พักอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกันในท้องที่ย่านชุมนุมชน โดยเปิดเผย และมีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยาจนมีบุตรด้วยกัน โดยบุตรก็ใช้นามสกุล ของ ป. ด้วยนั้น เป็นพฤติการณ์ที่แสดงโดยเปิดเผยว่าจำเลยมีความสัมพันธ์กับ ป.ในทำนองชู้สาวแล้วโดยไม่จำเป็นต้องออกงานสังคมร่วมกับ ป. แต่อย่างใด ตามปกติภริยาย่อมต้องรักใคร่หวงแหนมิให้สามีไปมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับ หญิงอื่นเว้นแต่จะมีเหตุผลพิเศษอย่างยิ่ง โจทก์มีความรักและหวงแหน ป. ผู้เป็นสามีถึงกับต้อง ย้ายจากจังหวัดนครศรีธรรมราชติดตามมาอยู่กับ ป. ที่จังหวัดจันทบุรีและยังไปร้องเรียน ต่อผู้บังคับบัญชา ป.ให้ว่ากล่าวตักเตือน ป.ให้ยุติความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยด้วย ไม่ปรากฏว่ามีเหตุผลหรือพฤติการณ์พิเศษอย่างใดที่โจทก์มีความจำเป็นต้องยินยอมให้จำเลยมาเป็นภริยาของ ป. อีกคนหนึ่ง เมื่อจำเลยแสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์กับ ป. ในทำนองชู้สาวโดยโจทก์มิได้ยินยอมเช่นนี้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคสอง ค่าทดแทนที่ภริยาเรียกจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมี ความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวนั้น พิจารณาจากความเสียหายที่ภริยาพึงได้รับ พฤติการณ์แห่งคดีและสถานะของคู่สมรสเป็นหลัก โจทก์สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย มหิดลประกอบอาชีพรับราชการนับว่าเป็นผู้มีเกียรติฐานะในวงสังคม โจทก์กับ ป.สมรส กันมานานถึง 10 ปี มีบุตรด้วยกัน 1 คน สถานะของครอบครัวมีความมั่นคงสมบูรณ์ การกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทดแทนแก่โจทก์จำนวน 100,000 บาท นับว่าเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีของจำเลยที่อ้างว่าวิกลจริต ศาลพิจารณาจากพฤติการณ์และหลักฐานเพื่อยืนยันความสามารถในการต่อสู้คดี
จำเลยไม่สามารถต่อสู้คดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 จะต้องปรากฏว่า เป็นผู้วิกลจริต หรือมีสติวิปลาสในทำนองเป็นคนบ้า โรคจิตพวกจิตเภท อันเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าเป็นแต่เพียงโรคทางจิตชนิดหนึ่งที่ทำให้ความคิดและบุคคลิกภาพผิดปกติ ไปเท่านั้น ซึ่งเป็นคนละอย่างกับคนวิกลจริต หรือโรคทางจิต ชนิดที่มีความผิดปกติของความรู้สึกหรือพฤติกรรมอย่างแรง ถึงขนาดคุมสติไม่อยู่ แต่ปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลย มีอาชีพค้าขาย ซึ่งปกติของคนมีอาชีพค้าขายจะต้องเป็น ผู้เฉลียวฉลาด รู้จักการแสวงหากำไรประกอบกับตามคำให้การและรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นก็ปรากฏว่าจำเลยสามารถ ลงลายมือชื่อได้ถูกต้อง และตามคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ลงวันที่วันเดียวกันจำเลยสามารถลงลายมือชื่อและนามสกุล ได้เรียบร้อยสวยงาม อีกทั้งยังมีลักษณะเหมือนคนปกติ นอกจากนี้ตามสำเนาทะเบียนบ้านท้ายฎีกาก็ปรากฏอีกว่าจำเลย สามารถเป็นเจ้าบ้านและเปลี่ยนชื่อเป็น ท. โดยเมื่อปี 2533 และ 2538 ก่อนจำเลยถูกฟ้อง จำเลยก็มีบุตรชายได้ตามปกติ ถึง 2 คน จำเลยจึงมิใช่คนวิกลจริตที่ไม่สามารถต่อสู้คดีได้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6499/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาคดี การยื่นคำขอพิจารณาใหม่ เกินกำหนดเวลา และเหตุพฤติการณ์นอกเหนือความสามารถในการควบคุม
จำเลยขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว โดยศาลชั้นต้นส่ง คำบังคับให้จำเลยเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2540 โดยวิธีปิดคำบังคับ คำบังคับดังกล่าวมีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลา 15 วัน ได้ล่วงพ้นไปแล้วนับตั้งแต่เวลาที่คำบังคับได้ปิดไว้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง ดังนั้น คำบังคับจึงเริ่มมีผลใช้ได้ในวันที่ 5 มกราคม 2541 หากจำเลยจะขอให้พิจารณาใหม่จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208 กล่าวคือ วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาที่จะยื่นได้คือวันที่ 20 มกราคม 2541 จำเลยได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เมื่อเกินกำหนด ระยะเวลาดังกล่าวไปแล้ว ทั้งในคำขอมิได้กล่าวอ้างถึงเหตุที่เป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ทำให้ไม่อาจยื่นคำขอได้ภายในกำหนด กลับกล่าวอ้างถึงเหตุที่จำเลยไม่ทราบว่าจะมาศาลวันไหน ไม่ทราบว่าจะต้องแต่งตั้งทนายความเข้ามาใหม่ในวันที่ศาลนัดพิจารณา เนื่องจากทนายจำเลยคนเดิมขอถอนตัว เหตุดังกล่าวเป็นเหตุที่อาจแสดงว่าจำเลย มิได้จงใจขาดนัดพิจารณาเท่านั้น มิใช่เหตุที่เป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่ง ยกคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยเสียโดยไม่จำเป็นต้องไต่สวน
of 79